การกรน Snoring ภาวะกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับ ทำให้ช่องคอแคบ เมื่อหายใจจึงเกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นเสียงนอนกรน อาจทำให้เกิดภาวะการหยุดหยาใจ ไหลตาย ได้ รักษาอย่างไรรักษาการนอนกรน การนอนกรน แก้การนอนกรน ใหลตาย

การนอนกรน นี้จะเกิดกับคนอ้วน และ คนสูงวัย มากนอกจากนี้ ในคนที่ดื่มเหล้า หรือ สูบบุหรี่จัด ก็พบว่ามีอตราการนอนกรนสูงเช่นกัน การหยุดหายใจขณะหลับ คือ ภาวะเสี่ยงของคนนอนกรน ซึ่งทราบว่าตนมีปัญหาเรื่องการนอนกรน ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข หากปล่อยเอาไว้อาจเป็นบ่อเกิดของโรคอื่นตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อัมพาต เป็นต้น

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เรียก obstructive sleep apnea เรียกย่อว่า OSA คือ ในขณะที่หลับอยู่นั้นมีภาวะการนอนกรนเกิดขึ้นและ มีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย จากการที่เนื้อเยื่อคอ หรือ ลิ้น ปิดทางเดินหายใจ เมื่อเกิดการปิดกั้นอากาศเข้าสู่ร่างกายนานเกินไป ทำให้สมองขาดออกซิเจน และตายในที่สุด

อาการนอนกรน

สำหรับอาการนอนกรน สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ การกรนธรรมดา และกรนแบบก่ำกึ่งระหว่างธรรมากับอันตราย โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการนอนกรนธรรมดา ( primary snoring ) ผู้ป่วยมักไม่เดือดร้อน เพราะ ไม่มีผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเองมากนัก แต่จะมีผลกระทบต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะกับคู่นอน
  • อาการนอนกรนแบบก้ำกึ่งระหว่างกรนธรรมดาและกรนอันตราย ( upper airway resistance syndrome ) คือ มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย มีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน อาจเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้หากขับรถ

การนอนกรนจัดว่าเป็นปัญหาของการนอนหลับ นอกจากเสียงกรนที่สร้างความรำคาญแก่คนรอบข้างแล้ว ยังทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายมากมาย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ความสามารถในการใช้ความคิด ความสามารถในการจดจำ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น จะลดความเสี่ยงต่อการนอนกรน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้สำหรับคนที่นอนกรน โดยวิธีการลดความเสี่ยงต่อการนอนกรน มีดังนี้

วิธีหลีกเลี่ยงการนอนกรน

  • การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะปรกติ คนอ้วนจะนอนกรน เกิดจากไขมันที่สะสมบริเวณช่องทางเดินหายใจบริเวณคอ ถูกเบียดให้เล็กลง ทำให้การหายใจต้องใช้พลังงานมากขึ้น
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลักกายช่วยให้กล้ามเนื้อเกี่ยวกับช่องทางเดินหายใจแข็งแรงขึ้น
  • การจัดท่านอนให้เหมาะสม ช่วยปกป้องการหายใจ โดยการนอนตะแคงงอข้อศอก เพื่อให้มือข้างหนึ่งยันคางไว้เป็นการปิดปาก หรือการใช้หมอนหนุนหลังเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้พลิกมานอนหงาย
  • การยกศีรษะให้สูงขึ้น ในกรณีที่นอนตะแคงไม่ถนัดนัก สามารถนอนหงายและใช้หมอนเล็กๆ หนุนที่บริเวณหลังคอด้านบน ยกศีรษะให้สูงจากเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหย่อนลงไปในลำคอจนทำให้เกิดเสียงกรน
  • ให้รักษาความสะอาดในบริเวณสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะที่นอน การเกิดหอบหืดหรือภูมิแพ้เป็นสาเหตุหนึ่งของการกรน
  • หมั่นรักษาความสะอาดของช่องจมูก พยายามอย่าให้มีขี้มูกมากเกินไป เพราะอาจจะไปปิดกั่นการหายใจ
  • ปรับระดับความชื้นของห้องนอนให้เหมาะสม ห้องนอนที่มีความชื้นต่ำมาก อากาศภายในห้องจะแห้ง ทำให้เยื่อบุต่างๆในระบบทางเดินหายใจแห้งตามไปด้วย ภาวะสภาพแวดล้อมนี้อาจเกิดการบวมของทางเดินหายใจ จนทำให้เกิดการนอนกรน

การรักษาการนอนกรน

การรักษาอาการนอนกรนนั้นมี 2 ทางเลือกหลักๆ คือ การรักษาโดยไม่ใช้วิธีผ่าตัด และ การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของโรคได้ โดยรายละเอียดการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาการนอนกรนโดยวิธีไม่ผ่าตัด คือ การลดน้ำหนักตัว ออกกำลังกาย และ ปรับวิธีการนอนที่เหมาะสม
  • การรักษาการนอนกรนด้วยวิธีผ่าตัด  การผ่าตัดทำให้ขนาดของทางเดินหายใจกว้างขึ้น ทำให้อาการนอนกรน หรือ ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ หายไป การผ่าตัดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสาเหตุการนอนกรน หลังจากผ่าตัดแล้วผุ้ป่วยมีโอกาสกลับมานอนกรนได้อีก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะการนอน การออกกำลังกาย และ น้ำหนักตัว

การกรน ภาษาอังกฤษ เรียก Snoring คือ ภาวะกล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับ ส่งผลให้ช่องคอแคบ เมื่อหายใจขณะหลับนอนจึงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน เป็น เสียงนอนกรน ความอันตรายของการนอนกรน คือ ภาวะการหยุดหยาใจ หรือ ไหลตาย สาเหตุของการนอนกรนคืออะไร รักษาการนอนกรนได้อย่างไร จากสถิติพบว่าเพศชายนอนกรนมากกว่าเพศหญิง

สมองฝ่อ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอทำให้เนื้อสมองหายไปบางส่วนจากการเสื่อมตามวัย ส่งผลกระทบต่อความจำและอารมณ์ พบบ่อยในคนอายุ 75 ปีขึ้นไป โรคผู้สูงวัยและครดื่มสุราจัดสมองฝ่อ โรคสมองฝ่อ สมองเสื่อม โรคคนแก่

สมองฝ่อ คือ ภาวะปริมาณเนื้อสมองลดลง เป็นการเสื่อมของอวัยวะในร่างกายตามธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นกับสมอง มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เซลล์สมองของมนุษย์ ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างพิเศษมีประมาณ 140,000 ล้านเซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์ก็มีการเชื่อมติดกันและทำงานประสานกัน ซึ่งการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทจะสร้างกระแสไฟฟ้า เพื่อส่งสัญญาณจากสารประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาทหนึ่งทั่วสมอง แต่เมื่อเซลล์บางส่วนถูกทำลายจึงทำให้เกิดการเสื่อมของสมอง

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมองฝ่อ เราได้สรุป 5 พฤติกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคสมองฝ่อ มีดังนี้

  • การไม่รับปรทานอาหารเช้า เนื่องจากการไม่กินอาหารเช้าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้สมองขาดสารอาหารไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ทำให้สมองเสื่อมได้
  • การดื่มน้ำน้อย การที่ร่างกายของมนุษย์ขาดน้ำ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งในสมองมีน้ำมากถึงร้อยละ 85 เมื่อเราอยู่ในภาวะร่างกายขาดน้ำ เซลล์สมองก็จะเสื่อมลงได้ง่ายขึ้น
  • การกินแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งแป้งและน้ำตาลหากมีมากเกินไปทำให้ความสามารถการดูดซึมโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญของร่างกาย หากขาดโปรตีนทำให้สมองเสื่อมง่าย
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • ความเครียด ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งส่งผลร้ายต่อร่างกายและสมอง

สาเหตุของการเกิดโรคสมองฝ่อ

สำหรับสาเหตุของโรคสมองฝ่อมีหลายสาเหตุ โดยมีปัจจัยของการเกิดโรคสมองฝ่อ มีดังนี้

  • การเสื่อมของสมองตามวัย
  • การเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะกระทบกระเทือนต่อสมอง
  • การการทานยากันชัก ไดแลนติน (Dilantin)
  • โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคภูมิต้านตนเอง (SLE) โรคไตวาย โรคติดเชื้อในสมอง โรคสมองอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสมอง เช่น ความเครียด การพักผ่อนน้อย การไม่ทานอาหารเช้า การขาดสารอาหาร เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ

สำหรับผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ สามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคสมองฝ่อได้ ดังนี้

  • มีอาการลืมสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ซึ่งต่อมาจะส่งผลกระทบในด้านการรับรู้ การเข้าใจ และเหตุผล ทำให้ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นรอบตัว และในกรณีที่อาการหนักจะทำให้บุคลิกภาพของผู้สูงอายุเสียไป
  • มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขน และ ขา
  • ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองน้อยลง โดยมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นความจำเสื่อม หลงลืม มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
  • ขี้หลงขี้ลืม เช่น พึ่งกินข้าวเสร็จ แต่บอกว่ายังไม่ได้กิน

การรักษาโรคสมองฝ่อ

สำหรับการรักษาโรคนี้นั้น ต้องรักษาตามอาการและต้องหาเหตุของโรคให้ชั้ดเจนเพื่อรักษาให้ตรงจุด โดยสามารถสรุปแนวทางการรักษาโรคสมองฝ่อ ได้ดังนี้

  • หากตรวจร่างกายแล้วพบว่าอยู่ในภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ซึ่งมีโอกาศเสี่ยงการเกิดโรคสมองฝ่อ สามารถป้องกันและแก้ไขก่อนที่จะเกิดโรค รวมถึงการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่มีผลต่อการทำงานของสมอง
  • ในการรักษาโรคสมองฝ่อ อื่นๆให้รักษาและประคับประครองตามอาการที่พบ ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง ควรมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ให้ปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย เช่น อาหารที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ขับถ่ายทุกวัน เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่อ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่อ สามารถป้องกันได้หากปรับพฤติกรรมให้เป็นประโยชน์ต่อสมอง ลดผลกระทบทุกอย่างที่มีโอกาสทำลายสมอง โดยรายละเอียดมี ดงันี้

  • หมั่นออกกำลังกายสมอง เช่น การฝึกคิด ฝึกการรับรู้ความรู้สึกให้สัมพันธ์กัน เช่น กระตุ้นการได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น การรับรส เป็นต้น
  • การเล่นเกมส์หมากรุก
  • ฝึกคิดเลข
  • ท่องเที่ยวเพื่อพบเพื่อนใหม่ๆ
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารประเภทปลาทะเล ขิง ใบบัวบก เป็นต้น
  • ไม่ดื่มสุรา
  • งดสูบบุหรี่
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

โรคสมองฝ่อ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เนื้อสมองหายไปบางส่วนจากการเสื่อมตามวัย โรคผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อระบบความจำและอารมณ์ พบบ่อยในคนอายุ 75 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ รวมถึงดื่มสุรามากด้วย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove