โรคไขสันหลัง การบาดเจ็บที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง เกิดได้กับทุกคนและเกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ แนวทางการรักษาและป้องกันการเกิดโรคต้องทำอย่างไรโรคไขสันหลัง โรคข้อและกระดูก โรคระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ

ไขสันหลัง

สำหรับไขสันหลังนั้น มีหน้าที่หลักในการเชื่อมต่อการทำงาน รับและส่งสัญญาณต่างๆระหว่างสมองกับเส้นประสาทส่วนปลายที่ควบคุมการการเคลื่อนไหวและการรับรู้ความรู้สึกของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย หน้าทีของไขสันหลัง สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • รับและส่ง คำสั่งการ ( Motor information ) ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ
  • รับและส่งประสาทสัมผัส รับความรู้สึกต่างๆ และ สั่งให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลันต่อตัวกระตุ้น ( Stimulus ) เช่น อาการไอ การหลับตา การจาม การเกา เป็นต้น

โรคของไขสันหลัง หากเป็นโรคจากความผิดปรกติของไขสันหลังเองนั้นพบไม่บ่อย โดยมากจากเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนโดยตรงต่อกระดูกสันหลัง เช่น อุบัติเหตุ การตกจากที่สูง การถูกยิง การถูกแทง หรือ การติดเชื้อในกระแสลือดที่แพร่กระจายจนลุกลามสู่ไขสันหลัง สำหรับการติดเชื้อสู่ไขสันหลัง เกิดจากโรคต่างๆ เช่น ไขสันหลังอักเสบติดเชื้อ  การอักเสบต่างๆที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โรคเนื้องอกไขสันหลัง โรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคไขสันหลัง

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคไขสันหลัง สามารถสรุปสาเหตุได้ ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุ กระแทกต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีโอกาสเกิดดารกดทับไขสันหลังของกระดูกสันหลังได้
  • การติดเชื้อโรคที่ส่งผลให้เกิดไขสันหลังอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดรุนแรง เช่น โรคโปลิโอ โรคหัด โรคคางทูม เป็นต้น
  • การอักเสบของร่างกาย แต่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น โรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง โรคเนื้องอกต่างๆ โรคเนื้องอกที่ไขสันหลัง เป็นต้น
  • การแพร่กระจายของมะเร็ง เข้าสู่กระแสเลือด และลามเข้าสู่ไขสันหลัง
  • เกิดจาดผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโรคหัด เป็นต้น
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อาการของผู้ป่วยโรคไขสันหลัง

สำหรับผู้ป่วยโรคไขสันหลัง จะแสดงอาการสำคัญ ที่ระบบประสาท การควบคุมร่างกาย และ อาการที่หลังบริเวณกระดูกสันหลังโดยตรง สามารถสรุปอาการสำคัญ ได้ดังนี้

  • มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น แขนขาอ่อน หรือ แขนทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง หรือ ขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง หรือจะมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก
  • มีอาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง
  • มีอาการกระตุกที่กล้ามเนื้อ
  • ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
  • อาจมีอาการกล้ามเนื้อแขนขาลีบ

การวินิจฉัยโรคไขสันหลัง

การวินิจฉัยเพื่อหาโรคไขสันหลัง นั้นแพทย์จะทำาการ ซักถามประวัติต่างๆ ประวัติการรักษาโรค ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ประวัติการรับวัคซีน และทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น เอกซเรย์ไขสันหลัง การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง การเจาะน้ำไขสันหลัง ซึ่งการเจาะน้ำที่ไขสันหลังนั้น สามารถตรวจดู สารผิดปกติ สารภูมิต้านทานเฉพาะโรคต่างๆ ดูเซลล์ผิดปกติต่างๆ และอาจ ต้องตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อที่ไขสันหลัง ไปตรวจทางพยาธิวิทยา ด้วย

การรักษาโรคไขสันหลัง

การรักษาโรคไขสันหลังนั้น มีแนวทางการรักษาโรค โดยการรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค การประคับประคองอาการของโรคตามอาการป่วย และการทำกายภาพบำบัด โดยสามารถสรุปรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค เช่น หากเกิดอุบัตติเหตุต้องรับการผ่าตัด หากเกิดจากเนื้องอกให้ทำการผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสี และให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากการติดเชื้อโรค เป็นต้น
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค เช่น การให้ยาแก้ปวด การใช้สายสวนปัสสาวะ การสวนอุจจาระ เป็นต้น
  • การทำกายภาพบำบัด ในกรณีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระดูกสันหลัง

สำหรับการดูแลตนเองนั้นมีความสำคัญต่อการรักษาโรค โดนจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของ แพทย์ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดการติดเชื้อโรค รักษาสุขภาพจิตให้มีคามเข้มแข็ และทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ

การป้องกันการเกิดโรคไขสันหลัง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนี้นั้น ต้องดูแลตนเองไม่ให้มีดอกาสเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงต้องรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุของไขสันหลังอักเสบ เช่น โรคโปลิโอ โรคหัด เป็นต้น

โรคไขสันหลัง คือ การบาดเจ็บที่ส่งผลต่อการทำงานของกระดูกสันหลัง โรคข้อและกระดูก พบไม่บ่อย เกิดได้กับทุกคน เกิดจากหลายสาเหตุ ส่งผลต่อโรคอื่นๆได้ เช่น โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต การรักษาโรคไขสันหลัง และ การป้องกันการเกิดโรคไขสันหลัง

กระถิน สมุนไพร ไม้ยืนต้น สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก ช่วยขับลม ลักษณะของต้นกระถินเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน โทษของกระถิน เป็นอย่างไรกระถิน สรรพคุณของกระถิน ประโยชน์ของกระถิน สมุนไพร

ต้นกระถิน ( White popinac ) พืชสมุนไพรในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบทวีปอเมริกา และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ขยายพันธุ์ได้ง่าย จัดเป็นไม้พุ่ม ไม้ต้นขนาดเล็ก นิยมรับประทาน ยอดอ่อน และ ฝักอ่อน สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยขับลม เป็นต้น โทษของกระถินมีอะไรบ้าง

กระถิน ( White popinac ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระถิน คือ Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit  จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของกระถิน คือ กะเส็ดโคก กะเส็ดบก กะตง กระถินน้อย กระถินบ้าน ผักก้านถิน ผักหนองบก กระถินไทย กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก ตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน กระถินยักษ์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของยอดกระถินอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานสูงถึง 62 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 8.4 กรัม ไขมัน 0.9 กรัม กากอาหาร 3.8 กรัม น้ำ 80.7 กรัม วิตามินเอ 7,883 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.33 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 137 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 9.2 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นกระถิน

ต้นกระถิน สามารถขยายพันธุ์ ด้วยการใช้เมล็ด และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย สำหรับลักษณะของต้นกระดิน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ต้นกระถิน มีความสูงประมาณไม่เกิน 10 เมตร ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่ เปลือกมีสีเทา มีปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป
  • ใบกระถิน เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน แกนกลางใบประกอบมีขน เรียงตรงข้ามกัน ส่วนใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของโคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบมีขน
  • ดอกกระถิน ดอกของกระถินจะมีสีขาว ออกอดช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ดอกมีลักษณะเป็นช่อ แบบกระจุกแน่น ออกดอกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ลักษณะเป็นรูประฆัง
  • ฝักกระถิน ลักษณะแบน ปลายฝักแหลม เมื่อฝักแก่จะแตกตามยาว ภายในฝักกระถินจะมีเมล็ดเรียงตามขวางจำนวนมาก และจะออกผลช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุุกปี
  • เมล็ดกระถิน สำหรับเมล็ดของกระถิน จะอยู่ภายในฝักกระถิน มีลักษณะเป็นรูปไข่ แบน สีน้ำตาล และ มัน

สรรพคุณของกระถิน

สำหรับต้นกระถินสามารถใช้ประโยชน์ได้ในทุกส่วน ตั้งแต่ ลำต้น เปลือก ใบ ดอก เมล็ด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของกระถิน มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับระดู
  • เมล็ดแก่ของกระถิน มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้นอนหลับ ช่วยขับลม ช่วยขับระดูขาวของสตรี ช่วยบำรุงไต
  • เมล็ดของกระถิน มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ฝักอ่อนของกระถิน มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ยอดอ่อนของกระถิน มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ดอกของกระถิน มีสรรพคุณช่วยแก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา ช่วยบำรุงตับ
  • เปลือกของกระถิน มีสรรพคุณช่วยห้ามเลือด

โทษของกระถิน

ในใบของกระถิน มีสารชนิกหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นพิษ ชื่อ สารลิวซีนีน ( Leucenine ) หากกินไปมากๆ อาจทำให้ขนร่วงและเป็นหมันได้  กระถินเป็นพืชที่มีคุณสมบัติ ช่วยดูดธาตุซีลีเนียมจากดินได้มาก จึงอาจทำให้เกิดพิษเนื่องจากธาตุนี้ได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove