โรคไขสันหลัง ปวดหลังเรื้อรัง อ่อนแรง โรคระบบข้อและกระดูก

โรคไขสันหลัง การบาดเจ็บที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง เกิดได้กับทุกคนและเกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ แนวทางการรักษาและป้องกันการเกิดโรคต้องทำอย่างไรโรคไขสันหลัง โรคข้อและกระดูก โรคระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ

ไขสันหลัง

สำหรับไขสันหลังนั้น มีหน้าที่หลักในการเชื่อมต่อการทำงาน รับและส่งสัญญาณต่างๆระหว่างสมองกับเส้นประสาทส่วนปลายที่ควบคุมการการเคลื่อนไหวและการรับรู้ความรู้สึกของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย หน้าทีของไขสันหลัง สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • รับและส่ง คำสั่งการ ( Motor information ) ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ
  • รับและส่งประสาทสัมผัส รับความรู้สึกต่างๆ และ สั่งให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลันต่อตัวกระตุ้น ( Stimulus ) เช่น อาการไอ การหลับตา การจาม การเกา เป็นต้น

โรคของไขสันหลัง หากเป็นโรคจากความผิดปรกติของไขสันหลังเองนั้นพบไม่บ่อย โดยมากจากเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนโดยตรงต่อกระดูกสันหลัง เช่น อุบัติเหตุ การตกจากที่สูง การถูกยิง การถูกแทง หรือ การติดเชื้อในกระแสลือดที่แพร่กระจายจนลุกลามสู่ไขสันหลัง สำหรับการติดเชื้อสู่ไขสันหลัง เกิดจากโรคต่างๆ เช่น ไขสันหลังอักเสบติดเชื้อ  การอักเสบต่างๆที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โรคเนื้องอกไขสันหลัง โรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคไขสันหลัง

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคไขสันหลัง สามารถสรุปสาเหตุได้ ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุ กระแทกต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีโอกาสเกิดดารกดทับไขสันหลังของกระดูกสันหลังได้
  • การติดเชื้อโรคที่ส่งผลให้เกิดไขสันหลังอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดรุนแรง เช่น โรคโปลิโอ โรคหัด โรคคางทูม เป็นต้น
  • การอักเสบของร่างกาย แต่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น โรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง โรคเนื้องอกต่างๆ โรคเนื้องอกที่ไขสันหลัง เป็นต้น
  • การแพร่กระจายของมะเร็ง เข้าสู่กระแสเลือด และลามเข้าสู่ไขสันหลัง
  • เกิดจาดผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโรคหัด เป็นต้น
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อาการของผู้ป่วยโรคไขสันหลัง

สำหรับผู้ป่วยโรคไขสันหลัง จะแสดงอาการสำคัญ ที่ระบบประสาท การควบคุมร่างกาย และ อาการที่หลังบริเวณกระดูกสันหลังโดยตรง สามารถสรุปอาการสำคัญ ได้ดังนี้

  • มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น แขนขาอ่อน หรือ แขนทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง หรือ ขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง หรือจะมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก
  • มีอาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง
  • มีอาการกระตุกที่กล้ามเนื้อ
  • ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
  • อาจมีอาการกล้ามเนื้อแขนขาลีบ

การวินิจฉัยโรคไขสันหลัง

การวินิจฉัยเพื่อหาโรคไขสันหลัง นั้นแพทย์จะทำาการ ซักถามประวัติต่างๆ ประวัติการรักษาโรค ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ประวัติการรับวัคซีน และทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น เอกซเรย์ไขสันหลัง การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง การเจาะน้ำไขสันหลัง ซึ่งการเจาะน้ำที่ไขสันหลังนั้น สามารถตรวจดู สารผิดปกติ สารภูมิต้านทานเฉพาะโรคต่างๆ ดูเซลล์ผิดปกติต่างๆ และอาจ ต้องตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อที่ไขสันหลัง ไปตรวจทางพยาธิวิทยา ด้วย

การรักษาโรคไขสันหลัง

การรักษาโรคไขสันหลังนั้น มีแนวทางการรักษาโรค โดยการรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค การประคับประคองอาการของโรคตามอาการป่วย และการทำกายภาพบำบัด โดยสามารถสรุปรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค เช่น หากเกิดอุบัตติเหตุต้องรับการผ่าตัด หากเกิดจากเนื้องอกให้ทำการผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสี และให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากการติดเชื้อโรค เป็นต้น
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค เช่น การให้ยาแก้ปวด การใช้สายสวนปัสสาวะ การสวนอุจจาระ เป็นต้น
  • การทำกายภาพบำบัด ในกรณีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระดูกสันหลัง

สำหรับการดูแลตนเองนั้นมีความสำคัญต่อการรักษาโรค โดนจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของ แพทย์ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดการติดเชื้อโรค รักษาสุขภาพจิตให้มีคามเข้มแข็ และทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ

การป้องกันการเกิดโรคไขสันหลัง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนี้นั้น ต้องดูแลตนเองไม่ให้มีดอกาสเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงต้องรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุของไขสันหลังอักเสบ เช่น โรคโปลิโอ โรคหัด เป็นต้น

โรคไขสันหลัง คือ การบาดเจ็บที่ส่งผลต่อการทำงานของกระดูกสันหลัง โรคข้อและกระดูก พบไม่บ่อย เกิดได้กับทุกคน เกิดจากหลายสาเหตุ ส่งผลต่อโรคอื่นๆได้ เช่น โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต การรักษาโรคไขสันหลัง และ การป้องกันการเกิดโรคไขสันหลัง

Last Updated on March 17, 2021