ตากุ้งยิง Hordeolum ภาวะหนังตาอักเสบ ทำให้เกิดตุ่มที่หนังตา อาการบวมและเจ็บบริเวณที่อักเสบ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ตากุ้งยิงหัวผุด ตากุ้งยิงหัวหลบใน สามารถหายเองได้

ตากุ้งยิง โรคต่างๆ โรคตา

โรคตากุ้งยิง คือ โรคที่เกี่ยวกับตา เกิดจากอาการติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบบริเวณหนังตา ( external hordeolum ) ขนตา ( hair follicle ) ต่อมไขมันที่เปลือกตา ( internal hordeolum ) ตากุ้งยิงสามารถเกิดได้ทุกคน

ชนิดของตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ตากุ้งยิงชนิดหัวผุด และ ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน รายละเอียดของชนิดตากุ้งยิง มีดังนี้

  • ตากุ้งยิงภายนอก ( External hordeolum ) หรือ ตากุ้งยิงหัวผุด เกิดจากการอักเสบของต่อมเหงื่อบริเวณผิวหนัง ที่โคนขนตา จะมีอาการเกิดหัวฝีเห็นได้อย่างชัดเจนที่ขอบตา ลักษณะของฝีจะไม่ใหญ่
  • ตากุ้งยิงภายใน ( Internal hordeolum ) หรือ ตากุ้งยิงหัวหลบใน เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันที่เยื่อบุเปลือกตา ต้องปลิ้นเปลือกตาจึงจะสามารถมองเห็นฝี มักจะมีขนาดใหญ่

สาเหตุของการเกิดโรคตากุ้งยิง

สำหรับสาเหตุของอาการหนังตาอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งผู้ป่วยสามารถหายเองได้  โดยทั่วไปแล้วต่อมไขมันใต้เปลือกตามีจำนวนมาก ซึ่งไขมันก็จะระบายออกทางรูเล็กๆ ใกล้ขนตา หากมีสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่นละอองไปอุดตัน ทำให้ไขมันไม่สามารถระบายออกที่รูต่อมไขมันได้ หากมีเชื้อโรคเข้าไปได้ ก็จะเกิดการอักเสบ และเป็นหนอง มีอาการเจ็บ และ บวม สาเหตุของการติดเชื้อที่มักจะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ แต่สำหรับกลุ่มคนที่ีมีภาวะโรคเบาหวาน หรือ ไขมันในโลหิตสูง จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคและมีความรุนแรงของโรคสูงกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อตากุ้งยิง

  • การขยี้ตาบ่อย ๆ ด้วยมือที่ไม่สะอาด
  • การทำความสะอาดรอบดวงตาไม่ดี ทำให้ฝุ่นและสารละคายเคืองเข้าสู่ดวงตาง่าย
  • การไม่รักษาความสะอาดของคอนแทคเลนส์ ทำให้สิ่งสกปรกเจือปนเข้าสู่ดวงตา

อาการโรคตากุ้งยิง

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อโรค จะเริ่มแสดงอาการเจ็บๆคันๆที่เปลือกตา ต่อมาเปลือกตาจะเริ่มบวมแดงและแสดงอาการปวด และมีก้อนที่บริเวณเปลือกตาจะทำให้มีอาการปวด และ จะเป็นก้อนหนองสีเหลือง ภายใน 5 วันหนองจะบวมและแตก บางคนมีอาการเปลือกตาบวมร่วม หากหนองที่เปลือกตาแตก จะทำให้ขี้ตาเป็นสีเขียว  เวลากดจะรู้สึกเจ็บ และค่อยๆยุบหายไปเอง

การรักษาโรคตากุ้งยิง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคตากุ้งยิง โรคนี้ร่างกายสามารถรักษาตัวเองให้หายเองได้ แนวทางการรักษา คือ การประคับประครองอาการของโรคไม่ให้ลุกลาม หรือ เกิดอาการอักเสบมากขึ้น ซึ่งแนวทางการรักษาโรคตากุ้งยิง สามารถสรุป ได้ดังนี้

  1. การผ่าตัด เพื่อเอาหนองออก สำหรับแวทางการรักษาแบบนี้ จะรักษาสำหรับอาการรุนแรงที่ตากุ้งยิงไม่หายภายใน 2 สัปดาห์
  2. การใช้ยาหยอดตา เพื่อทำรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น
  3. การรับประทานยาแก้อักเสบ และ บรรเทาอาการปวดของหนังตา

สำหรับโรคตากุ้งยิง สิ่งสำคัญในการรักษาโรค คือ ห้ามบีบหรือเค้นเอาหนองออก และหากหนองแตกเอง ให้ล้างด้วยน้ำต้มสุก หมั่นล้างมือบ่อยๆ หยอดตาและทานยา ตามสั่งหมอ งดการทำอะไรที่จะเกิดการระคายเคืองดวงตา ให้ประคบน้ำอุ่น

การป้องกันโรคตากุ้งยิง

แนวทางการป้องกันโรคตากุ้งยิง คือ การรักษาสุขอนามัย เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคที่หนังตา สามารถสรุปแนวทางการป้องกันโรคตากุ้งยิงได้ ดังนี้

  • ให้รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใกล้กับดวงตา เช่น ใบหน้า และ เส้นผม เป็นต้น
  • ไม่ควรขยี้ตา เนื่องจากมือที่ขยี้ตาอาจไม่สะอาด ควรล้างมือบ่ายๆ
  • ทำความสะอาดรอบๆดวงตาทุกครั้ง หลังจากใช้เครื่องสำอางค์
  • หากมีความรู้สึกว่าดวงตาอักเสบ หรือ ติดเชื้อ ให้ใช้การทำความสะอาด และ การประคบร้อน เพื่อป้องกันการอุดตันของต่อไขมันบริเวณเปลือกตา
  • ให้ดูแลร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ และที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ไข่แดง เนย เครื่องใน และพืชผักสีเหลือง เป็นต้น

คางทูม Mumps อาการต่อมน้ำลายอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส RNA มีไข้ บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร หากรักษาช้าอาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

คางทูม โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ การรักษาโรคคางทูม

โรคคางทูม ภาษาอักกฤษ เรียก Mumps เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส RNA เป็นไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus สามารถติดต่อได้ทางน้ำลายหรือเสมหะ ซึ่งผู้ติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการมีไข้และต่อมน้ำลายอักเสบ อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบ เพศชายอาจมีอาการอัณฑะอักเสบในเพศชาย ส่วนสตรีอาจมีอาการรังไข่อักเสบ และสามารถลามไปถึงอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

โรคนี้มีวัคซีนในการป้องกันโรค ในปี พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณะสุข ประเทศไทย มีการแนะนำให้เปลี่ยนการฉีดวัคซีน MMR ครั้งที่ 2 จากเด็กอายุ 4-6 ปี เลื่อนเข้ามาเป็นอายุ 2 ½ ปี เพื่อเร่งการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กที่ได้รับวัคซีนครั้งแรกในอายุ 9 เดือนแล้วไม่ได้ผล  ส่วนในภาคเอกชน สำหรับเด็กที่รับวัคซีน MMR ครั้งแรกที่อายุ 12 เดือน อาจรับวัคซีนครั้งที่ 2 ที่อายุ 2 ½ ปี หรือ 4-6 ปีตามปกติก็ได้

สาเหตุของโรคคางทูม

โรคคางทูมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิกโซ ( paramyxovirus ) ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมาจากน้ำลาย หรือ การสัมผัสสารคัดหลังของผู้มีเชื้อโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปสู่ยังอวัยวะต่างๆ และ เริ่มแสดงอาการที่ต่อมน้ำลาย โดยทำให้เกิดอาการอักเสบ

อาการของคางทูม

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคคางทูม หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อประมาณไม่เกิน 20 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะเกิดอาการต่อมน้ำลายอักเสบ ซึ่งมีอาการบวมที่ใต้หู้ ผิวหนังเหนือต่อมน้ำลายจะบวม แดง หน้าหน้าส่วนใบหูบวมลงมาคลุมขากรรไกรจะปวดมากเวลาพูดและการกลืนหรือเคี้ยวอาหาร อาการบวมนี้จะแสดงอาการไม่เกิน 7 วัน ในเพศชายจะมีอาการอัณฑะอักเสบ อาจทำให้สมองอักเสบ หากมีอาการปวดหัว มีอาการซึม คอแข็ง หลังแข็ง ให้ส่งตัวหาแพทย์ด่วน

โรคแทรกซ้อนจากโรคคางทูม

สำหรับโรคคางทูมหากไม่รักษาให้หายขาดอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น อัณฑะอักเสบ รังไข่อักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และระบบประสาทหูอักเสบ โดยรายละเอียดดังนี้

  • อัณฑะอักเสบจากโรคคางทูม โดยส่วนมากชายที่เป็นคางทูมร้อยละ 25 จะมีอาการอัณฑะอักเสบ ลูกอัณฑะจะปวดบวม เจ็บและรู้สึกอึดอัด หากไม่รีบรักษา อาจทำให้เป็นหมันได้
  • รังไข่อักเสบจากโรคคางทูม หากเกิดผู้หญิงเป็นโรคคางทูม จะทำให้มีไข้และปวดท้องน้อย หากการตั้งครรภ์มีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้ปวดศีรษะอย่างหนัก คอแข็ง หลังแข็ง หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ระบบประสาทหูอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากโรคคางทูม อยู่ในจุดที่ใกล้กับระบบประสาทหู อาการประสาทหูอักเสบจะเข้าไปทำลายระบบการได้ยิน ทำให้หูชั้นในอักเสบ ซึ่งหากไม่รักษาสามารถทำให้หูหนวกได้
  • สูญเสียการได้ยิน ในผู้ป่วยคางทูม 1 ใน 20 คนอาจสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว และ 1 ใน 20,000 อาจสูญเสียการได้ยินแบบถาวร

การรักษาโรคคางทูม

สำหรับแนวทางการรักษาโรคคางทูมในปัจจุบันไม่มียาที่รักษาโรคคางทุมโดยเฉพาะ แต่มีวัคซีนกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรค การรักษาโรคคางทูมร่างกายจะสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคและรักษาตัวเองให้หายขาดได้ ซึ่งการรักษาแพทย์จะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด รวมถึงการแนะนำให้พักผ่อนร่างกายให้มากที่สุด สำหรับปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรค เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค

การป้องการโรคคางทูม

สำหรับปัจจุบันสามารถป้องกันโรคคางทูมได้ โดยการใช้วัคซีน ซึ่งต้องฉีด2 ครั้ง ในช่วงอายุ อายุ 9 ถึง 12 เดือน และต้องฉีดซ้ำอีกครั้งในช่วง อายุ 4 ถึง 6 ปี นอกจากการมีวัคซีนในการป้องกันโรค การดูแลตนเองให้ร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นแนวทางการป้องกันการเกิดโรคทุกโรคที่ดีที่สุด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove