ถุงน้ำดีอักเสบ อาการปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาร้าวไปถึงสะบักข้างขวา หายใจลึกๆปวดมาก ปวดลามไปถึงกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไข้สูง อาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลืองถุงน้ำดีอักเสบ โรคตับ โรคไม่ติดต่อ โรคจากนิ่ว

ถุงน้ำดี ( Gallbladder ) เป็นอวัยวะที่ช่องท้องที่มีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็กที่มีความจุประมาณ 35-50 มิลลิลิตร ซึ่งมีหน้าที่หลักในการเก็บสำรองน้ำดีที่สร้างจากตับและทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร (โดยเฉพาะอาหารไขมัน) โดยจะมีโครงสร้างที่ติดต่อกับตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร

น้ำดี ของมนุษย์เกิดจากตับเป็นตัวสร้างน้ำดี และเก็บน้ำดีไว้ที่ถุงน้ำดี น้ำดีจะนำไปย่อยไขมันและย่อยอาหาร เมื่อน้ำดีในร่งกายลดลงจะก็ทำให้ เกิดนิ่ว ซึ่งพบว่ามีนิ่วอยู่ 2 ชนิด คือ นิ่วที่เกิดจาก cholesterol และ นิ่วที่เกิดจากเกลือ นิ่วในถุงน้ำดีสามารถหลุดและเข้าไปอุดทางเดินของน้ำดีได้ เป็นต้นเหตุทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดของโรคถุงน้ำดีอักเสบ จะเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบ โดยปัจจัยของการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ ประกอบด้วย

  • เพศหญิง
  • การคุมกำเนิด
  • พันธุกรรม
  • เชื้อชาติ
  • ผู้สูงอายุ
  • อาหาร
  • ภาวะอ้วน
  • การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  • การกินยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
  • คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงขึ้น
  • การอักเสบเรื้อรังของถุงน้ำดี
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเรื้อรัง

สาเหตุของถุงน้ำดีอักเสบ

ถุงน้ำดีอักเสบ ( Cholecystitis ) เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วไปอุดตันทางเดินของน้ำดี และผนังของถุงน้ำดีหนาตัว โรคถุงน้ำดีอักเสบเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี และสาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี

  • สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้สูงประมาณ 90-95% อาจเกิดเนื่องจากก้อนนิ่วที่ไปอุดตันท่อน้ำดีจนส่งผลให้น้ำดีไหลออกจากถุงน้ำดีเข้าสู่ลำไส้ไม่ได้ ทำให้ถุงน้ำดีมีแรงดันเพิ่มขึ้นและมีการยืดขยายตัวมากขึ้นจนไปกดเบียดหลอดเลือดต่าง ๆ ที่หล่อเลี้ยงถุงน้ำดี ทำให้เยื่อบุผนังของถุงน้ำดีขาดเลือด เป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บและเกิดการอักเสบขึ้นตามมา หรืออาจเกิดจากการระคายเคืองของสารเคมีบางชนิดอันเป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในถุงน้ำดี หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล ( E.coli ) เชื้อเคล็บซิลลา ( Klebsiella ) เชื้อสแตฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus), เชื้อสเตรปโตค็อกคัส  ( Streptococcus ) เป็นต้น ทั้งนี้ ถ้าขาดเลือดมากขึ้นจะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถุงน้ำดีเน่าตายหรือเกิดการแตกทะลุของถุงน้ำดี ก่อให้การเกิดติดเชื้อรุนแรงในช่องท้องได้ด้วย
  • สาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้เพียงส่วนน้อยประมาณ 5-10% โดยอาจเกิดจากถุงน้ำดีติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากเนื้องอกของถุงน้ำดีหรือของท่อน้ำดี เกิดจากท่อน้ำดีตีบตันจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ไม่ใช่จากนิ่ว เช่น โรคไทฟอยด์ ถุงน้ำดีได้รับอุบัติเหตุและเกิดการฉีกขาด นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อจำนวนมาก ภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือเจ็บป่วยหนัก เป็นต้น

อาการถุงน้ำดีอักเสบ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาและปวดร้าวไปถึงสะบักข้างขวา เวลาหายใจเข้าลึกๆ จะปวดมากขึ้น หลังจากนั้นอาการปวดท้องจะลามไปที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง เมื่อกดจะเจ็บ มีไข้สูง คลื่นไส้ และอาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลือง

การรักษาอาการถุงน้ำดีอักเสบ

แพทย์จะให้น้ำเกลือ และยาแก้ปวด งดอาหารเพื่อให้ถุงน้ำดีได้พักการทำงาน และผ่าตัดถุงน้ำดี ผู้ป่วยเป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบ ต้องระวังโรคแทรกซ้อน จากถุงน้ำดีอักเสบ โรคแทรกซ้อนที่พบ เช่น  ภาวะโลหิตเป็นพิษ ถุงน้ำดีเป็นหนอง ถุงน้ำดีเน่า ตับอ่อนอักเสบ ช่องท้องอักเสบ

ป้องกันโรคถุงน้ำดีอักเสบ

สำหรับการป้องกันถุงน้ำดีอักเสบนั้น ไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด แต่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงได้ โดยลดปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ของการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ปัจจัยเสี่ยง ซึ่งที่สำคัญ คือ

  • จำกัดการกินอาหารไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • ป้องกัน รักษา ควบคุม โรคเบาหวาน
  • ป้องกัน รักษา ควบคุม โรคไขมันในเลือดสูง
  • เมื่อจะลดน้ำหนัก ควรต้องค่อยๆลดช้าๆ

โรคถุงน้ำดีอักเสบ สาเหตุเกิดจากนิ่ว ทำให้ปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาและปวดร้าวไปถึงสะบักข้างขวา เวลาหายใจเข้าลึกๆจะปวดมากขึ้น ปวดท้องจะลามไปที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลือง ที่ถุงน้ำดี การให้ยาปฏิชีวนะเป็นวิธีรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ หากอาการหนักจำเป็นต้องตัดถุงน้ำดีทิ้งเพื่อรักษาชีวิต

เชื้ออีโคไล E.coli ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือ สมองอักเสบ เชื้ออีโคไลอาศัยอยู่ที่ที่ขาดออกซิเจนได้ การรักษาโรคและป้องกันทำอย่างไรอีโคไล ท้องเสีย ท้องร่วง โรคระบบทางเดินอาหาร

Escherichia coli ( E. coli ) คือ เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ซึ่งปกติแล้วแบคทีเรียชนิดนี้ไม่ทําอันตรายต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต และเมื่ออาศัยอยู่ในลําไส้ก็จะช่วยย่อยอาหาร แต่หาก E. coli เข้าสู่อยวัยวะอื่นๆของร่างกาย จะทำให้อวัยวะนั้นๆติดเชื้ออย่างรุนแรงได้ เช่น โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น และ เชื้อ E. coli บางสายพันธุ์ที่ทําให้เกิดโรคท้องเสียได้ หากเชื้อโรคปนเปื่อนในอาหารที่เรารับประทาน

กลไกของการติดเชื้ออีโคไล

เชื้ออีโคไลจะสร้างชิกา สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ STX1( Shiga toxin 1 ) และ STX2 ( Shiga toxin 2 ) เชื้ออีโคไล จะสร้างโปรตีนชื่ออินติมิน( Intimin ) ซึ่งเชื้อนี้ใช้ในการเข้าไปเกาะเซลล์ที่เยื่อบุผนังของลำไส้ และจะสร้างสารพิษชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก และไตวายในที่สุด

ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย E. coli

กลไกการก่อโรค เมื่อเชื้อ E. coli เข้าสู่ร่างกาย จะสร้างสารพิษต่างๆ สารพิษ enterotoxin ทําให้เกิดอาการท้องร่วงแบบเฉียบพลัน ถ่ายเหลวเป็นน้ํา สร้างสารพิษ Shiga ทําให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นต้น ซึ่งเชื้ออีโคไล E.coli ( Escherichia coli ) มีหลายชนิด  ประกอบด้วย  Enterotoxigenic E coli (ETEC), Enterohemorrhagic E coli (EHEC), Enteropathogenic E coli (EPEC),Enteroinvasive E coli (EIEC),Enteroaggregative E coli (EAEC),Shiga-toxin producing E coli (STEC) รายละเอียดของเชื้อโรคแต่ละชนิด มีดังนี้

  • ETEC (Enterotoxigenic E coli) เชื้อโรคชนิดนี้ทำให้อุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปเกาะที่ผนังของลำไส้เล็กและปล่อยสารพิษเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุของอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EHEC (Enterohemorrhagic E coli ) เชื้อโรคชนินนี้ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เชื้อโรคชนิดนี้จะสร้างสารพิษในลำไส้ทำให้มีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ
  • STEC (Shiga-toxin producing E coli ) เชื้อโรคนี้จะเข้าไปจับที่ผนังของลำไส้ใหญ่ จากนั้นจะปล่อยสารพิษหลายชนิด ซึ่งสารพิษเป็นพิษต่อผนังหลอดเลือด
  • EPEC (Enteropathogenic E coli ) เชื้อโรคชนิดนี้ จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ตามลำไส้เล็ก
  • EIEC (Enteroinvasive E coli ) เชื้อชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายลำไส้ใหญ่ และปล่อยสารพิษ จนทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EAEC (Enteroaggregative E coli )เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก และปล่อยสารพิษ(toxin) เข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้

สาเหตุของการติดเชื้ออีโคไล

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรีย E. coli เกิดจากการรับเชื้อ E. coli ทางอาหารหรือการสัมผัส โดยสามารถสรุปสาเหตุทั่วไปที่อาจทำให้ได้รับเชื้อ E. coli มีดังนี้

  • การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อ E. coli
  • มือที่สัมผัสเชื้อโรค และ เข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ เช่น แผล ปาก หู จมูก เป็นต้น
  • การสัมผัสมูลสัตว์ที่มีเชื้อโรค E coli ปะปน
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ E coli
  • การว่ายน้ำในสระน้ำ หรือ แหล่งน้ำ ที่มีเชื้อ E. coli ปะปน

อาการของผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไล

หากเกิดกับเด็กทารกและเด็กเล็ก พบว่าอาการผุ้ติดเชื้อไม่แน่นอน อาการคล้ายในเด็กโต คือ ท้องร่วงจากการติดเชื้อไวรัส ต่อมาจะเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ หากเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด จะทำให้ มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อ้วก ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาหารซึมเศร้า หากรักษาช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

หากเกิดกับเด็กโต จะเกิดทางเดินอาหารอักเสบ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว อาจจะถ่ายมีเลือดปน ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้  หากเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด จะทำให้ มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อ้วก ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาหารซึมเศร้า หากรักษาช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไล

ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาผู้ติดเชื้อโรคชนิดนี้โดยเฉพาะ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น และ หายเป็นปกติได้เอง สิ่งที่สามารถทำได้ คือ ประคับประครองผู้ป่วยไม่ให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ และ ไม่ให้อ่อนเพลียเกินไป

การป้องกันการติดเชื้ออีโคไล

วิธีรักษาผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล แต่ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น และควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดในกลุ่มสเตอรอยด์ เช่น ยาแอสไพริน เพราะจะยาตัวนี้จะไปทำลายไตของผู้ป่วย สามารถทำได้โดยการ รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ทานอาหารที่ปรุงสุก

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
  • ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ
  • สำหรับผักสด ควรล้างน้ำให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
  • ในการประกอบอาหารควรปรุงให้สุกในระดับอุณหภูมิ 71  องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมืออยู่เสมอ
  • เมื่อมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

การติดเชื้ออีโคไล E.coli ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือ สมองอักเสบ Mr. Theodur Escherich คือ ผู้ค้นพบเชื้อโรค E coli เชื้ออีโคไล สามารถอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ขาดออกซิเจนได้ การรักษาโรคติดเชื้ออีโคไล และ การป้องกันการเกิดโรคติดเชื้ออีโคไล


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove