ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( E.coli ) เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง โรคทั่วไปที่พบบ่อยในช่วงอากาศร้อน อาหารเน่าเสียบ่อย การติดเชื้ออีโคไลรักษาอย่างไรE.Coli โรค การติดเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียอีโคไล

แบคทีเรียอีโคไล ภาษาอังกฤษ เรียก Escherichia coli เรียกย่อๆว่า E. coli คือ เชื้อแบคทีเรียประเภทหนึ่งพบในลําไส้ของสิ่งมีชีวิตในสัตว์เลือดอุ่นรวมถึงมนุษย์ โดยปกติแล้วแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะไม่ทําอันตรายต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิต หากอยู่ในลําไส้ของสิ่งมีชีวิตจะมีประโยชน์ช่วยย่อยอาหาร แต่หากแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้าสู่อยวัยวะอื่นๆของร่างกาย จะทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เช่น ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สร้างสารพิษ ซึ่งทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ ซึ่งอาการที่พบบ่อย คือ ท้องร่วง และ อุจจาระมีเลือดปน และในบางรายอาจมีอาการรุนแรง ทำให้เกิดความผิดของไต

กลไกของการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะสร้างชิกา ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ STX1 ( Shiga toxin 1 ) และ STX2 ( Shiga toxin 2 ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะสร้างโปรตีนชื่อ อินติมิน ( Intimin ) ซึ่งโปรตีนอินติมินใช้ในการเข้าไปเกาะเซลล์ที่เยื่อบุผนังของลำไส้ และ จะสร้างสารพิษ ชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและไตวายในที่สุด

ชนิดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถแบ่งได้ 6 ชนิด ประกอบด้วย  Enterotoxigenic E coli ( ETEC ), Enterohemorrhagic E coli ( EHEC ) , Enteropathogenic E coli ( EPEC ) , Enteroinvasive E coli ( EIEC ) , Enteroaggregative E coli ( EAEC ) , Shiga-toxin producing E coli ( STEC ) รายละเอียดของเชื้อโรคแต่ละชนิด มีดังนี้

  • ETEC ( Enterotoxigenic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้อุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปเกาะที่ผนังของลำไส้เล็กและปล่อยสารพิษเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุของอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EHEC ( Enterohemorrhagic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เชื้อโรคชนิดนี้จะสร้างสารพิษในลำไส้ทำให้มีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ
  • STEC ( Shiga-toxin producing E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะเข้าไปจับที่ผนังของลำไส้ใหญ่ จากนั้นจะปล่อยสารพิษหลายชนิด ซึ่งสารพิษเป็นพิษต่อผนังหลอดเลือด
  • EPEC ( Enteropathogenic E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ตามลำไส้เล็ก
  • EIEC ( Enteroinvasive E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายลำไส้ใหญ่ และปล่อยสารพิษ จนทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EAEC ( Enteroaggregative E coli ) เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชนิดนี้ จะเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก และปล่อยสารพิษ(toxin) เข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้

สาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

โดยปกติแล้วแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะอาศัยอยู่ในลําไส้ของสิ่งมีชิวิต เช่น สุกร โค กระบือ เป็นต้น และ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) จะถูกขับออกจากสิ่งมีชีวิตผ่านทางอุจจาระ เมื่ออุจจาระลงดินหรือลงสู่แหล่งน้ำ หากสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ก็จะเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ชั้นดี และ เชื้อเหล่านี้จะสามารถปนเปื้อนอาหารและน้ำดื่ม และสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ในที่สุด

ช่องทางการเข้าสู่ร่างกายของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยทางอาหารหรือการสัมผัส   สามารถสรุปสาเหตุทั่วไปที่อาจทำให้ได้รับเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ได้ดังนี้

  • การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )
  • การสัมผัสเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) และ เข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ เช่น แผล ปาก หู จมูก เป็นต้น
  • การสัมผัสมูลสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )ปะปน
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )
  • การว่ายน้ำในสระน้ำหรือแหล่งน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )ปะปน

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ การแสดงอาการของโรคมีตั้งแต่ไม่แสดงอาการใดๆเลยจนถึงเกิดอาการรุนแรง เช่น ขับถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาการคลื่นไส้อาเจียน มีไข้ต่ำ ปวดท้อง ขับถ่ายมีเลือดปน ซึ่งความรุนแรงต่างๆของอาการนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายของแต่ละคน

หากการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เกิดกับเด็กทารกหรือเด็กเล็ก อาการมักจะไม่แน่นอน บางรายคล้ายอาการของเด็กโต คือ ท้องร่วง ต่อมาจะเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ และหากเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เข้ากระแสเลือด จะทำให้มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาการซึมเศร้า และหากรักษาล่าช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับแนวทางการรักษาอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ไม่จำเป้นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เนื่องจากอาการของโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สร้างสารพิษออกมา การให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอาจเป็นการกระตุ้นให้ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ปล่อยสารพิษออกมามากขึ้น ซึ่งทำให้อาการของโรคหนักมากขึ้น การรักษาใช้การประคับประครองการสูญเสียน้ำในร่างกายควบคู่กับควบคุมไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ให้น้ำเกลือร่วมกับการให้ยาลดไข้ และร่างกายจะมีกระบวนการในการขับสารพิษออกจากร่างกายทำให้อาการดีขึ้นและหายเป็นปรกติได้เอง

การป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการรับสารพิษหรือสิ่งสกปรกเข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ รวมถึงทำร่างกายให้แข็งแรงสามารถรับมีกับเชื้อโรคได้ ซึ่งสามารถสรุปแนวทางต่างๆได้ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากการเข้าห้องน้ำ รวมถึงหลังจากการสัมผัสสัตว์ ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • ถ่ายอุจจาระลงในห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ โดยไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำ
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
  • ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ เพื่อลดการเกิดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ในเนื้อสัตว์
  • ล้างผักสดให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หากมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

การติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัว เพราะ เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli ) เป็นเชื้อโรคที่พบเป็นปกติทุกคนอยู่แล้ว ก่อโรคแต่ไม่มีความรุนแรง ดังนั้น ไม่ควรจะตื่นตระหนกกับการติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ( Escherichia coli )

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ไทฟอยด์ การติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi เชื้อโรคจากสิ่งสกปรก ลักษณะอาการมีไข้และปวดท้อง มีวัคซีนป้องกัน หากรักษาไม่ทันมีโอกาสเสียชีวิตได้ไทฟอยด์ ไข้รากสาดน้อย โรคติดเชื้อ โรค

ไข้ไทฟอยด์ ( Typhoid fever ) คือ ภาวะติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียปนอยู่ และผู้ที่ติดเชื้อจะขับถ่ายเชื้อโรคออกมาทางอุจาระ เชื้อโรคจะเข้ากระแสเลือด โดยเข้ามาทางลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือม้าม

โรคไทฟอยด์พบบ่อยในกลุ่มประเทศที่ดูแลเรื่องสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมไม่ดี ประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาพบมีอัตราป่วยโรคไทฟอยด์สูง ทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 21 ล้านคนต่อปี และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 200,000 คนต่อปี สำหรับประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไทฟอยด์ปี 2553 มีผู้ป่วยประมาณ 2,509 คน ไม่พบผู้เสียชีวิต

สาเหตุของการเกิดโรคไทฟอยด์

โรคไทฟอยด์เกิดจากร่างกายรับเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเชื้อโรคชนิดนี้มีความรุนแรงสูง สามารถรับเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการบริโภคอาหารและน้ำ หรือสัมผัสเชื้อโรคตรง

อาการของโรคไทฟอยด์

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายภายใน 14 วัน ผู้ป่วยจะแสดงอาการ เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดตามเนื้อตามตัว มีไข้สูง หลังจากนั้นจะเกิดท้องร่วง มีผื่นขึ้นตามตัว หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ เช่น มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร เกิดลำไส้ทะลุ ภาวะไตวาย และช่องท้องอักเสบ เสียชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนของการเกิดโรคไทฟอยด์

การติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi นอกจากจะแสดงอาการตามลักษณะอาการของโรคแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลาจะส่งผลระทบต่อระบบต่างๆของร่างกาย เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความอันตรายต่อสุขภาพ มีดังนี้

  • ระบบประสาท ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย แขนขาอ่อนแรง เส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคพาร์กินสัน  หรือ ภาวะอัมพาต ได้
  • ระบบการหายใจ อาจทำให้ปอดบวมและมีแผลที่คอหอย
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • ระบบการทำงานของตับ ม้าม และตับอ่อน อาจทำให้เกิดฝีหนองในตับ ฝีหนองในม้าม และตับอ่อนอักเสบ
  • ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ปัสสาวะไม่ออก โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ โรคไตอักเสบ และลูกอัณฑะอักเสบ
  • ระบบข้อและกระดูกอาจทำให้ข้ออักเสบ กระดูกอักเสบ

การรักษาไข้ไทฟอยด์

สำหรับแนวทางการรักษาโรคไทฟอยด์ สามารถรักษาโรคด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อ ซึ่งการรักษามีประสิทธิภาพสูง เป็นยาในกลุ่ม fluoroquinolones เช่น ciprofloxacin รวมถึงยาในกลุ่ม cephalosporin รุ่นที่สาม เช่น ceftriaxone

สำหรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะลำไส้เล็กทะลุ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง นอกจากการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาแบบประคับประคองควบคู่กันไปด้วย โดยแนวทางการประคับประครองอาการของโรค มีดังนี้

  • การให้ยาลดไข้ เพื่อไม่ให้ความร้อนในร่างกายสูงเกินไป
  • หมั่นเช็ดตัวผู้ป่วย เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่ิทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกาย

การป้องกันโรคไทฟอยด์

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคไทฟอยด์ ต้องป้องกันจากสาเหตุของโรค คือ ป้องกันการเข้าสู่ร่างกายของเชื้อโรคทางปากและการสัมผัสผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงทำให้ร่างกายแข็งแรงเพื่อจะสามารถรับมือต่อการรักษาตัวเมื่อเกิดโรคได้ แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย และ อาหารที่ปรุงไม่สุด
  • น้ำที่ดื่มต้องเป็นน้ำสะอาด ต้มน้ำให้สุกทุกครั้ง
  • ผัก หรือ ผลไม้ ที่จะรับประทาน ต้องล้างให้สะอาด
  • หมั่นล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ไข้ไทฟอยด์ พบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นการติดเชื้อผ่านทางแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด หรือ อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องเสียได้ อีกทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดลง การป้องกันการเกิดไข้ไทฟอยด์ที่สิ่งที่ดีที่สุด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove