หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ เลือดไม่สามารถไหลเวียนที่ขาได้จากการตีบของเส้นเลือดบริเวณขา ส่งผลเกิดอาการปวดขา ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดินหลอดเลือดที่ขาตีบ โรคหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อ

หากมีอาการเส้นเลือดตีบที่ขา แต่เป็นไม่มาก ก็จะยังไม่เห็นอาการชัดเจน แต่หากมีอาการ เราสามารถสังเกตุได้จากอาการดังนี้ คือ ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดิน  จะมีการปวดขาเมื่อต้องเดินนานๆ และอาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการลักษณะนี้ สามารถสันนิฐานได้ว่า ท่าเป็นโรค เส้นเลือดขาตีบ แล้ว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดขาตีบ

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เส้นเลือดที่ขาตีบ มีดังนี้

  • พันธุ์กรรม
  • อายุที่สูงขึ้น
  • อาการหลอดเลือดแดงแข็งตัว
  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะอ้วน
  • การพักผ่อนน้อย
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ภาวะโรคแทรกซ้อน เป็นผลข้างเคียงของการเกิดโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติเพิ่มเติม ครวจร่างกายเพิ่มเติม และส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม

อาการของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ

เราจะสังเกตุได้อย่างไรว่า มีอาการเป็นโรคเส้นเลือดแดงตีบ คือ ขนที่ขาจะน้อย สีผิวของขาจะคล้ำ หรือในผู้ป่วยบางคนขาจะซีด ไม่สามารถคลำชีพจรที่หลังเท้าได้ เท้าเย็น เป็นแผลเรื้อรังที่เท้า เล็บหนา บางลายจะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ ถ้าเป็นหนักมาก นิ้วเท้าอาจเน่าได้

  • ขนที่เท้าหรือขาจะน้อย
  • สีผิวของขาจะคล้ำขึ้น บางรายอาจจะซีด
  • คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้
  • เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชายที่เป็นความดันโลหิตสูง
  • แผลเรื้อรังที่เท้า
  • เล็บหนาตัว
  • หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว

การตรวจโรคเส้นเลือดแดงขาตีบ

สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  1. การตรวจด้วยวิธี ankle-brachial index (ABI) เป็นการวัดความดันเลือดที่แขนและขา
  2. การฉีดสี Arteriogram เข้าไปที่เส้นเลือด เพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่ตีบของเส้นเลือด
  3. การวัดระดับน้ำตาลในเลือด
  4. การวัดระดับไขมันในเลือด
  5. การตรวจคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจ

การรักษาโรคเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ

สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การลดปัจจัยเสี่ยงของโรคทั้งหมด การรักษาสามารถทำได้ดังนี้

  1. การเดิน เพื่อช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดแดงมีการสร้างใหม่
  2. หลีกเลี่ยงการประคบน้ำแข็งหรือน้ำร้อน
  3. เลือกสวมรองเท้าที่พอดีกับขนาดของเท้า
  4. ลดการบริโภคอาหารประเภทไขมัน แป้งและน้ำตาล
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. บริโภคอาหารประเภทวิตามินB ให้มากขึ้น
  7. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  8. ใช้ยารักษาควบคู่ไปด้วย ยากที่ใช้จะเป็นยา ต้านเกล็ดเลือด
  9. การควบคุมระดับไขมันในเลือด

หากรักษาโดยการลดอาการเสี่ยงของโรคแล้วยังไม่ดีขึ้น สามารถใช้การทำ Balloon ที่เส้นเลือดแดงบริเวณที่มีการตีบได้

การป้องกันโรคเส้นเลือดแดงตีบที่ขา

สามารถทำได้โดยงดปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด เช่น รักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เป็นต้น

  • รักษาระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หยุดสูบบุหรี่
  • รักษาน้ำหนัก อย่าให้อ้วน
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ

สมุนไพรใช้ลดน้ำหนัก สามารถช่วยป้องกันและรักษาการเป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบได้ เราจึงได้รวบรวมสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดความอ้วน มาให้เป็นความรู้เสริม มีดังนี้

ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
แมงลัก เมล็ดแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพรแมงลัก อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด
ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชุมเห็ดเทศ ต้นกระเจีียว ดอกกระเจียว สรรพคุณของกระเจียว ประโยชน์ของกระเจียวกระเจียว

โรคเส้นเลือดขาตีบ คือ ภาวะเลือดไม่สามารถส่งไปไหลเวียนที่ขาได้ เนื่องจากเกิดการตีบที่เส้นเลือด บริเวณขา เป็น โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด ไม่ใช้โรคติดต่อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดขา ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดิน และจะดีขึ้นเมื่อได้พัก ปัจจัยเสียงที่ทำให้เกิดโรคนี้ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis ) อาการปวดท้อง ท้องอืด ไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ หิวน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะน้อย ไม่ถ่ายอุจาระ หัวใจเต้นเร็ว ระวังภาวะแทรกซ้อน

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร

ปัจจัยที่มีผลให้ช่องท้องอักเสบ

สำหรับปัจจัยของการเกิดช่องท้องอักเสบ ประกอบด้วย ตับแข็ง โรคท้องมาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคในช่องเชิงกราน ไส้ติ่งอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้บิด ลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ลำไส้อักเสบ อุบัติเหตุ การล้างไตผ่านทางหน้าท้อง

สาเหตุของการเกิดโรคช่องท้องอักเสบ

เกิดจากการมีน้ำในช่องท้อง การล้างไตทางหน้าท้อง กระเพาะอาหารอักเสบ ไส้ติ่งแตก ช่องเชิงกรานอักเสบ หรือ อุบัติเหตุ โดยสาเหตุของการอักเสบที่ช่องท้องสามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ การติดเชื้อ และ การไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียดดังนี้

สาเหตุการอักเสบช่องท้องที่เกิดจากการติดเชื้อ

  • การที่อวัยวะภายในช่องท้องอักเสบติดเชื้อ โดยหากอวัยวะที่ถูกหุ้มด้วยเยื่อบุช่องท้องเกิดการอักเสบติดเชื้อ ก็จะทำให้เยื่อบุช่องท้องบริเวณใกล้เคียงเกิดการอักเสบไปด้วย ซึ่งก็จะเป็นการอักเสบเฉพาะที่ ตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุดคือ การเกิดไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการผ่าตัด ไส้ติ่งก็จะแตกและทำให้เกิดการอัก เสบของเยื่อบุช่องท้องทั่วช่องท้องได้ หรือการอักเสบของลำไส้ส่วนที่พองเป็นกระเปาะชนิดเป็นมาแต่กำเนิด เรียกว่า Meckel’s diverticulitis ก็เป็นสาเหตุที่พบบ่อยเช่นกัน (แต่โรคMeckel’s นี้เป็นโรคพบได้น้อย)
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการทะลุของช่องทางเดินอาหาร โดยช่องทาง เดินอาหารทุกตำแหน่งสามารถเกิดการทะลุได้ ซึ่งจะทำให้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นปกติในช่องทางเดินอาหารเหล่านั้น (แบคทีเรียประจำถิ่น หรือ Normal flora) ออกมาอยู่ในช่องท้อง และแบคทีเรียเหล่านั้นก็ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องขึ้น
  • การติดเชื้อที่เกิดจากเยื่อบุช่องท้องฉีกขาด โดยที่ทางเดินอาหารไม่ ได้ฉีกขาด เช่น การถูกแทงด้วยมีดและของแหลมคมต่างๆ ทะลุผ่านหน้าท้อง เชื้อโรคจากสิ่งของภายนอกนั้นๆ และจากผิวหนังจะผ่านเข้าสู่ช่องท้อง และทำให้เยื่อบุช่องท้องเกิดการอักเสบขึ้นมา ทั้งนี้การผ่าตัดหน้าท้องที่ไม่สะอาด ก็อาจนำเชื้อโรคเข้าสู่ช่องท้องได้เช่นกัน
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการมีน้ำในช่องท้อง เรียกว่า Spontaneous bacterial peritonitis หรือเรียกว่า Primary peritonitis โดยส่วนใหญ่จะพบในคนที่เป็นโรคตับแข็ง ซึ่งจะทำให้มีน้ำในช่องท้อง โดยช่องทางที่เชื้อแบคทีเรียเข้ามาและทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบนั้นไม่ชัดเจน สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะตับที่เป็นโรคนี้ สูญเสียหน้าที่การกรองเชื้อโรคในเลือดจากหลอดเลือดที่เดินทางมาจากลำไส้เพื่อเข้าสู่ตับ ร่วม กับน้ำในช่องท้องที่มีอยู่ในผู้ป่วยเหล่านี้ เป็นแหล่งอาหารที่ดีสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แต่การมีน้ำในช่องท้องจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคหัวใจวาย หรือโรคไตชนิดที่เรียกว่า Nephrotic syndrome ก็สามารถทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้เช่น กัน เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ Spontaneous bacterial peritonitis มักจะเกิดจากเชื้อเพียงชนิดเดียวเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการทะลุของช่อง ทางเดินอาหารที่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหลายๆชนิดร่วมกัน
  • การติดเชื้อที่เกิดจากการฟอกไตด้วยวิธีผ่านทางช่องท้อง โดยผู้ป่วยโรคไตวายที่ต้องฟอกเลือดผ่านการเจาะสายเข้าช่องท้อง เชื้อโรคจากผิวหนังอาจเข้าช่องท้องผ่านมากับสายท่อที่ใช้เจาะ หรือเชื้อโรคอาจปนเปื้อนมากับน้ำยาที่ใช้ในการฟอกไตก็ได้
  • การติดเชื้อที่เกิดจากร่างกายมีการติดเชื้อบางอย่างที่ทำให้เกิดการอักเสบในหลายๆอวัยวะ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดวัณโรค สามารถทำให้เกิดการอักเสบได้เกือบทุกอวัยวะ รวมทั้งเยื่อบุช่องท้องด้วย

สาเหตุของการอักเสบที่เกิดจากการไม่ติดเชื้อ

  • เลือด อาจมาจากการเกิดอุบัติเหตุกระแทกช่องท้องรุนแรงที่ทำให้ตับ หรือม้ามแตก เลือดจึงไหลเข้าช่องท้อง และทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบได้ หรืออาจเกิดจากมีช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst) ของรังไข่ (เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่) หรือเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในช่องท้องน้อย เมื่อเกิดการแตกของซีสต์ หรือเยื่อบุ จะทำให้เลือดออกมาอยู่ในช่องท้องน้อยและเกิดการอักเสบตามมาได้
  • น้ำย่อยที่เป็นกรดจากกระเพาะอาหาร ดังที่ได้กล่าวแล้วในข้างต้น หากกระเพาะอาหารเกิดการทะลุในช่วงที่มีปริมาณน้ำย่อยมาก ความเป็นกรดของน้ำย่อยจะทำลายเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารได้ แต่ความเป็นกรดของน้ำย่อยเองจะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุได้
  • น้ำย่อยจากตับอ่อน ในกรณีตับอ่อนเกิดการอักเสบ หรือเกิดอุบัติเหตุกระแทกช่องท้องที่รุนแรงจนตับอ่อนแตก น้ำย่อยก็จะไหลเข้าสู่ช่องท้องและทำให้เยื่อบุช่องท้องอัก เสบได้
  • น้ำดี โดยถุงน้ำดีอาจเกิดแตกทะลุจาก มีนิ่วในถุงน้ำดี จากโรคถุงน้ำดีอักเสบ หรือจากโรคมะเร็งถุงน้ำดี โดยปกติน้ำดีจะไม่มีแบคทีเรีย แต่องค์ประกอบของน้ำดีสามารถทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบได้
  • ปัสสาวะ โดยการเกิดอุบัติเหตุกระแทกบริเวณท้องน้อยที่รุนแรงจนทำให้กระเพาะปัสสาวะฉีกขาด น้ำปัสสาวะจึงไหลเข้าสู่ท้องน้อย และทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุท้องน้อยได้

อาการของผู้ป่วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

ผู้ป่วยจะปวดท้อง ท้องอืด มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หิวน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะได้น้อย ปัสสาวะสีเข้ม ไม่ถ่ายอุจาระ ไม่ผายลม หัวใจเต้นเร็ว ต้องระวังโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากช่องท้องอักเสบ เช่น โลหิตเป็นพิษ ช็อคจากโลหิตเป็นพิษ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียจะเข้าไปสร้างสารพิษ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ อันตรายถึงชีวิต การแข็งตัวของเลือด เกิดพังพืดในช่องท้องทำให้เกิดลำไส้อุดตัน ภาวะหายใจล้มเหลว

การตรวจโรคช่องท้องอักเสบ

สามารถทำได้โดย การเจาะเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเลือด การเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของไต ทำอัลตราซาวน์

การรักษาโรคช่องท้องอักเสบ

สำหรับารรักษาอาการช่องท้องอักสบนั้น สามารถทำได้โดยการให้ยาปฏิชีวนะ งดน้ำ งดอาหาร และให้สารอาหารแก่ร่างกายโดยให้น้ำเกลือ ผ่าตัดล้างช่องท้อง ผู้ป่วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบจะถูกรับไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยการรักษาแบ่งออกเป็น การรักษาสาเหตุ การรักษาเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และการรักษาแบบประคับประคอง

  • การรักษาสาเหตุ เช่น กรณีช่องทางเดินอาหารแตกทะลุ อวัยวะภาย ในที่ฉีกขาด หรือมีซีสต์แตก ก็ต้องรักษาโดยการผ่าตัด หากฟอกไตทางหน้าท้องอยู่ก็ต้องถอดสายที่ต่อเข้าช่องท้องออก เป็นต้น
  • การรักษาเยื่อบุช่องท้องอักเสบ การรักษาหลัก คือการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ โดยให้ยาผ่านเข้าทางหลอดเลือด โดยยาจะต้องครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุ
  • ส่วนการรักษาแบบประคับประคองก็จะทำร่วมไปด้วยกัน เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน การให้สารน้ำ และเกลือแร่

การป้องกันการเกิดโรคช่องท้องอักเสบ

สามารถทำได้โดย รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินบี และแคลเซี่ยม โปรตีนที่มาจากถั่ว เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว เต้าหู้ ปลา และหลีกเลี่ยงเนื้อแดง หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป เช่น ขนมปัง และน้ำตาล งดชา กาแฟ และสุราดื่ม ให้น้ำวันละ 6-8 แก้ว

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ Peritonitis ) เกิดจากหลายสาเหตุ อาการของโรค คือ ปวดท้อง ท้องอืด มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หิวน้ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะได้น้อย ปัสสาวะสีเข้ม ไม่ถ่ายอุจาระ ไม่ผายลม หัวใจเต้นเร็ว ต้องระวังโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากช่องท้องอักเสบ เช่น โลหิตเป็นพิษ การรักษาโรคช่องท้องอักเสบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove