ตากุ้งยิง Hordeolum การอักเสบบริเวณหนังตา ต่อมไขมันที่เปลือกตา มี 2 ชนิด ตากุ้งยิงชนิดหัวผุด ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน อาการบวมที่เปลือกตา บวมที่หนังตา ขี้ตาเขียวตากุ้งยิง โรคตา ตาอักเสบ โรคติดเชื้อ

โรคตากุ้งยิง เป็นโรคชนิดหนึ่งเกี่ยวกับโรคตา เป็นอาการอักเสบที่บริเวณ หนังตา(external hordeolum) ขนตา(hair follicle) หรือ ต่อมไขมันที่เปลือกตา (internal hordeolum) ซึ่งตากุ้งยิงนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทกวัย โอกาสของการเกิดโรคมีเท่ากันทั้งในชายและหญิง แต่จะพบมากในผู้ป่วยเด็ก ที่อายุไม่เกิน 10 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันโรคของเด็กยังจัดการกับเชื้อโรคไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ โดยโรคตากุ้งยิง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ตากุ้งยิงชนิดหัวผุด และ ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน รายละเอียดของชนิดตากุ้งยิง มีดังนี้

  • ตากุ้งยิง ชนิดหัวผุด หรือจะเรียกว่า ตากุ้งยิงภายนอก ทางการแพทย์เรียก External hordeolum เกิดจากการอักเสบของต่อมเหงื่อบริเวณผิวหนัง ที่โคนขนตา จะมีอาการเกิดหัวฝีเห็นได้อย่างชัดเจนที่ขอบตา ลักษณะของฝีจะไม่ใหญ่
  • ตากุ้งยิง ชนิดหัวหลบใน หรือจะเรียกว่า ตากุ้งยิงภายใน ทางการแพทย์รียก Internal hordeolum เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันที่เยื่อบุเปลือกตา ต้องปลิ้นเปลือกตาจึงจะสามารถมองเห็นฝี มักจะมีขนาดใหญ่

สาเหตุของการเกิดโรคตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิงเกิดจากการติดเชื้อ Staphylococcus aureus สามารถหายเองได้ โดยผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคตากุ้งยิง จะพบมากในผู้ที่มีอาการป่วย เป็นโรคเบาหวาน คนที่มีหนังตาอักเสบเรื้อรัง คนที่มีไขมันในเลือดสูง การติดเชื้อนั้น ทำให้เกิดการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา โดยทั่วไปแล้วต่อมไขมันใต้เปลือกตานั้นมีจำนวนมาก ซึ่งไขมันสามารถระบายออกทางรูระบายเล็ก ๆ ใกล้ขนตาได้ หากมีสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่นละอองไปอุดตัน ทำให้ไขมันไม่สามารถระบายออกที่รูต่อมไขมันได้ หากมีเชื้อโรคเข้าไปได้ ก็จะเกิดการอักเสบ และเป็นหนอง มีอาการเจ็บ และ บวม สาเหตุของการติดเชื้อที่มักจะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่

  • การขยี้ตาบ่อย ๆ ด้วยมือที่ไม่สะอาด
  • การทำความสะอาดรอบดวงตาไม่ดี ทำให้ฝุ่นและสารละคายเคืองเข้าสู่ดวงตาง่าย
  • การไม่รักษาความสะอาดของคอนแทคเลนส์ ทำให้สิ่งสกปรกเจือปนเข้าสู่ดวงตา

อาการโรคตากุ้งยิง

ผู้ป่วยที่เป็น โรคตากุ้งยิง เริ่มจากการมีอาการเจ็บ ๆ คัน ๆ ที่เปลือกตา ต่อมาเปลือกตาจะเริ่มบวมแดง และรู้สึกปวดบริเวณเปลือกตา  เกิดการการมีก้อนที่บริเวณเปลือกตา และ อาการปวดบริเวณหนังตา จะเกิดเวลา กรอกตา หรือ หลับตา จะมีอาการปวด ในบางคนจะมีอาการบวมที่บริเวณเปลือกตา บางคนจะมีน้ำหนองไหลออกจากเปลือกตา และ ถ้าหนองที่เปลือกตา เกิดแตก จะทำให้ ขี้ตาเป็นสีเขียว  หากกดลงไปบริเวณก้อนจะรู้สึกเจ็บ ก้อนที่หนังตาจะกลายเป็นฝีและหัวเป็นหนอง ภายใน 5 วัน และหนองจะแตกไปเอง และจะค่อยๆยุปไป และหายไปเอง แต่ในกรณีที่หนองไม่หมดจะทำให้เกิดก้อนที่เปลือกตาเป็นข้อนแข็ง

การรักษาโรคตากุ้งยิง

สำหรับการรักษาโรคตากุ้งยิง นั้น สามารถหายเองได้ โดยการรักษาคือ การประคับประครองอาการของโรคไม่ให้ลาม หรือ อักเสบมากขึ้น สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  1. การผ่าเอาหนองออก จะใช้สำหรับกรณีที่มีอาการรุนแรง หากอาการตากุ้งยิง ไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ โดยสังเกตุอาการว่ามีก้อนมีขนาดใหญ่มากและเจ็บตา มีเลือดออกที่เปลือกตา มีตุ่มน้ำเกิดขึ้นที่เปลือกตา ที่เปลือกตามีสะเก็ด สายตาผิดปรกติ หากมีอาการดังกล่าวต้องพบแพทย์ เพื่อผ่าตัดดูดหนอง ก่อนที่อาการจะลามไปมากกว่านี้
  2. การใช้ยาหยอดตา เพื่อทำรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น
  3. รับประทานยาแก้อักเสบ และ บรรเทาอาการปวดของตังตา

เมื่อเรามีญาติพี่น้องหรือคนในครอบครัว เป็นตากุ้งยิง ให้ดูแลาตัวผู้ป่วย และสภาพแวดล้อม เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น สำหรับตัวผู้ป่วย ให้ประคบน้ำอุ่น ห้ามบีบหรือเค้นเอาหนองออก และหากหนองแตกเอง ให้ล้างด้วยน้ำต้มสุก หมั่นล้างมือบ่อยๆ หยอดตาและทานยา ตามสั่งหมอ งดการทำอะไรที่จะเกิดการระคายเคืองดวงตา

การป้องกันอาการตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิงสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ด้วยการรักษาสุขอนามัย เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคมาทำให้ตาอักเสบ โดยรายละเอียดของการป้องกันการเกิดตากุ้งยิง มีรายละเอียด ดังนี้

  • รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ใกล้กับดวงตตา เช่น ใบหน้า และ เส้นผม เป็นต้น
  • ไม่ควรขยี้ตา เนื่องจากมือที่ขยี้ตาอาจไม่สะอาด ควรล้างมือบ่ายๆ
  • ทำความสะอาดรอบๆดวงตาทุกครั้ง หลังจากใช้เครื่องสำอางค์
  • หากมีความรู้สึกว่าดวงตาอักเสบ หรือ ติดเชื้อ ให้ใช้การทำความสะอาด และ การประคบร้อน เพื่อป้องกันการอุดตันของต่อไขมันบริเวณเปลือกตา
  • ให้ดูแลร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ และที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ไข่แดง เนย เครื่องใน และพืชผักสีเหลือง เป็นต้น

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้งผักบุ้ง
ปอผี สมุนไพร ผักกระเดียง สรรพคุณของปอผีปอผี ผักกระเดียง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม
มะระ สมุนไพร พืชรสขม ประโยชน์ของมะระ
มะระ

โรคตากุ้งยิง ( Hordeolum ) คือ อาการอักเสบบริเวณหนังตา ขนตา หรือ ต่อมไขมันที่เปลือกตา โรคตากุ้งยิง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ตากุ้งยิงชนิดหัวผุด และ ตากุ้งยิงชนิดหัวหลบใน วิธีรักษาตากุ้งยิง ตากุ้งยิงรักษาอย่างไร ตากุ้งยิงเกิดจากอะไร อาการบวมที่เปลือกตา บวมที่หนังตา ขี้ตาเขียว สาเหตุของตากุ้งยิง

ตาแห้ง Dry Eyes น้ำตาที่หล่อลื่นดวงตาไม่พอ ทำให้ระคายเคืองตา แสบตา ไม่สบายตา ต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมลดอาการตาแห้ง อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาลดความดันโรคตาแห้ง โรคตา โรคไม่ติดต่อ

โรคตาแห้ง คือ โรคเกี่ยวกับตา ภาษาอังกฤษ เรียก Dry Eyes เป็นภาวะน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยง ดวงตาให้มีความชุ่มชื่นและเคลือบกระจกตาไม่พอ หรือมีปริมาณน้อยเกินไป อาการตาแห้ง สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย แต่ที่พบมากในเพศหญิง ที่หมดประจำเดือนเดือนแล้ว โรคตาแห้งถือเป็นโรคทางตาชนิดหนึ่ง

ตาแห้ง เป็นภาวะฟิล์มน้ำตา ที่ฉาบอยู่บริเวณส่วนหน้าของลูกตา ไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ทำให้เกิดการระคายเคือง ส่งผลต่อการแสบตา ตาแห้ง ระคายเคืองตา และไม่สบายตา โดย ฟิล์มน้ำตา นั้น มี 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นไขมัน คือ ชั้นนอกสุด ชั้นสารน้ำ  เป็นน้ำที่สร้างจากต่อมน้ำตา และ ชั้นสุกท้าย คือ ชั้นน้ำเมือก สร้างจากเซลล์ในเยื่อบุตา

สาเหตุของโรคตาแห้ง

สาเหตุของการเกิดภาวะตาแห้งนั้น มีสาเหตุจากการเกิดโรคหลากหลายสาเหตุ โดยจะแยกเป็นข้อๆ รายละเอียด ดังนี้

  1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายเพศหญิง และผู้ป่วยเกี่ยวกับโรค Sjogren’s Syndrome จะพบว่ามีอาการตาแห้ง
  2. การใช้ยาในกลุ่ม ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ยากล่อมประสาท ยารักษาหวัดและภูมิแพ้ ยาทางจิตเวช และยาลดความดันโลหิตสูงที่มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ ยาชนิดดังกล่าวอาจทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  3. อาการเยื่อบุตาอักเสบอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อ หรือการแพ้ยา ทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  4. ภาวะการสร้างน้ำตาน้อยกว่าปกติ เกิดจากความผิดปรกติของการสร้างน้ำตา
  5. ส่วนประกอบของน้ำตาผิดปกติ เช่น น้ำตาระเหยเร็วกว่าปกติ ทำให้ทำงานไม่ได้สมดุล จึงมีการสร้างน้ำตาน้อยลง
  6. การเสื่อมของร่างกายตามอายุ โดยส่วนที่เกิดการเสื่อม คือ ต่อมน้ำตา
  7. เกิดจากภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานทำให้เกิดการอักเสบต่อมน้ำตา
  8. การทำเลสิก ซึ่งเกิดการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระจกตา ทำให้ไม่มีการถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำตา
  9. การใช้คอนแทคเลนส์
  10. เกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา ส่งผลต่อการทำงานของต่อมน้ำตา
  11. การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตา ยาที่มีฤทธิ์ต้านการทำงานของระบบประสาท เป็นต้น

อาเการของโรคตาแห้ง

สำหรับ อาการของโรคตาแห้ง ผู้ป่วยจะรู้สึกฝืดที่ตา ระคายเคืองเหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตา ในบางคนขี้ตาจะเป็นเหมือกเหนียวในผู้ป่วยที่ใช้คอนแทคเลนส์ ถ้ามีอาการตาแห้ง ก็จะระคายเคืองมากขึ้น บางครั้งมี อาการน้ำตาไหล เนื่องจากน้ำตาปกติน้อย ทำให้ต่อมน้ำตาทำการบีบน้ำตาออกมาจนมาก อาการของโรคตาแห้งนั้น เราได้แยกเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา มีดังนี้

  • มีอาการฝืดที่ดวงตา ลักษณะคล้ายกับว่าไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงที่ดวงตา
  • มีอาการระคายเคืองที่ดวงตา
  • มีความไม่สบายตา เหมือนมีอะไรอยู่ที่ดวงตาตลอดเวลา
  • มีอาการผิดปรกติของสายตา เช่น อาการตาพร่า อาการแพ้แสงแดด และอาการสายตามัว
  • มีความผิดปรกติของการมองเห็นภาพ เช่น มีอาการภาพซ้อน

โดยอาการต่างๆ เหล่านี้ ที่กล่าวมาในข้างต้น จะเป็นมากขึ้น เมื่อจำเป็นต้องใช้สายตาหนักขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ ดูทีวี รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น ที่มีลมพัดแรง อยู่บนเครื่องบิน อยู่ในห้องแอร์ เป็นต้น

การรักษาโรคตาแห้ง

สำหรับการรักษาโรคตาแห้งนั้น ต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อลดอาการตาแห้ง หมั่นกระพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการระคายเคือง และให้ดื่มน้ำเสมอ เพื่อรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย ปิดท่อระบายน้ำตาจะช่วยให้น้ำตาหล่อเลี้ยงตาเพิ่มขึ้น เราจะสรุปแนวทางการรักษาโรคตาแห้งให้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดวงตา เช่น ไม่อยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง ควัน หลีกเลี่ยงการใช้พัดลม หรือ ปัจัยเสี่ยงที่ทำให้ลมโดนตา แต่หากจำเป็น ให้ใส่แว่นตาเพื่อป้องกัน
  2. ทำการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดตาแห้ง เช่น โรคเปลือกตาอักเสบ เป็นต้น
  3. อาการตาแห้งเกิดอาการดวงตาขาดน้ำหล่อลื่นดวงตา ให้ใช้สารชดเชยน้ำตา เช่น น้ำตาเทียม และ ยาที่เป็นสารน้ำเหลืองจากเลือด ( Serum ) ของตัวเราเอง เรียก Autologus serum หรือ ใส่แว่นตาที่ทีให้ตาชุม่ชื่น เรียก Moist chamber
  4. ใช้ยาหยอดตาช่วยเพื่อลดการอักเสบของดวงตา แต่การใช้ยาหยอดตา ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  5. ใช้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เรียก Immunosuppressant ยากดภูมิคุ้มกันโรคจะช่วยลดการอักเสบของดวงตา
  6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตาดวงตา เป็น อาหารที่มีโอเมกา 3 จะช่วยให้ภาวะตาแห้งดีขึ้นได้
  7. การผ่าตัดเื่อทำการลดการระเหยของน้ำตา มีการผ่าตัด 4 ลักษณะ เพื่อรักษาอาการตาแห้ง ประกอบด้วย
    1. การทำ Punctual plug คือ การผ่าตัดเพื่ออุดช่องทางการไหลออกของน้ำตาลงสู่โพรงจมูก
    2. การทำ Punctal cautery คือ การผ่าตัดโดยการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาไหล เพื่ออุดการไหลออกของน้ำตาแบบถาวร
    3. การใช้คอนแทคเลนส์ ชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า Scleral lens เป็นคอนแทคเลนส์ที่ช่วย อุ้มน้ำตาให้มากขึ้น
    4. การเย็บเปลือกตาหรือหนังตา เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติของเปลือกตาและหนังตา

การป้องกันโรคตาแห้ง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคตาแห้งต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของอาการตาแห้งทั้งหมด แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • หากต้องให้สายตาอย่างหนัก ต้องหาเวลาพักสายตาในทุกๆ 60 นาที
  • กระพริบตาบ่อยๆให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยง
  • หากระคายเคืองตาให้ใช้น้ำตาเทียมหยอด เพื่อลดการระคายเคือง
  • ไม่ควรสวมคอนเทคเลนส์นานเกิน 8 ชั่วโมง
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • สวมแว่นกันแดนเมื่อต้องออกแดดนานๆ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทอง
ฟักทอง
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือย
ลูกเดือย
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม

ตาแห้ง ( Dry Eyes ) น้ำตาที่หล่อลื่นดวงตาไม่พอ ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา ไม่สบายตา วิธีรักษาโรคตาแห้งต้องไม่ขยี้ตา ใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อลดอาการตาแห้ง อาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาลดความดัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove