มะเร็งกล่องเสียง ( Laryngeal cancer ) เนื้องอกที่กล่องเสียง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีก้อนที่คอเป็นก้อนโต มีหลายก้อนหรือก้อนเดียว เสียงแหบ เจ็บคอ น้ำหนักลดลงมาก มะเร็งกล่องเสียง โรคมะเร็ง เสียงแหบนานๆ โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งกล่องเสียง หมายถึง ภาวะผิดปรกติของเนื้อเยื่อบุผิวกล่องเสียง โดยเกิดเนื้องอกที่กล่องเสียง มะเร็งที่กล่องเสียงนั้น พบว่า มีอัตรการเกิด ร้อยละ 2 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ไม่ใช่มะเร็งที่พบบ่อย จัดว่าเป็น โรคหูคอจมูก ชนิกหนึ่ง มะเร็งกล่องเสียง นั้นจะพบมากในเพศชาย ที่มีประวัติการสูบบุหรี่ โดยกลุ่มคนที่เป็นมะเร็งกล่องเสียงมาก จะเป็น คนอายุ 50 ถึง 70 ปี การเกิดเนื้องอกที่กล่องเสียง นั้นสามารถเกิดได้ในทุกตำแหน่งของกล่องเสียง

หากพบว่าเป็นมะเร็งกล่องเสียง ต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการลุกลามของมะเร็งสู่ยังอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือดแดง หลอดอาหาร เป็นต้น แต่มะเร็งกล่องเสียง สามารถรักษาให้หยาขาดได้ หากเข้ารับการรักษาในระยะการเกิดโรคแรกๆ

ลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียง

การแพร่กระจายของมะเร็งกล่องเสียงนั้นมี 3 ลักษณะ คือ การแพร่กระจายโดยตรง การแพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลือง และ การแพร่กระจายสู่เส้นเลือด รายละเอียด ดังนี้

  1. การแพร่กระจายโดยตรง จะเกิดในระยะของมะเร็งกล่องเสียงในระยะสุดท้าย มะเร็งจะแทรกซึมเข้าสู่ชั้นเยื่อบุกล่องเสียงและเข้าสู่ ต่อมไทรอยด์ และ หลอดอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ ที่อยู่ใกล้กับกล่องเสียง
  2. การแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองจะอยู่บริเวณหลอดเลือดแดงที่ลำคอ และจะแพร่กระจายไปตามหลอดเลือดดำในลำคอ รวมถึงเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่ลำคอ
  3. การแพร่กระจายเข้าสู่เส้นเลือด เมื่อเชื้อมะเร็งเข้าสู่เส้นเลือด จะทำให้เกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น ปอด ตับ ไต กระดูก สมอง เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียง นั้นทางการแพทย์ยังไม่ทราบสรุปถึงสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่สามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็งกล่องเสียง มีดังนี้

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะกระตุ้นเยื่อบุกล่องเสียง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในกล่องเสียง กลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • การสูบบุหรี่  ควันของบุหรี่มีสารก่อมะเร็ง ทำให้เยื่อบุกล่องเสียง หยุดการเคลื่อนไหว หรือ ทำให้เคลื่อนไหวช้าลง และทำให้สารคัดหลั่ง หรือ สารระคายเคือง ตกค้างอยู่ในกล่องเสียง ส่งผลให้เยื่อบุกล่องเสียงหนาขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กลายเป็นเนื้อร้ายได้
  • การอักเสบของเยื่อบุกล่องเสียงชนิดเรื้อรัง การอักเสบแบบเรื้อรังทำให้เกิดการสร้างเซลล์ของร่างกายที่ผิดปรกติได้
  • สภาพแว้ล้อมที่มีมลพิษทางอากาศสูง การสูดดมอากาศที่มีพิษ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นการสร้างเซลล์มะเร็ง
  • การติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสบางชนิดทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ที่ผิดปรกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้
  • เคยมีประวัติการฉายรังสีก้อนเนื้อบริเวณลำคอ
  • ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศ  จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง จะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนรีเซบเตอร์ ( Estrogen receptor , ER ) สูงกว่าปรกติ

อาการของผู้ป่วนโรคมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กล่องเสียง นั้น จะมีอาการเด่นชัดที่ระบบร่างกายที่เกี่ยวข้องกับลำคอ เช่น การออกเสียง การกลืนอาหาร และ การหายใจ โดยรายละเอียดของอาการโรคมะเร็งกล่องเสียงมีดังนี้

  • มีอาการเสียงแหบแห้งเป็นเวลานาน เรื้อรังรักษาไม่หาย
  • ความสามารถในการกลืนอาหารลดลง มีลักษณะของการติดขัด และ เจ็บ รวมถึงสำลักอาหารด้วย
  • เกิดเสมหะ และ มีเลือดปน
  • หายใจลำบาก มีการหายใจติดขัด
  • มีอาการไม่ยากกินอาหาร เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากไม่กินอาหาร
  • มีก้อนที่คอ เป็นก้อนโต อาจจะมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียว
  • เจ็บคอบ่อย และ รักษาไม่หายสักที
  • มีอาการไอแบบเรื่องรัง
  • ปวดที่หูบ่อย

หากท่านมีอาการตามลักษณะดังที่กล่าวมาในข้างต้น แสดงว่าท่านมีโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งที่กล่องเสียง ควรเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยด่วน

การรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียง

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่กล่องเสียงนั้น จากที่กล่าวมาข้างต้น หากรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถรักษาให้หายขาด และ กลับเข้าสู่การใช้ชีวิตอย่างปรกติได้ โดยการรักษานั้น ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาด้วย การฉายรังสี การผ่าตัด และใบบางรายต้องเข้ารับการทำเคมีบำบัดด้วย โดยแนวทางการรักษาของแพยทย์ มีแนวทางดังนนี้

  • สำหรับผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก แพทย์จะรักษาด้วยการฉายรังสีเป็นหลัก หรือ จะผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อทำการรักษากล่องเสียงเอาไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาพูดได้อย่างปกติ
  • สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะมะเร็งลุกลาม นั้นต้องเข้ารับการผ่าตัดกล่องเสียง และฉายรังสี รวมถึงเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถพูดไม่ได้อย่างเป็นปกติ ผู้ป่วยต้องฝึกพูดใหม่ ด้วยการออกเสียงผ่านหลอดอาหาร และ ใช้อุปกรณ์ช่วยพูดเสริม

การรักษามะเร็งที่กล่องเสียง สิ่งที่ต้องระวัง คือ ภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยทิ้งไว้ มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะรอบข้าง ทำให้ ความสามารถในการ กลืนอาหาร และ การหายใจ ลำบาก และ การแพร่เข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายผ่านทางเส้นเลือด จะทำให้ไม่สามารถรักษาได้

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่กล่องเสียง

สำหรับการป้องกันการเกิดมะเร็งกล่องเสียงนั้น ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด รายละเอียดดังนี้

  • ไม่สูบบุหรี่ หรือ เลิกสูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลลกอฮอร์ หรือ เลิกดื่มเหล้า
  • ไม่นำตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่มีมลละพิษทางอากาศสูง
  • ไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเป็นโรคกรดไหลย้อน
  • รับประทานอาหารให้มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

มะเร็งกล่องเสียง ( Laryngeal cancer ) เนื้องอกที่กล่องเสียง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด มีก้อนที่คอ เป็นก้อนโต อาจจะมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียว การรักษาโรคและการป้องกันต้องทำอย่างไร

มะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) เนื้อร้ายที่ช่องปาก เกิดจากการสูบบุหรี่ อาการมีก้อนในช่องปาก ลิ้นและเยื้อบุช่องปากมีฝ้าสีขาว แผลในปากหายยาก ไม่สามารถกินอาหารได้

มะเร็งช่องปาก โรคมะเร็ง โรคในช่องปาก เป็นมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก เป็นการเกิดเนื้อร้ายที่ช่องปาก เป็นโรคที่ทรมาน ทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ อาการของโรคมะเร็งช่องปากเป็นอย่างไร อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค การรักษาและการดูแลผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก ทำอย่างไร รวมอยู่ในบทความนี้

ช่องปาก คือ อวัยวะเริ่มต้นของระบบทางเดินอาหาร ที่มีอวัยวะหลายส่วน ได้แก่ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก ลิ้น รวมถึงเนื้อเยื่อใต้ลิ้น ด้วยซึ่งอวัยวทั้งหมดในช่องปากสามารถเกิดเนื้อร้ายได้ โรคมะเร็งช่องปาก ทางการแพทย์ เรียก Oral cancer สำหรับมะเร็งช่องปาก พบว่า ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นโรคมะเร็งช่องปาก พบมากในกลุ่มคนวัยกลางคน อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และโอกาสในการเกิดโรค ผู้ชายมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้หญิง

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดมะเร็งในช่องปาก

เราได้รวบรวมสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก มาซึ่งส่วนใหญ่กิดจากการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องการใช้สารเสพติดและการพักผ่อนน้อย โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ประกอบด้วย

  • การสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การกินอาหารที่มีส่วนผสมของสารก่อมะเร็งเป็นประจำ เช่น การเคี้ยวหมากพลู เป็นต้น
  • การอักเสบในช่องปากเป็นประจำ การอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดการระคายเคือง หากเกิดนานๆ เซลล์และเนื้อเยื่อในช่องปากสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อร้ายได้
  • การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma virus) เป็นการติดเชื้อไวรัสจากการมีเพศสัมพัน์ทางปาก
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในอวัยวะใกล้เคียงกับช่องปาก เช่น มะเร็งลำคอ และมะเร็งศีรษะ

ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของมะเร็งในช่องปากมากที่สุด คือ การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จากสถิติของผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก พบว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก สูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นประจำ

อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก

อาการของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากนั้น จะมีอาการให้เห็นชัดเจนในอวัยวะที่อยู่ในช่องปาก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • บริเวณลิ้นและเยื้อบุช่องปาก จะมีฝ้าสีขาวหรือสีแดง
  • เกิดแผลที่ช่องปาก และแผลในช่องปากนั้นหายยาก ใช้เวลามากกว่า 14 วันถึงหาย
  • ที่ช่องปาก เช่น เหงือก พื้นปาก เพดานปาก มีก้อนเนื้อเกิดขึ้น และขนาดของก้อนเนื้อจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก้อนเนื้อนี้ไม่มีอาการเจ็บปวด
  • สุขภาพฟันไม่แข็งแรง เช่น ฟันโยก ฟันหลุด
  • การเคี้ยวอาหารและการกลืนอาหาร เกิดความยากลำบาก
  • เกิดโลหิตไหลผิดปรกติที่ช่องปาก
    มีก้อนที่ลำคอ ซึ่งคือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ โต คลำได้จากมีโรคมะเร็งลุกลาม แต่มักไม่มีอาการเจ็บปวด
    อนึ่ง หากโรคมะเร็งช่องปาก แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจมีอาการตามอวัยวะนั้น ๆที่โรคแพร่กระจายไปได้ เช่น มะเร็งกระจายไปกระดูก อาจมีอาการปวดตามกระดูกในส่วนต่าง ๆที่โรคแพร่กระจายไป

อาการหลักๆของมะเร็งช่องปากนั้น สังเกตุจากผ้าและก้อนเนื้อที่อวัยวะในช่องปาก หากเกิดความผิดปรกติ อย่าปล่อยให้นาน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที่

ระยะของการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

มะเร็งช่องปาก นั้นสามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่1 ถึงระยะที่ 4 โดยรายละเอียดของระยะการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก มีดังนี้

  • ระยะที่ 1  เริ่มเกิดก้อนเนื้อ ที่มีขนาดยังไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร ในระยะนี้จะสัมผัสได้ว่ามีก้อนเนื้อแต่ยังไม่เกิดการรบกวนการดำรงชีวิตนัก
  • ระยะที่ 2 ขนาดของก้อนเนื้อร้ายใหญ่ขึ้น แต่ขนาดยังไม่เกิน 4 เซ็นติเมตร ขนาดของเนื้อร้ายเริ่มใหญ่ในระยะนี้เกิดความระคายเคืองในช่องปาก และรวบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ระยะที่ 3 ขาดของก้อนเนื้อร้ายใหญ่ขึ้น และลามไปที่คอและต่อมน้ำเหลือง ในระยะนี้การเกิดมะเร็งยังอยู่ที่ลำคอไม่ลามไปส่วนอื่นๆของร่างกาย
  • ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย เชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิต เป็นระยะสุดท้าย

การแพร่กระจายของมะเร็งช่องปาก นั้นสามารแพร่กระจายได้ 3 ทาง คือ

  • การแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง
  • การแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ
  • การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด

การวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก

ในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก นั้นสามารถตรวจโรคได้จากาการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่ง วิธีตรวจโรคมะเร็งช่องปาก สามารถทำได้ ดังนี้

  • ตรวจชิ้นเนื้อ เป็นการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็ง
  • การตรวจเลือด การเจาะเลือด เพื่อตรวจและประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป เช่น ดูค่าเบาหวาน ดูการทำงานของไขกระดูก ดูการทำงานของไต ดูการทำงานของตับ ดูระดับเกลือแร่ในร่างกาย
  • เอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจดูการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งที่จะเข้าสู่ปอด และช่องอก
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูสภาพร่างกาย
  • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจดูการลุกลามของเชื้อมะเร็งในอวัยวะต่างๆ
  • ตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง เพื่อสุขภาพภายในช่องท้องและตับ
  • ตรวจสแกนกระดูก เพื่อดูสุขภาพกระดูก
  • ตรวจสุขภาฟัน

ในการตรวจโรคมะเร็งนั้น จำเป็นต้องตรวจอย่างลเอียด เพื่อประเมินการเกิดโรคและระยะของโรค และเพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งช่องปาก ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งช่องปาก แต่สามารถสังเกตุอาการของโรคได้จากอาการของโรคมะเร็งช่องปาก เช่น มีแผลในช่องปากที่รักษาไม่หาย มีฝ้าในช่องปาก มีก้อนเนื้อในช่องปาก เป็นต้น

การรักษามะเร็งช่องปาก

สำหรับการรักษามะเร็งในช่องปากนั้น หลังจากการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคแล้ว การรักษานั้นก็เหมือนการรักษาโรคมะเร็งทั่วไป คือ รักษาด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ซึ่งต้องทำทั้ง 3 อย่างควบคู่กัน

  • การรักษามะเร็งช่องปาก ด้วยการผ่าตัด จะใช้การผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่เกินระยะที่ 3 โดยจะตัดเอาก้อนเนื้อร้ายออก อาจต้องตัดต่อมน้ำเหลืองลำคอออกด้วย หากปรเมินว่าอาจลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • การรักษามะเร็งช่องปาก ด้วยการฉายรังสี วิธีนี้จะใช้ 2 วิธี คือ การฉายรังสีและการฝังแร่ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งแต่การฉายรังสีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของเนื้อร้าย
  • การรักษามะเร็งช่องปาก โดยใช้เคมีบำบัด เป็นการให้เคมีเพื่อทำลายเนื้อร้าย ทำลายเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย

การรักษามะเร็งในวิธีต่างๆ นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งการเลือกการรักษาจะต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งช่องปาก

การรักษามะเร็งช่องปากนั้น ต้องใช้ทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงหลายอย่างที่ตามมาหลังจากการรักษาโรค เราสามารถสรุปผลข้างเคียงของการรรักษาโรคมะเร็งได้ ดังนี้

  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บ ปวดที่แผล การติดเชื้อเกิดได้ง่าย เนื่องจากช่องปากเป็นอวัยวะที่ถูกสัมผัสได้ง่าย
  • ผลข้างเคียงของการแายรังสี คือ ต้องดูแลผิวหนังให้ดี เนื่องจากการฉายรังสีจะส่งผลกระทบต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ถูกฉายรังสี
  • ผลข้างเคียงของการทำเคมีบำบัด คือ ร่างกายของผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ภาวะเกล็ดเลือดต้ำ และการทำงานของไขกระดูกต่ำ

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

เราสังเกตุได้ว่าการเกิดมะเร็งช่องปาก ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่ตรวจสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และการใช้ชีวิตไม่ถูกต้อง เป็นอันตรายต่อสุขภาพในช่องปาก การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและการหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและสมบูรณ์คือ การป้องกันการเกิดมะเร็งช่องปากที่ดีที่สุด เราสามารถสรุปการป้องกันมะเร็งในช่องปากได้ดังนี้

  • หากใช้ฟันปลอม ให้ล้างแลทำความสะอาดฟันปลอมอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอม
  • ให้ทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน อย่างถูกวิธีอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง
  • ให้อมน้ำบาม้วนปากหลังจากรับประทานอาหาร เพื่อล้างคราบสกปรก และเชื้อโรคที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง
  • หมั่นตรวจสุขภาพในช่องปากเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง
  • ไม่สูบบุหรี
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

มะเร็งช่องปาก จักว่าเป็นโรคอันตราย ซึ่งความรุนแรงของโรคนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะของโรค อายุและความแข็งแรงของผู้ป่วย รวมถึง โรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเหล่านี้หากเป็นร่วมกับมะเร็งในช่องปาก จะมีความอันตรายมากขึ้น ดังนั้น การดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญ

มะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) การเกิดเนื้อร้ายที่ช่องปาก โรคมะเร็ง โรคในช่องปาก เป็นโรคที่ทรมาน การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค มีก้อนในช่องปาก ลิ้นและเยื้อบุช่องปากมีฝ้าสีขาว แผลในปากหายยาก ไม่สามารถกินอาหารได้ ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ อาการ การรักษาโรค ทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น