แครอท ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา ช่วยชะลอวัย โทษของแครอทมีอะไรบ้างแครอท สมุนไพร สรรพคุณของแครอท ประโยชน์ของแครอท

แครอท ( Carrot ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของแครอท คือ Daucus carota L. สมุนไพร พืชตระกูลผักชี ต้นแครอท นิยมรับประทานหัวแครอท คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ประโยชน์ของแครอท สรรพคุณของแครอท บำรุงสายตา บำรุงเลือด ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิว บำรุงกระดูก ช่วยชะลอวัย ช่วยลดคอเลสเตอรอล  รักษาโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหลอดเลือด รักษาโรคหัวใจ เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาฝี รักษาแผลหนอง

ต้นแครอท หากจะพูดถึงแครอท เพื่อนคิดถึงอะไร กระต่าย ชอบกินแครอท ซึ่งแครอท เป็นผักชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานหัวของแครอท เป็นพืชต่างแดน มีสรรพคุณด้านสุขภาพมากมาย แครอทอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย อาทิ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

แครอทมีสารสำคัญ ตัวหนึ่ง เรียกว่า  “ ฟอลคารินอล ( falcarinol ) ” เป็นสารที่ช่วยต้านเซล์มะเร็งได้ แครอทนิยมนำมารับประทาน เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆมากมาย ทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด นึ่ง วันนี้มาทำความรู้จักกับ แครอท ว่า ต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของแครอทมีอะไรบ้าง สรรพคุณด้านการรักษาโรคของแครอทเป็นอย่างไร

แครอท มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Carrot ชื่อวิทยาศาสตร์ของแครอท คือ Daucus carota L. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับผักชี แครอท เป็นพืชที่ถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกและประเทศแถบเอเชียกลาง เป็นพืชที่นิยมรับประทานกันทั่วโลก เป็นผักที่นิยมนำมารับประทานมากชนิดหนึ่ง ด้วยรสชาติหวาน กรอบ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ต้นแครอท

ต้นแครอท เป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีลักษณะคล้ายกับผักชี โดยลักษณะของต้นแครอท มีรายละเอียด ดังนี้

  • หัวแครอทมีสีส้ม สามารถนำมารับประทานได้ รากหรือหัวแครอท มีลักษณะพองโต ยาว ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 30 เซนติเมตร
  • ใบของต้นแครอท ใบจะแตกออกรอบๆของลำต้น ก้านใบยาว มีสีเขียว ความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ถึง 40 เซนติเมตร แครอทจะมีอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนเนื้อและส่วนแกน ซึ่งส่วนของเนื้อ (Outer Core) ประกอบด้วย เปลือกบางชั้นนอก (Periderm) และเนื้อ(Cortex) ส่วนที่สองส่วนแกน(Inner core) เป็นส่วนที่ทำให้หัวของแครอทแข็งแรง ส่วนนี้จะประกอบไปด้วย ท่อนํ้า(Xylem) และแกน(Pith)

สายพันธุ์แครอท

  • พันธุ์เบบี้แครอท(Baby carrot) สายพันธุ์ มีหัวขนาดเล็ก ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีสีส้ม
  • พันธุ์แนนเทส(Nantes) สายพันธ์นี้ มีหัวขนาดปานกลาง ความยาวของหัวประมาณ 15 เซนติเมตร มีสีส้ม เนื้อกรอบ นิยมปลูกในแถบประเทศยุโรป
  • พันธุ์แชนทีเน่(Chantenay) สายพันธุ์นี้มีหัวขนาดปานกลาง เป็นทรงรูปกรวย ความยาวของหัวประมาณ 25 เซนติเมตร มีสีส้ม เนื้อกรอบ เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกที่สหรัฐอเมริกา
  • พันธุ์แดนเวอร์(Danvers) สายพันธ์นี้มีลักษณะของหัวจะสั้นและเรียว ความยาวของหัวแครอทประมาณ 20 เซนติเมตร มีสีส้ม เปลือกมีผิวเรียบ เป็นสายพันธ์ที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นอบแห้ง หรือบรรจุกระป๋อง และปลูกมากในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พันธุ์อิมเพอเรเตอร์ (Imperater) สายพันธุ์นี้มีหัวขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ผิวของเปลือกเรียบ มีสีส้ม ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือ มีใบติดกับหัวแครอท
  • พันธุ์หงส์แดง (New Kuruda) เป็นสายพันธ์ไทย จัดอยู่ในสายพันธุ์แชนทาเน่ ชอบดินร่วนปนทราย สามารถปลูกได้ทั้งตลอดปี
  • พันธุ์มินิเอ็กซ์เพรส (Mini Express) สายพันธุ์นี้จัดอยู่ในแครอทสายพันธุ์เบบี้แครอท คือมีหัวเล็ก เรียวยาว ปลูกได้ตลอดทั้งปี ชอบดินร่วนปนทราย
  • พันธุ์ทัมบีลีนา(Thumbelina)มีลักษณะเด่น คือ หัวกลม และสั้น ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีสีส้มสด รสชาติดี
  • พันธุ์ทัวริโน เอฟวัน (Tourino F1) เป็นสายพันธุ์ที่อ้วนเตี้ย มีสีส้มสด และอายุการเก็บเกี่ยวสั้น มีสีส้มสด

คุณค่าทางอาหารของแครอท

มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอทขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 41 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม น้ำตาล 4.7 กรัม เส้นใย 2.8 กรัม ไขมัน 0.24 กรัม โปรตีน 0.93 กรัม วิตามินเอ 835 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 8,285 ไมโครกรัม ลูทีน และ ซีแซนทีน 256 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.058 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.983 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.273 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.138 มิลลิกรัม วิตามินบี9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 5.9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.66 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.143 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 69 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.24 มิลลิกรัม และธาตุฟลูออไรด์ 3.2 ไมโครกรัม

สรรพคุณของแครอท

การใช้แครอทในการรักษาโรคนิยมใช้หัวแครอทมาใช้ประโยชน์ ซึ่ง สรรพคุณของแครอทประกอบด้วย

  • บำรุงสายตา แครอทมีสารเบต้าแคโรทีน ที่มีประโยชน์ต่อสายตา การรับประทานแครอทอย่างสม่ำเสมอจะช่วยถนอมดวงตา
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง แครอทมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปอด ในแครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการเจริยเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงเลือด แครอทสามารถช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดี ในแครอทช่วยลดน้ำตาลในเลือดและลดไขมันในเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ดี การกินแครอทช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเส้นเลือด เนื่องจากในแครอทมีสารที่ชื่อว่า แคโรทีนอยด์ เป็นสารที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร แครอทช่วยปรับระบบย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดี แครอทจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยอาหาร
  • บำรุงผิวพรรณ แครอทมีวิตามินหลายชนิดที่มีผลดีต่อผิว และยังมีน้ำ ทำให้ผิวเปล่งปลั่งอยู่เสมอ ลดรอยเหี่ยวย่น
  • บำรุงเส้นผม ในแครอทมีน้ำและวิตามินหลายชนิดที่ช่วยให้เส้นผมแข็งแรง
  • แครอทช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ในแครอทเด่นอย่างหนึ่ง คือ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียทำให้แผลหายเป็นปกติรวดเร็วมากขึ้น
  • ช่วยสมานแผล
  • ขับพยาธิ แครอทมีฤทธิ์ช่วยในการขับถ่ายพยาธิได้
  • ช่วยบำรุงกระดูก ฟัน เหงือก เล็บ ให้แข็งแรง
  • ช่วยในการชะลอวัย และลดริ้วรอยตามผิวหนัง

นอกจากนั้น แครอทยัง ช่วยลดคอเลสเตอรอล  รักษาโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคหลอดเลือด รักษาโรคหัวใจ เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาฝี รักษาแผลหนอง

การปลูกแครอท

การปลูกแครอทนั้น แครอท เป็นพืชที่ ชอบอากาศหนาว ระดับ 7-23 องศาเซลเซียส การปลูกจะปลูกในช่วยฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ มีอายุการเก็บเกี่ยวที่ 80 – 100 วัน ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกแครอท คือ ดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายนํ้าได้ดี หน้าดินลึก ในประเทศไทย สามารถปลูกได้ในทุกภาคยกเว้นภาคใต้ แครอทสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่ฤดูหนาวจะให้ผลผลิตสูงที่สุด การปลูกแครอท สามารถใช้วิธีการหว่านหรือหยอดเมล็ด

แครอท ผักสวนครัว นิยมนำหัวแครอทมาทำอาหาร ลักษณะของต้นแครอท เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ประโยชน์และสรรพคุณของแครอท เช่น บำรุงสายตา ช่วยชะลอวัย โทษของแครอท มีอะไรบ้าง

มะเขือพวง สมุนไพร สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน ผักพื้นบ้าน ประโยชน์ของมะเขือพวงมะเขือพวง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง สมุนไพร คู่ครัวไทย เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวน  นิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

มะเขือพวง ภาษาอังกฤษ เรียก Pea Eggplant มะเขือพวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Solanum torvum Sw. มะเขือพวง มีชื่ออื่นๆ อาทิ เช่น มะเขือละคร มะแว้งช้าง มะแคว้งกุลา หมากแข้ง เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง เป็นต้น ต้นมะเขือพวง เป็นพืชในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นพืชที่ทนต่อโรคสูง สำหรับประเทศไทย นิยมนำผลมะเขือพวงมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ดต่างๆ เป็นต้น

มะเขือพวง มีสาร อยู่ 2 กลุ่ม ที่มีความสำคัญ เป็นสารในกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และสารกลุ่มอัลคาลอยด์ มาทำความรู้จักกับสาร 2 กลุ่มนี้ ว่ามีประโยชน์อย่างไร

  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้น  สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ สารสำคัญที่เป็นสารในกลุ่มนี้ คือ Torvoside และซาโปนิน เป็นสารที่ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือดไปใช้มากขึ้น ยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย ป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีฤทธิ์ขับเสมหะ เป็นยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อัลคาลอยด์เป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย ซึ่งหากนำมาผ่านความร้อนแล้ว สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย สารกลุ่มนี้มีสรรพคุณในการต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

การศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม พบว่า ผลมะเขือพวงให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม วิตามีนบี1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.037 มิลลิกรัม สารไนอะซิน 0.649 มิลลิกรัม กรดแพนโทเทนิก 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.084 มิลลิกรัม กรดโฟเลต 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม สังกะสี 0.16 มิลลิกรัม และธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็น พืชล้มลุก ลำต้นมีความสูง 1 ถึง 4 เมตร กิ่งก้านแตกสาขามากมาย เป็นลักษณะพุ่ม ใบมะเขือพวง ตรงข้ามกิ่งก้าน ใบเป็นมีรูปไข่ สีเขียว ดอกของมะเขือพวง ออกเป็นช่อ เป็นลักษณะรูปกรวย มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ดอกสีขาวหรือสีม่วง และเกสรสีเหลือง ผลของมะเขือพวง เป็นลักษณะกลม ขนาดของผลประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลอ่อนจะมีรสขม แต่ผลสุกจะเป็นสีเหลือง รสฝาด เปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะกลม แบน มีสีน้ำตาล

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ ประโยชน์ของมะเขือพวง ด้านสมุนไพร นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ทั้งต้น เมล็ด ผล ใบ และราก ประโยชน์ของมะเขือพวง มีรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของมะเขือพวง ช่วยแก้ปวดฟัน
  • ผลของมะเขือพวง ช่วยบำรุงไต ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลกระเพาะอาหาร รักษาท้องผูก ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ บำรุงสายตา บำรุงเลือด ช่วยให้นอนหลับสบาย รักษาความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยดูดซับไขมัน ช่วยขับเสมหะ ป้องกันมะเร็ง
  • ทั้งต้นมะเขือพวง ช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาฝี รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบของมะเขือพวง ช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้ห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำ แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย
  • รากของมะเขือพวง ช่วยรักษาแผล รักษาตาปลา รักษาเท้าแตก

การปลูกมะเขือพวง

การปลูกมะเขือพวง นั้นง่ายมาก การขยายพันธ์มะเขือพวงสามารถทำได้โดยเมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี เป็นผักที่ปลูกตามครัวเรือน มีเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต รายละเอียดมีดังนี้

  • การเตรียมดิน มะเขือพวงชอบดินร่วน การเตรียมปลูกมะเขือพวง ให้ยกร่องเป็นแปลง ระยะห่างระหว่างต้น 2-3 เมตร
  • การปลูกมะเขือพวง มะเขือพวงสามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย และปลูกได้ตลอดปี สามารถเลือกการปลูกได้ตามต้องการ เช่น เมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับการเพาะเมล็ด นั้น เพาะในกระบะ ในกระถางหรือในถุง อายุได้ 1 เดือน ก็สามารถย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ได้
  • การดูแลมะเขือพวง ให้หมั่นพรวนดิน รดน้ำสม่ำเสมอ หากบำรุงด้วยฮอร์โมน โดยการฉีดพ่นทางใบในทุกๆ 10 วัน ช่วยให้มะเขือพวงออกดอกดก ติดลูกดก
  • การเก็บเกี่ยวมะเขือพวง สามารถเก็บเกี่ยวหลังจากมะเขือพวง อายุ 120 วัน และหากบำรุงดีๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 3 ปี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove