ไข้ไทฟอยด์ Typhoid fever ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย อาการปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องผูก อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และ เจ็บที่ท้องน้อยข้างขวาโรคไทฟอยด์ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อแบคทีเรีย

ไข้รากสาดน้อย ไข้หัวโกร๋น ไข้ไทฟอยด์ ภาษาอังกฤษ เรียก Typhoid fever เป็นโรค ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผุ้ป่วยจะ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูกได้ อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และเจ็บที่ท้องน้อยข้างขวา การแพร่ระบาดของโรคไทฟอยด์ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำ ที่มีเชื้อแบคทีเรีย และผู้ที่ติดเชื้อจะขับถ่ายเชื้อโรคออกมาทางอุจาระ เชื้อโรคจะเข้ากระแสเลือด โดยเข้ามาทางลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือม้าม

สาเหตุของการเกิดโรคไทฟอยด์

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi ซึ่งเชื้อโรคก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายผ่านทางอุจจาระ และทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนไปในอาหารรวมถึงน้ำดื่ม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การเกิดโรค

การพัฒนาด้านสุขอนามัยในปัจจุบันทำให้การเกิดดรคนี้น้อยลง แต่ในประเทศหรือสิ่งแวดล้มที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเฉพาะเรื่องอาหารและการขับถ่าย จะมีอัตราการเกิดไข้ไทฟอยด์สูง ซึ่งกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ อาหารไม่สะอาดและการขับถ่ายไม่ถูกสุขอนามัย จะมีโอกาสเกิดดรคนี้สูง

อาการของโรคไทฟอยด์

สำหรับอาการของโรคไทฟอยด์ หลังจากที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย 7-14 วัน ผู้ป่วยจะ เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดตามเนื้อตามตัว มีไข้สูง หลังจากนั้น จะเกิดท้องร่วง มีผื่นขึ้นตามตัว หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ เช่น มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร เกิดลำไส้ทะลุ ภาวะไตวาย และช่องท้องอักเสบ

การรักษาไข้ไทฟอยด์

ในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ รวมถึงการคิดค้นวิจัยยาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ทำให้การรักษาไข้ไทฟอยด์นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับยาปฎิชีวนะที่ใช้ส่วนใหญ่นั้น เป็นยาในกลุ่ม fluoroquinolones เช่น ciprofloxacin รวมถึงยาในกลุ่ม cephalosporin รุ่นที่สาม เช่น ceftriaxone สำหรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน อย่างเช่นภาวะลำไส้เล็กทะลุ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง นอกจากการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาแบบประคับประคองควบคู่กันไปด้วย เช่น

  • การให้ยาลดไข้ในกรณีที่มีไข้สูง เช่น การใช้ยา paracetamol ทาน 500 มิลลิกรัม ทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง
  • การเช็ดตัวลดไข้ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • การดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะท้องเสีย หรืออาจเจียน
  • ถ้าผู้ป่วยมีภาวะท้องเสียและอาเจียนที่รุนแรง อาจให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดได้

การป้องกันโรคไทฟอยด์

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคไทฟอยด์ นั้นสามารถทำได้โดยการ รักษาสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุก ซึ่งควรปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย และ อาหารที่ปรุงไม่สุด
  • น้ำที่ดื่มต้องเป็นน้ำสะอาด ต้มน้ำให้สุกทุกครั้ง
  • ผัก หรือ ผลไม้ ที่จะรับประทาน ต้องล้างให้สะอาด
  • หมั่นล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

ไข้ไทฟอยด์เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการติดต่อกันระหว่างคนผ่านทางแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องเสียได้ อีกทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดลง รวมถึงอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยยังลงลงอีกด้วย นอกจากนี้การรักษาสุขอนามัยส่วนตัว ถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดไข้ไทฟอยด์ที่ดีที่สุด

ไข้ไทฟอยด์ ( Typhoid fever ) โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย อาการของโรค คือ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูกได้ อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และ เจ็บที่ท้องน้อยข้างขวา การรักษาไข้ไทฟอยด์

โรคไวรัสอีโบลา ไข้เลือดออกอีโบลา อาการผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไต รักษาและ ป้องกันอย่างไร

โรคอีโบล่า โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

เชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola ) คือ เชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์ป่า สามารถติดต่อสู่คนได้ เป็นโรคที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ โรคติดต่อชนิดหนึ่ง ยังไม่มียารักษาโรค และ อัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้น การป้องกันจึงดีที่สุด โรคไวรัสอีโบลา หรือ ไข้เลือดออกอีโบลา อาการของป่วยจะแสดงอาการภายในสามสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อโรค โดยจะมีไข้สูง เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง

สาเหตุของการติดเชื้ออีโบล่า

การติดเชื้อไวรัสอีโบลา มาจากไหน  อีโบล่าเกิดจาก เชื้อไวรัสอีโบล่า ที่พบได้ในลิงซิมแปนซี สามารถติดสู่คนได้ จากการสัมผัส สารคัดหลั่งจากสัตว์ชนิดนี้ การรับประทานสัตว์ป่า ที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยลักษณะของการติดเชื้อมี 3 ลักษณะดังนี้

  1. การสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
  2. การสัมผัสเลือด ของเหลว หรือ สารคัดหลั่ง ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
  3. การสัมผัสผุ้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลา

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการการติดเชื้อ Ebola

โดยการติดเชื้ออีโบล่านั้น มาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • การเดินทางไปใกล้แหล่งที่มีเชื้อโรคอีโบล่าระบาดอยู่แล้ว
  • กลุ่มคนที่การสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้
  • การสัมผัสศพ หรือ ผู้มีเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สุก

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับจะมีอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบล่านั้น จะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ตาแดง มีผื่นนูน ไอ เจ็บหน้าอก จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร เลือดออกทางจมูก ปาก หู ตา อาการของโรคไวรัสอีโบลา จะเริ่มแสดงอาการภายใน 2 ถึง 21 วัน หลังจากการรับเชื้อไวรัสอีโบลา เข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร
  • มีรอยช้ำ และเหมือนมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นั้นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ แต่แต่อาการของโรคอีโบลาจะปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และอาการเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมอยูด้วย

การรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ติดไวรัสอีโบล่า ในปัจจุบันยังไม่ยาที่สามารถรักษา หรือฆ่าเชื้อไวรัสอีโบล่าในร่างกายมนุษย์ได้ สิ่งที่สามารถทำได้โดย ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ผู้ป่วยมีแรง รักษาระดับความดันเลือดและอ๊อกซิเจนในร่างกาย และป้องกันอาการแทรกซ้อนจากการติดโรคอื่น ตัวอย่างอาการแทรกซ้อนที่พบ คือ หลายอวัยวะล้มเหลว เลือดออกรุนแรง ดีซ่าน ชัก หมดสติ ช็อค ตับอักเสบ อ่อนแรง ปวดศีรษะ ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ

การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola )

การป้องกันโรคระบาด จากการติดเชื้อไวรัส ต้องหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื่้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว โรงพยาบาล หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดนตัวผู้ป่วย รักษาสุขอนามัยให้สะอาด โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีรายละเอียดดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเดินทางหรือไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโรค
  • ลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีความเสี่ยงการติเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • ล้างอาหารให้สะอาด และ ปรุงอาหารที่สุก รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโรค เช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

โรคไวรัสอีโบลา ไข้เลือดออกอีโบลา ( Ebola ) เกิดจากติดเชื้อไวรัสอีโบลา อาการผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง รักษาอย่างไร ป้องกันอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove