อหิวาตกโรค ( Cholera ) โรคติดต่อร้ายแรง จากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิตกินอาหารไม่สะอาดอหิวาตกโรค โรคห่า โรคติดต่อ โรคระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุของการเกิดอหิวาตกโรค

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนที่ระบบทางเดินอาหาร ชื่อ แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) เชื้อแบคทีเรียได้หลั่งสารซิกัวทอกซิน ( Ciguatoxin: CTX ) เมื่อสารซิกัวทอกซินรวมตัวกับโซเดียม หรือ คลอไรด์ ที่ลำไส้ ทำให้เกิดการกระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกาย โดยการอุจจาระ ซึ่งเป็นอาการอย่างกะทันหัน แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี จะปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งปฏิกูล อุจจาระ ซึ่งเชื้อโรคหากกระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ก็มีโอกาสปะปนกับอาหาร และ พืชผัก ผลไม้ ต่างๆได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่มีโอกาสทำให้เกิดอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะสุขอนามัยไม่ดี เชื่ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายตามแหล่งน้ำ หากการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ผิดหลักการอนามัย ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
  • ภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ( Hypochlorhydria/Chlorhydria ) การที่ร่างกายไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เมื่อเชื้ออหิวาเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถแพร่กระจาย และ เจริญเติบโต จนปล่อยสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย
  • การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาตกโรค เชื้ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายผ่านอุจจาระของผู้ป่วย เมื่ออยู่ใกล้ ก็มีดอกาสในารเกิดโรคเช่นกัน
  • การกินอาหารไม่สะอาด และ ไม่ปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน อาหารทะเล พวกหอย หากปรุงไม่สุกมีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดอหิวาตกโรคได้

การวินิจฉัยอหิวาตกโรค

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติ และ สังเกตุอาการเบื้องต้นก่อน จากนั้น ต้องทำการคตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ การวินิจฉัยโรค สามารถระบุสาเหตุ ของอาการท้องร่วง เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อาการของผู้ป่วยอหิวาตกโรค

เมื่อเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae )เข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการเกิดโรคจะเกิดภายใน 2 ชั่วโมง ถึง 5 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาในการฟักตัวของโรค เมื่อเกิดอาการของอหิวาตกโรค จะแสดงอาการ ท้องเสียอย่างเฉียบพลัน ถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีสีขาวลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อุจจาระมีกลิ่นเหม็นคาว คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ซึ่งอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง แบบปวดบิด
  • เกิดภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ โดยแสดงอาการ กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่มีน้ำตา กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะ อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ

การรักษาอหิวาตกโรค

สำหรับการรักษาอหิวาตกโรค ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันที่ โดยให้การรักษาอาการร่างกายขาดน้ำก่อน และ แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการฆ่าเชื้อโรค หลังจากตรวจอุจจาระและทราบเชื้อโรคที่ชัดเจน โดยรายละเอียดของการรักษาอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำและเกลือแร่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป
  • ให้สารอาหารน้ำทดแทน ( Intravenouse Fluids ) ในกรณีที่ผู้้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จำเป็นต้องให้สารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อป้องกันการช็อคอย่างเฉียบพลัน
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องมาจากเชื้ออหิวา เช่น ยาดอกซีไซคลิน ( Doxycycline ) ยาอะซีโธรมัยซิน ( Azithromycin )

ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค

ความอันตรายของอหิวาตกโรค นอกจากการขาดน้ำแล้ว โรคแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง โดยภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia ) ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะอันตราย หากเกิดกับเด็ก อาจทำให้เกิดอาการชัก ไม่ได้สติ และถึงขั้นเสียชีวิต
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ( Hypokalemia ) ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ส่งผลต่อระบบหัวใจและเส้นประสาท เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • ภาวะไตวาย การเสียสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย ทำให้ไตไม่ทำงาน ส่งผลต่อของเสียต่างๆ ตกค้างในร่างกาย เป็นอันตรายต่อชีวิต

การป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค โดยหลักๆ คือ การรักษาความสะอาด ของสิ่งแวดล้อมและอาหาร โดยการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด งดการกินน้ำแข็ง เพราะ อาจมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งได้
  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ปรุงอาหารสุก และ กินอาหารที่สุกเท่านั้น
  • ทำความสะอาด วัตถุดิบของอาหาร ทั้ง ผัก ผลไม้ โดยล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร และ รับประทาน
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค
  • หากมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคอยู่ใกล้ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

อหิวาตกโรค ( Cholera ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) ที่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยสาเหตุเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด อาการของโรคอหิวาตกโร ถ่ายเหลว อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิต การรักษาโรค และ การป้องกันโรค โรคอหิวาตกโรค คือ โรคเป็นติดต่อ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข

ระบบประสาทถูกทำลาย สาเหตุจากอุบัติเหตุ การติดเชื้อโรค และการผิดปรติของร่างกาย ทำให้ควบคุมร่างกายไม่ได้ เป็นอัมพาต เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แนวทางการรักษาอย่างไรระบบประสาทถูกทำงาย เส้นประสาทส่วนผลายถูกทำลาย โรคระบบประสาทและสมอง โรค

โรคระบบประสาทถูกทำลาย คือ ภาวะระบบประสาทถูกทำลาย จากสาเหตุต่างๆ มักเกิดกับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ แรงกระแทก แรงอัด การได้รับปาดเจ็บจากการต่อสู่ ทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย หากโดยเส้นประสาทที่สำคัญบริเวณกระดูกสันหลัง ก้านสมอง สมอง มักจะมีอาการรุนแรง เมื่อระบบประสาทถูกทำลาย  มักจะทำให้เกิดโรคอัมพฤษ์และอัมพาต

สาเหตุของโรคระบบประสาทถูกทำลาย

ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายถูกทำบายนั้น เป็นเส้นประสาทที่อยู่นอกสมองและไขสันหลัง โอกาสการเกิดโรคนี้พบได้ ร้อยละ 2.4 ของประชากรทั่วไป ซึ่งเส้นประสาทส่วนปลาย จะมีกลุ่มเส้นประสาท 3 กลุ่ม คือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อ เส้นประสาทรับความรู้สึก และ เส้นประสาทอัตโนมัติ

ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย สามารถเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด คือ ความผิดปกติทางระบบประสาท เรียกว่า Charcot-Marie-Tooth แต่จริงๆแล้วสาเหตุการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ

  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการเกิดโรค ซึ่งโรคในกลุ่มนี้กระทบกับร่างกายโดยรวม ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นประสาท พบมากที่สุด คือ โรคเบาหวาน ความผิดปกติของไต การได้รับสารพิษ การรับยาบางชนิด ความผิดปกติจากโรคตับ เกิดโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ภาวะการขาดวิตามิน การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โรคมะเร็งหรือเนื้องอก
  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการเกิดอุบัติเหตุ การเกิดอุบัตติเหตุจากแรงปะทะ แรงบด แรงอัด หรือ แรงยืด อย่างรุนแรงทำให้เส้นประสาทขาดออกจากไขสันหลัง การทำลายเส้นประสาทอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทโดยตรง
  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการติดเชื้อและความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โรคจากการติดเชื้อโรคทำลายเส้นประสาทได้โดยทางตรงและทางอ้อม โดยโรคที่มีผลต่อระบบประสาท เช่น HIV งูสวัด Epstein-Barr virus โรคไลม์ โรคคอตีบ โรคเรื้อน

การรักษาโรคระบบประสาทถูกทำลาย

สำหรับการรักษาโรคระบบประสาทถูกทำลายนั้น รักษาตามอาการของโรค ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูการทำงานขิงร่างกาย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาตามอาการที่พบ เช่น หากมีการตกเลือดจะต้องห้ามเลือดก่อน การรักษาการติดเชื้อต่างๆ การขับพิษออกจากร่างกาย
  • การผ่าตัดเพื่อทำวัตถุที่ฝังในร่างกายออก
  • การผ่าตัดเพื่อต่อเส้นประสาท
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูร่างกาย
  • การรักษาสภาพจิตใจ เพื่อ ฟื้นฟูสภาพจิตใจที่ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเดินได้
  • รักษาด้วยการใช้อุปกรณ์เสริมช่วยช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า วิลแชร์ เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคระบบประสาทถูกทำลาย

ระบบประสาทถูกทำลาย ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย และ กล้ามเนื้อ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกาย การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ลดปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อโรคและการเกิดอุบัติเหตุ สามารถสรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • ควบคุมอาหาร รับประาทนอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ลดความอ้วน น้ำหนักตัวที่มาก ทำให้มีโอกาสการกระแทกสูงและมีความรุนแรงมากกว่าปรกติ
  • หมั่นออกกำลังกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ประมาทในการเดินทางและการใช้ชีวิตต่างๆ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove