อหิวาตกโรค ( Cholera ) โรคติดต่อร้ายแรง จากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิตกินอาหารไม่สะอาดอหิวาตกโรค โรคห่า โรคติดต่อ โรคระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุของการเกิดอหิวาตกโรค

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนที่ระบบทางเดินอาหาร ชื่อ แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) เชื้อแบคทีเรียได้หลั่งสารซิกัวทอกซิน ( Ciguatoxin: CTX ) เมื่อสารซิกัวทอกซินรวมตัวกับโซเดียม หรือ คลอไรด์ ที่ลำไส้ ทำให้เกิดการกระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกาย โดยการอุจจาระ ซึ่งเป็นอาการอย่างกะทันหัน แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี จะปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งปฏิกูล อุจจาระ ซึ่งเชื้อโรคหากกระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ก็มีโอกาสปะปนกับอาหาร และ พืชผัก ผลไม้ ต่างๆได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่มีโอกาสทำให้เกิดอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะสุขอนามัยไม่ดี เชื่ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายตามแหล่งน้ำ หากการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ผิดหลักการอนามัย ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
  • ภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ( Hypochlorhydria/Chlorhydria ) การที่ร่างกายไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เมื่อเชื้ออหิวาเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถแพร่กระจาย และ เจริญเติบโต จนปล่อยสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย
  • การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาตกโรค เชื้ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายผ่านอุจจาระของผู้ป่วย เมื่ออยู่ใกล้ ก็มีดอกาสในารเกิดโรคเช่นกัน
  • การกินอาหารไม่สะอาด และ ไม่ปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน อาหารทะเล พวกหอย หากปรุงไม่สุกมีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดอหิวาตกโรคได้

การวินิจฉัยอหิวาตกโรค

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติ และ สังเกตุอาการเบื้องต้นก่อน จากนั้น ต้องทำการคตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ การวินิจฉัยโรค สามารถระบุสาเหตุ ของอาการท้องร่วง เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อาการของผู้ป่วยอหิวาตกโรค

เมื่อเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae )เข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการเกิดโรคจะเกิดภายใน 2 ชั่วโมง ถึง 5 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาในการฟักตัวของโรค เมื่อเกิดอาการของอหิวาตกโรค จะแสดงอาการ ท้องเสียอย่างเฉียบพลัน ถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีสีขาวลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อุจจาระมีกลิ่นเหม็นคาว คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ซึ่งอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง แบบปวดบิด
  • เกิดภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ โดยแสดงอาการ กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่มีน้ำตา กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะ อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ

การรักษาอหิวาตกโรค

สำหรับการรักษาอหิวาตกโรค ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันที่ โดยให้การรักษาอาการร่างกายขาดน้ำก่อน และ แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการฆ่าเชื้อโรค หลังจากตรวจอุจจาระและทราบเชื้อโรคที่ชัดเจน โดยรายละเอียดของการรักษาอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำและเกลือแร่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป
  • ให้สารอาหารน้ำทดแทน ( Intravenouse Fluids ) ในกรณีที่ผู้้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จำเป็นต้องให้สารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อป้องกันการช็อคอย่างเฉียบพลัน
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องมาจากเชื้ออหิวา เช่น ยาดอกซีไซคลิน ( Doxycycline ) ยาอะซีโธรมัยซิน ( Azithromycin )

ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค

ความอันตรายของอหิวาตกโรค นอกจากการขาดน้ำแล้ว โรคแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง โดยภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia ) ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะอันตราย หากเกิดกับเด็ก อาจทำให้เกิดอาการชัก ไม่ได้สติ และถึงขั้นเสียชีวิต
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ( Hypokalemia ) ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ส่งผลต่อระบบหัวใจและเส้นประสาท เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • ภาวะไตวาย การเสียสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย ทำให้ไตไม่ทำงาน ส่งผลต่อของเสียต่างๆ ตกค้างในร่างกาย เป็นอันตรายต่อชีวิต

การป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค โดยหลักๆ คือ การรักษาความสะอาด ของสิ่งแวดล้อมและอาหาร โดยการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด งดการกินน้ำแข็ง เพราะ อาจมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งได้
  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ปรุงอาหารสุก และ กินอาหารที่สุกเท่านั้น
  • ทำความสะอาด วัตถุดิบของอาหาร ทั้ง ผัก ผลไม้ โดยล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร และ รับประทาน
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค
  • หากมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคอยู่ใกล้ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

อหิวาตกโรค ( Cholera ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) ที่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยสาเหตุเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด อาการของโรคอหิวาตกโร ถ่ายเหลว อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิต การรักษาโรค และ การป้องกันโรค โรคอหิวาตกโรค คือ โรคเป็นติดต่อ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข

ท้องเสีย ภาวะการถ่ายอุจจาระเหลว เกิน 3 ครั้งในหนึ่งวัน ลักษณะอุจจาระเป็นน้ำ มีมูกเลือก สาเหตุจากการติดเชื้อโรค การป้องกันและรักษาอาการท้องร่วงต้องทำอย่างไรท้องเสีย ท้องร่วง อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ

อาการท้องร่วงนั้น หากโดยอาจถ่ายเป็นน้ำหรือเป็นมูกเลือด จะเรียกว่าเป็น โรคบิด หากมีอาการท้องเสียอย่างรวดเร็วใน 14 วันจะเรียก ท้องเสียเฉียบพลัน และหากท้องเสียแบบต่อเนื่องนาน 30 วันจะเรียกว่า ท้องเสียต่อเนื่อง และหากท้องเสียนานเกิน 30 วันจะเรียก ท้องเสียเรื้อรัง

ลักษณะอาการของโรคท้องร่วง

อาการสำคัญของโรคท้องร่วง คือ การถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้ง จะมีอาการ คือ ปวดอุจจาระ ถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลว อ่อนเพลีย อาจมีอาการ มีไข้ และปวดเมื่อยตามตัวด้วย ซึ่งสามารถเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อไวรัส เราสามารถสรุปอาการสำคัญได้ดังนี้

  • มีอาการกระหายน้ำ
  • ปัสสาวะน้อย ลักษณะปัสสาวะมีสีเหลืองเข็ม
  • ปากแห้ง
  • ลิ้นแห้ง
  • ผิวแห้ง
  • หากเกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจะเกิดอาการ วิงเวียนศรีษะ มึนงง กระสับกระส่าย และอาจเกิดอาการช็อกได้

สาเหตุของการเกิดอาการท้องร่วง

เราสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดท้องร่วงได้ คือ จากการเกินอาหารไม่สะอาดจนเกิดอาหารเป็นพิษ การติดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยราลยะเอียดของสาเหตุการเกิดโรคท้องร่วงมี ดังนี้

  • อาหารเป็นพิษ เกิดจากอาหารที่ปรุงสุกแต่ทิ้งไว้นานจนเกิดเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย เจริญเติบโตในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เชื้อโรคสามารถสร้างสารพิษออกมาได้ ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ปวดท้องแบบบิดๆ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เกิดจากการติดเชื้อโรค มักเกิดกับเด็กๆอายุต่ำกว่า 2 ปี มักเกิดในฤดูร้อน เชื้อโรคจะทำลายเยื่อบุลำไส้เล็ก ทำให้ลำไส้ลดการหลั่งน้ำย่อย แบคทีเรียในลำไส้สลายเกิดเป็นกรด และทำให้อุจจาระร่วงมากขึ้น
  • อหิวาตกโรค โรคนี้ปัจจุบันไม่พบบ่อย คนไข้จะมีอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง โรคนี้เกิดจากการกินน้ำหรืออาหารที่ไม่สะอาด ที่มีเชื้อโรคเจือปน

อาการอุจจาระเป็นมูกเลือด เกิดจากสาเหตุ 2 กลุ่ม คือ ติดเชื้อแบคทีเรีย และ ติดเชื้ออะมีบา

อาการของโรคท้องร่วง

ลักษณะที่เด่นชัดของโรคท้องร่วง คือ ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำครั้งละมากๆ และหลายครั้ง ในบางคนจะถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว ซึ่งการถ่ายเหลว ทำให้ผู้ป่วยเสียน้ำในร่างกายอย่างรวด ส่งผลต่อความดันโลหิตต่ำ จนเกิดอาการช็อก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรค มีทั้งยาฉีดและยากิน แต่ไม่แนะนำให้ใช้ ยกเว้นคนที่จะเดินทางไปในประเทศที่มีโรคนี้ชุกชุม เช่น อินเดีย บังคลาเทศ สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้

การรักษาอาการท้องร่วง

สำหรับการรักษาอาการท้องร่วง ให้ป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง ด้วยการดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ สำหรับการรักษาให้แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ คนที่อายุต่ำกว่า 2 ปี และ คนที่อายุเกิน 2 ปี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ดื่มครั้งละ ครึ่งแก้ว โดยการใช้ช้อนป้อนไม่ควรให้ดูดจากขวดนม เนื่องจาก เด็กจะกระหายน้ำและดื่มน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำที่ดื่มดูดซึมเข้าสู่ร่างกายไม่ทัน ควรให้อาหารเหลว เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด และนมแม่
  • หากผู้ป่วยเป็นเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละ 1 แก้ว โดยให้จิบทีละน้อยแต่บ่อยๆ หากมีอาการดีขึ้นก็ให้หยุดดื่มน้ำเกลือแร่ และให้กินอาหารที่อ่อนๆ เพื่อให้ลำไส้ฟื้นตัวเร็วจากการติดเชื้อ

การดูแลตนเอเมื่อท้องร่วง

ข้อปฏิบัตตนเมื่ออยู่ในภาวะท้องเสีย ให้ทำตัวดังนี้

  • ให้พักผ่อนให้เพียงพอ หากทำงานให้หยุดทำงาน หากรียนหนังสือให้หยุดเรียน
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ หรือ ดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป
  • ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ รสจืด
  • ควรรีบพบแพทย์เมื่อ มีอาการท้องเสียและไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ปวดท้องมาก คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลืองและตาเหลือง มีไข้สูง อุจจาระเป็นมูกเลือด อุจจาระมีสีดำและเหนียวเหมือนยางมะตอย

ป้องกันอาการท้องร่วง

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • กินอาหารสุกและปรุงใหม่เสมอ
  • ดื่มน้ำสะอาด ไม่ควรกินน้ำแข็ง
  • ล้างมือให้สะอาดเสมอโดยเฉพาะก่อนกินอาหาร
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย เช่น วัคซีนโรคตับอักเสบ

ท้องเสีย คือ ภาวะการถ่ายอุจจาระเหลว เกิน 3 ครั้งในหนึ่งวัน ลักษณะอุจจาระเป็นน้ำ หรือ มีมูกเลือก สาเหตุจาก อาหารเป็นพิษ ติดเชื้อโรค หรือ อหิวาตกโรค การป้องกันและการรักษาท้องร่วงทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove