ตาเหล่ Strabismus ลักษณะตาดำข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติ ไม่ขนานกัน ดวงตาไม่ประสานกัน ตาเหล่มีกี่ชนิด ตาเหล่แท้ ตาเหล่เทียม การรักษาโรคสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

ตาเหล่ ตาเข โรคตา โรคไม่ติดต่อ

ตาเหล่ ภาษาทางการแพทย์ เรียก Strabismus คือ ภาวะตาข้างใดข้างหนึ่งมีอาการผิดปกติ โดยไม่ได้มีจุดโฟกัสในการมองเห็นเป็นจุดเดียว ภาวะลูกตาทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกัน และการทำงานของดวงตาเมื่อมองวัตถุไม่ประสานกัน โดยผู้ป่วยจะใช้เพียงตาข้างที่ปกติในการมองวัตถุ และในส่วนของดวงตาข้างที่เหล่ อาจเบนเข้าด้านในห ด้านนอก ขึ้นบน หรือ ลงล่าง ก็ได้

ตาเหล่เทียม ( Pseudostrabismus ) คือ ภาวะตาเหล่ที่พบในเด็กเสียเป็นส่วนมาก เนื่องจากสันจมูกยังโตไม่เต็มที่และบริเวณหัวตากว้าง ( Epicanthus ) จึงทำให้ลักษณะเหมือนกับตาเหล่ แต่เมื่อร่างกายเจริญเติบดตเต็มีที่ตาเหล่จะหายเอง

ชนิดของอาการตาเหล่

โรคตาเหล่สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่อีกตาเฉออก
  2. ตาข้างหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่ตาอีกข้างกลับหมุนเข้าใน
  3. ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งกลอกออกมาทางหางตาหรือออกนอก
  4. ตาเหล่ขึ้นบน
  5. ตาเหล่ลงล่าง

ปัญหาของอาการตาเหล่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งผลเสียของอาการตาเหล่ ประกอบด้วย

  1. เสียบุคลิกภาพ สิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดของการตาเหล่ คือ ภาพดวงตาดำที่ผิดปรกติ ดูไม่สวยงาม ส่วนมากคนตาเหล่จะรู้สึกเหมือนเป็นปมด้อย มักไม่ค่อยสู้หน้าคน สิ่งนี้จะเปิดการปั่นทอนจิตใจอย่างช้าๆโดยไม่รู้ตัว
  2. การเกิดบุคลิกภาพที่ผิดจากบุคคลทั่วไป โดยคนตาเหล่จะมีโฟกัสภาพที่ไม่ปรกติก ในคนตาเหล่จะใช้การหันหน้าเอียงคอ เพื่อชดเชยความผิดปกติ ซึ่งสิ่งนี้จะยิ่งทำให้บุคลิกผิดไปจากคนทั่วไป
  3. ความสามารในการมองเห็นน้อยกว่าคนตาปกติ เนื่องจากตาทั้ง 2 ข้างไม่ทำงานร่วมกันหรือเรียกว่าต่างคนต่างทำ ต้องใช้ตาข้างเดียวเป็นหลัก จึงมองวัตถุเล็ก ๆ ไม่เป็นภาพ 3 มิติ ทำให้ทำงานที่ละเอียดได้ไม่ดีนัก เช่น งานเย็บปักถักร้อยหรืองานฝีมือต่าง ๆ เพราะอย่าลืมว่าการมองเห็นที่ดีที่สุดคือต้องมองเห็นภาพเป็น 3 มิติในวัตถุขนาดเล็ก ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยตาที่เห็นชัดทั้ง 2 ข้าง และทำงานประสานสอดคล้องกันเสมอ
  4. เกิดภาวะตาขี้เกียจ เรียก Amblyopia ถากปล่อยทิ้งไว้ดดยไม่แก้ไข อาจถึงขั้นตาบอดได้

สาเหตุของการเกิดโรคตาเหล่

สำหรับการเกิดโรคตาเหล่นั้นเกิดจากหลายปัจจัย อาจเกิดจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเด็ก ซึ่งบางคนอาจเกิดเป็นมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนในเด็กที่มีสายตาสั้นมากๆ ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของโรคตาเหล่ มีดังนี้

  • ภาวะทางพันธุ์กรรม โรคตาเหล่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมมได้
  • ความผิดปรกติของสายตาของผู้ป่วยเอง  การใช้สายตาเพ่งบ่อยๆหรือกล้ามเนื้อตาขาดสมดุล สามารถทำให้เกิดตาเหล่ได้
  • ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อตาข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้กล้ามเนื้อตาไม่สมดุล
  • ความผิดปรติของระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อตา เช่น  เนื้องอกในสมอง มะเร็งในส่วนศีรษะ มะเร็งส่วนลำคอ โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ
  • ภาวะการเกิดโรคที่ส่งผลอันตรายต่ออาการตาเหล่ เช่น โรคเอเพิร์ท ( Apert Syndrome ) โรคสมองพิการ ( Cerebral Palsy: CP ) โรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด ( Congenital Rubella ) เนื้องอกหลอดเลือดชนิดฮีแมงจิโอมา ( Hemangioma ) โรคอินคอนติเนนเทีย พิกเมนไท ซินโดรม ( Incontinentia Pigmenti Syndrome ) โรคพราเดอร์-วิลลี่ ซินโดรม ( Prader-Willi Syndrome ) โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด ( Retinopathy of Prematurity: ROP ) โรคมะเร็งจอตาในเด็ก ( Retinoblastoma ) เป็นต้น

การรักษาโรคตาเหล่

สำหรับแนวทางการรักษาโรคตาเหล่ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การใช้เครื่องมือร่วมกับการทำกายภาพบำบัด และ การผ่าตัด ซึ่งรายละเอียดของการรักษาทั้ง 2 วิธีนี้ มีดังนี้

  • การรักษาโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์และการทำกายภาพบำบัด เพื่อเป็นการปรับบุคลิกภาพและความสามารการมองเห็นให้เป็นปรกติให้ได้มากที่สุด เช่น การใส่แว่น การฝึกกล้ามเนื้อตา การฉีดนาที่กล้ามเนื้อ เป็นต้น รายละเอียดของการรักษาด้วยวิธีนี้ มีดังนี้
    • การให้แว่นสายตา ใช้รักษาในผู้ป่วยตาเหล่ที่มีสาเหตุมาจากสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่เข้า หรือ สายตาสั้นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่ออก
    • ให้แว่น prism ซึ่งช่วยหักเหแสงให้ตกลงพอดีที่จุดรับภาพที่จอตา
    • การฝึกกล้ามเนื้อตา
    • การรักษาด้วยยา เช่น การฉีดโบท็อกช์ (Botulinum Toxin) โดยฉีดที่กล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นอ่อนแรง มีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 2-3 เดือน
    • การรักษาตาขี้เกียจ (Amblyopia) ในเด็กตาเหล่ที่มีภาวะตาขี้เกียจ จำเป็นต้องรีบให้การรักษาทันที และต้องรักษาก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ และควรรักษาช่วงก่อนที่เด็กจะอายุมากกว่า 7 ปี ซึ่งเมื่อเด็กอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไปมักรักษาไม่ได้ผลแล้ว ตาข้างนั้นก็จะมัวอย่างถาวร การรักษาตาขี้เกียจทำโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน ควรปิดตาอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติแต่ละรายอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน
  • การรักษาโดยการผ่าตัด แพทย์จะผ่าตัดกล้ามเนื้อตา เพื่อทำให้ตาตรง การรักษาด้วยการผ่าตัดควรเข้ารับการรักษาตั้งแต่เด็ก หากไม่ยอมรักษาตั้งแต่เด็ก ก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดแต่ประสิทธิภาพการมองเห็นจะไม่สามารถกลับมาปรกติ เหมือนการรักษาตั้งแต่เด็กได้

การดูแลผู้ป่วยตาเหล่หลังการผ่าตัด

หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะปิดตาข้างที่ผ่าตัดไว้ 1 วัน จากนั้นก็สามารถเปิดใช้สายตาได้ตามปกติ แต่ในการนอนนั้นให้ใส่ที่ครอบตาเพื่อป้องกันการถูกกระทบกระเทือนในช่วงสัปดาห์แรก และไม่ควรให้น้ำเข้าตาเพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้

หลังจากการผ่าตักรักษาตาเหล่และผ่าช่วงของการดูแลในสัปดาห์แรก จะทำให้ตาดูตรงเป็นปกติ สวยงาม มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
ประสิทธิภาพการมองเห็นของตาทั้ง 2 ข้างก็จะดีขึ้น

การป้องกันโรคตาเหล่

สำหรับการป้องกันนั้นป้องกันได้ยาก เนื่องจากปัจจัยการเกิดโรคควบคุมไม่ได้ การป้องกันตาเหล่ต้องเริ่มจากการป้องกันที่สาเหตุและหากพบว่ามีอาการตาเหล่ให้รีบรับการรักษาอย่างเร็ว ผู้ป่วยจึงจะมีโอกาสกลับมามีดวงตาที่มองเห็นได้ปกติ รวมทั้งการมองเห็นความลึกของสิ่งต่าง ๆ ก็จะดีขึ้น นอกจากนี้ ต้องดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคที่ทำให้เกิดอาการตาเหล่

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ต้อเนื้อ ต้อลม เกิดจากผังผืดที่เยื่อบุตาและการระคายเคืองตาเป็นเวลานานจนเกิดเนื้อเยื่อสีขาว ทำให้ความสามารถการมองเห็นน้อยลง สายตาพล่ามัว สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด

ต้อเนื้อ ต้อลม โรคตา ตาต้อ

ต้อลม หรือ ตาลม ลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนบนเยื่อบุตาขาว จะอยู่ข้างกระจกตาดำ เป็นแผ่นหนานูนกลมสีขาวเหลือง มักพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา เมื่อเกิดอาการอักเสบจะแสบตา เคืองตา และ ตาแดง

ต้อเนื้อ หรือ ตาลิ้นหมา ลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนบนเยื่อบุตาขาวที่ขยายตัวใหญ่และหนาขึ้นจนลามเข้าไปในกระจกตาดำ อาจเกิดได้ทั้งด้านหัวตาและหางตา แต่มักพบได้บ่อยบริเวณด้านหัวตา

สาเหตุของต้อเนื้อต้อลม

สาเหตุของการเกิดต้อเนื้อต้อลม พบว่าเกิดจากดวงตาถูกรังสียูวีนานอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลาหลายปี ส่งผลต่อเซลล์เยื่อบุตาขาวสร้างโปรตีนและไขมันมากกว่าปกติ จนเกิดเป็นก้อนหรือแผ่นหนาบนเยื่อบุตาขาว ต้อเนืิ้อต้อลมเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตาที่พบบ่อยเนื่องจากประเทศไทยมีแสงแดดจัดตลอดทั้งปี

สถานณ์การโรคต้อเนื้อในประเทศไทย

ต้อเนื้อ เป็นโรคที่พบได้มากในประเทศเขตร้อนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง กันดาร และมีฝุ่นลมจัด ( ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายนั่นแหละครับ ส่วนประเทศที่มีอากาศหนาวจะไม่ค่อยพบคนเป็นโรคนี้ ) โรคนี้จึงเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่งในบ้านเราแทบทุกภาคของประเทศ แต่จะพบเป็นกันมากที่สุดในภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ฯลฯ เป็นต้น มักพบหรือเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และจะพบได้มากในผู้ที่มีอายุระหว่าง 30-55 ปี ( ยังไม่ค่อยพบโรคนี้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี คือ พบได้เหมือนกันแต่น้อยมาก และยังไม่พบโรคนี้เลยในเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี ) ส่วนอัตราการเกิดโรคนี้ในผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดได้พอ ๆ กัน

อาการของโรคต้อเนื้อ

โรคต้อลมและต้อเนื้อสามารถเกิดกับดวงตาเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ และเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยโรคต้อลมและต้อเนื้อที่ยังเป็นไม่มาก มักไม่มีอาการใดๆ เพียงแต่จะเห็นเป็นเนื้อเยื่อผิดปกติบริเวณเยื่อบุตาขาวเท่านั้น แต่หากมีการอักเสบ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บตา เคืองตา คันตา ตาแดง แสบตา น้ำตาไหล รู้สึกเหมือนมีเศษผงอยู่ในตา ในกรณีของต้อเนื้อที่เป็นมากจนลุกลามเข้าไปกลางกระจกตาและบดบังการมองเห็น ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว และอาจเกิดสายตาเอียงได้เนื่องจากต้อเนื้อดึงกระจกตาทำให้ความโค้งของกระจกตาเปลี่ยนไป

การรักษาโรคต้อเนื้อ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคต้อเนื้อต้อลม ปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อเนื้อ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง ซึ่งการผ่าตัดลอกต้อเนื้อมี 3 วิธีที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบัน ดังนี้

  1. การลอกต้อเนื้อ เรียก Bare sclera เป็นการตัดเนื้อออกจากเยื่อตาขาว และ ลอกต้อส่วนที่ติดอยู่บนตาดำออก ใช้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากๆ หรือในผู้ป่วยที่ไม่มีการอักเสบ
  2. การลอกต้อเนื้อ และ นำเยื่อบุตามาแปะ เรียก Conjunctival graft โดยวิธีนี้จะทำตามการลอดต้อเนื้อ ร่วมกับการตัดเอาเยื่อตาขาวจากด้านบนของลูกตา มาแปะที่ตาขาว และเย็บด้วยไหม วิธีนี้จะสามารถป้องกันการกลับมาเกิดของต้อเนื้อได้
  3. การลอกต้อเนื้อ และเอาเยื่อหุ้มรกมาแปะ เรียก Amnion graft จะใช้เยื่อหุ้มรกมาแปะแทนเยื่อบุตา วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ต้อเนื้อมี่ขนาดใหญ่มาก ซึ่งการใช้เยื่อบุตามาแปะอาจจะไม่เพียงพอ

การดูแลตัวเองไม่ให้เป็นโรคต้อเนื้อต้อลม คือ หลีกเลี่ยงการทำงานในที่ทีกลางแจ้งหรือแสงแดดจ้า ใช้แว่นกันแดด เพื่อให้สายตาและป้องกันฝุ่น หลีกเลี่ยงการให้ลมกระแทกตา

ภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อเนื้อ

  • โรคนี้ส่วนมากจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงเกิดขึ้นแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ว่าต้อเนื้อจะยื่นเข้าไปปิดตาดำจนมิด ก็อาจจะบังสายตาทำให้มองไม่ถนัดได้ ซึ่งมักจะใช้เวลานานหลายปี เนื่องจากต้อเนื้อจะค่อย ๆ งอกลุกลามขึ้นอย่างช้า ๆ (โดยปกติก่อนจะถึงขั้นเป็นมากจนปิดตาดำ ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ก่อนแล้ว เว้นแต่ในคนแก่ที่มักรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจปล่อยปละละเลยจนปิดตามิดทั้ง 2 ข้าง ทำให้ตาบอดได้ ซึ่งการผ่าตัดลอกออกในกรณีนี้จะทำได้ยากและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก)
  • ต้อเนื้อนี้อาจทำให้ดวงตารู้สึกระคายเคืองต่อฝุ่น ลม ได้มากขึ้น และทำให้เกิดอาการไม่สบายตา เช่น แสบร้อน และน้ำตาไหลได้บ้างเป็นครั้งคราว (การใช้ยาสามารถช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองนี้ได้)
  • ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยมาก คือ การเกิดแผลเป็นที่กระจกตา ซึ่งอาจพบในรายที่เป็นมากและปล่อยให้มีการอักเสบบ่อย ๆ ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

การป้องกันโรคต้อเนื้อต้อลม

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค คือ ลดการอยู่ในที่แสงแดดจ้าตลอดเวลา ลดการถูกระคายเคืองดวงตาจากสิ่งแวดล้อม แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ควรสวมแว่คตากันแดดเวลาต้องออกไปอยู่ในสถานที่ที่มีแสงแดดจ้าตลอดเวลา
  • สำหรับผู้อยู่ในงานอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโลหะ ซึ่งได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสียูวี) ในระดับสูงมาก ควรสวมแว่นตากรองรังสีตลอดเวลา และควรใช้หน้ากากพิเศษกรองรังสีขณะปฏิบัติงานด้วยทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการถูกลมกรรโชกกระทบดวงตา
  • ป้องกันการถูกสารละคายเคืองกระทบดวงตา เช่น แสงแดด ลม ฝุ่น และควัน
  • ควรพักสายตาเมื่อต้องใช้สายตาหนักๆ
  • หากเกิดอาการแสบตา ให้ล้างตาและใบหน้าให้สะอาด

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove