เจ็บคอสเตรปโธรท คออักเสบ ( Strep throat ) การติดเชื้อแบคทีเรียที่ลำคอ ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ มีไข้สูง หายเองได้ภายใน 7 วัน พบมากในเด็กแต่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัยคออักเสบ โรคเจ็บคอ โรคติดเชื้อ โรคเจ็บคอ

โรคคออักเสบ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคเจ็บคอสเตรปโธรท ภาษาอักฤษ เรียก Strep throat เป็น โรคติดต่อ ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจาก การติดเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอกคัส ซึ่งเรียกย่อๆว่า GABHS ซึ่งเกิดจากการรับ เชื้อจากสารคัดหลั่ง ที่เกิดจากการหายใจ เชื้อสเตรปโตคอกคัส สามารถพบได้ที่ลำคอ โพรงจมูก และ ผิวหนัง และ สามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงต่างๆ เช่น หมา และ แมว

โรคคออักเสบพบมากในเด็ก ซึ่งมี ภูมิคุ้มกันโรคต่ำ พบบ่ายในเด็กช่วงอายุไม่เกิน 15 ปี สามารถเกิดได้กับคน ทุกเพศ ซึ่ง การอักเสบของคอ เกิดจากการอักเสบ ของ ต่อมทอนซิลอักเสบ มากถึงร้อยละ 30 ของผู้ป่วยในเด็ก และ ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่

สาเหตุของการเกิดโรคคออักเสบ 

สาเหตุของการเกิดโรคเกิดจาก การสัมผัส และ คลุกคลีอยู่กับเชื้อโรค หรือ การใช้ของร่วมกันกับ ผู้ที่มีเชื้อโรค เช่น ใช้แปรงสีฟันร่วมกัน เป็นต้น

อาการของโรคคออักเสบ

หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อโรค ประมาณไม่เกิน 3 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง เจ็บคอ ดื่มน้ำได้น้อย ไม่มีอาการไอ ไม่มีเสมหะ ที่ ต่อมทอนซิลอักเสบ มี อาการบวมและแดง มี ลักษณะคล้ายหนอง มี สีเหลืองๆปกคลุมบนผิวของต่อมทอนซิล ต่อมน้ำเหลืองด้านหน้าลำคอจะโต เจ็บ ปวดศีรษะ หนาวสั่น เบื่ออาหาร

การรักษาโรคคออักเสบ

เนื่องจาก โรค นี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง ซึ่งผู้ป่วยสามารถหายเองได้ภายใน 7 วัน และ ในทางการแพทย์ หากใช้ ยาปฎิชีวนะ ผู้ป่วยสามารถหายได้ภายใน 3 วัน โดยผู้ป่วยต้อง พักผ่อนเพื่อให้ร่างกายได้รักษาตัว

ข้อควรปฏิบัติเมื่อป่วยเป็นโรคคออักเสบ

สามารถแบ่งได้เป็นข้อควรกระทำ ดังนี้

  1. การพักผ่อน หยุดเรียน หยุดงาน อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  2. กินยาต้ามคำสั่งของแพทย์
  3. ดื่มน้ำอุ่น
  4. บ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ
  5. ระบประทานอาหารอ่อนๆ
  6. ไม่ใช้ของร่วมกันกับผู้อื่น

การป้องกันการเกิดโรคคออักเสบ

สามารถทำได้โดย  รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เช่น ล้างมือ ทานอาหารที่สะอาด เป็นต้น  ไม่คลุกคลีกับคนป่วย โรคคออักเสบ หากจำเป็นต้อง ใส่หน้ากากป้องกัน ไม่ใช้ของร่วมกันกับ ผู้ป่วยโรคคออักเสบ และ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การเกิดคออักเสบ อาการหนึ่งที่จะเจอคือ การ มีไข้สูง หากปล่อยให้ไข้สูงโดยไม่พยายาม ลดไข้ จะทำให้ร่างกายช็อกได้ ดังนั้น เราขอแนะนำ สมุนไพรช่วยลดไข้ เพื่อเป็น การรักษาตัวแบบธรรมชาติ มีดังนี้

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา
ตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิงตะลิงปลิง ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง

โรคเจ็บคอสเตรปโธรท โรคคออักเสบ ( Strep throat ) คือ ภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลำคอ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอกคัส ทำให้เกิดอาการ เจ็บคอ ปวด มีไข้สูง สามารถหายเองได้ภายใน 7 วัน โรคคออักเสบรักษาอย่างไร การป้องกันคออักเสบ คออักเสบ โรคคออักเสบ พบมากในเด็ก ที่มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย

เชื้ออีโคไล E.coli ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือ สมองอักเสบ เชื้ออีโคไลอาศัยอยู่ที่ที่ขาดออกซิเจนได้ การรักษาโรคและป้องกันทำอย่างไรอีโคไล ท้องเสีย ท้องร่วง โรคระบบทางเดินอาหาร

Escherichia coli ( E. coli ) คือ เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่น ซึ่งปกติแล้วแบคทีเรียชนิดนี้ไม่ทําอันตรายต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต และเมื่ออาศัยอยู่ในลําไส้ก็จะช่วยย่อยอาหาร แต่หาก E. coli เข้าสู่อยวัยวะอื่นๆของร่างกาย จะทำให้อวัยวะนั้นๆติดเชื้ออย่างรุนแรงได้ เช่น โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น และ เชื้อ E. coli บางสายพันธุ์ที่ทําให้เกิดโรคท้องเสียได้ หากเชื้อโรคปนเปื่อนในอาหารที่เรารับประทาน

กลไกของการติดเชื้ออีโคไล

เชื้ออีโคไลจะสร้างชิกา สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ STX1( Shiga toxin 1 ) และ STX2 ( Shiga toxin 2 ) เชื้ออีโคไล จะสร้างโปรตีนชื่ออินติมิน( Intimin ) ซึ่งเชื้อนี้ใช้ในการเข้าไปเกาะเซลล์ที่เยื่อบุผนังของลำไส้ และจะสร้างสารพิษชนิดเอนเทอโรฮีโมลัยซิน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก และไตวายในที่สุด

ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย E. coli

กลไกการก่อโรค เมื่อเชื้อ E. coli เข้าสู่ร่างกาย จะสร้างสารพิษต่างๆ สารพิษ enterotoxin ทําให้เกิดอาการท้องร่วงแบบเฉียบพลัน ถ่ายเหลวเป็นน้ํา สร้างสารพิษ Shiga ทําให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด เป็นต้น ซึ่งเชื้ออีโคไล E.coli ( Escherichia coli ) มีหลายชนิด  ประกอบด้วย  Enterotoxigenic E coli (ETEC), Enterohemorrhagic E coli (EHEC), Enteropathogenic E coli (EPEC),Enteroinvasive E coli (EIEC),Enteroaggregative E coli (EAEC),Shiga-toxin producing E coli (STEC) รายละเอียดของเชื้อโรคแต่ละชนิด มีดังนี้

  • ETEC (Enterotoxigenic E coli) เชื้อโรคชนิดนี้ทำให้อุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปเกาะที่ผนังของลำไส้เล็กและปล่อยสารพิษเข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้ เป็นสาเหตุของอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EHEC (Enterohemorrhagic E coli ) เชื้อโรคชนินนี้ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เชื้อโรคชนิดนี้จะสร้างสารพิษในลำไส้ทำให้มีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ
  • STEC (Shiga-toxin producing E coli ) เชื้อโรคนี้จะเข้าไปจับที่ผนังของลำไส้ใหญ่ จากนั้นจะปล่อยสารพิษหลายชนิด ซึ่งสารพิษเป็นพิษต่อผนังหลอดเลือด
  • EPEC (Enteropathogenic E coli ) เชื้อโรคชนิดนี้ จะทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ตามลำไส้เล็ก
  • EIEC (Enteroinvasive E coli ) เชื้อชนิดนี้ ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายลำไส้ใหญ่ และปล่อยสารพิษ จนทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเหลว
  • EAEC (Enteroaggregative E coli )เชื้อโรคชนิดนี้จะเกาะอยู่ในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก และปล่อยสารพิษ(toxin) เข้าไปทำลายเยื่อบุลำไส้

สาเหตุของการติดเชื้ออีโคไล

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรีย E. coli เกิดจากการรับเชื้อ E. coli ทางอาหารหรือการสัมผัส โดยสามารถสรุปสาเหตุทั่วไปที่อาจทำให้ได้รับเชื้อ E. coli มีดังนี้

  • การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อ E. coli
  • มือที่สัมผัสเชื้อโรค และ เข้าสู่ร่างกายในช่องทางต่างๆ เช่น แผล ปาก หู จมูก เป็นต้น
  • การสัมผัสมูลสัตว์ที่มีเชื้อโรค E coli ปะปน
  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ E coli
  • การว่ายน้ำในสระน้ำ หรือ แหล่งน้ำ ที่มีเชื้อ E. coli ปะปน

อาการของผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไล

หากเกิดกับเด็กทารกและเด็กเล็ก พบว่าอาการผุ้ติดเชื้อไม่แน่นอน อาการคล้ายในเด็กโต คือ ท้องร่วงจากการติดเชื้อไวรัส ต่อมาจะเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ หากเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด จะทำให้ มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อ้วก ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาหารซึมเศร้า หากรักษาช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

หากเกิดกับเด็กโต จะเกิดทางเดินอาหารอักเสบ หรือทางเดินปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลว อาจจะถ่ายมีเลือดปน ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้  หากเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด จะทำให้ มีไข้สูง ตาเหลือง หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อ้วก ถ่ายอุจจาระเหลว มีอาหารซึมเศร้า หากรักษาช้า อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไล

ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาผู้ติดเชื้อโรคชนิดนี้โดยเฉพาะ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น และ หายเป็นปกติได้เอง สิ่งที่สามารถทำได้ คือ ประคับประครองผู้ป่วยไม่ให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ และ ไม่ให้อ่อนเพลียเกินไป

การป้องกันการติดเชื้ออีโคไล

วิธีรักษาผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล แต่ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น และควรหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดในกลุ่มสเตอรอยด์ เช่น ยาแอสไพริน เพราะจะยาตัวนี้จะไปทำลายไตของผู้ป่วย สามารถทำได้โดยการ รับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ทานอาหารที่ปรุงสุก

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และถูกสุขลักษณะ
  • ควรเก็บอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไว้ในอุณหภูมิต่ำ
  • สำหรับผักสด ควรล้างน้ำให้สะอาด โดยการปล่อยน้ำไหลผ่านผักประมาณ 2 นาที
  • ในการประกอบอาหารควรปรุงให้สุกในระดับอุณหภูมิ 71  องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมืออยู่เสมอ
  • เมื่อมีอาการท้องเสียขั้นรุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน และอย่ารับประทานยาระงับถ่ายอุจจาระ

การติดเชื้ออีโคไล E.coli ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องร่วง ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือ สมองอักเสบ Mr. Theodur Escherich คือ ผู้ค้นพบเชื้อโรค E coli เชื้ออีโคไล สามารถอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ขาดออกซิเจนได้ การรักษาโรคติดเชื้ออีโคไล และ การป้องกันการเกิดโรคติดเชื้ออีโคไล


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove