หูดงอนไก่ ( Genital wart ) ติ่งเนื้อผิวหนังอวัยวะเพศเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV เรียก หูดอวัยวะเพศ หูดกามโรค อาการติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ไม่เจ็บ ไม่อันตรายหูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ โรคติดต่อ

สาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่

สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ เกิดจากติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV ) บางสายพันธุ์ ซึ่งร้อยละ 90 ของผู่ป่วยโรคหูดหงอนไก่ เกิดจากไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 6 และ 11 ซึ่งการติดโรคหูดหงอนไก่ มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยมักเกิดในวัยรุ่น เชื้อไวรัสเอชพีวีเมื่อเข้าสู่ร่างการ เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัวของโรค 30 วัน ถึง 2 ปี แต่จากสถิติพบว่าส่วนมากจะแสดงอาการภายใน 120 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อผ่านทางการสัมผัสผิวหนัง เชื้อไวรัสก็จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ที่ผิดปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี สายพันธ์ย่อยที่ 6 และ 11 โดยสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ได้ดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ไม่สวมถุงยางอนามัย
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนมีเชื้อไวรัสเอชพีวี หรือ มีประวัติติดเชื้อโรคไวรัสเอชพีวี
  • การนิยมเปลี่ยนคู่นอน

อาการของหูดหงอนไก่

เมื่อได้รับเชื้อไวรัสเอชพีวีเข้าสู่ร่างการ เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัวของโรค 30 วัน ถึง 2 ปี แต่จากสถิติพบว่าส่วนมากจะแสดงอาการภายใน 120 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อผ่านทางการสัมผัสผิวหนัง เชื้อไวรัสก็จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆมากมาย คือ เกิดเมือก ( Mucosa ) ที่อวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องปาก ในลำคอ จากนั้นจะเกิดรอยต่างๆ ลักษณะเป็นตุ่มเดียวหลายตุ่ม คล้ายดอกกะหล่ำ สีชมพู ผิวขรุขระ เพิ่มจำนวนมากขึ้น สร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วย

การรักษาโรคหูดหงอนไก่

การรักษาเนื่องจากสาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่ คืิอ เชื้อไวรัสเอชพีวี การรักษาต้องกำจัดเชื้อไวรัส พร้อมๆกับการกำจัดติ่งเนื้อออกไป ด้วยใช้วิธีทางการแพทยต่างๆ เช่น ความร้อนจัด ความเย็นจัด หรือ ยาเคมีบำบัดบางชนิด วิธีรักษาหูดหงอนไก่ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ใช้ไฟฟ้าจี้ ( Electrocauterization ) จี้ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ เพื่อตัดติ่งเนื้อออก ซึ่งวิธีนี้มีข้อเสีย คือ ควันที่เกิดจากการจี้ในระหว่างการรักษาหูดนั้น จะมีเชื้อไวรัส HPV ปนอยู่ หากสูดดมเข้าไป อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ HPV ที่ทางเดินหายใจได้
  • ใช้ความเย็นจี้ ( Cryotherapy ) ใช้สำลีชุบไนโตรเจนเหลวป้ายที่รอยติ่งเนื้อ ความเย็นจะสัมผัสติ่งเนื้อประมาณ 15 วินาที อาจทำให้มีรอยดำหลังการรักษา และ มีอาการเจ็บ ขณะรักษา
  • การผ่าตัดหูดหงอนไก่ออก วิธีนี้ลดปัญหาการกลับมาเกิดซ้ำของหูดหงอนไก่ได้มากที่สุด ใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองจากวิธีอื่นๆ
  • ใช้การทาน้ำยาPodophyllin วิธีนี้อาจมีอาการระคายเคือง แสบผิวในจุดที่โดนแต้มยา
  • ใช้การทาด้วยน้ำยาTrichloroacetic acid การรักษาด้วยวิธีนี้อาจทำให้มีอาการแสบ และ ระคายเคืองที่ผิวตรงจุดที่โดนทา

ผลข้างเคียงของโรคหูดหงอนไก่

ผลข้างเคียงของการเกิดหูดหงอนไก่ นั้นสิ่งแรก คือ ไม่น่ามอก หรือ ไม่น่าสัมผัส ทำให้รู้สึกขยะแขยง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ระบบสืบพันธุ์ และ มะเร็งทวารหนักได้ ซึ่งสามารถสรุปผลข้างเคียงต่างๆ ได้ดังนี้

  • หากเกิดกับสตรีมีครรภ์ หูดหงอนไก่ อาจมีขนาดใหญ่จนเกิดการกีดขวางทางคลอด และเชื้อโรคมีโอกาสติดสู่เด็ทารกได้ ทำให้เกิดหูดในกล่องเสียง ทำให้เด็กทารกออกเสียง หรือ หายใจไม่สะดวก
  • หากเกิดกับชายในกลุ่ม รักร่วมเพศ มักพบหูดหงอนไก่รอบทวารหนัก หรือ เกิดในทวารหนัก ซึ่งการรักษายาก ทำให้เกิดภาวะทวารหนักตีบตัน ขับถ่ายยาก ทำให้ท้องผูก สามารถทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้
  • หากเกิดหูดหงอนไก่ที่ทางเดินหายใจ ซึ่งพบมากที่สุด คือ เกิดหูดที่กล่องเสียง ทำให้เสียงแหบ และ เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่

การรักษาในปัจจุบัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ดังนั้นการป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่ เป็นสิ่งที่ควรทำ และ ทำได้ง่ายกว่าการรักษาโรค โดยต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทั้งหมด สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนของตน
  • ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยการสวมถุงยางอนามัย
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี

โรคหูดงอนไก่ ( Genital wart ) คือ การติ่งเนื้อ ก้อนผิวหนังที่อวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV เรียกอีกชื่อว่า หูดอวัยวะเพศ หรือ หูดกามโรค เกิดได้กับทุกเพศ อาการของโรค คือ เกิดติ่งเนื้อขรุขระที่อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก  ไม่เจ็บ และ ไม่อันตราย สาเหตุ อาการ การรักษา และ การป้องกัรนโรคทำอย่างไร

เกลื้อน ติดเชื้อราที่ผิวหนัง อาการมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น รักษาและป้องกันเกลื้อน โรคผิวหนัง ผิวหนังติดเชื้อรา เกิดผื่น

โรคเกลื้อน เป็นโรคที่พบมากในประเทศที่มีอากาศเย็น แต่มักมักพบโรคนี้ในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเพศหญิงและเพศชาย พบในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว มากที่สุด สำหรับปัจจัยและสาเหตุของการเกิดโรค มีดังนี้

ปัจจัยของการเกิดโรคเกลื้อน

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคเกลื้อน สามารถพบเห็นได้จากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • อายุ เนื่องจากอายุของคนวัยหนุ่มสาว สามารถขับเหงื่อได้มาก ทำให้มีโอกาสเกิดความอับชื้นของเสื้อผ้าได้ง่าย กว่าคนในวัยอื่นๆ หากการรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าไม่ดี ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมากที่สุด
  • ลักษณะทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีความมันของผิวหนังมากกว่าปรกติ สามารถทำให้เกิดปัจจัยความเสี่ยงการเกิดโรคเกลื้อนได้ง่ายกว่าปรกติ
  • ลักษณะการบริโภคที่ไม่สมดุลย์ หากมีการกินอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันในร่างกายมาก ความมันของผิวหนังก็มีมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อราได้ง่ายขึ้น
  • ลักษณะการทำงานที่ส่งผลให้มีเหงื่อออกมาก เช่น คนทำงานกลางแดด คนทำงานแบกหาม คนทำงานในโรงงาน คนที่ทำงานที่ต้องใส่แต่งเครื่องแบบที่ร้อนอบ และ นักกีฬา เป็นต้น
  • การใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยเอดส์
  • ภาวะความเครียด
  • ภาวะโลหิตจาง
  • เกิดภาวะวัณโรค
  • อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ภาวะโรคเบาหวาน

สาเหตุของการเกิดโรคเกลื้อน

การเกิดโรคเกลื้อนเกิดจากเชื้อรา ชื่อ “ มาลาสซีเซีย ” ( Malassezia spp. ) เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ที่ผิวหนังชั้นนอกของคน โดยปรกติแล้วเชื้อราชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเชื้อรานี้จะทำให้เกิดริ้วรอยบนผิวหนัง สามารถติดต่อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง แต่ก็ติดต่อยาก หากมีภาวะอื่นๆ ร่วมจะส่งเสริมให้เกิดโรคง่ายขึ้น เช่น ภาวะความเครียด ภาวะโลหิตจาง การเกิดโรควัณโรค การตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับบางคนที่มีเหงื่อออกมาก เชื้อราชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดี

อาการของโรคเกลื้อน

สำหรับอาการของโรคเกลื้อน จะเริ่มจากการมีรอยักษณะจุด มีขุย ต่อมารอยจะมีสีอ่อนลง และอาจมีสีเข้มขึ้นบริเวณผิวหนังโดยรอบ ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีขอบเขตที่ชัดเจน ผื่นจะไม่เข้มขึ้นหากโดนแสงแดด ผื่นที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเกิดขึ้นและหายไปได้เอง สรุปลักษณะของโรคเกลื้อน มีดังนี้

  • พื้นที่ที่เกิดผื่น จะเกิดขึ้นบริเวณที่มีเหงื่อออกมาก เช่น หน้าอก หลัง ไหล่ ซอกคอ ลำคอ ต้นแขน หน้าท้อง เป็นต้น แต่พบมากบริเวณแผ่นหลังและหน้าอก
  • รูปร่าง ขนาด และ จำนวน เกลื้อน เป็นลักษณะผื่น กลม ๆ หรือ รูปวงรี ขนาดเล็กๆ ซึ่งผื่นมักจะขึ้นแยกจากกันเป็นดวง ๆ และอาจเชื่อมต่อกันได้จนเป็นแผ่นขนาดใหญ่
  • สีของผื่นจะมีสีที่แตกต่างกัน เช่น สีขาว สีชมพู หรือ สีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีของผิวหนังแต่ละคน
  • ลักษณะผื่นที่ขึ้นจะมีลักษณะแบนราบและมีขอบเขตของผื่นที่ชัดเจน บริเวณที่เกิดผื่นผิวจะไม่เรียบและมีเกล็ดสีขาว น้ำตาล หรือแดงบนผิว

วิธีรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับการรักษาโรคเกลื้อนนั้นการรักษาใช้ยาทารักษาเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของการอาการ โดยการรักษามีรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับอาการผื่นที่ไม่มาก สามารถใช้ยาทารักษาโรคเชื้อราได้ โดยให้ทาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากอาบน้ำเสร็จ ทาติดต่อกันประมาณ 30 วัน
  • สำหรับอาการผื่นลักษณะกว้างที่หนังศรีษะ ให้ใช้ยาสระผมเซลซัน เป็นยาสะผมที่มีตัวยาซีลีเนียมซัลไฟด์ แต่ควรระวังเรื่องการแพ้ยา หากมีอาการบวม แดง คัน หรือ แสบร้อน ให้เลิกใช้ทันที
  • สำหรับอาหารผื่นที่เกิดมากและกินบริเวณกว้าง หรือ เกิดโรคเกลื้อน ชนิดเรื้อรัง แพทย์จะให้กินยา คีโตโคนาโซล ( Ketoconazole ) หรือ ไอทราโคนาโซล ( Itraconazole ) เนื่องจากอาการผื่นขนาดใหญ่การใช้ยาทาจะไม่สะดวก และใช้เวลานานในการรักษา การใช้ยากินช่วยให้รักษาได้เร็วกว่า

สมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคเกลื้อน

สำหรับสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคเกลื้อน มีสมุนไพรหลายชนิดสามารถรักษาโรคเกลื้อนได้ โดยแนะนำได้ เช่น กุ่มบก (Crateva adansonii subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs) ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd. ) ชุมเห็ดเทศ (Senna alata (L.) Roxb.) มะคำดีควาย (Sapindus trifoliatus L.) ทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz) อัคคีทวาร (Rotheca serrata (L.) Steane & Mabb.) กระเทียม (Allium sativum Linn.)

การดูแลตนเองและป้องกันโรคเกลื้อนเพื่อไม่ให้กลับมาเกิดโรคซ้ำอีก

สำหรับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดเกลื้อน มีคำแนะนำดัง ต่อไปนี้

  • ดูและความสะอาดเล็บมือเล็บเท้า โดยให้ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้น และหมั่นล้างมือให้สะอาด
  • ต้องรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดเหงื่อไคลหมักหมม สะสมจนเกิดโรคเกลื้อน
  • ควรใช้เสื้อผ้าที่สะอาด รวมถึงผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ต้องไม่ให้ผ้าที่สัมผัสตัวเรามีเชื้อโรคหมักหมม
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่ม่ความหนา และ คับเกินไป
  • ควรใช้ชีวิตอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • หลังจากการออกกำลังกาย หรือ การทำงานที่มีเหลื่อออกมาก ให้ทำความสะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ ไม่ควรใส่เสื้อที่มีความชื้นสะสม
  • ในเด็กที่มีโรคเกลื้อน ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรหายามารักษาเอง เนื่องจากยาของผุ้ใหญ่กับเด็กไม่ควรใช้ร่วมกัน

เกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเชื้อราที่ผิวหนัง ลักษณะอาการ คือ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง เกิดมากกับกลุ่มคนที่มีเหงื่อมาก เช่น คนใช้แรงงานกลางแจ้ง นักกีฬา คนที่ใส่เสื้อที่อับชื้น ปัจจัย สาเหตุ วิธีการรักษา และ การป้องกันทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove