มะระ ( Bitter melon ) พืชรสขม สรรพคุณหลากหลาย สมุนไพรในครัวเรือน ลักษณะของต้นมะระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ  เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร สรรพคุณของมะระ พืชสวนครัว

ต้นมะระ ภาษาอังกฤษ เรียก Bitter melon ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. และ ชื่อเรียกอื่นๆของต้นมะระแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น  ผักเหย ผักไห มะร้อยรู มะห่อย มะไห่ สุพะซู สุพะเด เป็นต้น

มะระขึ้นชื่อในเรื่องของความขม ความขมของมะระมาจากสาร Momodicine ซึ่งสารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกอยากกินอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และเป็นยาระบายอ่อนๆ แต่การรับประทานมะระไม่ควรรับประทานมะระสุก เนื่องจากอาจทำให้อาเจียนได้ มะระอยู่คู่กับสังคมและครัวเรือนของท้องถิ่นไทยมาอย่างช้านาน เป็นพืชตระกูลเดียวกับ ฟัก แตงกวาและบวบ นิยมนำผลดิบมารับประทานเป็นอาหาร หลากหลาย เช่น แกงจืดมะระหมูสับ ทานเป็นผักสดกับน้ำพริก เป็นต้น

มะระในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มะระเป็นพืชท้องถิ่นทั่วไป นิยมปลูกตามรั่วบ้าน นำมาประกอบอาหาร โดยนิยมรับประทาน ผลมะระ และ ยอดอ่อนมะระ มะระปลูกมากในภาคเหนือ แต่ก็สามารถพบได้ทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งมะระที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน รายละเอียดของมะระแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะระขี้นก ผลขนาดเล็ก ให้รสชาติขมมาก นิยมนำมารับประทานผลมะระขี้นกเป็นผักสด
  • มะระจีน ผลขนาดใหญ่ สีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลักษณะผิวเป็นร่องไม่เรียบ ให้เนื้อผลมาก นิยมนำมาทำอาหารหลากหลายเมนูอาหาร เช่น ต้มจืด ผัดมะระ รวมถึงรับประทานผลเป็นผักสด

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับแตงกวา อายุของมะระเพียงหนึ่งปี สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาระเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะระมีดังนี้

  • ลำต้นของมะระ ลักษณะเป็นเถา ลำต้นกลม สีเขียว มีขนอ่อนๆ ลำต้นมะระจะเกาะตามหลัก ต้นไม้หรือเสา โดยมีรากออกมาตามข้อของลำต้นช่วยในการเกาะจับหลัก
  • ใบของมะระ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ลักษณะใบหยาบมีขนอร่อยๆ ใบเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบกลม ก้านใบยาว
  • ดอกของมะระ ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะดอกเดี่ยวออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลือง รูปทรงดอกคล้ายรูประฆัง
  • ผลของมะระ ลักษณะยาวรี ผิวเปลือกบาง เรียบ ลักษณะผลเป็นผิวขลุกขละ เป็นหลุมเป็นร่องยาว ผลมีเนื้อหนา ฉ่ำน้ำ ผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะมีสีแดง
  • เมล็ดมะระ อยู่ในผลมะระ มีเม็ดจพนวนมากในผลมะระ ลักษณะเมล็ดจะแบนรี ปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน

คุณค่าทางโภชนาการของมะระ

มะระมีสารฟีนอลหลายชนิด เช่น กรดแกลลิก ( Gallic Acid ) กรดคาเฟอิก ( Caffeic Acid ) และคาเทชิน ( Catechin ) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันจุดด่างดำตามผิวหนังได้

ผลมะระจีน มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น แคแรนทิน ( charantin ) โพลีเปปไทด์ พี ( p-insulin ) และ วิซิน ( vicine ) ซึ่งมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

รสขมของมะระ มาจากสารเคมี ที่มีชื่อว่า Momodicine สารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทำให้อยากกินอาหาร ช่วยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพ เป็นยาระบายอย่างอ่อนๆ

สำหรับมะระ นิยมรับประทานมะระส่วนของผลสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะระ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 17 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญมากมายหลากหลาย ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.8 กรัม โปรตีน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม วิตามินเอ 380 มิลลิกรัม วิตามินB1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.4 มิลลิกรัม วิตามินB3 0.4 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.212 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.043 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.034 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.089 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 296 ไมโครกรัม และ โซเดียม 5 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะระ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะระ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลมะระ เถามระร เมล็ดมะระ รากมะระ ใบมะระ สรรพคุณของมะระ มีดังนี้

  • รากของมะระ สรรพคุณช่วยบำรุงร่างการ ช่วยสมานแผล แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้อาการปวดท้อง
  • เถาของมะระ สรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย แก้ปวดท้อง
  • เมล็ดของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยปรับสมดุลของธาตุในร่างกาย
  • ใบสดของมะระ สรรพคุณช่วยห้ามเลือด บำรุงเลือด เป็นยาระบายอ่อน ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาหวัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการฟกช้ำ แก้ผดผื่นคัน
  • ใบแห้งของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิ ช่วยขับลม
  • ผลสดของมะระ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ป้องกันมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน บำรุงน้ำดี  แก้ปากเปื่อย
  • ผลแห้งของมะระ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาแผล แก้คัน
  • ผลสุกของมะระ สรรพคุณช่วยรักษาสิว

โทษของมะระ

สำหรับการรับประทานมะระเป็นอาหาร ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย แต่การรับประทานหรือใช้มะระเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

  • ผลสุกมะระ มีสารซาโปนิน ( Saponin ) มีความเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นพิษต่อร่างกาย
  • มะระมีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด ร่วมกับรับประทานผลมะระอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานมะระ เนื่องสารเคมีในผลหรือเมล็ด อาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้แท้งได้

การเลือกซื้อมะระ

การเลือกซื้อมะระที่ให้ความขมไม่มาก ควรเลือกผลที่มีสีเขียวอ่อน อวบ และมีลายห่าง ๆ เพราะ จะขมน้อยกว่าผลที่มีสีเขียวเข้มและลายถี่ และก่อนนำมะระไปปรุงอาหาร ให้ผ่าแล้วเอาเมล็ดและไส้ในออกจนหมด จากนั้นหั่นแล้วนำไปแช่น้ำเกลือสักพัก จะช่วยให้มะระลดความขมลงได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

แตงกวา Cucumber สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ บำรุงผิว แก้ท้องเสีย ลดความดัน ลดไข้ แก้กระหาย บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์

แตงกวา สมุนไพร สรรพคุณของแตงกวา พืชสวนครัว

ต้นแตงกวา ภาษาอังกฤษ เรียก Cucumber ชื่อวิทยาศาสตร์ของแตงกวา คือ Sucumis sativus Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของแตงกวา เช่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน แตงปี แตงยาง แตงเห็น แตงอ้ม ตาเสาะ อึ่งกวย เป็นต้น ชื่อของแตงกวาจะเรียกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น

ต้นกำเนิดของแตงกวา กำอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย แตงกวานิยมนำมารับประทานเคียงกับน้ำพริกต่าง ๆ ลาบ อาหารจานเดียว อย่างข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก ก็จะมีแตงกวาประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพราะ เป็นผักที่มีน้ำมาก จึงช่วยในการผ่อนคลายความเผ็ดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยแก้เลี่ยนในอาหารได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ลักษณะของต้นแตงกวา

ต้นแตงกวา เป็นพืชชนิดไม้เถา ไม้เลื้อย มีเพียงอายุหนึ่งปี มีอายุสั้น หรือ ฤดูเดียว ปลูก ได้ในดินทุกชนิด ที่ชอบดินร่วนซุยปนทราย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแตงกวา มีดังนี้

  • ลำต้นของแตงกวา เป็นลำต้นเดี่ยว ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ลำต้นกลม เถาแข็งแรงและเหนียว สีเขียว ลำต้นจะเกาะตามกิ่งไม้หรือสิ่งที่ยึดเกาะได้ดี ลำต้นมีขนหยาบ สีขาว
  • ใบแตงกวา เป็นใบประกอบ ขนาดเท่าฝ่ามือ ใบมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม สีเขียว มีก้านใบยาว ใบมีขนหยาบ
  • ดอกแตงกวา ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกมีสีเขียว และ สีเหลือง ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกจะยาว ไม่มีลูกเล็กๆ ติดที่โคนดอก
  • ผลของแตงกวา ลักษณะทรงกลมยาวเป็นทรงกระบอก เนื้อผลฉ่ำน้ำ รสจืด ผลมีสีเขียวเข้ม
  • เมล็ดของแตงกวา ลักษณะของเมล็ดรีแบน ปลายแหลม สีขาว เมล็ดอยู่ภายในผล มีหลายเมล็ดในผล

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

สำหรับต้นแตงกวานั้น นิยมรับประทานผลของแตงกวาเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้มีการศึกษา คุณประโยชน์ของแตงกวา พบว่า แตงกวา ขนาด 100 กรัม มีความชื้น 96.4%  โปรตีน 0.4 % ไขมัน 0.1 % คาร์โบไฮเดรต 2.8 % และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก วิตามินบี และวิตามินซี ตัวผลของแตงกวา มีสารเอนไซม์อยู่หลายชนิด เช่น เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน  Oxidase Ascorbic acid  Dehydroginase  Succinic malic  ซึ่งส่วนของ เถ้าและเมล็ดของแตงกวา มี ฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง

สรรพคุณของแตงกวา

สำหรับการนำเอาแตงกวามาใช้ประโยชน์ ด้านสมุนไพร การรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ผลสด ใบ เมล็ด และ เถา โดยรายละเอียดดังนี้

  • ผลของแตงกวามาคั้นน้ำ ใช้ กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวเรียบตึง ช่วยย่อยโปรตีนที่ผิวชั้นนอก ทำให้ผิวที่หยาบกร้าน อ่อนนุ่มลง ในวงค์การเครื่องสำอางค์ นิยมนำน้ำที่ได้จากผลแตงกว่า มาทำ คลีมล้างหน้า ครีมทาตัว
  • ผลสดของแตงกวา ใช้รับประทาน เป็น ยาเย็น ลดความร้อนในร่างกาย ใช้ลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง ผลของแตงกวานำมาใช้รักษาแผลไฟลวก แก้ผด ผื่น คัน
  • ใบของแตงกวา นำมารับประทานสดๆ ให้รสขม จะมีพิษเล็กน้อย สามารถนำมาใช้ แก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของแตงกวา นำมาทาน ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ได้ดี
  • เถาของแตงกวา จะมีรสขม และมีพิษเล็กน้อย ช่วยลดความดันโลหิต แก้บิด รักษาหนองใน ขับปัสสาวะ ได้

ข้อควรระวังในการบริโภคแตงกวา

ถ้าจะนำแตงกวามาปั่นทานทุกวันก็ไม่อาจจะไม่ค่อยเป็นผลดีต่อสุขภาพสักเท่าไหร่ เพราะ แตงกวามีกรดยูริก (ซึ่งอยู่ในน้ำเมือกใส ๆ) โดยเฉพาะถ้าเป็นการนำมาปั่นสด ๆ แล้วรับประทานทุกวัน ร่างกายก็อาจจะสะสมกรดยูริกเข้าไป ถ้าหากร่างกายกำจัดออกไม่หมด ก็จะไปสะสมทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแคลเซียมในกระบวนการสร้างเซลล์กระดูก ความแข็งแรงของเม็ดเลือด ผลที่ตามมาอาจทำให้เกิดอาการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ (ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้ออยู่แล้วก็ควรระวังให้มาก)

ต้นแตงกวา ( Cucumber ) สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของแตงกวา สรรพคุณของแตงกวา เช่น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงผิว ยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง ลดความดัน ใช้ลดไข้ แก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove