ยอ สมุนไพรไทย ต้นยอเป็นอย่างไร สรรพคุณของลูกยอ เช่น แก้อาเจียน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ ลูกยอเป็นอันตรายกับคนท้อง ทำให้แท้งลูกได้

ลูกยอ สรรพคุณของลูกยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นยอ ภาษาอังกฤษ เรียก Great morinda , Tahitian noni , Indian mulberry , Beach mulberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นยอ คือ Morinda citrifolia L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นยอ เช่น แย่ใหญ่ ตาเสือ มะตาเสือ ยอบ้าน เป็นต้น ต้นยอ เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบโพลีนีเซียตอนใต้ ( Polynesia ) ซึ่งพบได้ทั่วไป ผลยอมีรสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นแรง

ลูกยอ มีสารอาหารต่างๆหลากหลาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผลลูกยอมีสารอาหารประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ เป็นต้น ซึ่งในทางการแพทย์แผนไทย นิยมใช้ในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม และ ช่วยย่อยอาหาร แต่เป็นอันตรายสำหรับสตรีมีครรภ์ อาจทำให้แท้งลูกได้

สายพันธุ์ต้นยอ

สำหรับต้นยอ สามารถแบ่งได้ เป็น 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย citrifolia  , bracteata และ cultivar potteri  รายละเอียด ดังนี้

  • citrifolia พบได้บริเวณหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ฮาวาย ตาฮิติ เป็นต้นสายพันธุ์นี้ลักษณะของผลมีหลายขนาด
  • bracteata พบมากในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งลักษณะของลูกยอสายพันธุ์นี้มีผลขนาดเล็ก
  • cultivar potteri พบทั่วไปตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งสายพันธุ์นี้มีใบเป็นสีเขียวและสีขาว

ลักษณะของต้นยอ

ต้นยอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะของผลยอ มีเอกลักษณ์และลักษณะที่ไม่เหมือนใคร ลักษณะของต้นยอ มีดังนี้

  • ลำต้นยอ ความสูงของต้นยอประมาณ 5 เมตร เปลือกของลำต้นบางติดกับเนื้อไม้ เปลือกของลำต้นสีเหลืองนวล หยาบและสากเล็กน้อย
  • ใบยอ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ซึ่งใบจะแทงออกตรงข้ามกันตามกิ่ง ใบเป็นทรงรี ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ผิวใบเป็นมัน ลักษณะเป็นคลื่น
  • ดอกยอ ลักษณะดอกเป็นช่อเดี่ยว กลีบดอกสีขาว ลักษณะเป็นหลอด ดอกยอจะแทงออกตามง่ามใบ ผิวดอกด้านนอกเรียบ ส่วนผิวดอกด้านในมีขน
  • ผลยอ ลักษณะกลมรี มีตุ่มทั่วผล ผลอ่อนมีสีเขียวสด ผลแก่เป็นสีเหลืองอมเขียว ภายในลูกยอมีเมล็ดมีจำนวนมาก ซึ่งลักษณะของเมล็ดยอ ลักษณะแบน สีน้ำตาลเข้ม

คุณค่าทางโภชนาการของยอ

สำหรับสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ของยอ ใช้ประโยชน์จากลูกยอและใบยอ ลูกยอสุก สามารถรับประทานได้ กินกับเกลือ หรือ กะปิ สามารนำมาคั้นน้ำลูกยอ ใช้ดื่มเป็นยาลดความดันโลหิต ส่วนใบอ่อนยอ สามารถรับประทานเป็นผักสด โดยใบอ่อนยอนำมาลวกกินกับน้ำพริก ต้มแกงจืด ทำแกงอ่อม เป็นต้น ลูกยอ มีสารเคมีหลายชนิด เช่น ลิกนัน โพลีแซคคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ กรดไขมัน สโคโปเลติน และ อัลคาลอยด์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของใบยออ่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม โปรตีน 3.8 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม กากใยอาหาร 1.9 กรัม แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 9,164 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14มิลลิกรัม และ วิตามินซี 78 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผลยอดิบ ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.5 กรัม โปรตีน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 39 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04มิลลิกรัม และ วิตามินซี 208 มิลลิกรัม

สรรพคุณของยอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากยอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบยอ ผลยอ รากยอ และ น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ สรรพคุณของยอ มีดังนี้

  • ผลยอ สรรพคุณช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ช่วยลดความดัน ช่วยขยายหลอดเลือด รักษาวัณโรค ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ข่วยผ่อนคลาย บำรุงธาตุไฟ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี บำรุงสมอง รักษาสิวแก้เวียนหัว รักษาแผลในปาก แก้เจ็บคอ แก้ปวดฟัน แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับประจำเดือน รักษาแผล
  • น้ำลูกยอ สรรพคุณช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยลดความดัน
  • ใบยอ สรรพคุณช่วยรักษาเบาหวาน ช่วยลดความดัน รักษาวัณโรค แก้กระษัย แก้เบื่ออาหาร บำรุงสายตา รักษาโรคมาลาเรีย แก้ปวดหัว รักษาแผล แก้ปวดตามข้อกระดูก กำจัดเหา
  • ลำต้นยอ สรรพคุณช่วยลดความดัน รักษาโรคดีซ่าน
  • รากยอ สรรพคุณแก้กระษัย รักษาแผลอักเสบ
  • น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ สรรพคุณลดอาการอักเสบ ช่วยป้องกันแมลง รักษาสิว กำจัดเหา

โทษของยอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากยอ ต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเมล็ดยอ มีความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ลูกยอ สรรพคุณช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน อาจทำให้เสียเลือด และ แท้งลูกได้

ยอ สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นยอเป็นอย่างไร สรรพคุณของลูกยอ เช่น แก้อาเจียน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ โทษของลูกยอ เป็นอันตรายกับคนท้อง ทำให้แท้งลูกได้

กระเทียม สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม ประโยชน์และสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ลดความดัน รักษาแผล ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ

กระเทียม พีชสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม มีชื่อสามัญ ว่า Garlic ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. จัดว่าเป็นพืชในวงศ์พลับพลึง ( AMARYLLIDACEAE ) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE การปลูกกระเทียมในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่กระเทียมที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดี ต้องกระเทียมศรีสะเกษ กระเทียม นั้น ช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อน ใช้น้ำคั้นหัวกระเทียมผสมน้ำอุ่นและเกลือ ใช้กลั้วคอใช้รักษาโรคทอนซิลอักเสบ กระเทียม นิยมปลูกมากในทางภาคอีสานและภาคเหนือ

ลักษณะของกระเทียม

กระเทียม เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง 2 ฟุต หัวกระเทียมมีลักษณะกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซ็นติเมตร ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-15 กลีบ ส่วนเนื้อของกระเทียมมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัด

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารสำคัยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

สรรพคุณของกระเทียม

สมุนไพร กระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา เป็นอาหารสุมนไพร อาหารสุขภาพ บำรุงร่างกายมากมาย เราได้รวบรวม สรรพคุณของกระเทียมมาให้เพื่อนๆได้เป็นข้อมูล การนำกระเทียมมาใช้ประโชยน์

  1. กระเทียมใช้ช่วยบำรุงผิวหนัง ให้มีสุขภาพผิวดี
  2. กระเทียมนำมาใช้ ช่วยการเจริญอาหารให้อยากกินอาหารจะได้เจริญเติบโต ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  3. การบริโภคกระเทียมช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  4. กระเทียมกินดี ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย
  5. สรรพคุณบำรุงเลือด หากต้องการลดไขมันในเส้นเลือด และลดน้ำตาลในเส้นเลือดควรกินกระเทียม ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยในการละลายลิ่มเลือด มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
  6. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย คือ ประโยชน์ของกระเทียมอีกข้อหนึ่ง
  7. กระเทียมช่วย ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  8. เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้โดย กระเทียมจะช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะกระเทียมมีสารบางตัวที่ควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  9. กระเทียมช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  10. กระเทียม มีประโยชน์ด้านผมและหนังศีรษะโดยช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  11. กระเทียมบำรุงโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  12. ช่วยในการขับพิษ และสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
  13. สรรพคุณป้องกัน อาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ กระเทียมช่วยแก้อาการหอบ หืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยระงับกลิ่นปาก ช่วยในการขับเหงื่อ
  14. กระเทียมช่วย ขับเสมหะ ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ มีสรรพคุณช่วยในการขับลม ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก โรคบิด
  15. กระเทียม สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
  16. กระเทียมมีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย เชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ และการยับยั้งเชื้อ เช่น เชื้อฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
  17. กระเทียมช่วย บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี

ข้อควรคำนึงในการบริโภคกระเทียม

  1. การบริโภคกระเทียม เนื่องจากกลิ่นฉุนของกระเทียมหากบริโภคมากเกินไปจะเสียรสชาติของอาหาร การ
  2. ใช้กระเทียมในการบริโภคสดให้ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  3. สารอาหาร จำพวกอาหารเสริมที่เป้นสารสกัดมาจากกระเทียม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงปริมาณในการบริโภคที่เหมาะสมต่อร่างกาย

การกินกระเทียมวันละ 5 กลีบ นั้นเป็นยาวิเศษ จะบรรเทาอาการแสบแน่นอกจากกรดไหลย้อน ลดแก็สในลำใส้ และป้องกันอาการท้องใส้ปั่นป่วน การกินกระเทียม เหมือนการกินแอสไพรินช่วยลดไข้ ที่มีประโยชน์สูงสุดคือ ช่วยต้านการแข็งตัวของเลือด กระเทียมแห้งมีฤทธิ์น้อยกว่ากระเทียมสด ไม่กินกระเทียมแทนยา แต่การกินกระเทียมต่อเนื่องในปริมาณที่เหมาะสมจะดีต่อสุขภาพ

กระเทียม สมุนไพร พืชล้มลุก นิยมนำมาทำอาหาร คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม ประโยชน์ของกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดัน รักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ  

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove