อะโวคาโด ผลไม้สุดยอด สมุนไพร ลักษณะของต้นอะโวคาโด สรรพคุณของอะโวคาโด เช่น บำรุงผิวพรรณ บำรุงความงาม คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโด โทษของอะโวคาโด มีอะไรบ้าง

อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโด

ต้นอะโวคาโด ( Avocado ) เรียกอีกชื่อว่า ลูกเนย ชื่อวิทยาศาสตร์ของอะโวคาโด คือ Persea americana Mill เป็นพืชตระกูลเดียวกับอบเชย สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของอะโวคาโด เช่น อาโวคาโด อาโวกาโด อโวคาโด้ ลูกเนย เป็นต้น ต้นอะโวคาโด เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก สำหรับประเทศไทย มีการปลูกอะโวคาโดครั้งแรกที่จังหวัดน่าน และกระจายไปทั่วประเทศ อะโวคาโดมีเนื้อผลเป็นเนย

ปัจจุบัน อะโวคาโด ได้รับความนิยมรับประทานในประเทศแถบยุโรปและอเมริกา เนื่องจาก เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินและแร่ธาตุหลากหลาย สายพันธ์อะโวคาโด สามารถแบ่งเป็น 3 สายพันธ์ คือ คือ สายพันธ์กัวเตมาลา สายพันธ์อินดีสตะวันตก และ สายพันธ์เม็กซิโก รายละเอียดของแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • อะโวคาโดสายพันธ์กัวเตมาลา ลักษณะผลสีเขียว ผิวขรุขระ เมล็ดกลม เนื้อผลหนา ไขมันสูง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศหนาวเย็น สายพันธ์นี้ เช่น พันธุ์แฮส ( Hass ) และ พันธุ์พิงค์เคอตัน ( Pinkerton )
  • อะโวคาโดสายพันธ์อินดีสตะวันตก ลักษณะผลมีผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลสีเขียวอมเหลือง เปลือกของผลหนา รสหวานอ่อน ไขมันน้อย เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศร้อน สายพันธ์นี้ เช่น พันธุ์ปีเตอร์สัน ( Peterson )
  • อะโวคาโดสายพันธ์เม็กซิโก ลักษณะผลเล็ก ผิวของผลเรียบ เปลือกบาง เมล็ดขนาดใหญ่ มีไขมันมาก สายพันธ์นี้ทนต่ออากาศเย็นได้ดี

ลักษณะของต้นอะโวคาโด

  • ลำต้นของอะโวคาโด ลักษณะของลำต้นตั้งตรง เปลือกของลำต้นผิวขรุขระ สีน้ำตาลอ่อน ความสูงประมาณ 18 เมตร
  • ใบของอะโวคาโด ลักษณะรีเป็นรูปไข่ ใบมีสีเขียวสด ใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบ เรียงสลับกันตามกิ่ง
  • ดอกอะโวคาโด ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกบริเวณปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอมเหลือง ขนาดเล็ก
  • ผลอะโวคาโด ลักษณะรีเป็นรูปไข่ คล้ายผลสาลี่ ผิวของเปลือกเรียบ มีสีเขียว ภายในผลจะมีเนื้อมันและละเอียด สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองเข้ม ลักษณะคล้ายเนย
  • เมล็ดของอะดวคาโด อยู่ภายในผลของอะโวคาโด สีน้ำตาล หนึ่งผลมี 1 เมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโด

สำหรับการรับประทานอะโวคาโด จะนิยมรับประทานผลของอะโวคาโด ลักษณะของเนื้ออะโวคาโด คล้ายเนย มีรสชาติ นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลดิบอะโวคาโด พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของอะโวคาโดดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 160 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม น้ำตาล 0.66 กรัม กากใยอาหาร 6.7 กรัม ไขมัน 14.66 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 2.13 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 9.8 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 1.82 กรัม โปรตีน 2 กรัม น้ำ 73.23 กรัม วิตามินเอ 7 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 42 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 271 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.738 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.389 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.257 มิลลิกรัม วิตามินบี9 81 ไมโครกรัม วิตามินซี 10 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.07 มิลลิกรัม วิตามินเค 21 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.142 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 52 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 485 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.64 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์

สรรพคุณของอะโวคาโด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอะโวคาโด นิยมนำ ผลอะโวคาโด มารับประทาน ซึ่งผลอะโวคาโด มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคมากมาย สรรพคุณของอะโวคาโด มีดังนี้

  • ช่วยชะลอวัย อะโวคาโดมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกกันเซลล์ต่างๆในร่างกายถูกทำลาย
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ เนื่องจากมีวิตามินอีสูง ทำให้ลดริ้วรอย ก่อนวัย ช่วยให้ผิวชุมชื้น เปล่งปลั่ง
  • ช่วยบำรุงสายตา เนื่องจากมีเบต้าแคโรทีนสูง
  • ช่วยลดคอเลสเตอรัลในเส้นเลือด เนื่องจากมีกรดไขมันชนิดเดียวกันกับน้ำมันมะกอก ป้องกันโรคหัวใจได้ดี
  • ช่วยป้องกันโรคหวัด และ โรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีสูง
  • มีประโยชน์ต่อสตรีมีครรภ์ เนื่องจากมีโฟเลทสูง เป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์
  • ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา และ โรคปากนกกระจอก เนื่องจากมีวิตามินบี1-บี9
  • ช่วยบำรุงสมอง เพราะ อะโวคาโดอุดมไปด้วย DHA ช่วยเสริมสร้างเซลล์สมอง
  • ช่วยบำรุงเส้นผม น้ำมันอะโวคาโด นำมาใช้นวดศีรษะ ช่วยเร่งให้ผมยาวเร็วขึ้น

โทษของอะโวคาโด

สำหรับอะโวคาโด ความเป็นพิษ อาการแพ้จากการกินอะโวคาโดเรียก latex-fruit syndrome การแพ้ลาเท็กซ์ ทำให้เกิดอาการ เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ปวดท้อง อาเจียน หรือ อาจอันตรายทำให้เสียชีวิตได้

ผลดิบอะโวคาโดไม่สามารถรับประทานได้ เนื่องจาก มีสารแทนนินในปริมาณมาก มีรสขม หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ปวดศีรษะ ดังนั้น ควรรับประทานผลสุกอะโวคาโด

ย่านาง ( Bamboo grass ) จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดันย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านาง

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra ( Colebr. ) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของย่านาง เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ในพื้นที่อากาศชุ่มชื้น ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นย่านางสามารถขยายันธ์ได้ง่าย โดยใช้หัวใต้ดิน การปักชำยอด หรือ การเพาะเมล็ด

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง เป็นไม้เลื้อย เป็นเถา ซึงลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง เป็นเถาเกี่ยวพันกับไม้อื่น มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว มีสีเขียว และ เถาแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง เป็นมีหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ ใบเหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบเป็นมัน
  • ดอกของย่านาง ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
  • ผลของย่านาง มีลักษณะกลมรี เล็ก สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมแดง มีเมล็ดลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ประโยชน์ของใบย่านาง

สำหรับประโยชน์ของต้นย่านาง นั้น เป็นพืชที่ให้ออกซิเจน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีมลพิษสุง หากปลูกต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์หลักๆของย่านาง นิยมการนำใบย่านางมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร สำหรับการบริโภค และ นำมาทำน้ำใบย่านาง ใบย่านางช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำ จึงมีการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น เพื่อรักษาอาการผมหงอก ใบย่านางสามารถช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้ จึงเห็นใบย่านางมักเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีหน่อไม้ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของย่านางนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้ง ราก และ ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของย่านาง มีรสขม สรรพคุณแก้ไข้ รักษาไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ขับพิษ
  • ใบของยางนาง มีรสขมจืด สรรพคุณแก้ไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ลดความอ้วน ปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิว แก้เวียนหัว ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้ปวดตามกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้เสมหะเหนียว รักษาไซนัสอักเสบ ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง มีกลิ่นแรง กินยาก สำหรับคนที่ไม่ชินกับการกินน้ำใบย่างนาง อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต
  • การกินอาหารเสริมที่ได้จากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove