ลำไส้ขาดเลือด ลำไส้กลืนกัน ( Intestinal Anemia ) ทำให้เนื้อเยื่อเน่า อาการปวดท้อง อาเจียนเป็นสีเหลืองเขียว อจุุจระเป็นเมือกแดง ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนลำไส้ขาดเลือด ไส้เน่า โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ

โรคลำไส้ขาดเลือด หรือ ลำไส้กลืนกัน สาเหตุของโรค การรักษา อาการของโรค การอักเสบของลำไส้จากการขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้ลำไส้เน่า ไส้ทำลุ หากปวดท้อง อาเจียนเป็นสีเหลืองเขียว อจุุจระเป็นเมือกสีแดง แสดงอาการเริ่มต้นของไส้เน่า มาทำความรู้จักกับโรคลำไส้ขาดเลือดกันว่าเป็นอย่างไร

โรคลำไส้ขาดเลือด
คือ ภาวะการขาดเลือดมาเลี้ยงลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื้อของลำไส้ ส่งผลให้เกิดอาการเนื้อเยื่อเน่าตาย สาเหตุที่ทำให้ลำไส้ขาดเลือดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โคภาวะลำไส้กลืนกัน การเกิดลำไส้กลืนกัน พบมากกับเด็กเล็ก ซึ่งเรายังไม่ทราบสาเหตุของโรคอย่างชัดเจน ถ้าเกิดการกลืนและซ้อนกันเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนนั้นได้ไม่ดี เกิดการขาดเลือด จนกระทั่งลำไส้เน่าตาย

โรคลำไส้ขาดเลือด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูหนาว จนถึงต้นฤดูร้อน เป็นช่วงเดียวกันกับช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ที่ทำให้เกิดลำไส้ติดเชื้อ โดยสถิติการเกิดโรคลำไส้ขาดเลือดนั้นพบว่า อัตราการเกิดโรคที่ 1 ต่อ  250 คน หรือ 4 ต่อ 1,000 คน โอกาสที่เกิดมากเป็นเด็ก ช่วงอายุไม่เกิน 1 ปี และมักเกิดขึ้นในเด็กที่สมบูรณ์แข็งแรงดี

ปัจจัยของการเกิดโรคลำไส้ขาดเลือด

สำหรับโรคลำไส้ขาดเลือด มีปัจจัยต่างๆที่ทำให้ลำไส้ขาดเลือด มีรายละเอียด ดังนี้

  • เกิดจากการติดเชื้อในช่องท้อง
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบลำไส้ เช่น โรคตับอ่อนอักเสบ หรือโรคเบาหวาน
  • การอักเสบที่ลำไส้
  • ได้รับบาดเจ็บที่ช่องท้อง
  • โรคเกี่ยวกับระบบเลือดและหัใจ เช่น โรคลิ่มเลือด

ปัจจัยของการเกิดโรคลำไส้ขาดเลือด นั้น เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ความร้ายแรงของโรคมากขึ้น คือ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงโรคความดันโลหิตต่ำ

อาการของผู้ป่วยโรคลำไส้ขาดเลือด

ลักษณะของอาการลำไส้ขาดเลือดนั้นจะมีลักษณะของอาการแบบเฉียบพลัน และมักเกิดกับเด็กทารก ที่ไม่สามารถพูดเพื่อบอกได้ว่า เกิดอะไรขึ้น ดังนั้น จำเป็นต้องสังเกตุอาการ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดท้องแบบเป็นๆหายๆ ซึ่งหากอาการเกิดกับเด็กทารก เด็กจะร้องไห้โยเย
  • มีอาการอาเจียน และในอาเจียนมีสีเหลืองปนเขียว และอาการอาเจียนจะมีเป็นระยะๆ
  • อุจจาระเหนียว เป็นมูก มีเลือดปน คลายแยมสีแดง คล้ายแยม คืออุจจาระของลูกจะมีลักษณะเหลวเหนียวข้น มีมูกเลือดปน

หากเกิดอาการอุจจาระเป็นแยม สีแดง เมื่อไร แสดงว่าเริ่มอันตรายแล้ว หากไม่รีบทำการรักษาจะทำให้ลำไส้อักเสบ เกิดอาการเน่าเสีย และลำไส้ทะลุ เสียชีวิตในที่สุด

การรักษาผู้ป่วยโรคลำไส้ขาดลือด

สำหรับการรักษาโรคลำไส้ขาดเลือดนั้น มีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธี คือ การสวนแป้ง และการผ่าตัดลำไส้ ซึ่งรายละเอียดของการรักษาโรคลำไส้ขาดเลือด มีดังนี้

  • การรักษาลำไส้ขาดเลือด ด้วยการสวนแป้ง เป็นการรักษาทางรังสีวิทยา โดยใช้แป้งสวนก้นของเด็ก ทำให้เกิดแรงดัน ทำให้ลำไส้คลายตัว เมื่อลำไส้คลายตัว เลือดก็สามารถไปเลี้ยงลำไส้ได้ตามปรกติ อาการจะเริ่มดีขึ้น และหายภายใน 2วัน
  • การรักษาลำไส้ขาดเลือด โดยการผ่าตัดลำไส้ สำหรับการผ่าตั้นนั้น จะทำเมื่อการรักษาโดยการสวนแป้งไม่ได้ผล การผ่าตัดจะทำการดึงลำไส้ออกให้คลายตัว ให้เลือดไปเลี้ยงลำไส้ได้ตามปรกติ หากพบว่ามีอาการเน่าของลำไส้แล้สต้องตัดลำไส้ส่วนที่เน่าเสียออกแล้วต่อใหม่

โรคลำไส้กลืนกัน นี้แม้ว่าจะเป็นโรคที่ร้ายแรงและเฉียบพลัน แต่ผลของการรักษาจะดีมากถ้าวินิจฉัยได้เร็ว ปัญหาที่พบบ่อย คือ พ่อ แม่ หรือผู้ดูแลไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้ คิดว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบ โรคบิด หรือไวรัสลงกระเพาะ ซื้อยามาให้ลูกกินเอง จนกระทั่งลูกมีอาการของลำไส้ขาดเลือด คือ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดถึงค่อยพามาหาแพทย์ ทำให้ได้รับการรักษาช้าเกินไป ดังนั้น เมื่อใดที่ลูกมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็ควรรีบพามาพบแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ

ภาวะลำไส้ขาดเลือดในเด็ก นั้นเกอดจากการที่ลำไส้ไม่มีเลือดไปเลี้ยง ทำให้ผนังลำไส้เกิดภาวะอักเสบและเน่าตาย จนลำไส้ทะลุ เป็นโรคอันตรายสำหรับเด็ก และการค้นหาสาเหตุของโรคยาก เนื่องจากผู้ป่วยไส่สามารถสื่อสารทางการพูดเพื่อบอกเล่าอาการเพื่อทำการวิเคราะห์และรักษา

โรคเด็กมีอะไรบ้าง

โรคหืดหอบ โรคหอบหืด โรคระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่ออกโรคหืดหอบ โรคกลาก ติดเชื้อราที่ผิวหนัง โรคผิวหนัง โรคติดต่อกลาก
ออทิสติก เด็กออทิสติก เด็กปัญญาอ่อน เด็กพิเศษโรคออทิสติก เกลื้อน โรคผิวหนัง ผิวหนังติดเชื้อรา เกิดผื่นโรคเกลื้อน
โรคไฮเปอร์ โรคสมาธิสั้น การรักษาสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้นโรคสมาธิสั้น โรคสมองพิการในเด็ก โรคซีพี โรคสมองพิการ สมองขาดออกซิเจนโรคสมองพิการในเด็ก ( โรคซีพี )

โรคลำไส้ขาดเลือด ลำไส้กลืนกัน ลำไส้อักเสบจากการขาดเลือด ( Intestinal Anemia ) คือ ภาวะการขาดเลือดมาเลี้ยงลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื้อลำไส้ ส่งผลให้เกิดอาการเนื้อเยื่อเน่าตาย ลำไส้เน่า ลำไส้ทะลุ ปวดท้อง อาเจียนเป็นสีเหลืองเขียว อจุุจระเป็นเมือกสีแดง ปัจจัยการเกิดโรค สาเหตุ อาการ การรักษา การดูแล และ การป้องกันการเกิดโรค

ลำไส้อักเสบ ( Enterocolitis ) เกิดจากหลายสาเหตุทั้งติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ อาการของโรคปวดท้องรวมกับท้องเสีย อุจจาระเป็นมูกเลือดเหม็น อุจจาระสีซีด อ่อนเพลีย ลำไส้อักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ โรคลำไส้

โรคลำไส้อักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Enterocolitis โรคลำไส้อักเสบ คือ ภาวะที่เกิดจากเนื้อเยื่อภายในลำไส้อักเสบ  ซึ่งสาเหตุของการอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อโรค แต่สามารถเกิดการอักเสบโดยไม่ติดเชื้อได้เหมือนกัน ลำไส้อักเสบ เกิดขึ้นกับทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ทั้งนี้ลำไส้อักเสบ อาจเกิดร่วมกับโรคกระเพาะอักเสบ หรือ ทวารหนักอักเสบได้

การเกิดลำไส้อักเสบแบบเฉียบพลัน จะเกิดการอักเสบอย่างกระทันหันภายในระยะเวลา 7 วัน แต่ถ้าหากอาการอักเสบเป็นๆ หายๆ เราจะเรียกว่า ลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้อักเสบจะพบมากในประเทศที่มีสุขอนามัยไม่ดี

สาเหตุของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ สาเหตุของลำไส้อักเสบ นั้น เราสามารถแบ่งสาเหตุของโรคได้ 2 ลักษณะ คือ อาการลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรค และ โรคลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ คือ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต และเชื้อรา แต่เชื้อแบคทีเรีย เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบมากที่สุด เชื้อแบคทีเลียที่พบมากที่สุดคือ เชื้อแบคทีเรียอีโคไลและเชื้อแบคทีเรียสตาพีโลคอกคัส เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค
    สำหรับเชื้อไวรัสนั้น เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ คือ ไวรัสโรตา ไวรัสอะดีโน ไวรัสซีเอมวี ลักษณะของการติดเชื้อไวรัสเกิดจากระบบภูมิต้านทานร่างกายบกพร่อง ส่วนเชื้อปรสิตที่เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบ คือ อะมีบา(Amoeba) พยาธิตัวกลม เป็นต้น นอกจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และปรสิต แล้วเชื้อราก็คือ เชื้อโรคอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ มักพบในคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น โรคเอดส์
  • ลำไส้อักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของลำไส้อักเสบที่พบได้ไม่บ่อย ลักษณะของลำไส้อักเสบเกิดจาก ลำไส้ขาดเลือด เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับกลุ่มที่มี ความเสี่ยงของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ เกิดจากปัจจัย 2 ส่วน คือ ปัจจัยของโรคที่สาเหตุจากการติดเชื้อและปัจจัยของโรคจากการไม่ติดเชื้อ สามารถแยกปัจจัยเสี่ยงเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาด
  • นักท่องเที่ยวและนักเดินทาง อาจจะเดินทางไปในสถานที่ทีไม่สะอาดและเกิดการติดเชื้อโรคได้
  • กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน โอกาสในการรับเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัวได้
  • กลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร
  • กลุ่มคนที่คนในนครอบครัวมีประวัติโรคระบบทางเดินอาหาร
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด

อาการของผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็น โรคลำไส้อักเสบ นั้น จะมีอาการ ท้องเสียร่วมกับปวดท้อง ลักษณะปวดแบบบีบ นอกจากอาการปวดท้องแล้ว จะพบว่ามีอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้ คือ อุจจาระเหลวเป็นมูก มีเลือดปน กลิ่นเหม็นมากกว่าปรกติ อุจจาระสีซีดกว่ารกติ มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย

อาการที่น่ากังวลคือ อาการเสียน้ำมาก จนร่างกายขาดน้ำ หากร่างกายเกิดช็อกต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลพบแพทย์โดยด่วน

การรักษาโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ การรักษาโรคลำไส้อักเสบ นั้น ใช้การรักษาอยู่ 2 อย่าง คือ การรักษาสาเหตุของโรคและการประคับประครองอาการของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโรคลำไส้อักเสบ ที่สาเหตุของโรค เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อโรคทีเป็นสาเหตุของอาการอักเสบ
  • การรักษาโรคลำไส้อักเสบ ด้วยการประคับประคองอาการของโรค เช่น การให้เกลือแร่เพื่อชดเชยอาการขาดน้ำ และการให้ยาแก้ปวด ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบนั้น มีวิธีดูแลตัวเอง

  • ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย
  • ให้ดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อชดเชยอาการขาดน้ำ
  • ให้รับประทานอาหารมีประโยชน์ครบ 5 หมู่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาความสะอาดของอาหารและน้ำดื่มที่รับประทาน

การป้องกันการเกิดโรคลำไส้อักเสบ

สำหรับ การป้องกันโรคลำไส้อักเสบ นั้นสามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่หมด โดยรายละเอียด ของการป้องกันการเกิดโรคลำไส้อักเสบ ดังนี้ที่

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • รักษาความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม
  • กินอาหารปรุงสุกเสมอ
  • ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
  • ใช้ส้วมเสมอในการขับถ่าย เพื่อลดโอกาสเกิดโรคระบาดติดต่อทางอุจจาระ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่สกปรกและแออัด
  • หากจำเป้นต้องไปอยู่ในสถานที่ไม่สะอาด ต้องทำความสะอาดชำระร่างกายให้สะอาดเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

โรคลำไส้อักเสบ นั้น ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่โรคนี้หากเกิดภาวะเรื้อรัง จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ก็เป็นดี อาการปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูก อาการเหล่านี้เป็น อาการของโรคลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นการระคายเคืองที่ลำไส้เป็นเวลานานจากปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร สามารถพบได้บ่อยในคนช่วงอายุประมาณ 15-30 ปี และมักจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ลำไส้อักเสบ รักษาอย่างไร อาการลำไส้อักเสบสามารถรักษาด้วยวิธีธรรมชาติได้

ซึ่ง ลำไส้อักเสบ โดยทั่วไปเป็น โรคที่ไม่รุนแรง ทางการแพทย์สามารถรักษาและควบคุมโรคได้ สำหรับอาการของโรคนี้จะมีการอักเสบเกิดขึ้นเฉพาะที่ลำไส้  ซึ่งความสำคัญของโรคนี้เป็นอาการโรคเรื้อรัง ที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป้วย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคลำไส้อักเสบ กันว่า เป็นอย่างไร อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ อาการของโรคเป็นอย่างไร รักษาอย่างไร และป้องกันอย่างไร

โรคลำไส้อักเสบ ( Enterocolitis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อลำไส้อักเสบ เกิดจากหลายสาเหตุทั้งการติดเชื้อและการไม่ติดเชื้อ เกิดจากการระคายเคืองที่ลำไส้เป็นเวลานาน  เกิดกับลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ สามารถเกิดร่วมกับโรคกระเพาะอักเสบ ทวารหนักอักเสบ อาการของโรคไส้อักเสบ คือ ปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระเป็นมูก สาเหตุ อาการ การรักษา และ การดูแลโรคทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove