โรคไส้เลื่อน (  Hernia ) ลำไส้เคลื่อนออกจากช่องท้องสู่ภายนอก มีก้อนตุงออกมาที่ท้อง ขาหนีบ ท้องด้านข้าง เหนือสะดือ การผ่าตัดลำไส้มีโอกาสเสี่ยงเป็นไส้เลือนโรคไส้เลือน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคลำไส้ โรคไม่ติดต่อ

โรคไส้เลื่อน ภาษาอังกฤษเรียก Hernia โรคไส้เลื่อน คือ ภาวะที่ลำไส้เคลื่อนออกจากช่องท้องมาสู่ภายนอก เช่น บริเวณขาหนีบ การเคลื่อนตัวของลำไส้ออกจากตำแหน่งเดิม ผ่านรูหรือการดันตัวผ่านพังผืดที่เกิดความหย่อนยาน มักปรากฏเป็นก้อนตุงออกมา อวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนได้บ่อย คือ ลำไส้เล็ก

Hernia คำๆนี้มาจากภาษาลาติน ที่แปลว่า แตก ลักษณะของไส้เลื่อนนั้นมีอยู่ 8 ลักษณะ ซึ่งแต่ละลักษณะของโรคไส้เลื่อนประกอบด้วย

  1. ไส้เลื่อนตรงขาหนีบ ภาษาอังกฤษ เรียก Inguinal hernia อาการไส้เลื่อนที่ขาหนีบนี้พบในผู้ป่วยเพศผู้ชาย มักเกิดกับคนวัยกลางคนขึ้นไป เป็นลักษณะของการเกิดไส้เลื่อนที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนตรงขาหนีบ นั้นสามารถแบ่งสาเหตุของโรคได้ 2 ชนิด คือ ไส้เลื่อนตั้งแต่กำเนิดและไส้เลื่อนที่ไม่ได้มาจากกำเนิด รายละเอียดดังนี้
    • ไส้เลื่อนที่ขาหนีบชนิดผิดปกติตั้งแต่เกิด เมื่ออายุครรภ์ได้ 21 ถึง 25 สัปดาห์ นั้นอัณฑะของทารกที่อยู่ในช่องท้องจะเคลื่อนตัวลง มาอยู่ในช่องที่บริเวณขาหนีบและเคลื่อนตัวลงไปที่ถุงอัณฑะก่อนที่จะคลอด หากเกิดความผิดปกติ ลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวมาอยู่ในช่องนี้และบางครั้งอาจเคลื่อนลงไปจนถึงถุงอัณฑะได้ เด็กที่คลอดออกมาหรือคลอดก่อนกำหนด โตขึ้นมามีโอกาสเกิดไส้เลื่อนได้
    • ไส้เลื่อนที่ขาหนีบชนิดที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด นั้นแต่เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืด ที่อยู่บริเวณขาหนีบ เกิดความหย่อนยานและไม่แข็งแรง ทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวดันพังผืดเหล่านี้จนออกบริเวณขาหนีบไส้เลื่อนชนิดนี้จะพบแต่เฉพาะในผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก
  2. ไส้เลื่อนตรงสะดือ ภาษาอังกฤษ เรียก Umbilical hernia เป็นลักษณะเหมือนสะดือจุ่น คือ สะดือยื่นออกมามากกว่าปรกติ ลักษณะของไส้เลือนแบบนี้พบในเด็กเสียเป็ยส่วนมาก และพบในเด็กเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนที่สะดือ นั้นเกิดเมื่อทารกคลอดออกมาแล้วนั้น ผนังส่วนหน้าท้องตรงสะดือของทารกนังปิดไม่สะนิด ทำให้ลำไส้อาจเคลื่อนตัวมาอยู่บริเวณสะดือส่วนนั้นได้
  3. ไส้เลื่อนที่กระบังลม ภาษาอังกฤษ เรียก Hiatal hernia เป็นไส้เลื่อนออกมาบริเวณกระบังลม พบมากในผู้สูงอายุ สาเหตุของไส้เลื่อนที่กระบังลม นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุ มีรายละเอียด ดังนี้
    • การที่บางส่วนของกระเพาะอาหารนับตั้งแต่ส่วนต่อระหว่างหลอด อาหารและกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลมเข้าไปอยู่ในช่องอก
    • การที่บางส่วนของกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ผ่านรูบริเวณกระบังลมซึ่งอยู่ข้างๆรูที่เป็นทางผ่านของหลอดอาหาร

    ทั้งนี้สาเหตุของทั้ง 2 ชนิดเกิดจาก กล้ามเนื้อและพังผืดของกระบังลมเกิดหย่อนยาน ซึ่งลักษณะแบบนี้มักเกิดกับคนสูงอายุ

  4. ไส้เลื่อนบริเวณที่ต่ำกว่าขาหนีบ ภาษาอังกฤษ เรียก Femoral hernia เป็นการเลื่อนของไส้ที่ลงต่ำกว่าขาหนีบ สาเหตุของไส้เลื่อนที่กระบังลม นั้นเกิดจากบางส่วนของสำไส้เคลื่อนที่ ผ่านรูที่อยู่ตรงบริเวณต่ำกว่าขาหนีบลงมาทำให้ลำไส้ลงมากองเป็นก้อนตุงบริเวณที่ต่ำต่อขาหนีบ ปัจจัยเสี่ยงคือความดันภายในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น
  5. ไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ ภาษาอังกฤษ เรียก Epigastric hernia ไส้เลื่อนลักษณะนี้ สามารถพบได้ในเพศชายเสียเป็นส่วนมาก สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนตรงหน้าท้องเหนือสะดือ นั้นเกิดจากชั้นกล้ามเนื้อและพังผืดของผนังหน้าท้อง ที่อยู่เหนือสะดือไม่แข็งแรง เมื่อเกิดความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้ไส้เลื่อนไปดันออกออกมาตุงที่หน้าท้องเป็นก้อนโป่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อเยื่อไขมันภายในช่องท้อง น้อยมากที่ลำไส้ตามมา
  6. ไส้เลื่อนตรงข้างๆหน้าท้อง ภาษาอังกฤษ เรียก Spigelian hernia ไส้เลื่อนลักษณะนี้ เกิดกับคนในวัยกลางคนเป็นต้นไป สาเหตุของไส้เลื่อนตรงกล้ามเนื้อหน้าท้อง เกิดจากชั้นพังผืดบริเวณข้างๆกล้ามเนื้อหน้าเกิดความหย่อนยานไม่แข็งแรง เมื่อความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ลำไส้ก็จะเคลื่อนตัวดันออกมาบริเวณข้างท้องปรากฏออกมาเป็นก้อน
  7. ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน ภาษาอังกฤษ เรียก Obturator hernia สาเหตุของการเกิดไส้เลื่อนที่ช่องเชิงกราน เกิดจากบางส่วนของสำไส้เคลื่อนที่ผ่านรูที่อยู่ตรงกระดูกเชิงกราน ส่วนใหญ่จะเกิดในเพศหญิงเพราะลักษณะของกายวิภาคบริเวณเชิงกรานของผู้หญิงเอื้อต่อการเกิดมากกว่าในเพศชาย
  8. ไส้เลื่อนที่เกิดหลังจากการผ่าตัด ภาษาอังกฤษ เรียยก Incisional hernia สาเหตุของไส้เลื่อนที่เกิดหลังผ่าตัด หลังจากการผ่าตัดช่องท้อง กล้ามเนื้อและพังผืดของหน้าท้องในบริเวณที่มีการผ่าตัดจะเกิดหย่อนยานมากกว่าปกติ ทำให้ลำไส้สามารถดันตัวออกมาตุงเป็นก้อนบริเวณที่มีการผ่าตัดได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไส้เลื่อน

ปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคไส้เลื่อน นั้นมีหลายปัจจัยนอกจากสาเหตุของไส้เลื่อนตามอาการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เราได้สรุปปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน มีดังนี้

    • ความอ้วนและการมีน้ำหนักตัวมาก
    • การยกของหนักมากๆและเป็นประจำ
    • การไออย่างรุนแรงและเรื้อรัง
    • โรคปอดและโรคถุงลมโป่งพอง
    • การเบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะแรงๆ บ่อยๆ
    • ภาวะการมีน้ำในช่องท้องจำนวนมากในผู้หญิงตั้งครรภ์

อาการของผู้ป่วยไส้เลื่อน

ลักษณะของผู้ป่วยที่มี อาการไส้เลื่อน นั้น จะพบว่า มีก้อนเกิดขึ้น บริเวณ ต่างๆ เช่น ขาหนีบ ต่ำกว่าขาหนีบ สะดือ ท้องเหนือสะดือ ข้างท้อง กระบังลม เป็นต้น ซึ่ง การเกิดไส้เลื่อนนั้นทำให้เกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดได้ และส่งผลให้ไส้เน่าและเสียชีวติในที่สุด ซึ่งหากมีอาการ คือ ปวดบิดๆ คลื่นไส้อาเจียน การขยับตัวก็มีอาการปวด มีไข้ ความดันโลหิตต่ำ ต้องรีบนำตัวส่งแพทย์เพื่อทำการรักษา

การรักษาผู้ป่วยอาการไส้เลื่อน

สำหรับ การรักษาอาการไส้เลื่อน นั้น จะใช้วิธีการรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อนำลำไส้กลับที่เดิมที่เคยอยู่และเย็บปิดรูที่ทำให้เกิดไส้เลื่อน ซึ่ง ลักษณะของไส้เลื่อน ที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยด่วน คือ ไส้เลื่อนที่เกิดภาวะลำไส้ขาดเลือด เนื่องจากการขาดเลือดจำทำให้ลำไส้เน่า และเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่สำหรับไส้เลื่อนลักษณะอื่นๆก็ต้องรับการผ่าตัดถึงหาย

การป้องกันการเกิดโรคไส้เลื่อน

การป้องกันการเกิดโรคไส้เลื่อน นั้น สามารถป้องกันในเฉพาะไส้เลื่อนที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช้แต่กำเนิด ซึ่งการป้องกันสามารถทำได้โดย การควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน อย่ายกของหนักบ่อยๆ อย่าไอหรือจามแรงๆ ไม่เบ่งอุจจาระหรือปัสสาวะแรงๆ เป็นต้น

แนะนำ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

ไข้รากสาดน้อย ไข้หัวโกร๋น ไข้ไทฟอยด์ โรคติดเชื้อไข้รากสาดน้อย
ไข้ไทฟอยด์
โรคกาลี โรดแอนแทรก โรคติดต่อ โรคติดเชื้อโรคกาลี
โรคแอนแทรกซ์
โรคท้องร่วง โรคติดเชื้อ อุจจาระร่วง ขี้แตกโรคท้องร่วง จากเชื้ออีโคไล(E. coli)
โรคถุงน้ำดีอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร
ถุงน้ำดีอักเสบ
ตับแข็ง ภาวะตับแข็ง โรคตับแข็ง โรคตับโรคตับแข็ง
ช่องท้องอักเสบ เยื่อบุท้องอักเสบ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ
ช่องท้องอักเสบ

โรคไส้เลื่อน (  Hernia ) คือ ภาวะที่ลำไส้เคลื่อนออกจากช่องท้องสู่ภายนอก เช่น บริเวณขาหนีบ ลำไส้ออกจากตำแหน่งเดิม ผ่านรู หรือ การดันตัวผ่านพังผืดที่เกิดความหย่อนยาน จะมีก้อนตุงออกมาที่ท้อง ขาหนีบ ท้องด้านข้าง เหนือสะดือ เป็นต้น อวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนบ่อย คือ ลำไส้เล็ก โรคระบบทางเดินอาหาร การผ่าตัดลำไส้ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นไส้เลือน  การรักษาไส้เลื่อน

มะเร็งกระเพาะอาหาร ( Cancer of Stomach ) เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหาร กินเค็มจัด ของหมักดอง อาการอุจจาระมีเลือด อุจจาระมีสีดำ น้ำหนักลด ปวดท้อง ก้อนเนื้อที่ลิ้นปี่มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ การรักษามะเร็ง

มะเร็งกระเพาะอาหาร คือ โรคจากการเกิดเนื้อร้ายชนิดหนึ่ง ที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายหรือเซลล์นั้นเกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ จนเป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณกระเพาะอาหาร แต่สามารถกระจายตัวไปยังอวัยวะสำคัญของร่างกายอื่นๆได้ ไม่ว่าจะเป็น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด รังไข่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองได้ มะเร็งกระเพาะอาหารมีสาเหตุของโรคอย่างไร อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคทำอย่างไร สำหรับคนที่กลัวโรคมะเร็งกระเพาะอาหารต้องทำอย่างไร

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การเกิดโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหาร มีสาเหตุและปัจจัยต่างๆ โดยสามารถแบ่งเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ซึ่งหากพบว่าญาติสายตรงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารต้องหมั่นตรวจสุขภาพบ่อยๆ
  • การติดเชื้อแบตทีเรีย เฮลโคแบกเทอร์ไพโลรี (Helicobacter pylori) เป็นเชื้อโรคที่ทำใหเเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และสามารถลามเกิดเนื้อร้ายในกระเพาะอาหารได้
  • การดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่จัด เป็นสาเหตุของโรคร้ายทั้งหลายรวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
  • การกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น อาหารรสเค็มจัด อาหารหมักดอง อาหารรมควัน อาหารที่มีดินประสิวเจือปน เป็นต้น
  • กินผักและผลไม้น้อย เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีกากใยอาหาร ที่ช่วยในการล้างและทำความสะอาดลำไส้ ช่วยลดการเกิดโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
  • การมีประวัติการผ่าตัดกระเพาะอาหาร มานานกว่า ๒๐ ปี
  • การเกิดเนื้องอกที่กระเพาะและลำไส้ ซึ่งเนื้องอกบางชนิดสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร นั้น สามารถแบ่งระยะของโรคได้ เป็น 4 ระยะ ตามระดับความรุนแรงของโรค ซึ่งรายละเอียดของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 1 เนื้อร้ายอยู่ในชั้นเยื่อเมือกถึงชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะอาหาร ยังไม่มีการลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 2 เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารลุกลามเข้าเยื่อบุช่องท้อง แต่ยังไม่ลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 3 เนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เช่น ม้าม ลำไส้เล็ก ตับอ่อน และเยื่อบุช่องท้อง รวมถึงต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 เนื้อร้ายมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ทั่วอวัยวะภายในของร่างกาย

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะเริ่มต้นนั้น มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด มีลักษณะอาการ คล้ายกับโรคกระเพาะอาหารธรรมดา หรือ โรคแผลที่กระเพาะอาหาร ซึ่งลักษณะ อาการ ดังนี้ อาหารไม่ย่อย รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืดหลังกินข้าว คลื่นไส้เล็กน้อยแต่มักไม่อาเจียน เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก เป็นต้น

เมื่อเกิด มะเร็ง รุนแรงมากขึ้น จะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น ลักษณะอาการ คือ มีเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้อง มีก้อนเนื้อบริเวณลิ้นปี่ หากเกิดการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง จะพบว่าเกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต ตาเหลือง ตัวเหลือง มีน้ำในช่องท้อง หายใจลำบาก เป็นต้น

วินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหารของแพทย์ทำอย่างไร

เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวมาข้างต้น และสงสัยว่าจะเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ทางแพทย์จะมีวิธีในการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ดังต่อไปนี้

  • แพทย์จะซักประวัติ เช่น ลักษณะของอาการปวดท้อง สีของอุจจาระ ประวัติการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • ตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนบน
  • ทำการเอกซเรย์กลืนแป้ง
  • อัลตราซาวน์ระบบภายในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เพื่อดูร่องรอยของโรค
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ช่องท้อง เพื่อดูร่องรอยของโรคที่บริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิ
  • การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป เบาหวาน การทำงานของไต การทำงานของตับ และดูระดับเกลือแร่ในเลือด การตรวจเลือดเพื่อหาสารมะเร็งชนิดซีอีเอ (CEA)
  • ทำการเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอกและปอด
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา

รักษามะเร็งกระเพาะอาหารอย่างไร

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งที่กระเพาะอาหารนั้น มีวิธีการในการรักษาอยู่ 4 วิธี คือ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสีรักษา และการประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ว่าจะใช้การรักษาอย่างไร ซึ่งรายละเอียดของการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มีดังนี้

  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการผ่าตัด เป็นวิธีแรกที่จะใช้ในการรักษา การผ่าตัดนั้นจะทำการผ่าตัดเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหารออกจากร่างกายออกก่อน
  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด การใช้เคมีบำบัดนั้นทำเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้อร้าย ซึ่งการใช้เคมีบำบัดจะทำร่วมกับการฉายรังสี
  • การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยการรังสี ทำเพื่อบรรเทาอาการและลดการแพร่กระจายของเนื้อร้าย
  • การรักษาด้วยการประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายและอวัยวะอื่นๆที่ได้รับผลกระทบค่อยๆฟื้นตัวและหายเอง

ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหารนั้นยังไม่มีวิธีใดที่มีประสิทธิภาพ 100 % แต่การลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น หลีกเลี้ยงการรับประทานอาหารปิ้งย่าง หลีกเลี่ยงการกินของหมักดอง หลีกเลี่ยงกินอาหารเค็มจัด เลิกการดื่มเหล้าและเลิกการสูบบุหรี่  รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำ

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ( Cancer of Stomach ) คิือ การเกิดเนื้อร้ายที่กระเพาะอาหาร สาเหตุของโรคจากการกิน เค็มจัด ของหมักดอง อาหารเจือปนดินประสิว มะเร็งกระเพาะอาหาร ในระยะแรกคล้ายโรคกระเพาะอาหารธรรมดา เมื่อแสดงอาการชัดเจน จะมีเลือดปนในอุจจาระ อุจจาระมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลง ปวดท้อง มีก้อนเนื้อบริเวณลิ้นปี่ การรักษาและดูแลเมื่อเป็นมะเร็ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove