มือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร Enterovirus พบบ่อยเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว มีตุ่มเล็กๆบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในปาก หายได้เอง

โรคมือเท้าปาก โรคติดต่อ โรคเด็ก โรคติดเชื้อ

โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย หรือ โรคมือเท้าปาก คือ โรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เกิดบ่อยในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ลักษณะอาการของโรคส่วนใหญ่ ไม่มีมีอาการรุนแรง โดยลักษณะอาการ คือ มีไข้ และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และ ในปาก สามารถหายได้เอง แต่ประมาทไม่ได้หากเกิดอาการติดเชื้อขึ้นสมองและมีอาการสมองอักเสบร่วมด้วย จะเป็นอันตรายอาการรุนแรง ทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก หรือ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ค็อกแซคกีเอและบี ( Coxsackie A , B ), ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ( Enterovirus 71 – EV71 ) , ไวรัสเอ็คโคไวรัส ( Echovirus )  แต่ไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุการติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16  (Coxsackievirus A 16 ) อาการมักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากติดเชื้อจาก ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 อาการจะหนัก และหากเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

สำหรับช่องทางการติดเชื้อไวรัสสู่ร่างกายมนุษย์เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจาก จมูก ลำคอ ละอองน้ำมูกน้ำลาย หรือ น้ำเหลือง ของผู้มีเชื้อโรค การดูดเลียนิ้วมือ รวมถึงจากการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยสถานที่ที่มักมีการระบาดของโรค เช่น โรงเรียนอนุบาล และ สถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

ระยะของการเกิดโรคมือเท้าปาก

สำหรับระยะการเกิดโรคมี 2 ระยะ คือ ระยะฟักตัวของโรค และ ระยะเกิดซ้ำ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการ
  • ระยะการเป็นซ้ำ โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ หากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ กับที่เคยเกิด

อาการของโรคปากเท้าเปื่อย

โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัวของโรคภายใน 7 วัน หลังจากเชื้อโรคฟักตัวผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว แต่อาการป่วยสามารถหายได้เองได้ภายใน 14 วัน จะเห็นแผลแดงเล็กๆตามปาก ลักษณะเป็นตุ่มน้ำ โรคมือเท้าปาก ต้องระวังการเกิดแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน ที่ควรสังเกตุ มีดังนี้

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
  • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
  • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
  • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

แนวทางการรักษาโรคมือเท้าปาก

สำหรับโรคมือเท้าปากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเฉพาะทาง ซึ่งการรักษาโรคนั้นสามารถทำได้โดยการประคับประครองรักษาตามอาการของโรค และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้มากๆ และ หากเกิดอาการอ่อนเพลียมากๆเกิดไปให้ไปรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาลหรือทานเกลือแร่เสริม

การป้องกันโรคมือเท้าปาก

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อโรค สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันการเกิดโรค คือ การรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมที่ดี  ลดการเกิดเชื้อโรคในภาวะรอบตัว แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน
  • รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และ ปรุงใหม่ๆ
  • ไม่ใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ และ ขวดนม
  • สำหรับผู้ดูแลเด็ก เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมให้สะอาด

โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) พบบ่อยเด็ก ลักษณะอาการ คือ มีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก สามารถหายได้เอง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ โรคติดต่ออุบัติใหม่ การติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบแบบกระทันหัน ไข้สูง ไอ หายใจไม่ออก ทำให้เสียชีวิตได้

ไข้หวัดนก โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ

ไข้หวัดนก ( Bird Flu ) เป็นโรคติดต่อจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ซึ่งมีที่มาจากสัตว์ปีกแพร่สู่คน ซึ่งเชื้อไวรัสไข้หวัดนกพบ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธ์ H5N1 และ สายพันธ์ H7N9 รายลเอียดของสายพันธ์ไวรัส มีดังนี้

  • ไวรัสสายพันธุ์ H5N1 พบการระบาดในประเทศไทยครั้งแรกปี พ.ศ. 2547 และมีการระบาดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศจีนและฮ่องกง
  • ไวรัสสายพันธุ์ H7N9 พบการระบาดในประเทศจีน ปี พ.ศ. 2556 แต่ไม่พบการระบาดในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีไข้หวัดนกสายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ H7N7, H9N2, H6N1, H10N8 และ H5N6 ที่พบว่าสามารถระบาดสู่คนได้ แต่ก็เกิดขึ้นได้น้อย และก็มีน้อยที่เป็นสาเหตุของอาการป่วยที่รุนแรง

การอุบัติของโรคไข้หวัดนก

ไข้หวัดนกพบได้ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงอพยพหนีหนาวของสัตว์ปีกจากโลกซีกเหนือ จากสถิติล่าสุดขององค์การอนามัยโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 พบผู้ติดเชื้อไข้หวัดนกทั่วโลก 856 คน และมีผู้เสียชีวิต 452 คน อัตราการเสียชีวิตสูงถึง 50% โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ต้องสัมผัสกับซากสัตว์ปีกหรือคนที่ทำงานกับสัตว์ปีก

สาเหตุของไข้หวัดนก

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อไข้หวัดนก เกิดจากการสัมผัสสารคัดหลั่งหรืออุจจาระของสัตว์ปีกที่ีมีเชื้อโรค รวมถึงการสูดดมเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เมื่อเชื้อโรคจากสัตว์เข้าสู่คน สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ จากการหายใจหรือสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อไข้หวัดนก มีดังนี้

  • การสัมผัสสารคัดหลั่งหรืออุจจาระของสัตว์ปีกที่มีเชื้อโรค
  • การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
  • ประกอบอาชีพที่ต้องคลุกคลีกับสัตว์ปีก
  • รับประทานอาหารจากสัตว์ปีกที่ม่ถูกสุขอนามัย

อาการของผู้ป่วยไข้หวัดนก

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการฟักตัวของเชื้อโรค ประมาณ 5 วัน โดยในช่วงที่เชื้อโรคฟักตัวผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่อถึงระยะแสดงอาการของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • มีอาการปวดตามตัว
  • ปวดหัว
  • มีอาการไอ จาม มีน้ำมูกไหล
  • ปอดอักเสบอย่างรุนแรง
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง เจ็บหน้าอก มีเลือดออกตามไรฟัน มีเลือดกำเดาไหล หรือมีอาการเยื่อบุตาอักเสบ เป็นต้น

การรักษาไข้หวัดนก

ปัจจุบันโรคไข้หวัดนกสามารถรักษาให้หายได้ โดยการใช้ยารักษาโรค คือ ยาโอเซทามิเวียร์ (Oseltamivir) และ ยาซานามิเวียร์ (Zanamivir) แต่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สิ่งสำคัญของการรักษา คือ การป้องกัยภาวะแทรกซ้อนของโรค เมื่อได้รับยารักษาโรค ผู้ป่วยจะหายป่วยภายใน 48 ชั่วโมง

การป้องกันไข้หวัดนก

สำหรับวิธีป้องกันไข้หวัดนกที่ดีที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อโรค ควรล้างมือทุกครั้งหากจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีก นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อหรือไข่ของสัตว์ปีก ที่ปรุงไม่สุก การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ การลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรค จึงดีที่สุด

ไข้หวัดนก หรือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ โรคติดต่ออุบัติใหม่ ภาวะการติดเชื้อโรคที่ระบบทางเดินหายใจ พบในสัตว์ปีกแพร่สู่คน ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบแบบกระทันหัน ไข้สูง ไอ ทำให้เสียชีวิตได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove