ไข้กาฬหลังแอ่น ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียเมนิงโกค็อกคัส ทำให้เกิดอาการมีไข้สูง ปวดหัว คอแข็ง ชัก เลือดออกตามผิวหนัง เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาต้องทำอย่างไรไข้กาฬหลังแอ่น โรค โรคติดเชื้อ

ไข้กาฬหลังแอ่น ( Meningococcal Disease ) คือ โรคจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถติดต่อสู่ร่างกายผ่านสารคัดหลั่ง โดยมีระยะการติดเชื้อเร็วมาก หากรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ และถึงแม้ได้รับการรักษา อาการข้างเคียงจากการรักษาก็มีความเสี่ยงสูงต่อการพิการและการเสียชีวิตจากการรักษาได้

คำว่า “ ไข้กาฬ ” หมายถึง โรครุนแรง มีผื่นสีดำเกิดขึ้นตามร่างกาย
คำว่า “ หลังแอ่น ” หมายถึง อาการของผู้ป่วยหลังจะแข็งเกร็ง และ มีอาการชัก

โรคนี้มีสาเหตุของการติดเชื้อโรคหลายสาเหตุ เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันโรคส่วนตัว สภาพสิ่งแวดล้อมทีไม่ถูกสุขอนามัยก็ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้ โรคไข้กาฬหลังแอ่นสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และ ไข้กาฬหลังแอ่นติดเชื้อในกระแสเลือด รายละเอียด ดังนี้

  • ไข้กาฬหลังแอ่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดชื้อโรคที่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้ส่งผลถึงการแสดงอาการที่กระดูกสันหลัง
  • ไข้กาฬหลังแอ่นติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อมีเชื้อโรคในกระแสเลือดที่เลือดไหลเวียนไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้ส่งผลกระทบต่อร่างกายปวดตัว ผิวหนังมีเลือดออก

สาเหตุของการเกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่นเกิดจากเชื้อเบคทีเรีบเมนิงโกค็อกคัส ซึ่งเมื่อเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย จะส่งผลต่อการแสดงอาการต่างๆของโรค ซึ่งเป็นการติดต่อเกิดจากการหายใจเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรคเหล่านี้ปะปนอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย โรคไข้กาฬหลังแอ่นจะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและสามารถทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

อาการของผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่น ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัวมาก ปวดตามตัว คลื่นไส้ คอแข็งและหลังแอ่น มีผื่นเป็นจุดเลือดบนผิวหนัง และในรายที่มีอาการหนัก เชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยบางรายมีลักษณะอาการแบบเรื้อรัง ป่วยหลายเดือนไม่หาย ซึ่งอาการของโรคสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มผู้ติดเชื้อ คือ อาการที่พบในเด็กเล็ก และ อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น โดยรายละเอียดของอาการมีดังนี้

อาการไข้กาฬหลังแอ่นในเด็กเล็ก ลักษณะอาการมีไข้ขึ้นสูง เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม นอนตลอดเวลา มีผื่นขึ้นตามแขน ขา และตามตัว และ ผิวเป็นรอยจ้ำ

อาการไข้กาฬหลังแอ่นในเด็กวัยรุ่น ลักษณะอาการมีไข้ขึ้นสูง ปวดหัว อาเจียน เกร็งที่คอ คอแข็ง ซึมลง เกิดผื่นขึ้นตามขาและแขน และ สายตาสู้แสงจ้าๆไม่ได้

การรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับแนวทางการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น ปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ โดยการให้ยาแอมพิซิลลิน ( ampicillin ) ยาเพนิชิลสิน ( penicillin ) ยาคลอแรมฟีนีนิคอล ( Chloram­phenicol ) ยาซัลโฟนาไมด์ ( sulfonamide ) แต่การรักษาโรคนี้นั้นใช้การให้ยาปฏิชีวนะ ควบคู่กับการประคับประคองตามอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค

การรักษาด้วยการประคับประคอง เช่น การให้ลดไข้ การให้น้ำเกลือ การให้ยาช่วยให้เลือดแข็งตัว เป็นต้น

การรักษาภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้กาฬหลังแอ่นเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับโรคนี้ เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันโรคต่ำ มีโอกาสในการเกิดโรคต่างๆที่เป็นอันตรายต่อชีวิต แนวทางการรับมือกับภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้กาฬหลังแอ่น มีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด มีอัตราตายประมาณ 2-10%
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงมีอัตราตายสูงถึง 70-80% แต่หากการรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อัตราตายจะอยู่ที่ประมาณ 40%
  • ผู้ป่วยที่เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากรอดชีวิตอาจเกิดอัมพาตของเส้นประ สาทจากสมอง (Cranial nerve) หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีกของร่างกายได้
  • อาจเกิดสมองเสื่อม ปัญญาอ่อน หรือหูหนวกได้
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง ตามปลายนิ้วมือ ปลายนิ้ว เท้าอาจเกิดการเน่าตายเนื่องจากภาวะช็อกทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่พอ หรือเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดตัน

การป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

แนวทางการป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น คือ การทำร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงรับวัคซีนป้องกันโรค โดยแนวทางต่างๆมีดังนี้

  • เข้ารับวัคซีนป้องกันโรค กับผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  • ดูแลสุอนามัยรอบตัวให้ปราศจากเชื้อโรค
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ซาร์ส ( SARS ) หรือ ไข้หวัดมรณะ ภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ โคโรนาไวรัส และ พาราไมโซไวรัส ทำให้ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง รักษาอย่างไรซาร์ส SARS ไข้หวัดมรณะ โรคติดต่อ

โรคไข้หวัดมรณะ เราเรียกโรคนี้ว่า ซาร์ส ( SARS ) ซึ่งมาจากคำว่า Severe acute respiratory distress syndrome เป็นภาวะการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง เป็นโรคที่อุบัติใหม่ โดยพบว่ามีการติดเชื้อครั้งแรงที่ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2545 จากนั้นจึงมีการระบาดไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก ในการระบาดอย่างหนังในช่วงเวลานั้นสามารถสามารถหยุดได้ในปีต่อ

สถานการณ์โรคซาร์สในปัจจุบัน

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศการสิ้นสุดการระบาดของโรคซาร์ส ในช่วงปลายปี พ.ศ.2546 แต่ยังพบว่ามีการติดเชื้อโรคซาร์สอีกครั้งในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาที่ไต้หวันและสิงคโปร์ แต่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2547 เกิดการแพร่ระบาดเข้าไปในชุมชนที่ประเทศจีน ซึ่งทางรัฐบาลจีนจึงได้ออกมาตรการห้ามจำหน่าย และ บริโภคเนื้อชะมด และให้ทำลายชะมดกว่า 10,000 ตัว ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่พบมีการกลับมาแพร่ระบาดของโรคซาร์สอีก

มาตรการควบคุมการระบาดของโรคซาร์ส

เนื่องจากโรคระบาดทางการหายใจเป็นภาวะที่ระบาดของเชื้อโรคอย่างรวดเร็ว การควบคุมการระบาดของโรคซาร์สจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการลดการระบาด ซึ่งแนวทางการป้องกันการระบาดของโรค ดังนี้

  • ต้องแจ้งสถานการณ์การระบาดของโรค และ ให้ความรู้ความเข้าใจต่อประชาชนในพื้นที่มีการระบาดของโรค
  • หากพบว่ามีคนที่ติดเชื้อโรคจำเป็นต้องสืบสวนเพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ กลุ่มคนใกล้ชิดที่มีความเสี่ยง รวมถึงสถานที่ต่างๆที่ผู้ป่วยมีการสัมผัส เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ต้องคัดแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกจากกลุ่มคน เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค

สาเหตุของโรคซาร์ส

โรคซาร์สเกิดจากร่างกายมนุษย์ติดเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ  ไวรัสในกลุ่ม โคโรนาไวรัส และ ไวรัสในกลุ่ม พาราไมโซไวรัส ซึ่งไวรัสเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ คล้ายอาการของโรคหวัด ซึ่งการแพร์เชื้อและติดต่อของโรคเกิดจากการสัมผัสเชื้อโรคจากคนทีมีเชื้อโรคจากการไอ จาม หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ การแพร่กระจายจะเร็วมากจากการสูดดมหรือสัมผัสระอองสารคัดหลั่งจากการไอจาม

อาการของผู้ป่วยโรคซาร์ส

เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะการฟักตัวของโรคภายใน 7 วัน เมื่อถึงระยะแสดงอาการผู้ป่วยจะมีไข้สูงมาก หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร บางคนอาจมีถ่ายอุจจาระเหลว หลังจากนั้นจะมีอาการไอแห้งๆแบบไม่มีเสมหะ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก และหากตรวจดูระดับออกซิเจนในเลือดก็จะพบว่ามีค่าลดลง (Hypoxemia) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง  คือ เกิดภาวะหายใจล้มเหลว ซึ่งอันตรายอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซาร์ส

โรคซาร์สเป็นภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ และไม่มียารักษาโรค ซี่งร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้เองโดยต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวของร่างกาย แต่สิ่งสำคัญคือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคซึ่งจะทำให้ความรุนแรงของโรคมากขึ้นจนยากที่จะรักษา ซึ่งภาวะแทรกแซงที่ต้องระวังมีดังนี้

  • ภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย ( Hypoxia ) ระบบการหายใจมีหน้าที่เพิ่มออกซิเจนในเลือด เมื่อเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจทำให้ประสิทธิภาพของปอดลดลง ส่งผลต่อการทำงานของร่างกายทั้งหมด
  • ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ( Acute respiratory distress syndrome : ARDS ) เมื่อระบบการทำงานประสิทธิภาพลดลง ทำให้การหยุดหายใจอย่างกระทันหัน

การรักษาโรคซาร์ส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคซาร์ส ( SARS ) ปัจจุบันยังไม่มียารักษา การรักษาโรคใช้วิธีการประคับประครองตามอาการของโรค เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ให้น้ำเกลือ ใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น และให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้นและรักษาร่างกาย แนวทางต่างๆควรดำเนินการ ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและแยกผู้ป่วยอย่างรัดกุม
  • ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ต้องแยกตัวอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีการแพร่ระบาดต่อคนอื่นๆ โดยให้แยกกลุ่มเสี่ยงออกจากพื้นที่ เช่น เด็กอ่อน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นอย่างเคร่งครัด เช่น การใส่ผ้าปิดปากปิดจมูก ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมถึงแก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม และแยกทำความสะอาด แยกรับประทาน ส่วนขยะที่เกิดจากผู้ป่วยควรแยกถุงและแยกทิ้งแบบเป็นขยะติดเชื้อ ห้ามให้ผู้ป่วยออกจากบ้าน โดยต้องหยุดงาน หยุดเรียน หยุดทำธุระต่าง ๆ รวมทั้งต้องมีการติดตามอาการและการปฏิบัติตัวจากเจ้าหน้าที่ทุกวัน เช่น การโทรศัพท์สอบถาม

การป้องกันโรคไข้หวัดมรณะSARS )

สำหรับโรคซาร์ส เป็นภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ และไม่มียารักษาโรค ถึงแม้ว่าร่างกายจะสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้เอง็ตาม แต่ภาวะการติดเชื้อหากร่างกายอ่อนแอก็เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ แนวทางการป้องกันโรคเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการลดความสี่ยงการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  1. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซาร์สจะต้องมีการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้มงวด
  2. แพทย์และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยซาร์สจะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เช่น สวมถุงมือ ใส่เสื้อกาวน์ ใส่แว่นตาป้องกันการติดเชื้อ หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ เป็นต้น
  3. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซาร์ส
  4. ดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไปให้แข็งแรง โดยการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  7. งดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove