ฟักข้าว Baby Jackfruit เบต้าเคโรทีนสูง ลักษณะของต้นฟักข้าว คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว สรรพคุณใช้ถอนพิษ แก้ปวดหลัง ลดน้ำตาลในเลือด โทษของฟักข้าว

ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว

ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Baby Jackfruit มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Momordica cochinchinensis (Lour) Spreng. ฟักข้าวมีชื่ออื่นๆ เช่น มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ไทย จีน ลาว เขมร บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย

ประโยชน์ของฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ซึ่งฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยป้องกันและช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ (HIV) และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฟักข้าวมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง ไวรัส ช่วยยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอยพบว่า น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ช่วยในการขับเสมหะ ใช้กลั้วคอช่วยลดอาการเจ็บคอหรืออาการอักเสบที่ลำคอ ฟักข้าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้นหรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวหรือร่างกายอ่อนแอ รากฟักข้าวใช้แช่น้ำสระผม ช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น แก้ปัญหาผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ทำการศึกษาร่วมกันในเรื่องของการนำน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสูตรลดเลือนริ้วรอย ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับรางวัล “IFSCC Host Society Award 2011” จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ ผลอ่อนฟักข้าวใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นนำไปต้มหรือนึ่งจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงต่าง ๆ เช่น แกงส้มลูกฟักข้าว เป็นต้น ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย (กลิ่นจะคล้าย ๆ กับยอดหรือใบมะระ) เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก ฯลฯ ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟักข้าว

ต้นฟักข้าว เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชชนิดเถาไม้เลื้อย สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นฟักข้าว มีดังนี้

  • ลำต้นฟักข้าวลักษณะคล้ายกับต้นตำลึง ลำต้นกลม อ่อนอวบน้ำ ผิวขลุขละ สีเขียว
  • ใบของฟักข้าวเป็นใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายกับหัวใจ ทรงรี ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก
  • ดอกของฟักข้าวจะออกตรงข้อต่อตามซอกใบ ลักษณะของดอกฟักข้าวเหมือนกับดอกตำลึงเลย มีกลีบดอกสีขาว ดอกของฟักข้าวจะมีสีเหลือง
  • ผลของฟักข้าวจะคล้ายรูปไข่เปลือกมีหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกสีส้ม
  • เมล็ดของฟักข้าว จะอยู่ในผลของฟักข้าวเหมือนเมล็ดแตง

คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว

นักโภชนาการ ได้ศึกษา ฟักข้าว พบว่า ในผลอ่อนของผักข้าวขนาด 100 กรัม มีกากใยอาหาร 1 กรัม น้ำตาล 1.8 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม มีวิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม บีต้าแคโรทีน 91 มิลลิกรัม แคลเซียม 0.34 มิลลิกรัม ในฟักข้าวจะมีบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอตถึง 10 เท่าตัว มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่าตัว

สรรพคุณของฟักข้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักข้าว ด้านกรบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำฟักข้าวมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ราก ผล เมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักข้าว เรานำมาใช้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ ใช้รักษาริดสีดวง แก้อาการปวดหลังได้ แก้กระดูกเดาะ ช่วยถอนพิษอักเสบ รักษาฝี รักษาหูด
  • รากของฟักข้าว เรานำมาใช้ ดื่มช่วยถอนพิษ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ แก้ปวดตามข้อ
  • ผลอ่อนของฟักข้าว ใช้ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน
  • เมล็ดของฟักข้าว ใช้ในการ รักษาฝีในปอด รักษาท่อน้ำดีอุดตัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการบวม รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง

โทษของฟักข้าว

สำหรับผลฟักข้าวสามารถรับประทานได้ แต่เมล็ดดิบของฟักข้าวมีความเป็นพิษ การรับประทานเมล็ดของฟักข้าวอาจทำให้เกิดอาการแพ้ มึนเมา อาเจียน เป็นอันตรายได้

สะเดา Siamese neem tree ผักพื้นบ้าน สมุนไพรมีรสขม สรรพคุณดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน ช่วยถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ลดความดัน ลดไข้ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร

สะเดา สมุนไพร สรรพคุณของสะเดา

ต้นสะเดาในประเทศไทย เราพบว่า สะเดาสามารถการกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติตามป่าเบญจพรรณและป่าแดง ทั่วประเทศ  นอกจากนี้ยังสามารถพบสะเดาได้ตามป่าแล้งในประเทอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถานและศรีลังกา

ต้นสะเดา ภาษาอังกฤษ เรียก Siamese neem tree. มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Veleton. ชื่ออื่นๆของสะเดา เช่น สะเลียม กะเดา จะตัง สะเดาบ้าน เดา กระเดา จะดัง จะตัง ผักสะเลม ลำต๋าว สะเรียม ตะหม่าเหมาะ ควินิน สะเดาอินเดีย ไม้เดา เป็นต้น

ลักษณะของต้นสะเดา

ต้นสะเดา เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 7 เมตร ใบของสะเดาเป็นแบบขนนก เรียงสลับใบ ยอดอ่อนของใบมีสีน้ำตาลอมแดง ดอกของสะเดา จะออกบริเวณปลายของกิ่ง และจะดอกสะเดาจะออกเมื่อใบของสะเดาแก่และร่วงไป ดอกสะเดามีกลีบดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม ผลของสะเดา มีลักษณะเป็นรูปรี กลม

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดา

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของสะเดา พบว่า ยอดสะเดา 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 76 กิโลแคลอรี ซึ่มประกอบไปด้วยน้ำ 77.9 กรัม แคลเซี่ยม 354 มิลลิกรัม โปรตีน 5.4 กรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 12.5 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 194 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3611 ไมโครกรัม วิตามินบีสอง 0.07 มิลลิกรัม ในสะเดาพบว่ามีสารสำคัญที่มีประโยชน์ เช่น ในใบสะเดามี quercetin และสารพวก limonoid ได้แก่ nimbolide และ nimbic acid ในเมล็ดสะเดามี Azadirachtin ประมาณ 0.4-1% ในเปลือกต้นสะเดามีสาร nimbin และ desacetylnimbin

สรรพคุณทางสมุนไพรของสะเดา

สามารถนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ยอดอ่อน ขนอ่อน เปลือกต้น ก้ายใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล เมล็ด รายละเอียด ของ สรรพคุณของสะเดา มีดังนี้

  • ดอกสะเดาและยอดอ่อนสะเดา สามารถใช้ แก้พิษโลหิต หยุดเลือดกำเดา รักษาริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ ช่วยขับลม
  • ขนอ่อนสะเดา สามารถใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
  • เปลือกต้นสะเดา ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องเดิน
  • ก้านใบสะเดา สามารถใช้ลดไข้ นำมาทำเป็นยารักษาโรคมาลาเรีย
  • กระพี้ สามารถใช้รักษาถุงน้ำดีอักเสบ
  • ยางของต้นสะเดา ใช้ในการดับพิษร้อน
  • แก่นสะเดา รักษาอาการแก้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ
  • รากสะเดา สามารถนำมาใช้รักษาโรคผิวหนัง ขับเสมหะ
  • ใบสะเดา และผลสะเดา สามารถใช้ทำเป็นยาฆ่าแมลง และบำรุงธาตุ
  • ผลของสะเดา จะมีรสขม นิยมนำมาใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาโรคหัวใจเดินผิดปกติ
  • เปลือกของรากสะเดา จะมีรสฝาด ใช้ลดไข้ ทำให้อาเจียน และใช่รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดสะเดา สามารถนำมาสกัดน้ำมัน และสามารถใช้รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาฆ่าแมลง

ข้อควรระวังในการบริโภคสะเดา

  1. ห้ามบริโภคสะเดาในคนที่มีความดันต่ำ เนื่องจากสะเดามีฤทธ์ให้ความดันโลหิตต่ำลง
  2. สะเดา เป็น ยาเย็น มีรสขมอาจทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะได้
  3. ในสตรีหลังคลอด ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง

การปลูกสะเดา

สามารถปลูกได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และก่อนปลูกควรไถพรวนแปลงอีกรอบ และตากดินนาน 3-5 วัน วิธีการปลูก เตรียมต้นกล้าสำหรับปลูกที่มีอายุ 3-5 เดือน และมีความสูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร จากนั้นนำลงแปลงปลูก ขุดหลุมในระยะระหว่างหลุมประมาณ 3 เมตร ควรให้ขนานกับแนวของดวงอาทิตย์ในทิศตะวันออก-ตะวันตก เพื่อให้ต้นสะเดาสามารถรับแสงได้อย่างทั่วถึง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove