ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

ใบเตย สมุนไพร ใบเตย สรรพคุณของเตย

ต้นเตย หรือ เตยหอม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Pandan leaves เตยมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Pandanus amaryllifolius Roxb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของต้นเตย อาทิ เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามลำต้น เราสามารถนำใบเตยมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน

ต้นเตยในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยใบเตยหอม เป็นวัตถุดิบหนึ่งในอาหารไทย ใบเตยเป็นเครื่องแต่งกลิ่นและสีของอาหาร จึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมีใบเตยขายตามตลาด ปัจจุบันการส่งออกใบเตย มีขายในรูปใบแช่แข็ง ซึ่งส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอมอยู่ทั่วดลกที่มีคนไทยอาศัยอยู่

ชนิดของเตย

ปัจจุบันต้นเตยในประเทศไทย สามารถพบเห็นต้นเตยได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม ซึ่งรายละเอียดของเตยแต่ละชนิด มีดังนี้

  • เตยหนาม หรือ ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาประกอบอาหาร และนิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน เป็นต้นเตยที่ออกดอก และ ดอกมีกลิ่นหอม
  • เตยไม่มีหนาม หรือ เตย หรือ เตยหอม นิยมนำใบมาแต่งกลิ่นอาหารและให้สีเขียวผสมอาหาร ลักษณะของเตยไม่มีหนาม คือลำต้นเล็ก ไม่มีดอก

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชที่เป็นพุ่มขนาดเล็ก ลักษณะเป็นกอ สามารถขยายพันธ์โดยการแยกกอ และ การแตกหน่อ ใบเตยนิยมนำมาทำสีผสมอาหาร ให้สีเขียว ลักษณะของต้นเตย มีดังนี้

  • ลำต้นเตย ความสูงของลำต้นประมาณ 60 – 100 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นกลม เป็นข้อๆ ลำต้นโผล่ออกจากดิน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุน
  • ใบเตย ลักษณะเรียวยาว ปลายใบแหลม ใบผิวเรียบปลายใบแหลม เป็นสีเขียว ใบแตกออกจากด้านข้างรอบลำต้น เรียงสลับวนเป็นเกลียว ใบมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางอาหารของใบเตย

สำหรับการรับประทานใบเตย นั้นนิยมนำมาคั้นน้ำเพื่อเพิ่มความหอมและสีสันของอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบเตยขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 35 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2,987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 100 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ประกอบไปด้วยสารสำคัญหลายชนิด ประกอบด้วย เบนซิลแอซีเทต ( benzyl acetate ) แอลคาลอยด์ ( alkaloid ) ลินาลิลแอซีเทต ( linalyl acetate ) ลินาโลออล ( linalool ) และ เจอรานิออล ( geraniol ) ซึ่งสารจากน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอม คือ คูมาริน ( coumarin ) และ เอทิลวานิลลิน ( ethyl vanillin )

สรรพคุณของเตย

การใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถเตยมาสมุนไพร ได้ ตั้งแต่ ราก ลำต้น น้ำมันหอมระเหย และ ใบ ซึ่ง สรรพคุณของเตย มีรายละเอียดดังนี้

  • รากเตย สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลำต้นเตย สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ รักษาโรคเบาหวาน ทำให้คอชุ่มชื่น แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต รักษาหนองใน แก้กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ ช่วยบำรุงหัวใจ ลดการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ นิยมนำมาน้ำผสมกับขนมไทย ให้เกลิ่นหอมและมีสีเขียว
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยแก้อาการหน้าท้องเกร็ง แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการดปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ ลดอาการอักเสบในลำคอ

โทษของใบเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากใบเตย ความหอมของใบเตยมาจากน้ำมันหอมระเหยในใบเตย การบริโภคเตยปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย ซึ่งหากนำมาต้มจะให้กลิ่นและรสชาติที่รู้สึกสดชื่น แต่ การรับประทานใบแบบสดๆ อาจทำให้อาเจียนได้ ต้องนำมาต้มหรือคั้นน้ำออกมา

ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย เช่น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

มะเฟือง ไม้ผลรูปดาว นิยมรับประทานผลสุก ลักษณะของต้นมะเฟืองเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย โทษของมะเพือง มีอะไรบ้างมะเฟือง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมะเฟือง

ต้นมะเฟือง เป็นพืชไม่ผลัดใบ เติบโตได้ดีในอากาศร้อนชื้น ไม่ชอบอากาศหนาว ซึ่งมีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินโดนีเชีย และ มาเลเชีย ต่อมามีการแพร่กระจายเข้าสู่ประเทศแถบ ประเทศไทย พม่า ลาว ปัจจุบันมะเฟือง เป็นพืชที่มีความต้องการการบริโภคสูงในประเทศแถบทวีปยุโรป ผลไม้ส่งออก พืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เนื่องจากมีคาร์โบไฮเดรท วิตามินซี วิตามิน B5 วิตามินเค ฟอสฟอรัส ไฟเบอร์สูง

ต้นมะเฟือง ( Star fruit ) ชื่อวิทาศาสตร์ของมะเฟือง คือ acerrhoa carambola L สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะเฟือง เช่น เฟือง เป็นต้น นิยมทานผลอาหาร สรรพคุณเด่นของมะเฟือง เช่น บำรุงผิว ลดการเกิดสิว ช่วยขับปัสสาวะ แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันโรคโลหิตจาง รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน รักษานิ่ว

สายพันธุ์มะเฟือง

สำหรับมะเฟือง โดยทั่วไปมี 2 สายพันธ์ คือ สายพันธ์มะเฟืองหวาน และ สายพันธ์มะเฟืองเปรี้ยว ซึ่งสายพันธุ์มะเฟืองที่พบในประเทศไทย จะเป็นพันธุ์ท้องถิ่นที่มีการปลูกมาตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งสายพันธุ์มะเฟืองที่พบในไทย มี 6 สายพันธ์ คือ สายพันธ์พื้นเมือง สายพันธ์ศรีเวียง สายพันธ์ดาราสยาม สายพันธ์ไต้หวัน สายพันธ์กวางตุ้ง และ สายพันธ์มาเลเซีย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะเฟืองสายพันธุ์พื้นเมือง เป็นพันธุ์ที่ไม่นิยมปลูก เนื่องจากผลรสเปรี้ยวมาก
  • มะเฟืองสายพันธุ์ศรีเวียง เป็นสายพันธ์ที่กลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ดั้งเดิม ลักษณะเด่นผลดิบและผลสุกมัรสหวานมาก ผลมีสีเหลือง เหลืองอมส้ม
  • มะเฟืองสายพันธุ์ดาราสยาม ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ คือ มีความหวานมาก
  • มะเฟืองสายพันธุ์ไต้หวัน ลักษณะพิเศษ คือ ผลขนาใหญ่ และ มีรสหวาน เป็นสานพันธุ์จากประเทศไต้หวัน
  • มะเฟืองสายพันธุ์กวางตุ้ง ลักษณะคล้ายสายพันธ์ไต้หวัน คือ ผลขนาดใหญ่ รสหวาน แต่สีผลค่อนข้างขาวนวล ขอบเหลี่ยมมีสีเขียว
  • มะเฟืองสายพันธุ์มาเลเชีย เป็นมะเฟืองสายพันธ์ที่ได้รับความนิยมสูง เน่ืองจากผลใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด ซึ่งมะเฟืองสายพันธุ์มาเลเชีย แบ่งได้อีก 2 พันธุ์ คือ สายพันธ์ B10 และ สายพันธุ์ B17

คุณค่าทางโภชนาการของมะเฟือง

สำหรับการบริโภคมะเฟืองเป็นอาหาร นิยมบริโภคผลของมะเฟืองเป็นอาหาร อาหารที่มีมะเฟือง เช่น น้ำมะเฟือง แหนมเนือง สลัดหมูย่าง เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะเฟือง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 34 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัยประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.8 กรัม กากใยอาหาร 0.9 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 15 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.17 มิลลิกรัม ไนอะซีน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินซี 28 มิลลิกรัม และ เบต้าแคโรทีน 3.19 RE

ลักษณะของต้นมะเฟือง

ต้นมะเฟือง เป็นไม้ผล ทรงฟุ่ม ไม่มีการผลัดใบ ให้เป็นร่มเงาได้ดีมาก สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ดพันธ์ สามารถเจริญเติบดตได้ดีในพื้นที่ร้อนชื้น ไม่ชอบอาการหนาว ลักษณะของต้นมะเฟือง มีดังนี้

  • ลำต้นมะเฟือง มีความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ มีรอยแตกตามยาวไปทั่ว ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมาก
  • ใบมะเฟือง ลักษณะเป็นใบใบเดี่ยว ก้านใบยาว ใบย่อยเรียงเป็นคู่ๆจนถึงปลายก้านใบ ใบมะเฟืองคล้ายใบมะยม แต่ใบมะเฟืองจะป้อมกว่า ฐานใบมน ปลายใบแหลม ก้านใบสีม่วงแดง ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ใบแก่สีเขียว ขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน ใบมีขนปกคลุม
  • ดอกมะเฟือง ออกดอกเป็นช่อ ออกดอกตามกิ่งและลำต้น ช่อดอกยาว ดอกตูมมีสีม่วงแดง ดอกบานจะมีสีแดงม่วง สีขาว หรือชมพู
  • ผลมะเฟือง ผลเป็นเหลี่ยม ลักษณะเป็นแฉกคล้ายรูปดาว  ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีเหลือง ภายในผลฉ่ำน้ำ มีรสชาติแล้วแต่สายพันธ์ ภายในผลมีเมล็ด 5 – 12 เมล็ดต่อผล แต่บางสายพันธุ์จะมีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย ผลมะเฟืองจะเริ่มหลังจากดอกมะเฟืองบานแล้วประมาณ 60 วัน

สรรพคุณของมะเฟือง

มะเฟือง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางยาและการบำรุงร่างกาย นำมาเป็นสมุนไพรรักษาโรค  ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากหลายส่วน ตั้งแต่ ผล เมล็ด ใบ ดอก เปลือก และ ราก สรรพคุณของมะเฟือง มีดังนี้

  • ผลมะเฟือง สรรพคุณทำให้ชุม่คอ แก้คอแห้ง บำรุงเหงือกและฟัน ลดเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้อาเจียน แก้เมารถ ช่วยลดความเครียด ช่วยทำให้ผ่อนคลาย เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย ช่วยขับระดู ช่วยขับน้ำลาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน ช่วยเสริมสร้างภูมต้านทาน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แก้ร้อนใน แก้อาการท้องเสีย
  • เมล็ดมะเฟือง มีรสขม สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยให้นอนหลับง่าย แก้ดีซ่าน ช่วยขับระดู บรรเทาอาการปวดท้อง
  • ใบมะเฟือง สรรพคุณใช้รักษาแผลสด ลดไข้ ช่วยดับร้อน ช่วยขับปัสสาวะ แก้โรคนิ่ว แก้ปัสสาวะขัด รักษารังแค ช่วยห้ามเลือด บรรเทาอาการแผลจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด
  • ดอกมะเฟือง สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับพยาธิ และ ช่วยขับสารพิษ
  • เปลือกต้นมำเฟือง สรรพคุณช่วยรักษาแผล แก้ท้องเสีย
  • รากมะเฟือง สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดเมื่อย บรรเทาอาการแน่นท้อง

โทษของมะเฟือง

สำหรับการใช้ประโยชน์หรือการรับประทานมะเฟือง มีข้อควรระวัง เนื่องจากผลของมะเฟืองนั้นมีกรดออกซาลิกสูง ทำให้ไตทำงานหนัก เป้นสาเหตุของโรคต่างๆตามมาได้ หากรับประทานมากเกินไป โทษของมะเฟือง มีดังนี้

  • ผลมะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูง ทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรรับประทานมะเฟือง
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดไขมัน หรือ ยาคลายเครียด ไม่ควรรับประทานมะเฟือง เนื่องจากมะเฟืองมีฤทธิ์ไปต่อต้านการทำงานของตัวยา
  • มะเฟืองมีสรรพคุณช่วยขับระดู สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ประโยชน์หรือรับประทานมะเฟือง อาจทำให้ตกเลือด แท้งลูกได้
  • มะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูง สามารถเพิ่มโอกาสการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือ นิ่วในไตได้

มะเฟือง ไม้ผลรูปดาว นิยมรับประทานผลมะเฟืองสุก ลักษณะของต้นมะเฟืองเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย โทษของมะเพือง มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove