กระเจี๊ยบแดง สมุนไพร ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง นิยมนำดอกกระเจี๊ยบมาเป็นอาหารรับประทาน และ ทำเครื่องดื่ม ต้นกระเจี๊ยบเป็นอย่างไร สรรพคุณและโทษมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบแดง สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

ต้นกระเจี๊ยบแดง ภาษาอังกฤษ์ เรียก Roselle ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบ คือ Hibiscus sabdariffa Linn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยบแดง เช่น ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ใบส้มม่า แกงแคง ส้มปู แบลมีฉี่ แต่เพะฉ่าเหมาะ ปร่างจำบู้ ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ ส้มพอดี กระเจี๊ยบเปรี้ยว เป็นต้น

ต้นกระเจียบ มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย แถบประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และ ประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีแหล่งผลิตกระเจี๊ยบที่สำคัญ โดยพื้นที่ที่ปลูกกระเจี๊ยบจำนวนมาก เช่น ลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และ ฉะเชิงเทรา เป็นต้น กระเจี๊ยบ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น เพียงแค่ปีเดียว นิยมปลูกสำหรับนำดอกมาใช้ประโยชน์หลัก ได้แก่ นำดอกมาต้มเป็นน้ำกระเจี๊ยบ ส่วนอื่นๆรองลงมา ได้แก่ ใบ และยอดอ่อนนำมาปรุงอาหาร สีของดอกใช้เป็นสีผสมอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น เรานำเอาส่วนยอดใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ของกระเจี๊ยบมาใช้ประโยชน์แบบสดๆ ส่วนกลีบเลี้ยง ใบ เมล็ด สามารถนำมาตากแห้งเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง

นิยมนำดอกกระเจี๊ยบมาทำเครื่องดื่ม น้ำกระเจี๊ยบ ช่วยบำรุงกำลัง แต่ ใบอ่อนของกระเจี๊ยบ สามารถรับประทานเป็นผักได้ รสเปรี้ยว วิตามินเอสูง สามารถนำดอกกระเจี๊ยบมาเป็นวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเจี๊ยบแดงอบแห้ง กระเจี๊ยบแดงแคปซูล สีผสมอาหาร แยม เยลลี่ เบเกอรี ไอศกรีม ไวน์ น้ำหวาน ซอส เป็นต้น นอกจากนั้นกระเจี๊ยยังเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ เช่น โลชัน ครีมกระเจี๊ยบแดง เจลอาบน้ำ ครีมขัดผิว เป็นต้น ลำต้นกระเจี๊ยบยังสามารถนำมาทำเป็นเชือกปอได้

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง

การรับประทานกระเจี๊ยบ นิยมรับประทานผลกระเจี๊ยบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกกระเจี๊ยบขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 49 กิโลแคลอรี

โดยพบกระเจี๊ยบมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 0.96 กรัม วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.011 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.028 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.31 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม

กระเจี๊ยบ มีสารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) และ สารโพลีฟีนอล ได้แก่ Protocatechuic Acid ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ และ ช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่ม

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบแดง

ต้นกระเจี๊ยบ เป็นพืชล้มลุก พรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก อายุ 1 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ชอบดินร่วนซุยและดินเหนียวที่อุ้มน้ำ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบแดง มีดังนี้

  • ลำต้นของกระเจี๊ยบสูงประมาณ  2 เมตร กิ่งก้านของกระเจี๊ยบจะมีสีสีม่วงอมแดง
  • ใบของกระเจี๊ยบ ขอบใบจะเว้าลึก หยัก เป็นรูปวงรี แหลม
  • ดอกของกระเจี๊ยบ เป็นสีสีชมพู  ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะแหลม มีสีแดงเข้ม
  • เมล็ดของกระเจี๊ยบ เป็นสีน้ำตาล

สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

สำหรับการนำเอากระเจี๊ยบมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร และ การรักษาโรค เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์จาก ยอด ใบ เมล็ด ดอก โดยรายละเอียดของสรรพคุณของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • เมล็ดของกระเจี๊ยบ สามารถช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด เป็นยาระบายอ่อนๆ เมล็ดของกระเจี๊ยบสามารถ นำมาบดเป็นผงผสมน้ำกินได้
  • ยอดและใบของกระเจี๊ยบ สามารถใช้ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและเป็นยาระบาย  นำมาตำพอกฝี ล้างแผล
  • ดอกกระเจี๊ยบ นำมาต้มชงน้ำดื่ม ช่วยให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ

โทษของกระเจี๊ยบแดง

สำหรับการรับประทานกระเจี๊ยบเป็นอาหาร หรือใช้เป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสียอยู่ ไม่ควรกินน้ำกระเจี๊ยบ เนื่องจากน้ำกระเจี๊ยบมีสรรพคุณเป็นยาระบาย
  • น้ำกระเจี๊ยบ มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ไม่ควรดื่มน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นในปริมาณมากและติดต่อกันนาน ๆ เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

ใบเตย สมุนไพร ใบเตย สรรพคุณของเตย

ต้นเตย หรือ เตยหอม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Pandan leaves เตยมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Pandanus amaryllifolius Roxb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของต้นเตย อาทิ เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามลำต้น เราสามารถนำใบเตยมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน

ต้นเตยในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยใบเตยหอม เป็นวัตถุดิบหนึ่งในอาหารไทย ใบเตยเป็นเครื่องแต่งกลิ่นและสีของอาหาร จึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมีใบเตยขายตามตลาด ปัจจุบันการส่งออกใบเตย มีขายในรูปใบแช่แข็ง ซึ่งส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอมอยู่ทั่วดลกที่มีคนไทยอาศัยอยู่

ชนิดของเตย

ปัจจุบันต้นเตยในประเทศไทย สามารถพบเห็นต้นเตยได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม ซึ่งรายละเอียดของเตยแต่ละชนิด มีดังนี้

  • เตยหนาม หรือ ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาประกอบอาหาร และนิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน เป็นต้นเตยที่ออกดอก และ ดอกมีกลิ่นหอม
  • เตยไม่มีหนาม หรือ เตย หรือ เตยหอม นิยมนำใบมาแต่งกลิ่นอาหารและให้สีเขียวผสมอาหาร ลักษณะของเตยไม่มีหนาม คือลำต้นเล็ก ไม่มีดอก

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชที่เป็นพุ่มขนาดเล็ก ลักษณะเป็นกอ สามารถขยายพันธ์โดยการแยกกอ และ การแตกหน่อ ใบเตยนิยมนำมาทำสีผสมอาหาร ให้สีเขียว ลักษณะของต้นเตย มีดังนี้

  • ลำต้นเตย ความสูงของลำต้นประมาณ 60 – 100 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นกลม เป็นข้อๆ ลำต้นโผล่ออกจากดิน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุน
  • ใบเตย ลักษณะเรียวยาว ปลายใบแหลม ใบผิวเรียบปลายใบแหลม เป็นสีเขียว ใบแตกออกจากด้านข้างรอบลำต้น เรียงสลับวนเป็นเกลียว ใบมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางอาหารของใบเตย

สำหรับการรับประทานใบเตย นั้นนิยมนำมาคั้นน้ำเพื่อเพิ่มความหอมและสีสันของอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบเตยขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 35 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2,987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 100 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ประกอบไปด้วยสารสำคัญหลายชนิด ประกอบด้วย เบนซิลแอซีเทต ( benzyl acetate ) แอลคาลอยด์ ( alkaloid ) ลินาลิลแอซีเทต ( linalyl acetate ) ลินาโลออล ( linalool ) และ เจอรานิออล ( geraniol ) ซึ่งสารจากน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอม คือ คูมาริน ( coumarin ) และ เอทิลวานิลลิน ( ethyl vanillin )

สรรพคุณของเตย

การใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถเตยมาสมุนไพร ได้ ตั้งแต่ ราก ลำต้น น้ำมันหอมระเหย และ ใบ ซึ่ง สรรพคุณของเตย มีรายละเอียดดังนี้

  • รากเตย สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลำต้นเตย สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ รักษาโรคเบาหวาน ทำให้คอชุ่มชื่น แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต รักษาหนองใน แก้กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ ช่วยบำรุงหัวใจ ลดการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ นิยมนำมาน้ำผสมกับขนมไทย ให้เกลิ่นหอมและมีสีเขียว
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยแก้อาการหน้าท้องเกร็ง แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการดปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ ลดอาการอักเสบในลำคอ

โทษของใบเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากใบเตย ความหอมของใบเตยมาจากน้ำมันหอมระเหยในใบเตย การบริโภคเตยปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย ซึ่งหากนำมาต้มจะให้กลิ่นและรสชาติที่รู้สึกสดชื่น แต่ การรับประทานใบแบบสดๆ อาจทำให้อาเจียนได้ ต้องนำมาต้มหรือคั้นน้ำออกมา

ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย เช่น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove