มะระ ( Bitter melon ) พืชรสขม สรรพคุณหลากหลาย สมุนไพรในครัวเรือน ลักษณะของต้นมะระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ  เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร สรรพคุณของมะระ พืชสวนครัว

ต้นมะระ ภาษาอังกฤษ เรียก Bitter melon ซึ่งชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. และ ชื่อเรียกอื่นๆของต้นมะระแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น  ผักเหย ผักไห มะร้อยรู มะห่อย มะไห่ สุพะซู สุพะเด เป็นต้น

มะระขึ้นชื่อในเรื่องของความขม ความขมของมะระมาจากสาร Momodicine ซึ่งสารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกอยากกินอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และเป็นยาระบายอ่อนๆ แต่การรับประทานมะระไม่ควรรับประทานมะระสุก เนื่องจากอาจทำให้อาเจียนได้ มะระอยู่คู่กับสังคมและครัวเรือนของท้องถิ่นไทยมาอย่างช้านาน เป็นพืชตระกูลเดียวกับ ฟัก แตงกวาและบวบ นิยมนำผลดิบมารับประทานเป็นอาหาร หลากหลาย เช่น แกงจืดมะระหมูสับ ทานเป็นผักสดกับน้ำพริก เป็นต้น

มะระในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มะระเป็นพืชท้องถิ่นทั่วไป นิยมปลูกตามรั่วบ้าน นำมาประกอบอาหาร โดยนิยมรับประทาน ผลมะระ และ ยอดอ่อนมะระ มะระปลูกมากในภาคเหนือ แต่ก็สามารถพบได้ทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งมะระที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน รายละเอียดของมะระแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะระขี้นก ผลขนาดเล็ก ให้รสชาติขมมาก นิยมนำมารับประทานผลมะระขี้นกเป็นผักสด
  • มะระจีน ผลขนาดใหญ่ สีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลักษณะผิวเป็นร่องไม่เรียบ ให้เนื้อผลมาก นิยมนำมาทำอาหารหลากหลายเมนูอาหาร เช่น ต้มจืด ผัดมะระ รวมถึงรับประทานผลเป็นผักสด

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับแตงกวา อายุของมะระเพียงหนึ่งปี สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาระเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะระมีดังนี้

  • ลำต้นของมะระ ลักษณะเป็นเถา ลำต้นกลม สีเขียว มีขนอ่อนๆ ลำต้นมะระจะเกาะตามหลัก ต้นไม้หรือเสา โดยมีรากออกมาตามข้อของลำต้นช่วยในการเกาะจับหลัก
  • ใบของมะระ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ลักษณะใบหยาบมีขนอร่อยๆ ใบเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบกลม ก้านใบยาว
  • ดอกของมะระ ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะดอกเดี่ยวออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลือง รูปทรงดอกคล้ายรูประฆัง
  • ผลของมะระ ลักษณะยาวรี ผิวเปลือกบาง เรียบ ลักษณะผลเป็นผิวขลุกขละ เป็นหลุมเป็นร่องยาว ผลมีเนื้อหนา ฉ่ำน้ำ ผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะมีสีแดง
  • เมล็ดมะระ อยู่ในผลมะระ มีเม็ดจพนวนมากในผลมะระ ลักษณะเมล็ดจะแบนรี ปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน

คุณค่าทางโภชนาการของมะระ

มะระมีสารฟีนอลหลายชนิด เช่น กรดแกลลิก ( Gallic Acid ) กรดคาเฟอิก ( Caffeic Acid ) และคาเทชิน ( Catechin ) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันจุดด่างดำตามผิวหนังได้

ผลมะระจีน มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น แคแรนทิน ( charantin ) โพลีเปปไทด์ พี ( p-insulin ) และ วิซิน ( vicine ) ซึ่งมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

รสขมของมะระ มาจากสารเคมี ที่มีชื่อว่า Momodicine สารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทำให้อยากกินอาหาร ช่วยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพ เป็นยาระบายอย่างอ่อนๆ

สำหรับมะระ นิยมรับประทานมะระส่วนของผลสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะระ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 17 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญมากมายหลากหลาย ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.8 กรัม โปรตีน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม วิตามินเอ 380 มิลลิกรัม วิตามินB1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.4 มิลลิกรัม วิตามินB3 0.4 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.212 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.043 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.034 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.089 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 296 ไมโครกรัม และ โซเดียม 5 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะระ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะระ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลมะระ เถามระร เมล็ดมะระ รากมะระ ใบมะระ สรรพคุณของมะระ มีดังนี้

  • รากของมะระ สรรพคุณช่วยบำรุงร่างการ ช่วยสมานแผล แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้อาการปวดท้อง
  • เถาของมะระ สรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย แก้ปวดท้อง
  • เมล็ดของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยปรับสมดุลของธาตุในร่างกาย
  • ใบสดของมะระ สรรพคุณช่วยห้ามเลือด บำรุงเลือด เป็นยาระบายอ่อน ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาหวัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการฟกช้ำ แก้ผดผื่นคัน
  • ใบแห้งของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิ ช่วยขับลม
  • ผลสดของมะระ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ป้องกันมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน บำรุงน้ำดี  แก้ปากเปื่อย
  • ผลแห้งของมะระ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาแผล แก้คัน
  • ผลสุกของมะระ สรรพคุณช่วยรักษาสิว

โทษของมะระ

สำหรับการรับประทานมะระเป็นอาหาร ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย แต่การรับประทานหรือใช้มะระเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

  • ผลสุกมะระ มีสารซาโปนิน ( Saponin ) มีความเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นพิษต่อร่างกาย
  • มะระมีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด ร่วมกับรับประทานผลมะระอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานมะระ เนื่องสารเคมีในผลหรือเมล็ด อาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้แท้งได้

การเลือกซื้อมะระ

การเลือกซื้อมะระที่ให้ความขมไม่มาก ควรเลือกผลที่มีสีเขียวอ่อน อวบ และมีลายห่าง ๆ เพราะ จะขมน้อยกว่าผลที่มีสีเขียวเข้มและลายถี่ และก่อนนำมะระไปปรุงอาหาร ให้ผ่าแล้วเอาเมล็ดและไส้ในออกจนหมด จากนั้นหั่นแล้วนำไปแช่น้ำเกลือสักพัก จะช่วยให้มะระลดความขมลงได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

บุก ( Konjac ) สมุนไพรสำหรับคนลดน้ำหนัก สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บุกมาทำอาหารเสริม บุกมีสารสำคัญ กลูโคลส แมนโนส ฟลุคโตส และ กลูโคแมนแนนบุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุก

ต้นบุก มีชื่อสามัญว่า Konjac อ่านออกเสียงว่า คอน-จัค มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus konjac K.Koch ชื่อเรียกอื่นๆของบุก เช่น บุกคุงคก เบีย เบือ มันซูรัน หัวบุก บุกคางคก บุกหนาม บุกหลวง หมอ ยวี จวี๋ ยั่ว หมอยื่อ เป็นต้น หัวบุก มีสรรพคุณ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ลักษณะของต้นบุก

ต้นบุก ถือเป็น พืชล้มลุกชนิกหนึ่ง เป็นไม้เนื้ออ่อน ลักษณะของลำต้นอวบและมีสีเขียวเข้ม ใบบุกเป็นใบเดี่ยว ซึ่งใบของบุกจะแตกใบที่ยอดและใบแผ่ขึ้นเหมือนร่มกาง ดอกของบุกจะมีสีเหลือง จะบานในตอนเย็น มีกลิ่นฉุน ลักษณะเหมือนดอกหน้าวัว ลักษณะของต้นบุก มีดังนี้

  • ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่
  • ใบบุก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
  • ดอกบุก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงทรงกระบอกกลมแบน มีกลิ่นเหม็น สีม่วงแดงอมเขียว มีกาบใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร สีม่วงอมเหลือง โผล่ขึ้นพ้นจากกลีบเลี้ยงที่มีสีม่วง
  • ผลบุก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบน เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม

สรรพคุณของบุก

สำหรับสรรพคุณของบุก เรานิยมใช่ประโยน์ทางยาของบุก จาก หัว รากและเนื้อของลำต้น รายละเอียด ดังนี้

  • หัวบุก มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว
  • รากของบุก ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ข้อควรระวังในการบริโภคบุก

สำหรับข้อห้ามสำหรับการรับประทานบุก คือ หัวบุกจะมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น ในกลุ่มคนที่ ม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน และไม่รับประทานมากเกินไป ซึงข้อควรระวังในการบริโภคบุก มีรายละเอียดดังนี้

  • ในเนื้อหัวบุกป่าจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลท (Calcium oxalate) เป็นจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดอาการคัน ส่วนเหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดีแล้วรับประทานเข้าไปจะทำให้ลิ้นพองและคันปากได้
  • ก่อนนำมารับประทานจะต้องกำจัดพิษออกก่อน และไม่รับประทานกากยาหรือยาสด
  • กรรมวิธีการกำจัดพิษจากหัวบุก ให้นำหัวบุกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตำพอแหลก คั้นเอาน้ำออกพักไว้ นำกากที่ได้ไปต้มน้ำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปผสมกับน้ำที่คั้นครั้งแรก แล้วนำไปต้มกับน้ำปูนใสเพื่อให้พิษหมดไป เมื่อเดือดก็พักไว้ให้เย็น จะจับตัวกันเป็นก้อน จึงสามารถใช้ก้อนดังกล่าวในการปรุงอาหารหรือนำไปตากแห้งเพื่อใช้เป็นยาได้
  • ถ้าเกิดอาการเป็นพิษจากการรับประทานบุก ให้รับประทานน้ำส้มสายชูหรือชาแก่ แล้วตามด้วยไข่ขาวสด แล้วให้รีบไปพบแพทย์
  • เนื่องจากวุ้นบุกสามารถขยายตัวได้มาก จึงไม่ควรบริโภควุ้นบกภายหลังการรับประทาน แต่ให้รับประทานก่อนอาหารไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ส่วนการบริโภคอาหารที่ผลิตจากวุ้น เช่น วุ้นก้อนและเส้นวุ้น สามารถบริโภคพร้อมอาหารหรือหลังอาหารได้ เพราะวุ้นดังกล่าวได้ผ่านกรรมวิธีและได้ขยายตัวมาก่อนแล้ว และการการที่จะขยายตัวหรือพองตัวได้อีกนั้นจึงเป็นไปได้ยาก ส่วนในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการนั้นพบว่าวุ้นบุกไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เนื่องจากไม่มีการย่อยสลายเป็นน้ำตาลในร่างกาย และไม่มีวิตามินและแร่ธาตุ หรือสารอาหารใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย
  • กลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันลดลง ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ แต่จะไม่มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • การกินผงวุ้นบุกในปริมาณมาก อาจทำให้มีอาการท้องเดินหรือท้องอืด มีอาการหิวน้ำมากกว่าเดิม บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove