มังคุด Mangosteen ราชินีแห่งผลไม้ นิยมกินผลมังคุดเป็นอาหาร เปลือกผลมังคุดมีประโยชน์ ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ลดอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำเครื่องสำอางค์

มังคุด ผลไม้ สมุนไพร

ต้นมังคุดภาษาอังกฤษ เรียก Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia mangostana Linn.  สำหรับชื่อเรียกอื่นของมังคุด เช่น แมงคุด เมงค็อฟ เป็นต้น ซึ่งชื่อเรียกจะเรียกแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ ต้นมังคุด เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้ว มีกล่าวถึงมังคุดในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้นบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า วังสวนมังคุด รวมถึงในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาขอพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวถึงมังคุดว่าเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต

ประโยชน์ของมังคุด สามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือ ทำเป็นน้ำผลไม้ ซึ่งมังคุดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส เสริมสร้างระบบภูมิต้านทานโรค ช่วยลดกลิ่นปาก ผลมังคุดสามารถนำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด เป็นต้น นอกจากนั้นเปลือกมังคุด มีสารช่วยป้องกันเชื้อรา เหมาะสำหรับนำมาทำปุ๋ย เปลือก มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง และนำมาแปรรูปเป็นสบู่

มังคุดในประเทศไทย

ประเทศไทยมึภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการปลูกมังคุ ซึงมังคุดจากประเทศไทยมีรสชาติที่อร่อยมาก จึงเป็นแหล่งผลิตมังคุดเพื่อการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆของโลก โดยส่งออกไปหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ มูลค่าการส่งออกแต่ละปีมากกว่า 1,500 ล้านบาท

มังคุดของประเทศไทยที่ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศนั้นมีทั้งในรูปของผลไม้สดและมังคุดแปรรูป ซึ่งภาคใต้เป็นแหล่งปลูกมังคุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มังคุดเป็นผลไม้ที่มีเอกลักษณ์ในรูปร่างของผลที่สวยงาม มีขั้วผลเหมือนมงกุฎรสชาติอร่อยหวานอมเปรี้ยวเป็นที่ชื่นชอบของทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ จนได้รับฉายาว่า “ Queen of Fruits

ปัจจุบันมังคุด เป็นผลไม้ที่มีศักยภาพสูงทางเศรษฐกิจการ ผลไม้ส่งออกของประเทศไทยและมีแนวโน้มว่ามังคุดจะมีความสำคัญมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากว่าประเทศไทยได้ทำการขยายตลาดการส่งออกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนซึ่งมีประชากรสูง ก็ให้ความสนใจกับไม้ผลชนิดนี้ด้วย

ลักษณะของต้นมังคุด

ต้นมังคุด เป็นไม้ยืนต้น พันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง ความสูงประมาณ 10-12 เมตร สามารถขยายพันธ์โดยการทายกิ่ง ตอนกิ่ง และ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมังคุด มีดังนี้

  • ลำต้นของมังคุด ลักษณะลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลเข้ม เปลือกของมังคุดมีน้ำยางสีเหลือง
  • ใบของมังคุด เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงกัน รูปไข่หรือรูปวงรี มีขอบขนาน ความกว้างประมาณ 6-12 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร เนื้อของใบหนาและค่อนข้างเหนียวเหมือนหนัง ด้านหลังของใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบจะมีสีเขียวอ่อน
  • ดอกของมังคุด เป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกมีสีแดง
  • ผลของมังคุด ลักษณะกลม เปลือกนอกสีเข้มแข็ง เมื่อผลแก่เต็มที่จะมีสีม่วงแดง มียางสีเหลือง เนื้อผลสีขาวฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ในเนื้อผล

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

สำหรับการบริโภคมังคุดเป็นอาหารนิยมรับประทานเนื้อของผลมังคุด ซึ่งนักโภชานการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมังคุดขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 76 แคลอรี และ มีสามารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรท 18.4 กรัม ใยอาหาร 1.7 กรัม แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลิลกรัม วิตามินบี1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.01 มิลลิกรัม

เปลือกของมัคคุด มีสารแทนนิน ( tannin ) ช่วยให้แผลหายเร็ว ช่วยลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้

สรรพคุณของมังคุด 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมังคุดด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากเปลือกมังคุด ซึ่งสรรพคุณของเปลือกมังคุดมี ดังนี้

  • รักษาโรคท้องเสียเรื้อรัง และโรคลำไส้ โดยใช้เปลือกมังคุดครึ่งผลต้มกับน้ำรับประทานครั้งละ 1 แก้ว
  • รักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง โดยเปลือกมังคุต้มกับน้ำปูนใส ในเด็กให้รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาทุก 4 ชั่วโมง ในผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะทุก 4 ชั่วโมง
  • รักษาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง ใช้เปลือกผลสดหรือแห้ง ฝนกับน้ำปูนใส ทาแผลน้ำกัดเท้า แผลพุพอง วันละ 2-3 ครั้ง
  • บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว รักษากลากเกลือน
  • ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • ช่วยลดไข้
  • ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
  • ช่วยลดความเครียด ป้องกันสมองเสื่อม บำรุงระบบประสาท บำรุงสมอง
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • บำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  • ช่วยบำรุงสุขภาพช่องปาก รักษาแผลในช่องปาก
  • แก้อักเสบ ช่วยรักษาข้อเข่าอักเสบ
  • มีสารแทนนิน ช่วยสมานแผล ทำให้แผลหายเร็ว

โทษของมังคุด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมังคุดต้องใช้อย่างเหมาะสมและต้องได้รับคำแนะนำการใช้อย่างถูกต้องจากผู้เชียวชาญ ซึ่งโทษของมังคุด มีดังนี้

  • มังคุดมีสารแซนโทน ( Xanthone ) ในปริมาณมาก มีประโยชน์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ต้านการเกิดโรคมะเร็ง และอาการแพ้ต่าง ๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้จริง ถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
  • มังคุดมีสารแทนนิน ( Tannin ) ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกต

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

มะระ สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมรับประทานผลมะระเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ ช่วยเจริญอาหาร ขับลม รักษาเบาหวาน สำหรับโทษของมะระมีอะไรบ้างมะระ สมุนไพร สรรพคุณของมะระ สมุนไพรไทย

ต้นมะระ ภาษาอังกฤษ เรียก Bitter melon ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะระ เช่น ผักเหย ผักไห มะร้อยรู มะห่อย มะไห่ สุพะซู สุพะเด เป็นต้น ผลมะระมีรสขมเป็นเอกลักษณ์ มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกา  มะระมีการปลูกกันในหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย พม่า ไทย และเวียดนาม เป็นต้น สำหรับประเทศไทยนิยมปลูกมากในภาคเหนือ

มะระอยู่คู่กับสังคมและครัวเรือนของท้องถิ่นไทยมาอย่างช้านาน เป็นพืชตระกูลเดียวกับ ฟัก แตงกวาและบวบ นิยมนำผลดิบมารับประทานเป็นอาหาร มีเมนูอาหารหลากหลายที่มีมะระเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงจืดมะระหมูสับ ยำมะระกุ้งสด มะระผัดไข่ หรือทานเป็นผักสดกับน้ำพริก เป็นต้น ความขมของมะระมาจากสาร Momodicine เป็นสารที่มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความอยากกินอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และเป็นยาระบายอ่อนๆ แต่การนำมะระมารับประทาน ไม่ควรรับประทานผลมะระสุก เนื่องจากอาจทำให้อาเจียนได้

ประโยชน์ของมะระ รากเป็นยาบำรุง ใช้สมานแผลได้ เถาเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยเจริญอาหาร ใบช่วยดับพิษร้อน ขับพยาธิ ขับลม ผลมะระใช้ขับลม แก้อักเสบ ขับพยาธิ เจริญอาหาร สำหรับด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน มีการศึกษาวิจัยมะระ พบว่า มะระมีฤทธิ์ต้านเบาหวาน ช่วยระบาย และฆ่าเชื้อ การแพทย์ทางเลือกของสหรัฐอเมริกานำน้ำคั้นจากผลมะระ ใช้รักษาระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

มะระในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย มะระเป็นพืชท้องถิ่นทั่วไป นิยมปลูกตามรั่วบ้าน นำมาประกอบอาหาร โดยนิยมรับประทาน ผลมะระ และ ยอดอ่อนมะระ มะระปลูกมากในภาคเหนือ แต่ก็สามารถพบได้ทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งมะระที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน รายละเอียดของมะระแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะระจีน ผลขนาดใหญ่ สีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลักษณะผิวเป็นร่องไม่เรียบ ให้เนื้อผลมาก นิยมนำมาทำอาหารหลากหลายเมนูอาหาร เช่น ต้มจืด ผัดมะระ รวมถึงรับประทานผลเป็นผักสด
  • มะระขี้นก ผลขนาดเล็ก ให้รสชาติขมมาก นิยมนำมารับประทานผลมะระขี้นกเป็นผักสด

การเลือกซื้อมะระ

การเลือกซื้อมะระที่ให้ความขมไม่มาก ควรเลือกผลที่มีสีเขียวอ่อน อวบ และมีลายห่าง ๆ เพราะ จะขมน้อยกว่าผลที่มีสีเขียวเข้มและลายถี่ และก่อนนำมะระไปปรุงอาหาร ให้ผ่าแล้วเอาเมล็ดและไส้ในออกจนหมด จากนั้นหั่นแล้วนำไปแช่น้ำเกลือสักพัก จะช่วยให้มะระลดความขมลงได้

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับแตงกวา อายุของมะระเพียงหนึ่งปี สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาระเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะระมีดังนี้

  • ลำต้นของมะระ ลักษณะเป็นเถา ลำต้นกลม สีเขียว มีขนอ่อนๆ ลำต้นมะระจะเกาะตามหลัก ต้นไม้หรือเสา โดยมีรากออกมาตามข้อของลำต้นช่วยในการเกาะจับหลัก
  • ใบของมะระ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ลักษณะใบหยาบมีขนอร่อยๆ ใบเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบกลม ก้านใบยาว
  • ดอกของมะระ ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะดอกเดี่ยวออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีเหลือง รูปทรงดอกคล้ายรูประฆัง
  • ผลของมะระ ลักษณะยาวรี ผิวเปลือกบาง เรียบ ลักษณะผลเป็นผิวขลุกขละ เป็นหลุมเป็นร่องยาว ผลมีเนื้อหนา ฉ่ำน้ำ ผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะมีสีแดง
  • เมล็ดมะระ อยู่ในผลมะระ มีเม็ดจพนวนมากในผลมะระ ลักษณะเมล็ดจะแบนรี ปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน

คุณค่าทางโภชนาการของมะระ

การรับประทานมะระเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลสดของมะระเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะระสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 17 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.8 กรัม โปรตีน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม ธาตุสังกะสี 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.034 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม วิตามินเอ 380 มิลลิกรัม วิตามินB1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.4 มิลลิกรัม วิตามินB3 0.4 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.212 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.043 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.089 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 296 ไมโครกรัม และ โซเดียม 5 มิลลิกรัม

นอกจากนั้นผลมะระยังมีสารฟีนอลหลายชนิด เช่น กรดแกลลิก ( Gallic Acid ) กรดคาเฟอิก ( Caffeic Acid ) และคาเทชิน ( Catechin ) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันจุดด่างดำตามผิวหนังได้

สรรพคุณของมะระ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะระ ด้านการบำรุงและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จากผลมะระ เถามะระ เมล็ดมะระ รากมะระและใบมะระ สรรพคุณของมะระ มีดังนี้

  • ผลสุกของมะระ สรรพคุณช่วยรักษาสิว
  • รากของมะระ สรรพคุณช่วยบำรุงร่างการ ช่วยสมานแผล แก้ริดสีดวงทวาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้อาการปวดท้อง
  • เมล็ดของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิตัวกลม ช่วยปรับสมดุลของธาตุในร่างกาย
  • เถาของมะระ สรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย แก้ปวดท้อง
  • ใบสดของมะระ สรรพคุณช่วยห้ามเลือด บำรุงเลือด เป็นยาระบายอ่อน ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาหวัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการฟกช้ำ แก้ผดผื่นคัน
  • ผลสดของมะระ สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ป้องกันมะเร็ง บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน บำรุงน้ำดี  แก้ปากเปื่อย
  • ใบแห้งของมะระ สรรพคุณช่วยขับพยาธิ ช่วยขับลม
  • ผลแห้งของมะระ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาแผล แก้คัน

โทษของมะระ

สำหรับการรับประทานมะระเป็นอาหาร ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย แต่การรับประทานหรือใช้มะระเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

  • มะระมีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด ร่วมกับรับประทานผลมะระอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ผลสุกมะระ มีสารซาโปนิน ( Saponin ) มีความเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นพิษต่อร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานมะระ เนื่องสารเคมีในผลหรือเมล็ด อาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้แท้งได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove