ผักโขม สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด โทษของผักโขมมีอะไรบ้างผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักโขม

ต้นผักโขม ( Amaranth ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักโขม คือ Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักโขม เช่น ผักโหม ผักหม ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ เป็นต้น ผักโขม จัดอยู่ในพืชตระกูลต้นบานไม่รู้โรย เป็นผักสวนครัว สามารถพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง เทือกสวนไร่ชาวนา เป็นต้น เป็นพืชที่ขึ้นและเติบโตได้ง่าย

สายพันธ์ผักโขม

สำหรับสายพันธ์ผักโขม ที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่หลายสายพันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ผักโขม ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ผักโขมบ้าน จะมีลักษณะใบกลมเล็ก มีลำต้นเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบสีเขียวเหลือบแดง สมามรถนำมาใช้ ลดไข้ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เมื่อต้มเอาน้ำมาอาบ มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี
  • ผักโขมหนามSpiny amaranth ) จะมีลักษณะลำต้นสูง มีใบใหญ่ มีหนาม ตามช่อของดอก หากจะนำผัดโขมหนามมาทำอาหาร เราจะนำมาใช้เฉพาะยอดอ่อน สามารถนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ลดไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าของเด็ก
  • ผักโขมสวนRed amaranth ) จะมีลักษณะใบสีเขียว  เส้นกลางของใบสีแดง
  • ผักโขมจีน ( Chinese Spinachจะมีลักษณะต้นใหญ่ ใบสีเขียว หยัก มีกลิ่นฉุน

ลักษณะของต้นผักโขม

ต้นผักโขม เป็นไม้พุ่มเตี้ย ชอบดินร่วนซุยและชุ่มชื้น ใบยาวเหมือนขนนกขนาดสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะของต้นผักโขม มีดังนี้

  • ลำต้นผักโขม ความสูงประมาณ 30 ถึง 100 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบน้ำ สีเขียว แตกกิ่งก้านสาขามาก โคนลำต้นสีแดงอมน้ำตาล
  • ใบผักโขม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปสามเหลี่ยม ผิวใบเรียบ ขอบใบเรียบ ใบมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกผักโขม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีม่วงปนเขียว ดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง
  • เมล็ดผักโขม อยู่ที่ดอก เมล็ดมีลักษณะกลม ขนาดเล็ก สีน้ำตาลดำ

คุณค่าทางโภชนาการของผักโขม

ผักโขม นิยมรับประทานใบและลำต้นเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผักโขม โดยผักโขมขนาด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 23 กิโลแคลลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 5.2 กรัม ไขมัน 0.80 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.70 มิลลิกรัม แคลเซียม 341 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 76 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.10 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.37 มิลลิกรัม วิตามินซี 120 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.80 มิลลิกรัม และ เบต้าแคโรทีน 558.76 RE

สรรพคุณของผักโขม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักดขม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ลำต้น โดยสรรพคุณของผักโขม มีดังนี้

  • ทั้งต้นของผักโขม สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย แก้อาการบิด ลดอาการแน่นท้อง ช่วยขับถ่าย รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้อาการปวดท้องประจำเดือน แก้ผดผื่นคัน รักษาฝี รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลพุพอง แก้อาการช้ำใน ลดความอ้วน บำรุงครรภ์ ช่วยบำรุงน้ำนม
  • รากผักโขม สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบสด สรรพคุณช่วยรักษาแผลสด

โทษของผักโขม

สำหรับการรับประทานผักโขม มีข้อควรระวัง เนื่องจากในผักโขมสดมีสารออกซาเลต ( Oxalate ) สูง ซึ่งเป็นสารที่ทำให้กิดนิ่ว และ ทำให้เกิดข้ออักเสบ โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรับประทานผักโขมควรทำให้สุกก่อน เพื่อให้สารออกซาเลตลดปริมาณลง

ผักโขม ผักสวนครัว สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักโขม บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา  บำรุงเลือด  บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด มีเบต้าแคโรทีนสูง โทษของผักโขมมีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

มะเขือยาว นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ต้นมะเขือยาวเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเขือยาว ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย โทษของมะเขือยาวมีอะไรบ้าง

มะเขือยาว ผัดสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของมะเขือยาว

ต้นมะเขือยาว ภาษาอังกฤษ เรียก Eggplant ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือยาว คือ SO-LANUM MELONGENA LINN ชื่อเรียกของมะเขือยาว เช่น ยั่งมูไล่ สะกอวา มะเขือป๊าว มะเขือหำม้า มะแขว้ง มะแขว้งคม มะเขือกระโปกแพะ มะเขือจาน มะเขือจาวมะพร้าว มะเขือฝรั่ง เป็นต้น มะเขือยาว พืชล้มลุก พืชสวนครัว นิยมนำผลของมะเขือยาวมาทำอาหารกิน มะเขือยาว เป็นพืชที่เรา ใช้ส่วนผล ในการบริโภค ใช้เป็นผักสด หรือประกอบ อาหารได้หลายชนิด

ปัจจุบันมะเขือยาวมีหลายสี เช่น สีขาว สีม่วง สีม่วงปนขาว สรรพคุณทางสมุนไพร สามารถช่วย ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย ท้องร่วง แก้ปวด รักษาอาการตกเลือดในลำไส้ ช่วยขับเสมหะ อาการแก้บิดเรื้อรัง รักษาอุจจาระเป็นเลือด มะเขือยาวมี คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงสุขภาพ บำรุงกระดูก บำรุงเลือด

ลักษณะของต้นมะเขือยาว

ต้นมะเขือยาว เป็นไม้ล้มลุก พืชอายุข้ามปี สามารถเจริญ เติบโตในดิน ทุกสภาพ ดินมีความเป็น กรดเป็นด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ปลูกได้ ตลอดปี และทั่วทุกภาค ของไปประเทศไทย โดยสามารถสรุป ลักษณะของต้นมะเขือยาว มีดังนี้

  • ลำต้นมะเขือยาว ลักษณะเป็นเถา เนื้อลำต้นอ่อน สีเขียว มีขนทั่วทั้งลำต้น ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นอาจมีหนามเล็กๆ
  • ใบมะเขือยาว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกสลับตามกิ่งก้าน ใบลักษณะกลม โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ใบมีขนนุ่มปกคลุมทั่ว
  • ดอกมะเขือยาว ลักษณะของดอกมะเขือยาว ออกเป็นช่อ กลีบดอกสีม่วง
  • ผลมะเขือยาว ลักษณะยาวกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีม่วงคล้ำหรือสีขาว เปลือกของผลเรียบ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดของมะเขือยาว ลักษณะกลมแบน

มะเขือยาว เป็นพืชในตระกูลมะเขือ ที่ปลูกง่ายเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด มะเขือยาว เป็นพืชที่ต้องการสารอาหารมาก และสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทนทานต่อสภาพอากาศ และยังมีอายุยาวข้ามปี

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว

สำหรับการรับประทานมะเขือยาวมีประโยชน์ด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 24 กิโลเคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.2 g  โซเดียม 2 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 229 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม เส้นใยอาหาร 3 กรัม น้ำตาล 3.5 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 23 IU วิตามินซี 2.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม เหล็ก 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.1 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม

มะเขือยาว มีสารไกลโคอัลคาลอยด์ ( Glycoalkaloid ) สารต้านอนุมูลอิสระ ชื่อ เทอร์ปิน ( terpene )สารต้านอนุมูลอิสระ เทอร์ปิน ( terpene ) โดยมีผลงานวิจัยได้ศึกษามะเขือยาว พบว่า มะเขือยาวช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจ และ ลดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ช่วยรักษาหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันโรคความดันโลหิตสุง ลดอาการบวมและอาเจียนเป็นเลือด ช่วยขับปัสสาวะ และสามารถช่วยถอนพิษจากเห็ดพิษบางชนิด

ผิวของมะเขือยาว มีสาร นาซูนิน ( Nasunin )คุณสมบัติต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีผลให้เซลล์มะเร็งเติบโตช้าและลดการแพร่กระจายลง

สรรพคุณของต้นมะเขือยาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือยาว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ลำต้น ราก ใบ ผลแห้ง ผลสด ขั่วของผลแห้ง สรรพคุณของมะเขือยาว มีดังนี้

  • ใบของมะเขือยาว สรรพคุณใช้ แก้อาการปัสสาวะขัด พอกแผลบวมที่เป็นหนองได้
  • ผลสด สรรพคุณใช้รักษาแผล โดย ตำพอกแผลอักเสบมีหนอง บำรุงหัวใจ รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดอาการบวม ลดอักเสบ ช่วนขับปัสสาวะ ช่วยถอนพิษ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • ลำต้นและรากของมะเขือยาว สรรพคุณใช้รักษา อาการแก้บิดเรื้อรัง อุจจาระเป็นเลือด และรักษาแผลอักเสบ
  • ผลแห้งของมะเขือยาว สรรพคุณใช้เป็นแก้ปวด รักษาอาการตกเลือดในลำไส้ ช่วยขับเสมหะ

โทษของมะเขือยาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือยาว ต้องใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ซึ่งมะเขือยาวมีข้อควรหลีกเลี่ยงในการประทานมะเขือยาว ดังต่อไปนี้

  • การบริโภคมะเขือยาวต้องล้างให้สะอาด ก่อนนำมารับประทานอาหาร เพราะอาจมีสารเคมีเจือปนในผิวของมะเขือยาว
  • สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลันไม่ควรรับประทานมะเขือยาว
  • เด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ไม่ควรรับประทานมะเขือยาว เพราะ กากใยอาหารสูงอาจทำให้มีปัญหาการย่อยอาหาร
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมะเขือยาว

มะเขือยาว ผักสวนครัว นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะเขือยาวเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเขือยาว เช่น ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย ท้องร่วง โทษของมะเขือยาว มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove