ผักโขม สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด โทษของผักโขมมีอะไรบ้างผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักโขม

ต้นผักโขม ( Amaranth ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักโขม คือ Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักโขม เช่น ผักโหม ผักหม ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ เป็นต้น ผักโขม จัดอยู่ในพืชตระกูลต้นบานไม่รู้โรย เป็นผักสวนครัว สามารถพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง เทือกสวนไร่ชาวนา เป็นต้น เป็นพืชที่ขึ้นและเติบโตได้ง่าย

สายพันธ์ผักโขม

สำหรับสายพันธ์ผักโขม ที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่หลายสายพันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ผักโขม ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ผักโขมบ้าน จะมีลักษณะใบกลมเล็ก มีลำต้นเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบสีเขียวเหลือบแดง สมามรถนำมาใช้ ลดไข้ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เมื่อต้มเอาน้ำมาอาบ มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี
  • ผักโขมหนามSpiny amaranth ) จะมีลักษณะลำต้นสูง มีใบใหญ่ มีหนาม ตามช่อของดอก หากจะนำผัดโขมหนามมาทำอาหาร เราจะนำมาใช้เฉพาะยอดอ่อน สามารถนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ลดไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าของเด็ก
  • ผักโขมสวนRed amaranth ) จะมีลักษณะใบสีเขียว  เส้นกลางของใบสีแดง
  • ผักโขมจีน ( Chinese Spinachจะมีลักษณะต้นใหญ่ ใบสีเขียว หยัก มีกลิ่นฉุน

ลักษณะของต้นผักโขม

ต้นผักโขม เป็นไม้พุ่มเตี้ย ชอบดินร่วนซุยและชุ่มชื้น ใบยาวเหมือนขนนกขนาดสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะของต้นผักโขม มีดังนี้

  • ลำต้นผักโขม ความสูงประมาณ 30 ถึง 100 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบน้ำ สีเขียว แตกกิ่งก้านสาขามาก โคนลำต้นสีแดงอมน้ำตาล
  • ใบผักโขม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปสามเหลี่ยม ผิวใบเรียบ ขอบใบเรียบ ใบมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกผักโขม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีม่วงปนเขียว ดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง
  • เมล็ดผักโขม อยู่ที่ดอก เมล็ดมีลักษณะกลม ขนาดเล็ก สีน้ำตาลดำ

คุณค่าทางโภชนาการของผักโขม

ผักโขม นิยมรับประทานใบและลำต้นเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผักโขม โดยผักโขมขนาด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 23 กิโลแคลลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 5.2 กรัม ไขมัน 0.80 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.70 มิลลิกรัม แคลเซียม 341 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 76 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.10 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.37 มิลลิกรัม วิตามินซี 120 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.80 มิลลิกรัม และ เบต้าแคโรทีน 558.76 RE

สรรพคุณของผักโขม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักดขม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ลำต้น โดยสรรพคุณของผักโขม มีดังนี้

  • ทั้งต้นของผักโขม สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย แก้อาการบิด ลดอาการแน่นท้อง ช่วยขับถ่าย รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้อาการปวดท้องประจำเดือน แก้ผดผื่นคัน รักษาฝี รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลพุพอง แก้อาการช้ำใน ลดความอ้วน บำรุงครรภ์ ช่วยบำรุงน้ำนม
  • รากผักโขม สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบสด สรรพคุณช่วยรักษาแผลสด

โทษของผักโขม

สำหรับการรับประทานผักโขม มีข้อควรระวัง เนื่องจากในผักโขมสดมีสารออกซาเลต ( Oxalate ) สูง ซึ่งเป็นสารที่ทำให้กิดนิ่ว และ ทำให้เกิดข้ออักเสบ โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรับประทานผักโขมควรทำให้สุกก่อน เพื่อให้สารออกซาเลตลดปริมาณลง

ผักโขม ผักสวนครัว สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักโขม บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา  บำรุงเลือด  บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด มีเบต้าแคโรทีนสูง โทษของผักโขมมีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศ พืชเศรษฐกิจ ประโยชน์หลากหลาย ต้นพริกไทยเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ขับลม บำรุงสายตา ช่วยขับเหงื่อ โทษของพริกไทยมีอะไรบ้างพริกไทย สรรพคุณของพริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย

พริกไทย ( Pepper ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกไทย คือ Piper nigrum L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของพริกไทย เช่น พริกน้อย พริก พริกไทยดำ พริกไทยล่อน พริกขี้นก เป็นต้น ชื่อเรียกของต้นพริกไทยจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น พริกไทย มีสรรพคุณในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด นิยมนำมาถนอมอาหาร เช่น ทำไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ

ต้นพริกไทย เป็นพืชประจำถิ่นในประเทศอินเดีย พืชเศรษฐกิจในเขตร้อน ซึ่งประเทศที่ผลิตพริกไทย คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย บราซิล และ อินเดีย สำหรับ เมล็ดพริกไทย นิยมนำมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพิ่มรสชาติ พริกไทยมีสรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ขับเสมหะ  ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์

ชนิดของพริกไทย

สำหรับชนิดของพริกไทยที่นำมาใช้ในการทำอาหาร มี 2 ชนิด คือ พริกไทยขาว และ พริกไทยดำ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พริกไทยดำ คือ เมล็ดพริกไทยแก่เต็มที่แต่ยังไม่สุก โดยนำมาตากแดดจนแห้งเป็นสีดำ โดยไม่ปลอกเปลือกเมล็ด
  • พริกไทยขาว คือ เมล็ดพริกไทยที่สุกเต็มที่ โดยนำมาแช่น้ำ ให้เปลือกของเมล็ดพริกไทยลอกเปลือกออก จากนั้นนำไปตากแห้ง

ลักษณะของต้นพริกไทย

ต้นพริกไทย สามารถปลูกได้ในเขตร้อน หรือในเขตอบอุ่น โดยปกติแล้วสามารถปลูกได้โดยการเพาะเมล็ด หรือ การปักชำ จัดพืชตระกูลไม้เลื้อย พริกไทยเจริญในแนวดิ่ง ลำต้นแตกแขนงออกเป็นพุ่ม ลำต้นจะสร้างรากพิเศษสั้นๆบริเวณข้อเพื่อยึดเกาะสิ่งรอบข้าง ช่วยในการพยุงลำต้น ลักษณะของต้นพริกไทย มีดังนี้

  • ลำต้นพริกไทย ความสูงประมาณ 500 เซ็นติเมตร ลำต้นเป็นข้อๆ รากของต้นพริกไทยจะเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆ
  • ใบพริกไทย ใบจะมีสีเขียว ขนาดใหญ่เหมือนใบโพ
  • ดอกพริกไทย จะมีดอกเล็กจะออกช่อเป็นพวงตามข้อ
  • เมล็ดของพริกไทย ลักษณะกลมเป็นพวง ผลทรงกลมแบบเมล็ด ผลอ่อนมีสีเขียวผลสุกมีสีแดง

คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย

สำหรับการรับประทานพริกไทย มีประโยชนืต่อร่างกาย ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของพริกไทยดำ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดพริกไทยดำ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี  มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 12.46 กรัม โปรตีน 10.39 กรัม ไขมัน 3.26 กรัม คาร์โบไฮเดรต 63.95 กรัม กากใยอาหาร 25.3 กรัม แคลเซียม 443 มิลลิกรัม เหล็ก 9.71 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 171 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 158 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 1329 มิลลิกรัม โซเดียม 20 มิลลิกรัม สังกะสี1.19 มิลลิกรัม  ไทอะมีน 0.108 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.180 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.143 มิลลิกรัม วิตามินบี6  0.291 มิลลิกรัม โฟเลต 17 ไมโครกรัม วิตามินเอ 27 ไมโครกรัม และ วิตามินเค 163.7 ไมโครกรัม

สรรพคุณของพริกไทย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกไทย ด้านการบำรุงร่างกายและการบำรุงสุขภาพ สามารถนำพริกไทยมาทำสมุนไพร ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ดอก เมล็ด ใบ เถา ราก สรรพคุณของพริกไทย มีดังนี้

  • ดอกของพริกไทย มีสรรพคุณช่วยลดความดันตา แก้อาการตาแดงจากความดันโลหิตสูง
  • เมล็ดของพริกไทย มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว
  • ใบของพริกไทย มีสรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
  • เถาของพริกไทย ใช้ขับเสมหะ แก้ท้องร่วง และท้องเดิน
  • รากของพริกไทย ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ลดอาการวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากพริกไทย สามารถใช้รักษาหวัด ทำให้หายใจสะดวก

โทษของพริกไทย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกไทย หากใช้อย่างไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ เนื่องจากคุณสมบัติของพริกไทย คือ มีฤทธ์ร้อน รสเผ็ด การรับประทานพริกไทยมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ควรลดการกินพริกไทย เพื่อให้ระบบลำไส้ลดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
  • การรับประทานพริกไทยมากเกินไป ทำให้เกิดอาการอักเสบได้ เช่น ตาอักเสบ คออักเสบ เป็นแผลในปาก และ ฟันอักเสบเป็นหนอง เป็นต้น

พริกไทย ราชาแห่งเครื่องเทศ พืชเศรษฐกิจ มีประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นพริกไทย เป็นอย่างไร สรรพคุณของพริกไทย เช่น ขับปัสสาวะ ขับลม บำรุงสายตา ช่วยขับเหงื่อ โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove