แมงลัก นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลักมีอะไรบ้างแมงลัก เมล็ดแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพร

ต้นแมงลัก ( Hairy Basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงลัก คือ Ocinum canum . Sim. ชื่อเรียกอื่นๆของแมงลัก เช่น มังลัก ขาวมังลัก ผักอี่ตู่ กอมก้อขาว เป็นต้น ใบแมงลัก มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว และ เพิ่มความหอมของอาหารได้ดี เมนูอาหาร ที่นำใบแมงลักมาทำอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ เป็นต้น

แมงลักในประเทศไทย

สำหรับแมงลักในประเทศไทย จัดว่าเป็นพืชเศรษบกิจชนิดหนึ่ง มีการปลูกแมงลัก เพื่อผลิตใบสดและเมล็ดแมงลักในเชิงพาณิชย์ สามารถพบเห็นแมงลักได้ทั่วไปตามตลาด สายพันธุ์แมงลัก ที่นิยมปลูก คือ แมงลักสายพันธ์ศรแดง ที่มีลักษณะใบใหญ่ แหล่งปลูกต้นแมงลัก พบได้ทั่วไปทั่วประเทศ

ลักษณะของต้นแมงลัก

ต้นแมงลัก เป็นพืชล้มลุก  อายุสั้นไม่ถึง 1 ปี นิยมกินเป็นอาหาร ต้นแมงลัก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • ลำต้นของแมงลัก เนื้อไม้ของต้นแมงลักอ่อน อวบน้ำ ความสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม เปลือกลำต้นสีเขียว มีระบบรากเป็นแก้วและรากฝอย รากของต้นแมงลักสามารถลึกได้ถึง 30 เซ็นติเมตร
  • ใบแมงลัก ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ออกตามกิ่งของต้นแมงลัก ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ
  • ดอกแมงลัก ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีเขียว
  • เมล็ดแมงลัก อยู่ภายในดอกแก่ของต้นแมงลัก เมล็ดแมงลักมีลักษณะรีแบน สีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

ต้นแมงลัก นั้นนำมาใช้ประโยชน์บริโภคใบสดและเมล็ด โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 420 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม โปรตีน 15 กรัม ไขมัน 16 กรัม กากใยอาหาร 54 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 32 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 78 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม และ โปรตีน 2.9 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก

สำหรับน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก มีมากในใบแมงลัก ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มี 3 ชนิด ประกอบด้วย

  • น้ำมันหอมระเหยที่มี methyl cinnamate
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี d-camphor
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี polyuronide

สรรพคุณของแมงลัก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแมงลัก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นใช้ประโยชน์จาก ใบแมลงลัก และ เมล็ดแมงลัก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของแมงลัก มีดังนี้

  •  เมล็ดแมงลัก สรรพคุณยาระบายอ่อนๆ ทำให้อุจจาระอ่อนตัว ลดอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เสริมการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ช่วยอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนัก
  • ใบแมงลัก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ป้องกันโรคมะเร็ง แก้เจ็บคอ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาไข้หวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษากลากน้ำนม

โทษของเม็ดแมงลัก

สำหรับการรับประทานแมงลัก ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานเม็ดแมงลักมากเกินไป อาจทำให้เกิดโทษได้ โดย ข้อควรระวังในการรับประทานแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

  • หากรับประทานเมล็ดแมงลักมากเกินไป จะทำให้รู้สึกแน่นท้อง ไม่สบายตัว
  • เม็ดแมงลัก ที่ยังไม่พองตัวอย่างเต็มที่ หากรับประทานเข้าไป เมล็ดแมงลักอาจดูดน้ำจากกระเพาะอาหาร จนเกิดเป็นก้อนภายในกระเพาะอาหาร ทำให้อุดตันในลำไส้ ทำให้ท้องผูก
  • เม็ดแมงลัก ไม่ครวรับประทานพร้อมกับยาอื่น ๆ เพราะ เมล็ดแมงลักอาจดูดสรรพคุณของยา เหล่านั้นได้

แมงลัก คือ พืชสมุนไพร ตระกูลเดียวกับโหระพาและกระเพรา นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ลักษณะของต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลัก มีอะไรบ้าง

มะกอก มะกอกป่า ผลมีรสเปรี้ยว ให้ผลตลอดปี ผลนำมะสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ สรรพคุณของมะกอก ช่วยขับปัสสาวะ แก้กระหาย ลดความดัน ลดความอ้วน บำรุงผิว โทษของมะกอกมีอะไรบ้ามะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอก

ต้นมะกอก เป็นไม้ยืนต้น พืชท้องถิ่นที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเอเชีย เช่น อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย มะกอกเป็นพืชที่ให้ผลได้ตลอดทั้งปี สำหรับมะกอกในประเทศไทย สามารถพบได้ทุกภูมิภาค พบมากในป่าเบญจพรรณและป่าแดง สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ต้นมะกอก มีชื่อสามัญ ว่า Hog plum ชื่อวิทยาศาสาตร์ของมะกอก คือ Spondias pinnata (L. f.) Kurz จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับมะม่วง ชื่อเรียกอื่นๆของมะกอก เช่น กูก กอกกุก กอกเขา ไพแซ กอกหมอง กราไพ้ย ไพ้ย ตะผร่าเหมาะ กอกป่า มะกอกไทย มะกอกป่า สือก้วยโหยว โค่ยพล่าละ แผละค้อก เพี๊ยะค๊อก ลำปูนล ตุ๊ดกุ๊ก ไฮ่บิ้ง เป็นต้น

ชนิดของมะกอก

สำหรับมะกอกในประเทศไทย พบว่ามีมะกอก 4 ชนิด คือ มะกอกป่า มะกอกฝรั่ง มะกอกน้ำ และ มะกอกโอลีฟ ซึ่งมะกอกฝรั่ง เป็นมะกอกที่มีผลรสหวาน นิยมนำมารับประทานสดเป็นผลไม้ ส่วนมะกอกน้ำนิยมนำมาดองและแช่อิ่ม และ มะกอกโอลีฟจะนำมาสกัดเอาน้ำมันมะกอก

ลักษณะของต้นมะกอก

ต้นมะกอก พืชตระกลูมะม่วง สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในเขตประเทศแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทย มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และ ป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทยด้วย เป็นไม้ยืน ลักษณะของต้นมะกอก มีดังนี้

  • ลำต้นมะกอก ลำต้นตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้าน เปลือกของลำต้นเป็นสีเทา ลักษณะเปลือกหนา เรียบ มีปุ่มปมเล็กน้อย มีรูอากาศตามลำต้น
  • ใบมะกอก เป็นใบประกอบ ลักษณะแบบขนนก มีชั้นเดียว เรียงสลับตามกิ่ง เนื้อใบหนา เป็นมัน ท้องใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบไม่เท่ากัน ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง
  • ดอกมะกอก ออกเป็นช่อ ลักษณะเป็นรูปถ้วย ดอกมะกอกออกที่ปลายกิ่ง และ ซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีครีม กลีบดอกเป็นรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมะกอกจะออกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
  • ผลมะกอก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผลสดมีเนื้อฉ่ำน้ำ เป็นสีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมสีเขียว หรือ สีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยวจัด มีเมล็ดเดี่ยวขนาดใหญ่และแข็งมาก ภายในผล ผิวเมล็ดลักษณะเป็นเสี้ยนและขรุขระ

คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก

สำหรับมะกอก มีรสเปรี้ยว สามารถนำมารับประทานแต่งรสชาติอาหาร และ นำมาสกัดทำน้ำมันมะกอก ซึ่ง ในมะกอกมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย พลังงาน กากใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอาซิน และ วิตามินซี

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 16.7 กรัม สารต้านอนุมูลอิสระ ( เบตาแคโรทีน ) 2,017 ไมโครกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม และ แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 16.7 กรัม แคลเซียม 49 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 53 มิลลิกรัม ยอดอ่อนของมะกอกนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด สรรพคุณของใบอ่อนมะกอก ใช้แก้โรคบิด แก้โรคธาตุพิการ แก้ท้องเสีย เป็นต้น

สรรพคุณของมะกอก

มะกอกสามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาก ทั้งด้านาการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย รวมถึงนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกายและความสวยงาม สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ผล เมล็ด โดยสรรพคุรของมะกอก มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะกอก มีรสฝาดเย็นเปรี้ยว สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยแก้อาการสะอึก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงทางเดินอาหาร แก้ท้องเสีย ช่วยสมานแผล แก้ปวดข้อ
  • ใบมะกอก มีรสฝาดเปรียว สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้หูอักเสบ แก้ปวดหู แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาอาการปวดท้อง รักษาอาการท้องเสีย
  • ผลมะกอก รสเปรี้ยว สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยแก้โรคขาดแคลเซียม แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้โรคน้ำกัดเท้า
  • เนื้อผลมะกอก มีรสเปรี้ยว สรรคุณช่วยแก้ธาตุพิการ รักษาอาการน้ำดีไม่ปกติ รักษากระเพาะอาหารพิการ
  • รากมะกอก มีรสฝาดเย็น สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดของมะกอก สรรพคุณ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาการสะอึก ช่วยขับปัสสาวะ

ประโยชน์ของมะกอก

การใช้ประโยชนืจากมะกอก โดยหลักๆจะนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นอาหารใช้รับประทานใบอ่อนเป้นผักสด และ ผลมะกอก ให้รสเปรี้ยว ใช้แต่งรสชทติของอาหาร นอกจากการนำมาทำเป็นอาหารรับประทานแล้ว ยางจากต้นมะกอกเป็นเมือก สามารถนำมาใช้ติดของแทนกวาได้ และ เนื้อไม้ของมะกอก เป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องไม้ขีด ทำกล่องใส่ของ หีบศพ เป็นต้น และผลของมะกอกสามารถนำมาสกัดทำ น้ำมันมะกอก ได้

น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก ( Olive Oil ) คือ น้ำมันี่สามารถสกัดจากผลมะกอก สามารถนำน้ำมันมะกอก ใช้ทำอาหารได้ และ ยังนำน้ำมันมะกอกมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่ พลาสเตอร์ น้ำมันนวด วัสดุอุดฟัน เป็นต้น

น้ำมันมะกอก ชนิดบริสุทธิ์พิเศษ ( Extra Virgin Olive Oil ) มีคุณสมบัติมากกว่าน้ำมันมะกอกทั่วไป เนื่องจาก กระบวนการผลิตที่แตกต่าง ทำให้คงคุณค่าและสารอาหารจากมะกอกได้มาก น้ำมันมะกอก มีประโยชน์ต่อร่างกาย สารอาหารสำคัญที่พบในน้ำมันมะกอก เช่น กรดไขมันต่างๆ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก

สำหรับการใช้นำมันมะกอกมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยประโยชน์ของน้ำมันมะกอก มีดังนี้

  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคไขมันในเลือดสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ช่วยลดน้ำหนัก น้ำมันมะกอกมีไขมันต่ำ ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีน้ำมันมะกอกมีน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่าผู้ที่บริโภคอาหารไขมันต่ำตามมาตรฐานทั่วไป
  • ช่วยลดความดันโลหิต ในน้ำมันมะกอกช่วยลดความดันโลหิต และช่วยปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระดับที่ไม่รุนแรงมาก
  • รักษาอาการท้องผูก น้ำมันมะกอกใช้รักษาภาวะท้องผูก การถ่ายอุจจาระไม่สุด อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ขับถ่ายลำบาก
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ มี สารไลโคปีน ( Lycopene ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยป้องกันโรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาผิวแตกลาย น้ำมันมะกอกสามารถทำให้ผิวพรรณเกิดความชุ่มชื่น ทำให้การบำรุงผิวพรรณดี ให้เต่งตึงลดการเกิดผิวแตกลายในผู้หญิงตั้งครรภ์

โทษของมะกอก

การใช้ประโยชน์จากมะกอก โดยเฉพาะน้ำมันมะกอก หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธีจะช่วยให้ร่างกายดีแต่หากใช้ไม่เหมาะสมก็เกิดโทษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการใช้มะกอก มีดังนี้

  • น้ำมันมะกอก สามารถรับประทานได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม คือ วันละ 2 ช้อนโต๊ะ สูงสุดไม่เกิน 1 ลิตรต่อสัปดาห์
  • การใช้น้ำมันมะกอกบำรุงผิวหนัง หากใช้มากเกิดไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร ควรระมัดระวังในการใช้น้ำมันมะกอก และ ไม่บริโภคน้ำมันมะกอกมากเกินไป
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน น้ำมันมะกอกสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ
  • สำหรับผู้ป่วนที่เข้ารับการผ่าตัด น้ำมันมะกอกอาจส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดลด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระหว่างการผ่าตัด ควรหยุดใช้น้ำมันมะกอกประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

มะกอก มะกอกป่า คือ พืชพื้นเมืองของไทย ผลมีรสเปรี้ยว ให้ผลตลอดปี สามารถนำมะสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ สรรพคุณของมะกอก เช่น ขับปัสสาวะ แก้กระหาย ลดความดัน ลดความอ้วน บำรุงผิว โทษของมะกอกมีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove