ต้นเผือก Taro สมุนไพร คาร์โบไฮเดรตสูง ทดแทนข้าวได้ ต้นเผือกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย โทษของเผือกเผือก ต้นเผือก ประโยชน์ของเผือก สรรพคุณของเผือก

เผือก มีชื่อสามัญว่า  Taro ชื่อวิทยาศาสตร์ของเผือก คือ Colocasia esculenta (L.) Schott จัดเป็นพืชตระกูลบอน ชื่อเรียกกอื่นๆของเปือก คือ โอ่วไน โอ่วถึง โทวจือ เป็นต้น สำหรับสายพันธ์ของต้นเผือกนั้นมีมากกว่า 200 สายพันธุ์

ต้นเผือก มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ปัจจุบันมีการเพาะปลูกกันมากทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน อินเดีย แอฟริกา และในหมู่เกาะในอเมริกากลาง สำหรับ ประเภทของเผือก สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเอดโด ( eddoe ) และ ประเภทแดชีน ( dasheen ) สำหรับ เผือกในเมืองไทย นิยมปลูกกัน 4 สายพันธ์ คือ เผือกหอม เผือกเหลือง เผือกไหหลำ และ เผือกตาแดง

เผือกในประเทศไทย

จากเนื้อหาข้างต้นที่กล่าวถึง สายพันธ์เผือก ในประเทศไทย มี 4 สายพันธ์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เผือกหอม เป็นเผือกประเภทแดซีน ( dasheen type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดของหัวใหญ่ มีกลิ่นหอม หนัก ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบใหญ่  นิยมปลูกเพื่อรับประทาน และ เพื่อการค้า
  • เผือกเหลือง เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddone type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวเล็ก เปลือกของหัวสีเหลือง ไม่นิยมนำมารับประทาน
  • เผือกตาแดง เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddone type ) ลักษณะเด่น คือ ปลายหัวจะมีสีแดง มีลูกเผือกจำนวนมาก ใบเล็ก สีแดง ไม่นิยมนำมารับประทาน
  • เผือกไหหลำ เป็นเผือกประเภทเอดโด ( eddoe type ) ลักษณะเด่น คือ ขนาดหัวเล็ก หัวเผือกเป็นทรงกระบอก เรียวยาว ไม่นิยมรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของเผือก

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเผือก ซึ่งพบว่าเผือกมีสารอาหารต่างๆมากมาย โดยได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ และ ใบเผือก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของหัวเผือกดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 112 กิโลแคลอรี  มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 26.46 กรัม น้ำตาล 0.40 กรัม กากใยอาหาร 4.1 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม น้ำ 70.64 กรัม วิตามินA 76 หน่วยสากล วิตามินB1 0.095 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.025 มิลลิกรัม วิตามิน B3 0.600 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.303 มิลลิกรัม วิตามิน B6 0.283 มิลลิกรัม วิตามิน B9 22 ไมโครกรัม วิตามิน C 4.5 มิลลิกรัม วิตามินE 2.38 มิลลิกรัม วิตามินK 1.0 ไมโครกรัม แคลเซียม 43 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.55 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 33 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.383 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 84 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 591 มิลลิกรัม โซเดียม 11 มิลลิกรัม สังกะสี 0.23 มิลลิกรัม ทองแดง 0.172 มิลลิกรัม และ ซีลีเนียม 0.7 ไมโครกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบเผือกขนาด ต่อ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัม น้ำตาล 3 กรัม กากใยอาหาร 3.7 กรัม ไขมัน 0.74 กรัม โปรตีน 5 กรัม วิตามินเอ 241 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 2,895 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,932 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.209 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.456 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.513 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.146 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 129 ไมโครกรัม วิตามินซี 52 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.02 มิลลิกรัม วิคามินเค 108.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 107 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.714 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 60 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 648 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นเผือก

ต้นเผือก พืชล้มลุก มีอายุหลายปี มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน วิธีขยายพันธุ์เผือก สามารถขยายพันธ์ได้ 4 วิธี คือ การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ การใช้หัวพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยลักษณะของต้นเผือก มีลักษณะ ดังนี้

  • หัวของเผือก มีลักษณะกลม สีน้ำตาล มีขนาดใหญ่ ขนาดและรูปร่างของหัวเผือแตกต่างกันตามพันธ์ของเผือก เผือกมีลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร
  • ใบเผือก ใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ลักษณะของใบ เป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบกลม ใบยาวถึง 1 เมตร
  • ดอกเผือก จะออกดอกเป็นช่อ เป็นออกเดี่ยว หรือ หลายๆช่อ ช่อดอกสั้นกว่ากาบ ดอกจะทยอยบานเรื่อย ๆ
  • ผลเผือก เป็นสีเขียว เปลือกบาง ไม่มีเมล็ด

ประโยชน์ของเผือก

สำหรับประโยชน์ของเผือก นั้น สามารถนำมาทำเป็นอาหาร บำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค โดย ใบของเผือกสามารถรับประทานเป็นผัก ส่วนหัวของเผือกสามารถนำมาทานแทนข้าวได้ ส่วนประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคจะกล่าวในส่วนของเนื้อหาเรื่องสรรพคุณของเผือก

สรรพคุณของเผือก

เผือกนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค ได้ ทั้งส่วนของ หัวเผือก ใบ และ ก้านใบ โดยลักษณะ ดังนี้

  • หัวเผือก สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาลดไข้ ช่วยป้องกันฟันผุ บำรุงกระดูก ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องเสีย ช่วยบำรุงไต
  • ใบของเผือก สรรพคุณใช้ รักษาบาดแผล แก้ปวด ลดอาการอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • น้ำยางของเผือก สรรพคุณใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • กาบใบของเผือก สรรพคุณใช้ รักษาบาดแผล แก้พิษจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด ลดอาการอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของเผือก

สำหรับการบริโภคและการใช้ประโยชน์จาเผือก มีข้อควรระวังอยู่บ้าง คือ ต้นเผือกทั้งต้น มีผลึกแคลเซียมออกซาเลต ( Calcium oxalate ) มีฤทธิ์ทำให้คัน ไม่ควรรับประทานเผือกแบบดิบๆ ซึ่งการกินเผือกแบบดิบๆ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ คันในช่องปาก ทำให้ลิ้นชา ได้

ต้นเผือก ( Taro ) คือ พืชล้มลุก สมุนไพร ใช้เป็นอาหาร บำรุงร่างกาย ต้นเผือกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของเผือก ประโยชน์ของเผือก สรรพคุณของเผือก บำรุงร่างกาย แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย โทษของเผือก เรื่องน่ารู้ทั้งหมดเกี่ยวกับเผือก

ชะคราม ( Seablite ) พบได้ตามชายทะเล ใบชะครามนิยมนำมาทำอาหาร มีรสเค็ม คุณค่าทางอาหารของชะคราม ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษาคอพอก บำรุงสายตาชะคราม ใบชะคราม สรรพคุณของชะคราม ประโยชน์ของชะคราม

ต้นชะคราม มีชื่อสามัญว่า Seablite ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะคราม Suaeda maritime (L.) Dumort. จัดเป็นพืชในตระกูล Chenopodiaceae  ชื่อเรียกอื่นๆของชะคราม คือ ชักคราม ส่าคราม ชั้วคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น ต้นชะครามถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และ ทุกๆพื้นที่ทีีติดกับทะเล เจริญเติบโตได้ดีตามป่าโกงกาง ชายทะเล และ นาเกลือ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาของชะคราม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.81% ไขมัน 0.15% กากใยอาหาร 2.40% คาร์โบไฮเดรต 2.97% แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม และ 1,265 ไมโครกรัม

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของใบชะคราม พบว่ายังมีสารอาหารสำคัญแต่เจือจางลงไปบ้าง ในการศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของใบชะครามลวก ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.58% ไขมัน 0.15% กากใยอาหาร 2.10% คาร์โบไฮเดรต 2.49% แคลเซียม 43.27 มิลลิกรัม
โซเดียม 1,656 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม 1,265 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นชะคราม

สำหรับ ต้นชะคราม เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี การขยายพันธ์ใช้การปักชำ มีลำต้นแตกกิ่งทรงพุ่มขนาดเล็ก จัดว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง แต่ เติบโตเฉพาะพื้นที่ติดกับทะเล ลักษณะของต้นชะครามมี ดังนี้

  • ลำต้นชะคราม สูงประมาณไม่เกิน 150 เซ็นติเมตร ลำต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีน้ำตาลอมแดง ผิวของลำต้นเป็นตุ่มๆ เนื้อไม้อ่อน
  • รากของชะคราม มีรากแก้วแทงลึกลงดิน และรากแขนง
  • ใบชะคราม เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นทรงกระบอกเกือบกลม เรียวยาว ปลายใบแหลม ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ต่อมาที่เจริญเต็มที่จะมีสีเทาเงินอมเขียว ใบชะครามแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือ สีคราม
  • ดอกชะคราม ออกเป็นช่อ ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกชะครามอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ส่วนกลีบดอกชะครามแก่มีสีแดงเรื่อ
  • ผลชะคราม ทรงกลม ขนาดเล็ก เปลือกผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ส่วนเปลือกผลแก่มีสีน้ำตาล ด้านในผลชะครามมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์ชะคราม

สำหรับประโยชน์ของชะครามนั้นนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ให้รสชาติเค็ม  นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของแกงส้ม แกงมัสมั่น เป็นต้น ส่วนใบของชะครามมีสรรพคุณทางยามากมาย นำมาสะกัดน้ำมันเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ผมเงางาม

สรรพคุณชะคราม

สำหรับประโยชน์ของชะครามในด้าน การบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรคนั้น สามารถแยกสรรพคุณของส่วนต่างๆของชะครามได้ ดังนี้

  • ใบของชะคราม ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้อาการตามัว รักษากลากเกลื้อน แก้อาการผื่นคัน ลดอาการบวมของแผล ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย รักษารากผม แก้ผมร่วง
  • รากของชะคราม ใช้เป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภายใน ดับพิษในกระดูก แก้น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง และ รักษาเส้นเอ็นพิการ
  • ลำต้นของชะคราม รักษารากผม แก้ผมร่วง

น้ำมันชะคราม

สำหรับคุณสมบัติขงน้ำมันชะคราม ใช้ดูแลเส้นผมทำให้ผมเงางาม ลดการหลุดร่วง วิธีทำน้ำมันชะคราม เตรียมวัตถุดิบ ประกอบด้วย ใบชะคราม 2 กิโลกรัม เนื้อมะพร้าวขูด 5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 5 ลิตร

วิธีทำน้ำมันชะคราม โดยนำใบชะครามมาต้มในน้ำเดือด จากนั้นคนมาคั้นน้ำทิ้ง เหลือกากของใบชะคราม ให้นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆและใส่เนื้อมะพร้าวขูดและคลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมน้ำเปล่าลงไป และ คั้นเอาน้ำของทั้งสามส่วน กรองด้วยผ้าขาวบาง และ นำไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนกระทั่งนำมันออกมา ช้อนเอาเฉพาะน้ำมัน และ กรองเอาเศษต่างๆออก ก็จะได้น้ำมันชะคราม

ชะคราม ( Seablite ) คือ สมุนไพร พืชล้มลุก ที่สามารถพบได้ตามพื้นที่ชายทะเล ใบชะครามนิยมนำมาทำอาหาร ใบมีรสเค็ม คุณค่าทางอาหารของชะคราม ประโยชน์และสรรพคุณของชะครามมีอะไรบ้าง ใบชะคราม  ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove