จำปา ( Champaca ) สมุนไพร ไม้ยืนต้น ดอกจำปามีกลิ่นหอม ประโยชน์ของจำปา สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ แก้เวียนหัว ต้นจำปาเป็นอย่างไร

จำปา สมุนไพร สรรพคุณของจำปา ประโยชน์ของจำปา

จำปา ( Champaca ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นจำปา คือ Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre สมุนไพร ไม้ยืนต้น ดอกจำปามีกลิ่นหอม ดอกสวย ประโยชน์ของจำปา สรรพคุณของจำปา ช่วยบำรุงเลือด บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ แก้เวียนหัว ต้นจำปาเป็นอย่างไร

ต้นจำปา สมุนไพร ไม้ยืนต้น เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ดอกสวย สรรพคุณ ช่วยบำรุงเลือด บำรุงระบบประสาท บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ ขับปัสาวะ เป็นยาระบาย แก้เวียนหัว แก้อาเจียน  ต้นจำปา เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน อินเดีย ไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถนำมาใช้ประโยชน์จากไม้ได้

ประโยชน์ของต้นจำปา

  • ดอกจำปา มีกลิ่นหอมนำมาแต่งกลิ่นของอาหาร
  • ดอกจำปามีสีสวยและมีกลิ่นหอม นิยมนำมาประดับตกแต่ง เพิ่มความสวยงามฅ
  • ต้นจำปาเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ สามารถใช่ให้ร่มเงาได้ดี
  • ดอกจำปามีกลิ่นหอม สามารถนำมาสกัดน้ำมันดอกจำปา เพื่อเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ต่างๆ
  • เนื้อไม้ต้นจำปา สามารถนำมาทำบ้าน เฟอร์นิเจอร์ หีบ ห่อ เรือ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าต้นจำปาเป็นประโยชน์ เรามาทำความรู้จักต้นจำปากันว่า เป็นอย่างไร ต้นจำปา ภาษาอังกฤษ เรียก Champaca ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นจำปา คือ Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre ชื่อเรียกอื่นๆของต้นจำปา อาทิเช่น จำปาเขา, จำปาทอง, จำปาป่า, จุ๋มป๋า, จำปากอ, มณฑาดอย เป็นต้น

ลักษณะของต้นจำปา

ต้นจำปา เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำในระดับปานกลาง ไม่ชอบที่น้ำขัง ชอบดินร่วน โปร่ง ต้นจำปาสูงประมาณ 30 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีแตกก้านมาก เปลือกของลำต้นมีสีเทา เปลือกมีกลิ่นฉุน ใบของต้นจำปา เป็นใบเดี่ยว ทรงรี ปลายใบแหลม ใบบาง มีขน สีเขียว ดอกของต้นจำปา เป็นดอกเดี่ยว สีเหลือง ดอกออกที่ซอกใบ ผลของต้นจำปา ลักษณะของผลกลม ขนาด 1 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์ของจำปา

ต้นจำปาสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย การเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง และการตอนกิ่ง แต่การเพาะเมล็ดจะง่ายกว่า เนื่องจาก ลำต้นจะตั้งตรง ระบบรากจะแข็งแรง โตเร็ว ต้นจำปาชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด

สรรพคุณของต้นจำปา

ต้นจำปา สามารถนำมาใช้ประโยชนืทางสมุนไพร ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ดอก เปลือก ราก ไม้ ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณของจำปา ด้านสมุนไพร และการรักษาโรค มีดังนี้

  • ใบของต้นจำปา แก้โรคเส้นประสาทพิการ แก้ป่วงของทารก แก้ไอ รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • ดอกของต้นจำปา ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยบำรุงประสาท แก้วิงเวียนศีรษะ ลดอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการหน้ามืด บำรุงหัวใจ กระจายโลหิต ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ รักษาอาการคลื้นไส้ บรรเทาอาการอักเสบ ช่วยขับลม ช่วยขับปัสสาวะ  ช่วยแก้โรคไต ช่วยรักษาโรคเรื้อน ช่วยรักษาโรคปวดตามข้อ ช่วยระงับอาการเกร็ง
  • เปลือกต้นของต้นจำปา ช่วยแก้คอแห้ง ฝาดสมาน ลดไข้
  • รากของต้นจำปา เป็นยาถ่าย ทำให้ประจำเดือนมาปกติ รักษาโรคปวดตามข้อ ขับน้ำคาวปลา ช่วยขับเลือดเน่าเสีย
  • ผลของต้นจำปา ช่วยบำรุงธาตุ รักษาอาการคลื้นไส้ ขับปัสสาวะ ช่วยรักษาแผลที่เท้า
  • เมล็ดของต้นจำปา ช่วยบำรุงธาตุ รักษาอาการคลื้นไส้ ขับปัสสาวะ ช่วยรักษาแผลที่เท้า
  • เนื้อไม้ของต้นจำปา บำรุงโลหิต ช่วยรักษาโรคเรื้อน ช่วยบำรุงประจำเดือนของสตรี
  • เปลือกของรากต้นจำปา เป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ

จำปา ( Champaca ) สมุนไพร ไม้ยืนต้น ดอกจำปามีกลิ่นหอม ดอกสวย ประโยชน์ของจำปา สรรพคุณของจำปา ช่วยบำรุงเลือด บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ แก้เวียนหัว ต้นจำปาเป็นอย่างไร

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove