โรคตาแดง conjuntiva เยื่อบุตาอักเสบ มี 2 แบบ ตาแดงเฉียบพลัน และ ตาแดงเรื้อรัง เกิดจากอาการป่วยไข้ อดนอน ร้องไห้อย่างหนัก การไออย่างรุนแรง การขยี้ตา รักษาอย่างไรโรคตาแดง ดวงตาอักเสบ โรคตา โรคติดต่อ

โรคตาแดงเป็นโรคตาชนิดหนึ่ง เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ ( conjuntiva ) โรคตาแดงที่พบมี 2 แบบ คือ โรคตาแดงเฉียบพลัน และ โรคตาแดงแบบเรื่อรัง โรคตาแดง คือ ภาวะตาขาวเป็นสีแดงผิดปรกติ ซึ่งมีสาเหตุของการเกิดโรคหลายสาเหตุ เช่น อาการป่วยไข้  อดนอน ร้องไห้อย่างหนัก การไออย่างรุนแรง การขยี้ตา เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้อาการต่างๆเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดอาการตาแดง คือ เยื่อตา บริเวณตาขาว เกิดการอักเสบ จากการติดเชื้อโรค

สาเหตุของโรคตาแดง

สาเหตุของภาวะตาแดง เกิดจากปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น โดยสาเหตุที่ทำให้เยื้อตาอักเสบ คือ เกิดจากติดเชื้อ แต่เชื้อเหล่านี้ร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้ และจะหายไปเองภายใน 14 วัน  ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา การใช้น้ำตาเทียม การใช้เครื่องสำอาง โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัส

อาการของโรคตาแดง

สำหรับอาการของโรคตาแดง  อาการที่เห็นชัด คือ คันตา ขี้ตาใสเหมือนน้ำตา ขี้ตาเป็นเมือกขาว ขี้ตาเป็นหนอง ตาแดง หากพบว่าตาเป็นสีแดง มีอาการคัน และมีขี้ตาลักษณะดังกล่าวมาในข้างต้น สันนิฐานได้เลยว่าเป็นตาแดง โดยเราจะแยกอาการของการเกิดโรคตาแดงเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ดังนี้

  • อาการคันที่ตา ซี่งมักจะเกิดจากการเกิดโรคภูมิแพ้ โดยการคันตานั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาการแพ้ว่าจะมากหรือน้อย  และ สาเหตุหนึ่งของอาการคันตาที่ไม่ใช่สาเหตุของภูมิแพ้ จะเกิดจาก โรคหอบหืด หรือ อาการผื่นคัน
  • ขี้ตามีลักษณะใส จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือ โรคภูมิแพ้
  • ขี้ตามีลักษณะเป็นเมือกขาว จะเกิดจากตาแห้ง หรือ อาการของโรคภูมิแพ้
  • ขี้ตามีลักษณะเป็นหนอง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • อาการตาแดงที่เกิดขึ้นกับตาทั้ง 2 ข้าง หรือ ข้างใดข้างหนึ่ง ลักษณะอาการเช่นนี้จะเกิดกับอาการของโรคภูมิแพ้
  • อาการปวดตา หรือ มีอาการสายตาสู้แสงแดดจ้าไม่ได้ เป็นอาการตาแดงที่มีสาเหตุจากโรคอื่นๆ เช่น โรคต้อหิน อาการม่านตาอักเสบ เป็นต้น หากพบว่ามีอาการปวดที่ตา ให้รีบพบแพทย์ด่วน
  • อาการสายตาพล่ามัว หากแม้ว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์

การรักษาโรคตาแดง

สำหรับโรคตาแดง นั้นโดยปรกติแล้วร่างกายจะรักษาตัวเอง อาการตาแดงจะหายไปได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตาแดงมากระทบซ้ำ โดยแนวทางในการรักษาโรคตาแดง มีดังนี้

  1. ในกรณีโรคตาแดงที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเชื้อแบคทีเรีย จะใช้ยาปฏิชีวนะ ประกอบด้วย ยาหยอดตา หรืออาจจะมียาป้ายตา ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องยาแบบฉีดและรักปรทานร่วมด้วย
  2. ในกรณีโรคตาแดงที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเชื้อไวรัส จะใช้ยาต้านไวรัส และให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดอาการคัน ยาแก้ปวด ส่วนมากการตาแดงจากเชื้อไวรัสมักจะหายได้เอง
  3. ในกรณีเป็นโรคตาแดงที่มีสาเหตุจากโรคภูมิแพ้ แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้

การป้องกันโรคตาแดง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคตาแดง ให้รักษาสุขภาพให้แข็งแรง และ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดอาการอักเสบหรือ  ระคายเคืองที่เยือตา โดยเราได้แยกออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  1. ไม่ควรใช้เครื่องสำอาง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น
  2. ล้างมือให้บ่อย
  3. ใส่แว่นป้องกันในการทำกิจกรรมต่างๆที่จะมีสารมาระคายเคืองดวงตา
  4. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคตาแดง
  5. อย่าใช้ยาหยอดตาของผู้อื่น
  6. อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน
  7. อย่าสัมผัสมือ ของผู้ป่วยโรคตาแดง

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทอง
ฟักทอง
มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของมะรุม
มะรุม
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม

โรคตาแดง ( conjuntiva ) เกิดจากเยื่อบุตาอักเสบ มี 2 แบบ คือ โรคตาแดงเฉียบพลัน และ โรคตาแดงแบบเรื่อรัง วิธีรักษาโรคตาแดง สาเหตุของการเกิดโรค เช่น อาการป่วยไข้ อดนอน ร้องไห้อย่างหนัก การไออย่างรุนแรง การขยี้ตา เป็นต้น

 

ต้อกระจก Cataract ภาวะแก้วตาเสื่อม เกิดแก้วตาที่ขุ่นลง ทำให้ขัดขวางไม่ให้แสงเข้าตา การมองเห็นภาพจึงไม่ชัด ต้อกระจกมีกี่ชนิด แนวทางการรักษาและป้องกันอย่างไร

ต้อกระจก โรคตา มองไม่ชัด รักษาโรคตา

โรคต้อกระจก คือ ภาวะแก้วตาเสื่อม ซึ่งปรกติแก้วตาจะใส แต่แก้วตากลับขุ่น การที่แก้วตาที่ขุ่นลง มีผลให้กำลังเกิดการขัดขวางไม่ให้แสงเข้าตา การมองเห็นภาพไม่ชัด โรคต้อกระจกนี้ เป็นโรคทางตา ที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ต้อกระจกเกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร เรารวบรวมความรู้โรคตามาเสนอต่อท่านตามความรู้ด้านล่างแล้ว

สาเหตุของการเกิดต้อกระจก

การเกิดต้อกระจกนั้น ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยทั้งหมด เกิดจากการเสื่อมสภาพของดวงตาตามวัย แต่พบว่ายังมีอีก ร้อยละ 20 ที่สาเหตุของการเกิดโรคมาจากสาเหตุอื่น รายละเอียดมีดังนี้

  • การเกิดต้อกระจกแต่กำเนิด
  • การเกิดต้อกระจกจากอุบัติเหตุ การถูกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
  • การเกิดต้องกระจกจากความผิดปกติของตาเอง เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ เป็นต้น
  • การเกิดต้อกระจกจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดความอ้วน ยาหยอดตา
  • การเกิดต้อกระจกจากการถูกรังสีบางอย่างกระทบที่ตาเป็นเวลานาน
  • การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วกว่าปรกติ รวมถึงสุขภาพดวงตาด้วย

สาเหตุของต้อกระจก

สาเหตุของภาวะแก้วตาขุ่น หรือ โรคต้อกระจก มีหลายสาเหตุแตกต่างกันออกไปตามช่วงอายุของผู้ป่วย ตามช่วงอายุ ดังนี้

  • ในผู้ป่วยที่มีต้อกระจกโดยกำเนิด เกิดจากมารดาติดหัดเยอรมันในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือบางทีเป็นกรรมพันธ์ และ โภชนาการของเด็กไม่ดี เรียกว่าขาดสารอาหาร
  • ในผู้ป่วยต่อกระจกในช่วงวัยรุ่น อาจเกิดจากอุบัตติเหตุ ที่ถูกกระทบกระเทือนดวงตาอย่างรุนแรง ในบางครั้งต้อกระจกจะเกิดขึ้นหลังจากเกิดอุบัติเหตุแล้ว 2-3 ปี
  • ในผุ้ป่วยวัยกลางคนขึ้นไป พบว่าสาเหตุของต้อกระจกมาจาก โรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคที่เกิดกับดวงตา ไม่ว่าจะเป็น ม่านตาอักเสบ หรือโรคอื่นๆทางตา  และการใช้ลาในกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น ยาเพรดนิโซโลน Predisposition ซึ่งเป็นยาสำหรับรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืด โรคไต และโรคข้อ

อาการผู้ป่วยโรคต้อกระจก

อาการของโรคต้อกระจกที่พบ คือ สายตาจะค่อยๆมัวลงอย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการเจ็บปวด โดยอาการพล่ามัว จะมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ๆมีแสงสว่างจัด แต่มองเห็นปรกติในที่มืด ในผู้ป่วยบางราย ความสามารถในการมองเห็นผิดปรกติ เช่น มองเห็นพระจันทร์สองดวง การอ่านหนังสือต้องใช้แว่นช่วยอ่าน แต่อยู่ๆสามารถอ่านได้โดยไม่ต้องใช้แว่น หากพบว่ามีอาการผิดปรกติ ลักษณะดังที่กล่าวมาในข้างต้น ควรรีบพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพดวงตา

เป็นต้อกระจกมีอาการอย่างไร  คือ สายตาจะค่อยๆมัวลงทีละน้อย ไม่มีอาการปวดตา ไม่มีอาการตาแดง และสายตาจะมัวมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงส่วางมาก อาการสายตามัวในเวลากลางวันและมองเห็นชัดในเวลากลางคืน มีฝ้าขาวบริเวณม่านตา หากเห็นว่ามีอาการลักษณะนี้ ควรพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจอาการและรักษาได้ทันท่วงที

การรักษาโรคต้อกระจก

ต้อกระจกรักษาอย่างไร ในปัจจุบันสามารถรักษาโรคต้อกระจกได้โดยลอกต้อกระจกและการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเทียม เครื่องมือสมัยนี้ทันสมัยมีความปลอดภัยสูง การรักษาโรค ต้องหาสาเหตุของโรคต้อก่อน ซึ่งการพิจารณาการรักษาต้อกระจกจะมี4 ลักษณะ ดังนี้

  • หากต้อกระจกที่เกิดขึ้นมายังเป็นน้อยอยู่ และยังไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวันมากนัก แพทย์จะให้รอให้ต้อกระจกแก่กว่านี้ จึงค่อยทำการผ่าตัด แต่หากมีความผิดปรกติกับดวงตา เช่น ตาแดง ปวดตา ตาพล่ามัวรวดเร็ว ให้รีบพบแพทย์ทันที
  • หากเกิดต้อกระจกในระยะปานกลาง สามาถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของคนไข้เอง
  • หากเกิดในระยะที่เป็นมากแล้ว ระยะนี้เรียก ว่า ต้อกระจกแก่ หรือ ต้อกระจกสุกแล้ว หากพร้อมสำหรับการผ่าตัด ให้สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อกระจกได้

สำหรับคนที่ไม่เข้ารับการรักษาต้อกระจก ต้องระวังโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดกับดวงตา เช่น โรคต้อหิน ม่านตาอักเสบ ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้

วิธีป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก

สำหรับโรคต้อกระจกนี้ เกิดจากสาเหตุหลักคือ การเสื่อมของตาตามอายุ ซึ่งการป้องกันนั้นไม่สามารถป้องกันได้อย่งาเด้ดขาด แต่สิ่งที่ทำได้คือ ป้องกันไม่ให้เกิดการเสื่อมก่อนวัยอันควร โดยให้หลีกเลี่ยงการเกิดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

  • ไม่ควรใช้ยาในกลุ่มสเตีนชยรอยด์เป็นเวลานานๆ รวมถึงยาลดความอ้วนบางชนิด
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดกับดวงตา
  • หากอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา ให้ใส่เครื่องป้องกันอย่างถูกต้องก่อนปฏิบัติการ
  • หากจำเป็นต้องออกนอกสถานที่ ที่มีแสงแดดจัด ให้ใส่แว่นกันแดดป้องกันแสง
  • ให้พักสายตาเป็นระยะ ไม่ใครใช้สายตาหนักๆ เป็นเลานานๆติดต่อกัน
  • ไม่ควรสูบบุหรี่และการดื่มสุรา
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • การใช้ยาที่เกี่ยวกับดวงตา ต้องเป็นยาที่แพทย์สั่งเท่านั้น อย่าซื้อยามาใช้เอง
  • หากอายุเกิน 40 ปี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจะปี

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรสเสาวรส
ฟักทอง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักทองฟักทอง
มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของมะรุม
มะรุม
ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือย
ลูกเดือย
ลูกยอ ต้นยอ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ยอ
ผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม

ต้อกระจก ( Cataract ) ภาวะแก้วตาเสื่อม เกิดแก้วตาที่ขุ่นลงส่งผลให้เกิดการขัดขวางไม่ให้แสงเข้าตา การมองเห็นภาพจึงไม่ชัด โรคนี้เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ต้อกระจกมีกี่ชนิด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove