ตาบอดสี Color blindness ภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ รักษาไม่ได้และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่รักษาโรคตาบอดสีได้ ตาบอดสีมีกี่ชนิด แนวทางการรักษาอย่างไรโรคตาบอดสี โรคตา โรคไม่ติดต่อ มองไม่เห็นสี

ตาบอดสี  ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Color blindness เป็นสภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ ไม่ใช่การมองไม่เห็น โรคตาบอดสีนี้เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใดที่สามารถรักษาโรคตาบอดสีได้ ภาวะตาบอดสีนี้ พบในผู้ชาย 8% และผุ้หญิง 0.4%

สำหรับการมองเห็นสีของคนเรา มี 2 ส่วน คือ คลื่นแสงสีต่างๆ และ เซลล์รับรู้การเห็นสีที่จอตา โดยจอตาของคนเรานั้นมีเซลล์รับรู้การเห็นสีอยู่ 2 ชนิด คือ Rod และ Cone เรามาทำความรู้จักกับเซลล์ทั้ง 2 ชนิด

  • เซลล์รูปแท่ง เราเรียกว่า รอด ( Rod ) ในดวงตาแต่ละข้างจะมีประมาณ 125 ล้านเซลล์ เซลล์จะกระจายขอบของจอตา ทำหน้าที่มองเห็นในที่สลัวๆ สำหรับคนที่จอตาเสื่อม ในจุดขอบจอตา จะทำให้เกิดโรคตาฟาง ซึ่งเซลล์รูปแท่ง ไม่ใช่ส่วนที่ทำให้มองเห็นสี
  • เซลล์รูปกรวย  เราเรียกว่า โคน ( Cone ) ในดวงตาแต่ละข้างจะมีประมาณ 7 ล้านเซลล์ อยู่บริเวณจอตาส่วนกลาง ทำหน้าที่สำหรับการมองเห็นในที่สว่าง หากจอตาส่วนกลางเสื่อม จะทำให้ตามัว และเห็นสีผิดปรกติ เรียกว่า ตาฟางกลางวัน เซลล์รูปกรวย มีอยู่ 3 ชนิด คือ เซลล์รูปกรวยสีแดง (Red cone) เซลล์รูปกรวยสีเขียว (Green cone) และ เซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน (Blue cone)

ความสามารถในการมองเห็นและแยกสีนั้น เซลล์รูปกรวย มีส่วนเป็นอย่างมาก

สาเหตุของโรคตาบอดสี

สาเหตุของความสามารถในการมองเห็นสีผิดปรกติ เกิดจากการถูกกระตุ้นเซลล์รับรู้การเห็นสี ทั้งแบบแท่งและแบบกรวย รวมถึงเกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ สามารถพบได้ร้อยละ 8 ของผู้ป่วย และพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สามารถสรุปสาเหตุได้ ดังนี้

  • ภาวะที่มองเห็นสีได้อย่างปกติ เซลล์ทั้งสามส่วนจะถูกกระตุ้นส่งสัญญาณและแปลสัญญาณสีออกมาได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Trichromatism
  • บางรายอาจจะมีเซลล์ดังกล่าวไม่ครบทั้ง 3 ชุด หรือชุดใดชุดหนึ่งทำงานผิดปกติ ทำให้เห็นสีเพี้ยนไปจากคนอื่น ๆ ภาวะนี้เรียกว่า Dichromatism ผู้ที่มีภาวะแบบนี้มักจะไม่รู้ตัวว่ามองเห็นเพี้ยนจากคนอื่น เพราะจะเกิดการรับรู้สีในแบบของตัวเอง
  • สำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสีอย่างรุนแรง จะมีเซลล์รับสีเพียงชุดเดียว เรียกว่า Monochromatism ซึ่งผู้มีอาการเช่นนี้จะมองเห็นภาพเป็นขาวดำ

ตาบอดสีมีกี่ชนิด

เราสามารถแบ่งชนิดของภาวะตาบอดสีได้ 2 ชนิด คือ ตาบอดสีเกิดขึ้นตั้งแต่เกิด และ ตาบอดสีเกิดขึ้นเมื่อภายหลังกำเนิด  โรคตาบอดสีสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

  • ตาบอดแต่กำเนิด เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูก เป็นการถ่ายทอดมากับ โครโมโซม เอ็กซ์ (X chromosome) แม่เป็นพาหะของการเกิดโรคตาบอดสี ตาบอดสีโดยกำเนิด นั้น เราสมารถแยกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเห็นสีเดียว กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด และ กลุ่มเซลล์รูปกรวย 3 ชนิด
    • กลุ่มเห็นสีเดียว เรียก Monochromatism เกิดจาการ ไม่มีเซลล์รูปกรวย หรือ มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินชนิดเดียว กลุ่มนี้ผู้ป่วยจะมองเห็นเพียงสีขาวดำ สายตามัวมากจนมองไม่เห็นสี สู้แสงไม่ได้
    • กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด เรียก Dichromatism หากไม่มีเซล์รูปกรวยสีแดง เรียก ตาบอดสีแดง ( Protanopia ) หากไม่มีเซลล์รูปกรวยสีเขียว เรียก ตาบอดสีเขียว ( Deuterano pia ) และหากไม่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน เรียก ตาบอดสีน้ำเงิน ( Tritanopia )
    • กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวยทั้ง 3 ชนิด เรียก Trichromatism เป็นกลุ่มของคนตาบอดสีที่พบได้มากที่สุด เกิดจากการพร่องของเซลล์รูปกรวยในบางสี หรือ ทั้งสามสี
  • ตาบอดสีเกิดขึ้นภายหลัง เป็นความผิดปกติของการมองเห็นสี เกิดโรคที่จอตา หรือ ประสาทตา รวมถึงสมองส่วนที่รับรู้การมองเห็น ซึ่งเกิดจากมีการสูญเสียเซลล์รูปกรวยชนิดต่างๆ จากการศึกษาพบว่า หากตาบอดสีจาก โรคจอตา มักจะสูญเสียการมองเห็น สีน้ำเงิน และ สีเหลือง และ หากเกิดตาบอดสีจาก โรคประสาทตา มักจะสูญเสียการมองเห็น สีแดง และ สีเขียว
    การมองเห็นสีผิดปกติ นอกจากเห็นสีผิดไปแล้วมักจะมี สายตา หรือ ลานสายตา ผิดปกติด้วย ความผิดปกติของการเห็นสีของตา 2 ข้างไม่เท่ากัน

เมื่อตาบอดสีต้องทำอย่างไร

หากเราพบเป็นภาวะตาบอดสี จะต้องปรับตัว ในการเรียนรู็การใช้สีต่างๆในชีวิต การเลือกวิชาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาวะตาบอดสี หมั่นตรวจสุขภาพดวงตาให้เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เราควรแจ้งให้คนรอบข้างทราบถึงสภาวะตาบอดสีของเราให้เขาทราบเพื่อจะได้ให้คนรอบข้างปรับตัวเข้ากับเรา

เมื่อคนในครอบครัว เกิดความผิดปกติในการเห็นสี ควรรีบพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ และเพื่อการปรับตัว เรียนรู้ในการใช้สีในชีวิตประจำวัน การเลือกอาชีพสำหรับคนตาบอดสี ต้องเลือกอาชีพที่สีไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน ควรแจ้งให้คนในครอบครัวและที่ทำงาน รวมถึงคนรอบข้างทราบ ว่าเรามีภาวะตาบอดสี

สำหรับคนทั่วไป ไม่เฉพาะคนที่มีภาวะตาบอดสี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปี หรือ ตามคำแนะนำของแพทย์

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้ง ผักบุ้ง
ปอผี สมุนไพร ผักกระเดียง สรรพคุณของปอผี
ปอผี
ผักกระเดียง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส

ตาบอดสี ( Color blindness ) คือ ภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ ไม่ใช่การมองไม่เห็น โรคตาบอดสีรักษาไม่ได้ และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใดที่สามารถรักษาโรคตาบอดสีได้ ตาบอดสี พบในผู้ชาย 8% และผู้หญิง 0.4% สภาวะตาบอดสี โรคเกี่ยวกับตา ตาบอดสีเป็นอย่างไร รู้ได้อย่างไรว่าตาบอดสี ตาบอดสีต้องทำอย่างไร ตาบอดสีมีกี่ชนิด โรคตา โรคตาบอดสี โรคเกี่ยวกับตา โรคเกี่ยวกับการมองเห็น

โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เกิดจากการกดข้อมือกับพื้นนานๆ ทำให้เกิดอาการปวดและชามือ พบมากในอาชีพที่ต้องพิมพ์คอมพิวเตอร์นาน ออฟฟิตซินโดรม พบบ่อยในกลุ่มคนทำงานโรคกดทับเส้นประสาทเอ็นข้อมือ โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคออฟฟิตซินโดรม

ภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เป็นกลุ่มอาการสำหรับคนทำงานออฟฟิต โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานในท่าใดท่าหนึ่ง เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบ โดยสาเหตุของอาการบาดเจ็บ มีองค์ประกอบหลักๆ 2 สาเหตุ คือ

  • เกิดจากสภาพแวดล้อมอุปกรณ์ในสำนักงานไม่เหมาะสำต่อสรีระของคนทำงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และ computer เป็นต้น รวมถึง เสียง แสงสว่าง ที่ส่งผลต่อ สายตา กล้ามเนื้อ และอาการปวดศรีษะ
  • เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวของคนทำงาน เช่น การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ

สำหรับกลุ่มอาการ ที่เกิดจากการทำงาน ที่เรียกว่า Office syndrome มีหลายอาการ เช่น โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ( Carpal tunnel syndrome)  หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท ( HNP ) กล้ามเนื้ออักเสบ ( Myofascial pain syndrome ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ ( tennis elbow ) กระดูกสันหลังยึดติด ( Lumbar dysfunction ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ ( golfer elbow ) เป็นต้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

สาเหตุของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

เกิดจากการใช้งานมือหนัก และโรคนี้ยังพบว่าจะเป็นโรคที่เกิดร่วมกับภาวะต่างๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย วัณโรค โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ โรคเบาหวาน เป็นต้น และ สาเหตุสำคัญของโรคนี้ คือ การใช้ข้อมือ และ มือ เช่น การคีย์คอมพิวเตอร์ โดยอาชีพที่มีความเสี่ยง คือ อาชีพเย็บปักถักร้อย ขับรถ การทาสี การเขียนหนังสือ การใช้เครื่องมือที่สั่น เช่น เครื่องเจาะถนน เป็นต้น  เมื่อเกิดการกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ และ มือ เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการอักเสบขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ 

  • เพศ จากการสำรวจ พบว่า เพศหญิงมีอัตราการเกิดมากกว่าเพศชาย
  • อายุ พบว่าคนในช่วงอายุ 35 ถึง 40 ปี เป็นวัยทำงาน มีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ
  • ลักษณะของข้อมือที่กลม ในคนที่มีลักษณะข้อมือกลม จะทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทได้ง่ายกว่าคนที่มีลักษณะข้อมือแบน
  • สตรีมีครรภ์ มีโอกาสเกิดการกดทับเส้นประสาทมากกว่าคนไม่ตั้งครรภ์
  • กลุ่มคนที่ต้องใช้การกระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย หรือ ทำงานที่มีการสั่นสะเทือนของมือและแขนเป็นเวลานาน เช่น กลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว คนซักผ้า พนักงานโรงงาน พนักงานขุดเจาะ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยกระดูกหักหรือเคลื่อนบริเวณข้อมือ
  • ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ โรคไทรอยด์

อาการของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

อาการที่พบ เมื่อเป็นโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ คือ ชาบริเวณมือ บางคนปวดบริเวณฝ่ามือ มีอาการปวดร้าวจากมือไปจนถึงข้อศอก ไม่มีแรงกำมือ สามารถแบ่งอาการให้ง่ายต่อการศึกษา ได้ดังนี้

  • ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด โดยเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว
  • อาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ บางครั้ง อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืนบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น

วิธีรักษาอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

  1. หลีกเลี่ยงกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้มือและข้อมือ
  2. ใส่เฝือกอ่อนดามบริเวณข้อมือ เพื่อลดการเคลือนไหวของมือและข้อมือ
  3. ใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบ เพื่อลดอาการปวด และบวม แต่ต้องใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ
  4. การทำกายภาพบำบัด การบริหารมือ
  5. ฉีดยาสเตรอยด์เข้าบริเวณข้อมือซึ่งพบว่าวิธีนี้ได้ 80%
  6. การผ่าตัด โดยวิธีเปิดแผลและตัดเอ็นที่อยู่ด้านหน้า เพื่อขยายช่องให้ใหญ่ขึ้น การผ่าตัด จะทำเมื่อมีอาการรุนแรง การผ่าตัดเยื่อหุ้มเอ็น บริเวณข้อมือ ให้แยกจากกัน สำหรับการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ให้ ยกมือสูงเพื่อลดอาการบวมหลังการผ่าตัด ทำความสะอาดแผลผ่าตัดให้สะอาด หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ และ หมั่นบริหารมือหลังการผ่าตัด เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และ ลดอาการบวม

สมุนไพรช่วยลดไข้ แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพร
หอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัว
สะระแหน่
ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว ประโยชน์ของฟักข้าว
ฟักข้าว
บุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุกบุก
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทย
ตะไคร้
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทย
ส้มโอ
กระเพรา สสมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกระเพรา
กระเพรา
แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนา
แคนา

โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เกิดจากมีการกดข้อมือกับพื้นนานๆ หรือ ใช้งานข้อมือหนัก ทำให้เกิดอาการปวดและชาบริเวณมือ นิ้วแม่ พบมากในอาชีพที่ต้องพิมพ์คอมพิวเตอร์นาน โรคออฟฟิตซินโดรม พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove