อัญชัน สมุนไพร โทษและสรรพคุณ มีอะไรบ้าง สีน้ำเงินจากธรรมชาติ

อัญชัน สมุนไพร สีม่วงผสมอาหารได้จากดอกอัญชัน สรรพคุณขับปัสสาวะ บำรุงผม บำรุงความงาม ทำเครื่องสำอางค์ บำรุงสายตา และช่วยให้ผมดกดำ ประโยชน์ของดอกอัญชันมีอะไรบ้าง

อัญชัน สมุนไพร ดอกไม้ สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัน ( Butterfly pea) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn พืชสมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณของอัญชัน ขับปัสสาวะ บำรุงผม ยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน บำรุงความงาม ทำเครื่องสำอางค์ สีผสมอาหาร สีม่วง ดอกอัญชัน สรรพคุณชั้นเลิศ บำรุงสายตา และช่วยให้ผมดกดำ มาทำความรู้จักกับอัญชันกันให้มากขึ้น ประโยชน์ของดอกอัญชันมีอะไรบ้าง

ต้นอัญชัน เป็นพืชผัก สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เขตร้อน และมีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา อัญชัน มีประโยชน์หลายด้าน สรรพคุณของอัญชัน ใช้ขับปัสสาวะ บำรุงเส้นผม และเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน ใช้บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์ ให้สีผสมอาหาร สีม่วง ดอกไม้สีม่วง ที่ประโยชน์หลากหลาย

อัญชัญ ภาษาอังกฤษ เรียก Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ ของอัญชัน เรียก Clitore ternatea Linn ชื่ออื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน เอื้องชัน เองชัญ ชื่อเรียกของอัญชัญจะเรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น อัญชันในวรรณคดี ในสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ ซึ่ง นิราศธารโศก และ มหาชาติคำหลวง

ลักษณะของต้นอัญชัน

อัญชัน เป็น ไม้เลื้อย สามารถปลูกตามรั้วบ้าน หรือปลูกเป็นซุ้ม สวยงาม ลำต้นของอัญชันจะมีขนนุ่ม ส่วนใบของอัญชัญจะเป็นช่อ ลักษณะใบจะเป็นรูปไข่ อัญชันที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดอัญชันดอกขาวกับอัญชันดอกน้ำเงิน และชนิดพันธุ์ทาง อัญชัญชนิดนี้จะมีสีม่วง ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างสีขาวกับสีน้ำเงิน

  • ลำต้น อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม
  • ใบอัญชัน ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
  • ดอกอัญชัน ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี
  • ผลอัญชัน ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

สรรพคุณของอัญชัน

อัญชัญสามารถนำมาทำเครื่องสำอางและนำมาทำเป็นยา นิยมนำดอก เมล็ด และรากมาใช้ประโยชน์

  • ดอกอัญชัน นิยมนำมาทำแชมพูสระผม ดอกอัญชันจะช่วยให้ ผมดกดำ ผมนุ่มสวย ดอกอัญชันนำมาคั้นให้สีม่วง ในการทำสีผสมอาหาร นิยมนำมาผสมขนมไทย เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมน้ำดอกไม้ นำมาทำน้ำอัญชัน
  • เมล็ดของอัญชัญ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน
  • รากของอัญชัญ มีรสขม นำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และทำยาระบาย แก้อาการปวดฟัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  • ใบของอัญชัน ช่วยขับปัสสาวะ  ช่วยบำรุงสายตาและอาการตาแฉะได้

ข้อควรระวังในการบริโภคอัญชัน

          ดอกอัญชัน หากบริโภคมากเกิน จะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เนื่องจากไตต้องทำการขับสารสีของอัญชันออก และผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง ไม่ควรจะรับประทานอัญชัน เพราะดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจาง และไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรอัญชันในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เพราะอาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ประโยชน์ของอัญชัน

  • ควรดื่มทันทีเมื่อทำเสร็จ เพื่อรักษาคุณค่าทางสารอาหารและยา
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรในอุณหภูมิที่ร้อนจัด หรือมีอุณหภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป เพราะอาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งและสารอื่น ๆได้ง่าย
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรใด ๆ ชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี

แม้ว่าดอกอัญชันจะเป็นสมุนไพรชั้นยอด แต่ก็มีโทษ ถ้าหากบริโภคมากเกินไป ไม่แนะนำให้ดื่มน้ำอัญชันสีเข้มเกินไป เพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคโลหิตจางก็ไม่ควรดื่มน้ำอัญชัน หรือ อาหารจากดอกอัญชัน  เพราะในดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย

อัญชัน สมุนไพร สีม่วงผสมอาหารจากดอกอัญชัน สรรพคุณของอัญชัน ขับปัสสาวะ บำรุงผม ยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน บำรุงความงาม ทำเครื่องสำอางค์  สรรพคุณชั้นเลิศ บำรุงสายตา และช่วยให้ผมดกดำ มาทำความรู้จักกับอัญชันกันให้มากขึ้น ประโยชน์ของดอกอัญชันมีอะไรบ้าง

Last Updated on March 17, 2021