กระเจี๊ยบแดง สมุนไพร นิยมรับประทาน โทษและสรรพคุณ เป็นอย่างไร

กระเจี๊ยบแดง Roselle สมุนไพร นิยมนำดอกกระเจี๊ยบมารับประทาน ทำเครื่องดื่ม ต้นกระเจี๊ยบเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ช่วยขับลม โทษของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบแดง สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

ต้นกระเจี๊ยบแดง ( Roselle ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบ คือ Hibiscus sabdariffa Linn. สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม เป็นยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ  ขับเสมหะ ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี แก้ปัสสาวะขัด ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ

กระเจี๊ยบ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus sabdariffa Linn. ชื่ออื่นๆของกระเจี๊ยบ เช่น กระเจี๊ยบเปรี้ยว ผักเก้งเค้ง ส้มเก้งเค้ง ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอเหมาะ แกงแดง ส้มพอดี เป็นต้น ต้นกระเจี๊ยบ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น เพียงแค่ปีเดียว นิยมปลูกสำหรับนำดอกมาใช้ประโยชน์หลัก ได้แก่ นำดอกมาต้มเป็นน้ำกระเจี๊ยบ ส่วนอื่นๆรองลงมา ได้แก่ ใบ และยอดอ่อนนำมาปรุงอาหาร สีของดอกใช้เป็นสีผสมอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น เรานำเอาส่วนยอดใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ของกระเจี๊ยบมาใช้ประโยชน์แบบสดๆ ส่วนกลีบเลี้ยง ใบ เมล็ด สามารถนำมาตากแห้งเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง

ต้นกระเจี๊ยบนิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกลีบดอกกระเจี๊ยบขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 49 กิโลแคลอรี โดยพบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 0.96 กรัม วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.011 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.028 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.31 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบแดง

ต้นกระเจี๊ยบ เป็นพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก อายุของกระเจี๊ยบ 1 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบแดง มีดังนี้

  • ลำต้นของกระเจี๊ยบสูงประมาณ  2 เมตร กิ่งก้านของกระเจี๊ยบจะมีสีสีม่วงอมแดง
  • ใบของกระเจี๊ยบ ขอบใบจะเว้าลึก หยัก เป็นรูปวงรี แหลม
  • ดอกของกระเจี๊ยบ เป็นสีสีชมพู  ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะแหลม มีสีแดงเข้ม
  • เมล็ดของกระเจี๊บย เป็นสีน้ำตาล

กระเจียบ ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนซุยและดินเหนียวที่อุ้มน้ำ กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ส่วนเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบเป็นสารเคลือบกระเพาะ ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบได้ดีอีกด้วย

สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

สำหรับการนำเอากระเจี๊ยบมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร และ การรักษาโรค เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์จาก ยอด ใบ เมล็ด ดอก โดยรายละเอียดของสรรพคุณของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ยอดและใบของกระเจี๊ยบ สามารถใช้ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและเป็นยาระบาย  นำมาตำพอกฝี ล้างแผล
  • เมล็ดของกระเจี๊ยบ สามารถช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด เป็นยาระบายอ่อนๆ เมล็ดของกระเจี๊ยบสามารถ นำมาบดเป็นผงผสมน้ำกินได้
  • ดอกกระเจี๊ยบ นำมาต้มชงน้ำดื่ม ช่วยให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ

โทษของกระเจี๊ยบแดง

สำหรับการรับประทานกระเจี๊ยบเป็นอาหาร หรือใช้เป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสียอยู่ ไม่ควรกินน้ำกระเจี๊ยบ เนื่องจากน้ำกระเจี๊ยบมีสรรพคุณเป็นยาระบาย
  • น้ำกระเจี๊ยบ มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ไม่ควรดื่มน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นในปริมาณมากและติดต่อกันนาน ๆ เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ต้นกระเจี๊ยบแดง ( Roselle ) สมุนไพร นิยมนำดอกกระเจี๊ยบมารับประทาน และ ทำเครื่องดื่ม ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ เป็นอย่างไร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ช่วยขับลม โทษของกระเจี๊ยบ มีอะไรบ้าง

Last Updated on March 17, 2021