ต้อหิน Glaucoma ขั้วประสาทตาเสื่อม ส่งผลต่อสายตา อาการปวดตา สายตาพล่ามัว ตาแดง ปวดหัวจนอาเจียน ทำตาบอดได้ ปัจจัยสำคัญคือความดันตาสูง หินเฉียบพลัน ต้อหินเรื้อรัง
โรคต้อหิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคความดันตาสูง โรคนี้ภาษาอังกฤษ เรียก Glaucoma การเกิดนั้นต้อหินไม่จำเป็นต้องมีความดันตาสูงเสมอไป เราจึงอาจเรียกดรคนี้ว่าเป็น โรคตา โรคซึ่งมีการทำลายเซลล์ประสาทตาในจอตา ( Retinal ganglion cell ) ต้อหิน เป็นโรคที่เซลล์ประสาทในจอตาถูกทำลายจนตายไปเรื่อยๆ และทำให้ลาน สายตาผิดปกติ ขั้วประสาทตา ที่เป็นศูนย์ทรวมของใยประสาทตาถูกทำลาย เป็นรอย จนเป็นผลให้สูญเสียการมองเห็น
ต้อหิน เป็นเกี่ยวกับดวงตา โรคที่เซลล์ประสาทจอตาตายไปเรื่อยๆ ทำให้ลานสายตาผิดปกติ เกิดเป็นรอย หวำกว้างที่ขั้วประสาทตา ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต้อหิน ประกอบด้วย
- ความดันลูกตา การที่ความดันตาสูงขึ้นจำทำเกิดต้อหิน
- อายุ ที่มากขึ้นทำให้เกิดการเสื่อมตามวัย
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- โรคที่เกี่ยวกับเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดโรคต้อหินมีอะไรบ้าง ความดันตาสูง อายุมาก กรรมพันธุ์ โรคต่างๆที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงจอประสาทตาลดลง เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โดยส่วนมากแล้ว ต้อหินมีสาเหตุมาจากความดันลูกตาสูงผิดปกติ เราสังเกตุได้จาก เมื่อเราคลำดวงตาจากภายนอก “ลูกตาแข็ง” ซึ่งหลายคน เข้าใจผิดว่า โรคต้อหินมีเศษหิน อยู่ในตา ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
ชนิดของต้อหิน
การแบ่งชนิดของต้อหิน นั้น สามารถแบ่งได้ 4 ชนิด โดยแบ่งตามสาเหตุของการเกิดโรค รายละเอียดประกอบด้วย
- ต้อหินปฐมภูมิ เรียก Primary glaucoma ต้อหินปฐมภูมิ เป็นต้อหินที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่จะพบในผู้สูงอายุและมีโอกาสเป็นมากขึ้น ต้อหินชนิดนี้อาจจำแนกตามอาการออกได้เป็นชนิดย่อยๆ คือ ต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ต้อหินชนิเรื้อรัง
- ต้อหินเฉียบพลัน เรียก Acute glaucoma คือ การเกิดต้อหิน อย่างรวดร็ว ภายใน 2 วัน โดยอาการจะรุนแรง มีอาการ ปวดตา ตามัว ตาแดง หากรักษาไม่ทัน อาจทำให้ตาบอดได้
- ต้อหินเรื้อรัง เรียก Chronic glaucoma
- ต้อหินทุติยภูมิ เรียก Secondary glaucoma ต้อหินทุติยภูมิ จำเป็นต้องรักษาจากต้นเหตุของการเกิดโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย แต่ถ้ารักษาช้าเกิดไป อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อน ทางตาอื่นๆตามมา
- ต้อหินแต่กำเนิด เรียก Congenital glaucoma ต้อหินแต่กำเนิด และ ต้อหินในเด็ก นั้นเกิดจากพัฒนาการภายในลูกตาของเก็กผิดปกติ ความดันตาจะสูงมาก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา
- ภาวะสงสัยต้อหิน เรียก Glaucoma suspect เป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยบางราย ที่มีอาการบางอย่างเหมือนต้อหินเรื้อรัง แต่อาการไม่ครบ ภาวะสงสัยต้อหิน แพทย์จะต้องติดตามดูแลผู้ป่วยในระยะยาว
อาการของโรคต้อหิน เราสามารถแบ่งโรคต้อหินได้เป็น 2 ชนิด คือ ต้อหินเฉียบพลัน และ ต้อหินเรื้อรัง ต้อหินชนิดต่างๆมีรายละเอียดอย่างไร ดูได้จากข้อความด้านล่าง
- โรคต้อหิน ชนิดต้อหินเฉียบพลัน ผู้ป่วยต้อหินจะมีอาการ 3 ประการอย่างกระทันหัน คือ ปวดตา ตามัว ตาแดง สายตามัวมากจนถึงขั้นเห็นหน้าไม่ชัดเลย ปวดตามาก ในผู้ป่วยบางท่านถึงขั้นปวดหัวมาก จนอาเจียน หากอาการเป้นอย่างนี้ให้พบหมอทันที
- โรคต้อหิน ชนิดต้อหินเรื้อรัง ผู้ป่วยในระยะแรกจะไม่รู้สึกว่า ตามัวและปวดตา แต่การมองเห็นภาพด้านข้างจะแคบลง ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายสายตา ทำให้ใช้สายตาได้ไม่นาน อาการแบบนี้ผุ้ป่วยทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นอาการเสื่อมของสายตาตามอายุ อาการของต้อหินเรื้อรังนี้ความดันตาจะค่อยสูงขึ้น วินิจฉัยยาก ต้องรอจนอาการเด่นชันถึงรู้ว่าเป็นต้อหิน
การรักษาโรคต้อหิน
การรักษาต้อหินในปัจจุบัน สามารถทำการรักษาได้ด้วยการใช้ยารักษาโรค การใช้แสงเลเซอร์และ การผ่าตัด
สามารถทำได้โดย ทานยาลดความดันตา เช่น Pilocarpine, Aceta zolamide และการยิงเลเซอร์ซึ่งแพทย์จะยิงเลเซอร์ให้เกิดรูที่ม่านตา ทำให้การไหลเวียนของน้ำในลูกตาไหลได้คล่องมากขึ้น ซึ่งมีผลให้ความดันตา จะลดลงสู่ภาวะปกติ
การรักษาต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินเส้นประสาทตาจะถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาจึงเป็นการประคับประคองเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้นและเพื่อคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นกับชนิดและระยะของโรค
- การรักษาด้วยยา เพื่อลดความดันตาให้อยู่ในภาวะปลอดภัยต่อประสาทตา ปัจจุบันยารักษาต้อหินมีหลายกลุ่ม ทั้งยาหยอด ที่มีฤทธิ์ลดการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา การรักษาด้วยยานั้นจำเป็นต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอ และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการรักษาอย่างถูกต้อง
- การใช้เลเซอร์ในการรักษา นั้นขึ้นอยู่กับชนิของต้อหินที่เกิดขึ้นรวมถึงระยะของการเกิดโรคด้วย
- Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) เพื่อรักษาต้อหินมุมเปิด จะใช้วิธีนี้รักษาหากการใช้ยาหยอดตาแล้วได้ผล
- Laser peripheral iridotomy (LPI) เพื่อใช้รักษาต้อหินมุมปิด
- Argon laser peripheral iridoplasty (ALPI) สำหรับการรักษาชนิดนี้จะใช้รักษาร่วมกับ Laser peripheral iridotomy (LPI)
- Laser cyclophotocoagulation จะใช้การรักษาชนิดนี้สำหรับการรักษาในกรณีอื่นไม่ได้ผล
- การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้
- Trabeculectomy เป็นการผ่าตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเพื่อลดความดันตา
- Aqueous shunt surgery เป็นการผ่าตัดด้วยการใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันตา
การป้องกันโรคต้อหิน
การป้องกันการเกิดโรคต้อหินนั้น ต้องแยกการป้องกันการเกิดต้อหินชนิดเฉียบพลัน และ ชนิดเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้
- การป้องกันต้อหินเฉียบพลัน หากแพทย์ตรวจสุขภาพตาแล้วพบว่า ช่องด้านหน้าลูกตาแคบ จะมีโอกาสการเกิดต้อหินเฉียบพลันได้ ต้องทำการใช้แสงเลเซอร์เจาะรูที่ม่านตา
- การป้องกันการเกิดต้อหินเรื้อรัง ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่ชัดเจนนัก เพราะผู้ป่วยมักไม่มีการแสดงอาการ แต่สามารถทำได้ด้วยการ ตรวจคัดกรองภาวะความเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น ประวัติของการเกิดต้อหินของคนในครอบครัว ภาวะความดันตา และ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด เป็นต้น
สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้
![]() |
![]() |
![]() ผักกระเดียง |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
โรคต้อหิน ( Glaucoma ) คือ โรคขั้วประสาทตาเสื่อม ส่งผลตากการมองเห็น อาการโรคต้อหิน คือ ปวดตา สายตาพล่ามัว ตาแดง ปวดหัวมากจนอาเจียน โรคนี้เป็นสาเหตุที่ทำตาบอดได้ ปัจจัยสำคัญของการเกิดต้อหิน คือ ความดันตาสูง โรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน โรคต้อหินชนิดเรื้อรัง ภาวะต้อหินรักษาอย่างไร เมื่อเป็นต้อหินต้องทำอย่างไร ต้อหินเกิดจากอะไร