หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร สรรพคุณของหอมแดง ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

หอมแดง ต้นหอม สมุนไพร สรรพคุณของหอมแดง

ต้นหอมแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ เนื่องจากนิยมนำมาทำอาหาร และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดของประเทศไทย นิยมปลูกมากในภาคอีสาน จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งในหอมหัวแดงนั้น มีสารตัวหนึ่ง ชื่อ Allicin และ n-propyl disulphide ที่มีประโยชน์และมีกลิ่นฉุน วันนี้เราจามาทำความรู้จักกัน

หอมแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Shallot อ่านว่า ชาลอต หอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum L. หอมแดงเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลับพลึง สำหรับหอมแดง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ในหอมหัวแดงนั้นมีกลิ่นฉุ่น จากน้ำมันหอมระเหยจากตัวหอมหัวแดง ซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในหอมหัวแดง ประกอบด้วย  Ethanol, Acetonc, methyl Ethyl, Methyl Disulfide, Methyl, Methyl Trisulfide, Methyl I-propyl Trisulfide, I-propyl Trisulfide, Ketone, I-propanol, 2 – propanol, Methanol, I-butanol, Hydrogen Sulfidc, I-propanethiol, I-propyl Disulfide, Thioalkanal-S-oxide, di-n- propyl Disulfide, n- propyl-allyl Disulfide, Diallyl Disulfide, Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc  น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง จะมีรสขม เผ็ดร้อน มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และเป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน แต่สารน้ำมันหอมระเหยนี้ ช่วยลดไขมัน และน้ำตาลกในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางอาหารของหอมแดง นั้น พบว่าในหอมแดงขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหาร ต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม กากใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.09 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร

สำหรับต้อนหอมแดง เป็นพืชล้มลุก หัวอยู่ในดิน ซึ่งหัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ การขยายพันธ์ุของหอมแดงใช้การแตกหน่อ จากหัวของหอมแดง ใบของหอมแดง เป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบในตั้งตรงขึ้นฟ้า ความยาว 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ถึง 8 ใบต่อต้น รากของหอมแดง เป็นรากฝอยขึ้นบิเวณก้นของหัวหอม สำหรับหมอแดงมีหลายสายพันธ์ แต่สำหรับหัวหอมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดง พันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดง พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดง พันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง นั้นจะใช้ประโยชน์จากหัวและใบของหอมแดง ซึ่งประโยชน์ของส่วนต่างๆของหอมแดง มีดังนี้ คือ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

การปลูกหอมแดง

สำหรับการปลูกหอมแดง นั้น มี 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้

  • การเตรียมปลูกหอมแดง หอมแดงชอบดินร่วนซุย ต้องการความชื้นในดินสูง ชอบแสงแดด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของหอมแดงอยู่ที่ 12 ถึง 23 องศาเซลเซียส ในการเตรียมดินสำหรับปลูก ให้ทำการยกแปลง สูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร
  • วิธีการปลูกหอมแดง ให้นำหัวหอมแดง กดลงดินในแปลงปลูก ระยะห่าง หัวละ 15 ถึง 20 เซ็นติเมตร ก่อนนำหัวหอมลงไปดำในแปลงปลูก ควรทำให้ดินชื้นก่อน หญ้าแห้งหรือฟางคลุม เพื่อช่วยรักษาความชื้น และไม่ให้มีวัชพืชมาแย่งอาหารของหอมหัวแดง
  • วิธีการดูแลรักษาหอมแดง หลังจากปลูกได้ 2 สัปดาห์ จะช่วยให้การเจริญเติบโตของหอมแดง ดีขึ้น ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำให้ดินร่วนซุย อย่าปล่อยให้หน้าดินแห้ง  การให้น้ำนั้นต้องให้หลังจากการปลูกอย่างสม่ำเสมอ และงดการให้น้ำเมื่อหอมแดงเริ่มแก่
  • การเก็บเกี่ยวหอมแดง สำหรับการเก็บผลผลิต สามารถเก็บได้เมื่อหอมแดงอายุได้ 70 ถึง 110 วัน โดยให้สังเกตสีของใบ หากสีเขียวจางลงและเหลือง หมายความว่าหอมแดงแก่เพียงพอสำหรับพร้อมจะเก็บเกี่ยวแล้ว

หอมแดง ( Shallot ) เป็นพืช ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ให้รสหวาน แต่ประโยชน์ของหอมหัวแดง มีมากมายเหลือเกิน ที่สำคัญคือ ช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด วันนี้ เราจึงแนะนำ สมุนไพรไทยในครัวเรือน ที่มีชื่อว่า หอมแดง หอมแดงเป็นอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง การใช้ประโยชน์ด้านยาของหอมแดง มีอะไรบ้าง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง เป็นอย่างไร บทความนี้จะให้ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับหอมแดง

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ประโยชน์ของหอมหัวแดง ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง

ผักขวง สะเดาดิน ( sweetjuice ) ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ต้นสะเดาดินเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณแก้ปวดศีรษะ ลดไข้ เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงน้ำดี แก้โรคผิวหนัง ผักขวง สะเดาดิน สมุนไพร สรรพคุณของสะเดาดิน

ผักขวง หรือ สะเดาดิน ผักพื้นบ้าน สมุนไพรไทย นำมาทำอาหาร ลวกกินกับน้ำพริก สรรพคุณ แก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงน้ำดี แก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาฆ่าเชื้อ

ผักขวง สะเดาดิน หรือ ผักขี้ขวง ก็คือชื่อเรียกของของ สมุนไพรไทย ภาษาอังกฤษ เรียก sweetjuice เป็นพืชล้มลุก สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Glinus oppositifolius A. DC. สะเดาดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีใน พื้นที่ชุ่มนำ

ลักษณะของต้นสะเดาดิน

สะเดาดิน เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นเตี้ย เลื้อยคลุมดิน ลักษณะใบ มีขนาดเล็ก เรียวยาว สีเขียวสด ในหนึ่งก้านมีประมาณ 4-5 ใบ ดอกของสะเดาดิน จะออกดอกรอบๆข้อของลำต้น ดอกมีสีขาวอมเขียว ผลของสะเดาดิน เป็นผลยาวรี  สะเดาดินสามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด

  • ลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป
    สะเดาดิน
  • ใบผักขวง ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น
  • ดอกผักขวง ออกเป็นดอกเดี่ยวรวมกันอยู่ตามข้อของลำต้นใกล้ ๆ กับใบ ในข้อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ดอกเป็นสีขาวอมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวกว่ากลีบดอก โดยจะมีความยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร
  • ผลผักขวง ลักษณะของผลเป็นรูปยาวรี มีขนาดยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 3 แฉก ทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลได้ชัดเจน เมล็ดมีจำนวนมาก สีน้ำตาลแดง มีขนาดเท่ากับเม็ดทราย

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดาดิน

นักโภชนาการได้ศึกษาสะเดาดิน ขนาด 100 กรัม ให้คุณค่าทางอาหาร 34 กิโลแคลลอรี่ คาร์โปไฮเดรต 4.4 กรัม ใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม โปรตีน 3.2 กรัม แคลเซียม 94 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.8 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.45 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 2.7 มิลลิกรัม, วิตามินซี 19 มิลลิกรัม

สรรพคุณของสะเดาดิน

การนำสะเดาดินมาใช้ประโยชน์ สามารถนำทั้งต้นมาใช้ประโยชน์ รายละเอียด ดังนี้ คือ  นำมาทำเป็นยาบำรุงธาตุ แก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงน้ำดี แก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาฆ่าเชื้อ

  1. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงเป็นยาบำรุงธาตุ โดยใช้ทั้งต้น
  2. ต้นสดนำมาตำผสมกับขิงใช้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก โดยใช้ทั้งต้น
  3. ผักขวงทั้งต้นมีรสขมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ทั้งปวง โดยใช้ทั้งต้น
  4. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ โดยใช้ทั้งต้น
  5. ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ระงับความร้อน โดยใช้ทั้งต้น
  6. ทั้งต้นใช้ผสมกับน้ำมันละหุ่ง แล้วนำไปอุ่นใช้เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู โดยใช้ทั้งต้น
  7. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงทั้งต้นปรุงเป็นยาระบาย โดยใช้ทั้งต้น
  8. ผักขวงมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำดี โดยใช้ทั้งต้น
  9. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง หรือเป็นยาฆ่าเชื้อ โดยใช้ทั้งต้น
  10. ใช้เป็นยาทาแก้อาการฟกช้ำบวมอักเสบ โดยใช้ทั้งต้น

สะเดาดินช่วยลดไข้ได้ เราจึงขอแนะนำ สมุนไพรสรรพคุณช่วยลดไข้ อื่นๆได้ มีดังนี้

เก๊กฮวย สมุนไพร สรรพคุณของเก๊กฮวย ประโยชน์ขอเก๊กฮวยเก๊กฮวย
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ สรรพคุณของโด่ไม่รุ้ล้มโด่ไม่รู้ล้ม
กระดังงา สมุนไพร สรพคุณของกระดังงา ประโยชน์ของกระดังงากระดังงา
ดีปลี สมุนไพร สรรพคุณของดีปลี ประโยชน์ของดีปลีดีปลี
ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว ประโยชน์ของฟักข้าวฟักข้าว
ชะมวง สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง ประโยชน์ของชะมวงชะมวง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
บอระเพ็ด สมุนไพร สรรพคุณของบอระเพ็ด ประโยชน์ของบอระเพ็ดบอระเพ็ด

ผักขวง สะเดาดิน ( sweetjuice ) ผักพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ประโยชน์ของสะเดาดิน สรรพคุณของสะเดาดิน แก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ แก้ร้อนใน แก้อาการปวดหู ยาระบาย ช่วยบำรุงน้ำดี แก้โรคผิวหนัง เป็นยาฆ่าเชื้อ ต้นสะเดาดินเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักขวงมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove