งาดำ สมุนไพร ธัญพืช คุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผม แล้วโทษของงาดำมีไหม เป็นอย่างไร

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ภาษาอังกฤษเรียก Black Sesame Seeds ชื่อวิทยศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L. งาดำ เป็นพืชในเขตร้อน นิยมรับประทานเมล็ดงาดำเป็นอาหาร เพราะ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม โซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และ ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่ ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

สายพันธุ์งาดำ

สำหรับงาดำในประเทศไทย มีหลายสายพันธ์ ซึ่ง สายพันธ์ที่นิยมปลูก มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย งาดำบุรีรัมย์ งาดำนครสวรรค์ งาดำมก18 และ งาดำมข2 ลักษณะดังนี้

  • งาดำ สายพันธ์บุรีรัมย์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ เมล็ดมีขนาดใหญ่ สีเกือบดำสนิท มีอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 90 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์นครสวรรค์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง สายพันธ์นี้นิยมปลูกมากในทุกภาคของประดทศ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ใบค่อนข้างกลม เมล็ดสีดำอวบและใหญ่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์ มก.18 เป็นสายพันธ์แท้ พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ไม่แตกกิ่ง ข้อลำต้นสั้น จำนวนฝักต่อต้นสูง ลำต้นแข็งแรง และทนต่อโรคราแป้งได้ดี
  • งาดำ สายพันธ์ มข.2 สายพันธ์ดั้งเดิม คือ ซีบี 80 เป็นสายพันธ์ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูงเมล็ดสีดำสนิท อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 70 ถึง 75 วัน ทนแล้ง และต้านทานต่อโรคเน่าดำได้ดี

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุกที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน สามารถขยายพันธ์ุได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นงาดำ มีดังนี้

  • ลำต้นงาดำ ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยมๆ มีร่องตามยาว ลำต้นไม่มีแก่น อวบน้ำ มีขนสั้นปกคลุม เปลือกลำต้นสีเขียว
  • ใบงาดำ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย
  • ดอกงาดำ ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ขึ้นตามซอกใบ กลีบดอกลักษณะทรงกรวย กลีบดอกเมื่อบานเป็นสีขาว
  • ผลงาดำ หรือ ฝักงาดำ ลักษณะฝักยาวรี ปลายฝัฟแหลมทั้งสองข้าง ผิวฝักเรียบ ฝักเป็นร่องพู ฝักอ่อนสีเขียว มีขนปกคลุม ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดงาดำ เมล็ดอยู่ภายในฝัก ลักษณะเล็กๆ ทรงรีและแบน เมล็ดมีจำนวนมาก เปลือกเมล็ดมีสีดำ เมล็ดงาดำมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

การบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากงาดำนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดของงาดำ ซึ่งนักวิชาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของงาดำขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

การใช้ประโยชน์จากงาดำ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากงาดำ ซึ่ง สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

โทษของงาดำ

การใช้ประโยชน์จากงาดำ มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ชะพลู นิยมรับประทานใบชะพลูเป็นอาหาร ช่วยขับลม และ ลดน้ำตาลในเลือดได้ดี ลักษณะของต้นชะพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู และ โทษของชะพลูมีอะไรบ้าง

ชะพลู สมุนไพร สรรพคุณของชะพลู

ชะพลู ( Wildbetal Leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพูล คือ Piper sarmentosum Roxb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ เป็นต้น ลักษณะเด่นของชะพลู คือ มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหาร เราจะพบบ่อย โดยนำใบชะพลูมาทำเป็น เครื่องเคียง ทานกับแหนมคลุก หรือน้ำพริก ชะพลู เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณด้านการรักษาโรค ดอกชะพลูช่วยขับลม ทำให้เสมหะแห้ง รากชะพลูช่วยขับเสมหะ ใบทำให้เจริญอาหาร ทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดรักษาโรคเบาหวานได้ ชะพลูมีถิ่นกำเนิดที่หมู่เกาะชวาและหมูเกาะมาเลย์

ประโยชน์ของชะพลู ใบชะพลูมีสารบีตาแคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปูในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลาในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

นอกจากนนั้นชะพลูสามารถใช้รักษาโรคได้ เช่น ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

ลักษณะของต้นชะพลู

ต้นชะพลู เป็นพืชล้มลุกมีขนาดเล็ก เป็นเถาเลื้อยรวมกัน ใบชะพลูมีสีเขียวสดเป็นมัน ปลายใบชะพลูแหลม คล้ายรูปหัวใจ มีกลิ่นฉุน รสเผ็ดเล็กน้อย ดอกชะพลูมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกยาว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์การแยกหน่อและการปักชำ ลักษณะของต้นชะพลู มีดังนี้

  • ลำต้นชะพลู ลักษณะตั้งตรง มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปมๆ แตกกอออกเป็นพุ่ม
  • ใบชะพลู ลักษณะเป็นใบดี่ยว ก้านใบยาวประมาณ 3 เซ็นติเมตร ใบมีสีเขียวสด ใบคล้ายรูปหัวใจ
  • ดอกชะพลู ลักษณะดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว ดอกแก่จะออกสีเขียว ดอกจะแทงดอกบริเวณปลายยอดและช่อใบ
  • ผลชะพลู เจริญเติบโตจากช่อดอก ผลสีเขียว ผิวมัน ดอกมักออกมากในฤดูฝน

คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู

สำหรับการกินชะพลูเป็นอาหารนิยมรับประทานใบชะพลูเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาใบชะพลูขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 101 กิโลแคลลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม แคลเซียม 298 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.2 กรัม ไนอาซีน 3.4 กรัม วิตามินซี 22 กรัม เบต้าแคโรทีน 414 ไมโครกรัมและการใยอาหาร 6.9 กรัม

สรรพคุณของชะพลู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะพลูด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ลำต้นใบและ ดอก รายละเอียด ดังนี้

  • รากของชะพลู  ช่วยขับเสมหะ ขับลมในลำไส้
  • ลำต้นของชะพลู สามารถใช้ขับเสมหะได้
  • ใบชะพลู จะมีรสเผ็ดร้อน นำมารับประทาน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้ป้องกันโรคมะเร็ง แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ บำรุงเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงสายตา ช่วยแก้ท้องอืด
  • ดอกของชะพลู นำมาอบแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้

โทษของชะพลู

หากรับประทานในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน แคลเซียมที่มีอยู่ในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ดังนั้นคุณจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางลง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove