มะเร็งตับ ( Liver Cancer ) เนื้อร้ายที่ตับเกิดจากการติดเชื้อมีก้อนที่ตับ อาการปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ท้องบวม น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุมะเร็งตับ โรคตับ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งตับ เป็น โรคที่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โรคหนึ่งของโลก เป็น โรคที่พบบ่อย ผู้ป่วย โรคมะเร็งตับในระยะแรก ยังไม่มีอาการแสดง ส่วนมากจะได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่ออาการกำเริบ ทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับการ สังเกตุโรคมะเร็ง ชนิดนี้ว่ามีลักษณะอาการอย่างไร สาเหตุของโรคนี้เป็นอย่างไร การรักษามะเร็งตับ และ การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ

โรคมะเร็งตับ ภาษาอังกฤษ เรียก liver cancer เป็น โรคที่พบมากในคนวัยทำงาน มีการศึกษาสถิติในปี พ.ศ. 2543 พบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ สูงถึง 564,000 คน แบ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 34 และเพศชาย ร้อยละ 66  สำหรับประเทศไทย มีการสำรวจในช่วง พ.ศ. 2554 ถึง 2546  พบว่า มีผู้ป่วยสูงถึง 47,439 8 คน เป็น โรคมะเร็ง ที่มีผู้ป่วยมาก เป็นอันดับ 3 รองจาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร

ชนิดของมะเร็งตับ

สำหรับ ชนิดของมะเร็งตับ ที่พบ มี 2 ชนิด คือ  มะเร็งของเซลล์ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก hepatocellular carcinoma และ มะเร็งของท่อน้ำดีในตับ ภาษาอังกฤษ เรียก cholangiocarcinoma

สาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ

สำหรับ สาเหตุของโรคมะเร็งตับ เรายังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้อย่างชัดเจนนัก แต่สามารถสรุปเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อตับ และ โรคมะเร็งตับ มีดังนี้

  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี
  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • โรคตับแข็ง
  • การกินอาหารปนเปื้อน เชื้อรา ชนิดอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) เชื้อราชนิดนี้ พบได้ในธัญพืช ที่มีความชื้น
  • ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ
  • ท่อน้ำดีในตับอักเสบเรื้อรัง

โรคมะเร็งตับ เป็นลักษณะของการถูกกระทบกระเทือนต่อตับ ทำให้ตับถูกทำร้าย เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็งตับ ในระยะแรก จะยังไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างเด่นชัดนั้น อาการทั่วไป คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบน อาการปวดร้าวหลัง อาการปวดร้าวที่ไหล่ ท้องบวมขึ้น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนบริเวณตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบจากน้ำในท้องดัน คันตามตัวมาก เป็นต้น

ระยะของโรคมะเร็งตับ

มีการแบ่ง ระยะของโรคมะเร็งตับ ได้เป็น 4 ระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งตับ ระยะที่ 1 จะพบก้อนเนื้อขนาดเล็กที่ตับ มีเพียงก้อนเนื้อก้อนเดียว
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อมีการลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดที่ตับ ก้อนเนื้อมีจำนวนมากขึ้น แต่ยังมีขนาดเล็กอยู่
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดโตขึ้น และลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งตับ ระยะที่ 4 มะเร็งเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายเข้าสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น สมอง กระดูก ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

การตรวจวินิจฉัยโรค มะเร็งตับ นั้น เริ่มจากการ การซักประวัติ อาการที่พบในผู้ป่วย จากนั้นตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจเลือด เพื่อ ดูการทำงานของตับ และ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ตรวจรังสีที่ตับและช่องท้อง ทำการตรวจอัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และการตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งตับ

สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ นั้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ขนาดของเซลล์มะเร็ง และการแพร่กระจายของมะเร็ง ซึ่ง การรักษา จะต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่ง การรักษา ประกอบด้วย การผ่าตัด การฉายรังสีรักษา การทำเคมีบำบัด และการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ แต่สำหรับการปลูกถ่ายตับนั้นเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 70 ปี

แต่สำหรับ การรักษาโรคมะเร็งตับ ที่ดีที่สุด คือ การลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ และ หมั่นตรวจคัดกรองหามะเร็งตับ เนื่องจากร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ มาจาก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี การตรวจการทำงานของตับและ ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ ด้วยการเจาะเลือด จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด

ข้อควรปฏิบัตสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

ผู้ป่วยมะเร็งตับ ต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เราแยกการดูแลตัวเอง 3 ส่วน คือ การดูแลตัวเองในด้านทั่วไป ด้านอาหาร และการออกกำลังกาย รายละเอียดดังนี้

  • ด้านการดูแลตนเองทั่วไป
    • ให้รักษาภาพสุขอนามัยพื้นฐาน ของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด ตลอดชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีกจะติดเชื้อได้ง่ายกว่าปรกติ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำกว่าคนปรกติ
    • ควบคุมการเกิดโรค เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน เนื่องจากโรคเหล่านี้จะมีผลต่อสุขภาพโดยรวม
    • หากเกิดกับหญิงสาวหรือผู้หญิงวัยเจริพันธ์ แนะนำให้ คุมกำเนิด เพื่อสุขภาพมารดา แต่หากจำเป็นต้องมีการตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ อย่างใกล้ชิด
    • ไปพบแพทย์ตามนัดห้ามขาด
    • หลังจากรักษาโรคมะเร็งแล้ว ช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังการรักษา ถือว่าเป็นช่วงพักฟื้น ค่อยๆปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะปกติ ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์
  • ด้านการรับประทานอาหาร
    • เลิกการบุหรี่และดื่มสุรา และสารเสพติดทุกชนิด เนื่องจาก สารเหล่านั้นมีพิษเป็นสารก่อมะเร็ง รวมถึงการจำกัดการดื่มกาเฟ ด้วย
    • การรับประทานอาหาร ให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทาน ผักและผลไม้ให้มากๆ  ลดอาหารที่มี ไขมัน แป้ง น้ำตาลและอาหารรสเค็มจัด
  • ด้านการออกกำลังกาย
    • ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดชีวิต ค่อยๆปรับจนเข้าภาวะปกติ โดยควรออกกำลังกายให้เหมาะสมตามสุขภาพของตนเอง และเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับโรค เช่น เลือกการว่ายน้ำเมื่อมีโรคของข้อต่างๆ เป็นต้น และพยายามเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย

โรคมะเร็งตับ ( Liver Cancer ) คือ การเกิดเนื้อร้าย เกิดจากาการติดเชื้อที่ตับแบบเรื้อรัง จนเกิดพังผืดและมะเร็งที่ตับ โรคนี้มีอัตราการตายสูง มะเร็งตับ ระยะแรกไม่แสดงอาการ อาการที่พบ คือ ปวดท้องข้างขวาส่วนบนปวดร้าวหลัง ไหล่ ท้องบวม น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ มีก้อนที่ตับ ตัวเหลือง ตาเหลือง หายใจเหนื่อยหอบ คันตามตัว เป็นต้น สาเหตุของมะเร็งตับ การรักษามะเร็งตับ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับ

โรคเท้าช้าง เกิดจากพยาธิตัวกลม มียุงเป็นพาหะนำโรค ยุงลาย ยุงรำคาญ ยุงลายเสือ ยุงก้นปล่อง ทำให้แขนบวม ขาบวม ผิวหนังหยาบหนาเหมือนเท้าช้าง ปัสสาวะสีขาวขุ่นโรคเท้าช้าง โรคจากยุง โรคติดต่อ โรคต่างๆ

โรคเท้าช้าง ภาษาอังกฤษ เรียก Lymphatic filariasis หรือเรียกอีกอย่างว่า Elephantiasis โรคนี้เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลม หนอนพยาธิโรคเท้าช้างนั้นอาศัยอยู่ในต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดเจน คือ แขน ขาบวม ผิวหนังจะหยาบหนา เหมือนเท้าช้าง เราจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคเท้าช้าง

สำหรับประเทศไทยในสมัยก่อน พบว่ามีผู้ติดเชื้อมากถึง 300 คนต่อปี แต่ด้วย เทคโนโลยีทางการแพทย์ ก้าวหน้า มีอัตราคนป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง สำรวจล่าสุดปี 2558 อัตราการเกิดโรค นี้ 0.36 คนในประชากร 100,000 คน และ อัตราการเกิดโรค ผู้ชายจะสูงกว่าผู้หญิง ประเทศไทยพบผู้ป่วยที่จังหวัดนราธิวาส ในส่วนของประเทศอื่นๆ พบว่าทั่วโลกมี ผู้ป่วยโรคเท้าช้าง 110 ล้านคน มากพบในประเทศแถบเอเชีย แอฟริกา อเมริกาใต้ หมู่เกาะแปซิฟิก และหมู่เกาะแถบทะเลแคริบเบียน เป็นต้น

โรคเท้าช้าง คือ การติดเชื้อพยาธิฟิลาเรีย ชนิด Brugia malayi หรือ Wuchereria bancrofti  โดย พยาธิ จะอาศัยอยู่ใน ระบบน้ำเหลือง ของมนุษย์ และทำให้ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ท่อน้ำเหลืองอักเสบ เมื่อ ระบบน้ำเหลือง ของมนุษย์เกิดอุดตัน จะเกิดพังผืด น้ำเหลืองคั่ง ทำให้อวัยวะโตขึ้น ลักษณะแบบนี้ เราเรียกว่า ภาวะโรคเท้าช้าง ในส่วนของ พยาธิ ชนิด Wuchereria bancrofti พยาธิ ที่ อาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลือง บริเวณอวัยวะเพศ ส่งผลให้ อัณฑะมีถุงน้ำ การปัสสาวะมีไขมันปน ส่วนพยาธิชนิด  Brugia malayi จะทำให้ ขาโต เสียเป็นส่วนมาก

สาเหตุของการเกิดโรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง มี สาเหตุจากพยาธิตัวกลม ชื่อ Wuchereria bancrofti  Brugia malayi และ Brugia timori ซึ่ง พยาธิตัวกลม เหล่านี้อาศัยในร่างกายมนุษย์ โดยมี ยุงเป็นพาหะของโรค พยาธิ Wuchereria bancrofti จะพบใน ยุงลาย และ ยุงรำคาญ พยาธิ Brugia malayi พบใน ยุงลายเสือ ส่วนพยาธิ Brugia timori พบใน ยุงก้นปล่อง

วงจรชีวิตของหนอนพยาธิตัวกลม

เริ่มจาก ยุงตัวเมีย ที่มี เชื้อพยาธิเท้าช้าง เป็นตัวอ่อนขั้นที่ 3 กัดและดูดเลือดมนุษย์ เชื้อพยาธิจะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางผิวหนัง พยาธิจะไปที่ท่อน้ำเหลือง ภายในระยะเวลา 9 เดือน พยาธิ นี้จะกลายเป็นตัวเต็มวัย เมื่อตัวเต็มวัยเหล่าอยู่ใน ท่อน้ำเหลือง มากขึ้น เกิดการขยายพันธ์ ตัวอ่อน ซึ่งตัวอ่อนเหล่านี้ จะแพร่เข้าสู่เส้นเลือด เมื่อ ยุงดูดเลือด ก็สามารถ ขยายพันธ์ ต่อไปไม่มีวันจบสิ้น

พยาธิ ที่เป็น สาเหตุของโรคเท้าช้าง มี 2 ชนิด ซึ่งสามารถย่อยเชื้อโรค ออกได้ 4 ชนิดด้วยกัน รายละเอียดดังนี้

  • พยาธิตัวกลม Wuchereria bancrofti ชนิด nocturnally periodic type สำหรับ เชื้อโรค ชนิดนี้ เมื่อผลิตตัวอ่อนจะเข้าสู่กระแสเลือดช่วงกลางคืน เป็น สาเหตุของโรคเท้าช้าง ในแถบภูเขาภาคเหนือ เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดราชบุรี จังหวัดตาก เป็นต้น
  • พยาธิตัวกลม Wuchereria bancrofti ชนิด nocturnally subperiodic type สำหรับ เชื้อโรค ชนิดนี้ตัวอ่อนสามารถ เข้าสู่กระแสเลือด ทุกเวลา เชื้อโรคชนิดนี้ เป็น สาเหตุของโรคเท้าช้าง ในแถบจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดตาก เป็นต้น
  • พยาธิตัวกลม Brugia malayi ชนิด nocturnally subperiodic type เชื้อโรค ชนิดนี้มี ยุงลายเสือ เป็น ภาหะนำโรค พบมากบริเวณป่าพรุ พบ โรคเท้าช้าง ชนิดนี้ ในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พยาธิตัวกลม Brugia malayi ชนิด diurnally subperiodic type ตัวอ่อน Microfilaria ตัวอ่อนของพยาธิ สามารถเข้าู่เส้นเลือดได้ตลอดวลา พบมากที่อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี

พยาธิตัวกลมชนิด Brugia malayi นั้นสามารถพบในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และไทย โดย พยาธิ เหล่านี้ มาจากยุง และ เชื้อโรค อาศัยอยู่ใน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น แมวบ้าน สุนัข ลิง ค่าง แมวป่า ชะมด นางอาย เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง เกิดจาก พยาธิตัวกลม ที่อาศัยใน ต่อมน้ำเหลือง และ ท่อน้ำเหลือง เมื่อ พยาธิ เหล่านี้อาศัยในร่างกายมนุษย์ และขยายพันธ์จนเต็มพื้นที่ จะทำใหเกิดอาการ โดย อาการของโรคเท้าช้าง จะสามารถแบ่งอาการได้เป็น 3 กลุ่ม รายละเอียด ดังนี้

  1. กลุ่มผู้ป่วยเท้าช้างที่ไม่แสดงอาการ พบได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วย แต่เชื้อโรคสามารถตรวจได้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะพบว่ามีความผิดปรกติที่เลือด ปัสสาวะ หนังหุ้มอัณฑะ เป็นต้น
  2. กลุ่มผู้ป่วยเท้าช้างที่มีอาการที่ระบบน้ำเหลือง แบบเฉียบพลัน เราเรียก Acute adenolymphangitis เรียกย่อๆว่า  ADL ผู้ป่วยจะ มีไข้สูง และ อักเสบที่ท่อน้ำเหลือง ทั่วร่างกาย ผิวหนัง ก็จะเป็นเส้นสีแดง คลำ แข็งๆ และปวดเวลากด ผิวหนังจะบวม ขึ้น มักเกิดที่ ต่อมน้ำเหลือง บริเวณขาหนีบและรักแร้ และถ้าเกิดกับพยาธิ ชนิด Brugia malayi จะพบว่า มีฝีหนองตามผิวหนัง ส่วนพยาธิ ชนิด Wuchereria bancrofti ผู้ป่วยจะมีปวดอัณฑะ อาการของผู้ป่วยจะ เกิดขึ้นทุกๆ 6 ถึง 10 วัน
  3. กลุ่มผู้ป่วยเท้าช้างที่มีอาการเรื้อรัง เป็นลักษณะของ ผู้ป่วยโรคเท้าช้าง ต่อเนื่องหลายปีและรักษาไม่หายขาด ท่อน้ำเหลืองจะมีอาการอักเสบ แบบเป็นๆหายๆ และเกิดพังผืด ส่งผลให้เกิด การอุดตันของท่อน้ำเหลือง ทำให้น้ำเหลืองไม่สามารถไหลได้ตามปกติ น้ำเหลือง จึงเกิด การคั่ง ตามเนื้อเยื่อรอบๆ ท่อน้ำเหลือง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิด การบวมโตของเนื้อเยื่อ

สำหรับ อวัยวะที่บวม สามารถเห็นชัด เช่น แขน ขา และเต้านม ลักษณะคือ บวม จนเสียรูปทรง ผิวหนังจะหนาขึ้น สูญเสียความยืดหยุ่น ถ้า ท่อทางเดินน้ำเหลือง ที่อยู่ด้านหลัง เยื่อบุช่องท้อง ถูกทำลาย ไตจะไม่สามารถ ถ่ายเทน้ำเหลือง เข้า หลอดเลือดดำ ได้ ส่งผลต่อท่อปัสสาวะ ทำให้ ปัสสาวะสีออกขาวขุ่นคล้ายน้ำนม เราเรียกลักษณะแบบนี้ว่า Chyluria

การรักษาโรคเท้าช้าง

สำหรับ การรักษาผู้ป่วยโรคเท้าช้าง นั้น มีแนวทางการรักษา 3 แนวทาง ที่ต้องทำควบคู่กันไป ประกอบด้วย การฆ่าเชื้อโรค การรักษา อาการของระบบน้ำเหลืองอักเสบ และ รักษาอาการบวม ซึ่งรายละเอียดของ การรักษา มีรายละเอียด ดังนี้

  1. การฆ่าเชื้อโรค โดยการให้ ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรค แต่การใช้ ยาปฏิชีวะ นะสามารถตรวจเชื้อจาก การตรวจคัดกรองและในผู้ที่มี การอักเสบของต่อมน้ำเหลืองแบบเฉียบพลัน และ ท่อน้ำเหลือง สามารถฆ่าได้ในตัวอ่อนแต่ไม่สามารถฆ่าได้หมดในพยาธิตัวเต็มวัย ผู้ป่วยจึงต้องกินยาซ้ำทุกๆปี เพื่อตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นและลดการแพร่เชื้อตัวใหม่ ดังนั้น พยาธิตัวเต็มวัย ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ จะตายเมื่ออายุ 5 ถึง 7 ปี
  2. การรักษาอาการของระบบน้ำเหลืองอักเสบ สามารถรักษาได้โดยการ ให้ยาลดไข้และยาแก้ปวด
  3. การรักษาอาการบวม ของแขน ขา การรักษาอาการบวมของแขนขา นั้นสามารถทำได้ด้วย การป้องกันอาการติดเชื้อที่ผิวหนัง และ ป้องกันการเกิดแผล แต่ไม่มีวิธีลดขนาดของแขนขาให้กลับมาปกติได้ ส่วน อัณฑะที่บวม นั้น ต้อง รักษาด้วยการผ่าตัดออก

การป้องกันและควบคุมการเกิดโรคเท้าช้าง

  • ป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด โดยรายละเอียดดังนี้ นอนในมุ้ง หรือห้องมุ้งลวด ทายากันยุง ควบคุมการเกิดยุง พ่นยากันยุง กำจัดลูกน้ำ กำจัดวัชพืชและพืชน้ำที่เป็นแหล่งเกาะอาศัยของลูกน้ำ
  • ประชาชนที่อยู่ในแหล่งระบาดของ โรคเท้าช้าง ให้กินยาป้องกัน โดยสามารติดต่อขอรับยาที่ หน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณะสุข

โรคเท้าช้าง เกิดจากพยาธิตัวกลมจากยุงเข้าไปอาศัยอยู่ในต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลือง ส่งผลให้ แขนบวม ขาบวม ผิวหนังหยาบหนา เหมือนเท้าช้าง โรคนี้ มียุงเป็นพาหะนำโรค ยุงลาย ยุงรำคาญ ยุงลายเสือ และ ยุงก้นปล่อง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove