โรคกาลี แอนแทรกซ์ Anthrax ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis อาการมีไข้ ปวดตัว เจ็บหน้าอก หายใจเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก ตัวเขียว เสียชีวิตในที่สุดโรคกาลี โรคแอนแทรกซ์ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

แอนแทรกซ์ ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่เกิดกับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ และแกะ เป็นต้น มักไม่ค่อยทำให้เกิดโรคในคน เกิดจากเชื้อโรคชื่อ Bacillus anthracis ซึ่งสามารถอยู่ในที่ต่างๆเป็นระยะเวลานาน ทำให้สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารได้รับเชื้อได้ง่าย เมื่อเชื้อแอนแทรกซ์เข้าสู่ร่างกาย จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายสร้างสารทอกซิน โดยมันจะช่วยทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

โรคแอนแทรกซ์ในคน

เชื้อโรคแอนแทรกซ์ สามารถสร้างเกาะตัวได้ เมื่ออยู่นอกร่างกายคนหรือสัตว์ ทำให้มีความทนทานอยู่ได้นานนับ 10 ปี สัตว์ติดโรคนี้โดยการกินหรือการหายใจเอาเชื้อเข้าไปเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเร็วมาก สัตว์จึงมักตายภายใน 1 ถึง 2 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไม่แสดงอาการให้เห็น อาจพบเลือดสีดำคล้ำไหลออกจากจมูก ปากหรือทวารหนักของซากสัตว์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

คนมีปัจจัยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแอนแทรก เป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ที่ทำงานในปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์กลุ่มกินหญ้า
  • ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสัตว์กินหญ้าเช่น หนัง ขน กระดูก (ในสหรัฐอเมริกามีรายงานติดต่อจากการตีกลองที่ทำจากหนังสัตว์ที่ติดเชื้อนี้)
  • ผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อนี้
  • เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ในประเทศที่มีการก่อการร้าย
  • สัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์กลุ่มนี้
  • ทหารที่ทำสงครามกับประเทศที่ใช้อาวุธชีวภาพ
  • ผู้ฉีด (เข้ากล้ามเนื้อ) สารเสพติดผิดกฏหมาย

อาการของโรคแอนแทรกซ์

สำหรับโรคแอนแทรกซ์ จะมีการแสดงอาการ แบ่งได้ 3 อาการ คือ โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินหายใจ โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินอาหาร

  • โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีตุ่มนํ้าใส แต่หลังจากนั้น 2 – 6 วัน ตุ่มจะยุบตรงกลาง และแผลจะเป็นสีดำเหมือนโดนบุหรี่จี้ มักไม่ปวดแผล
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อย มีอาการไอ เจ็บที่หน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร พบว่าผู้ป่วยจะเกิดการอักเสบที่ลำไส้ และตัวบวมทำให้เลือดไปอุดตันระบบทางเดินอาหาร มีน้ำในช่องท้องมาก อาจทำให้เกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก และเสียชีวิตในที่สุด

อาการแทรกซ้อนของโรคแอนแทรกซ์ 

อาจพบติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งจะเกิดลักษณะความผิดปรกติจากสมอง เช่น ปวดหัว สับสน กระวนกระวาย เอะอะอาละวาด จนกระทั่งซึมหมดสติ เป็นต้น

การรักษาโรคแอนแทรกซ์ 

เราสามารถรักษาโรคแอนแทรกซ์ โดยการให้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) เตตราซัยคลิน (Tetracycline), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin) และคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ก็ให้ผลดีเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2544  พบว่ามีการใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยแอนแทรกซ์ แต่ไม่มีผลการศึกษาชัดเจนว่าได้ผลดี

  • การให้ยาปฏิชีวนะ จะได้ผลดีกว่าเมื่อเริ่มให้ยาตั้งแต่รู้ว่าสัมผัสโรคโดยยังไม่เกิดอาการเรียกว่าเป็นการรักษาแบบป้องกัน แต่เมื่อมีอาการแล้วการรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้มีหลายตัว โดยการรักษาอาจใช้ยาฯเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวร่วมกันทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคเช่น ยา Cyprofloxacin, Doxycycline, Erythromycin, Penicillin
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำกรณีกินอาหารได้น้อย การให้ออกซิเจนกรณีมีอาการทางการหายใจ การให้เลือดถ้ามีภาวะซีดจากเลือดออกมาก รวมไปถึงการให้ยาแก้อักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์

ในปัจจุบันได้มีการศึกษานำยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน (Monoclonal antibody therapy) เช่น ยา Raxibacumab มาใช้ทั้งในการป้องกันและในการรักษาการติดเชื้อแอนแทรกจากการสูดดม ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง

การป้องกันโรคแอนแทรกซ์

  1. หากพบว่าสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เช่น วัว ควายติดเชื้อแอนแทรกซ์ ให้เผาทำลายซากสัตว์อย่าให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ให้แก่สัตว์เลี้ยง ทุกปี
  3. รักษาสุขอนามัยในการทำอาหาร โรงงานขนสัตว์ และ อาหารสัตว์

เชื้อโรคชนิดนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้น การการรักษาและดูแลผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย นอกจากจะสงสัยว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันนี้อาจมีเชื้อโรคจึงจะป้องกัน เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลง ต้องระวังการแพร่เชื้อจากศพ

โรคกาลี โรคแอนแทรกซ์ ( Anthrax ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis อาการโรคแอนแทรกซ์ คือ มีไข้ ปวดเมื่อย ไอ เจ็บหน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และ ตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด โรคนี้เป็นโรคที่เกิดในสัตว์ แต่แพร่สู่คนจากการกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อโรค

โรคไวรัสอีโบลา ไข้เลือดออกอีโบลา อาการผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไต รักษาและ ป้องกันอย่างไร

โรคอีโบล่า โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

เชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola ) คือ เชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์ป่า สามารถติดต่อสู่คนได้ เป็นโรคที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ โรคติดต่อชนิดหนึ่ง ยังไม่มียารักษาโรค และ อัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้น การป้องกันจึงดีที่สุด โรคไวรัสอีโบลา หรือ ไข้เลือดออกอีโบลา อาการของป่วยจะแสดงอาการภายในสามสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อโรค โดยจะมีไข้สูง เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง

สาเหตุของการติดเชื้ออีโบล่า

การติดเชื้อไวรัสอีโบลา มาจากไหน  อีโบล่าเกิดจาก เชื้อไวรัสอีโบล่า ที่พบได้ในลิงซิมแปนซี สามารถติดสู่คนได้ จากการสัมผัส สารคัดหลั่งจากสัตว์ชนิดนี้ การรับประทานสัตว์ป่า ที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยลักษณะของการติดเชื้อมี 3 ลักษณะดังนี้

  1. การสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ
  2. การสัมผัสเลือด ของเหลว หรือ สารคัดหลั่ง ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
  3. การสัมผัสผุ้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลา

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการการติดเชื้อ Ebola

โดยการติดเชื้ออีโบล่านั้น มาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • การเดินทางไปใกล้แหล่งที่มีเชื้อโรคอีโบล่าระบาดอยู่แล้ว
  • กลุ่มคนที่การสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้
  • การสัมผัสศพ หรือ ผู้มีเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สุก

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับจะมีอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบล่านั้น จะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ตาแดง มีผื่นนูน ไอ เจ็บหน้าอก จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร เลือดออกทางจมูก ปาก หู ตา อาการของโรคไวรัสอีโบลา จะเริ่มแสดงอาการภายใน 2 ถึง 21 วัน หลังจากการรับเชื้อไวรัสอีโบลา เข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร
  • มีรอยช้ำ และเหมือนมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นั้นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ แต่แต่อาการของโรคอีโบลาจะปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และอาการเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมอยูด้วย

การรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่ติดไวรัสอีโบล่า ในปัจจุบันยังไม่ยาที่สามารถรักษา หรือฆ่าเชื้อไวรัสอีโบล่าในร่างกายมนุษย์ได้ สิ่งที่สามารถทำได้โดย ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ผู้ป่วยมีแรง รักษาระดับความดันเลือดและอ๊อกซิเจนในร่างกาย และป้องกันอาการแทรกซ้อนจากการติดโรคอื่น ตัวอย่างอาการแทรกซ้อนที่พบ คือ หลายอวัยวะล้มเหลว เลือดออกรุนแรง ดีซ่าน ชัก หมดสติ ช็อค ตับอักเสบ อ่อนแรง ปวดศีรษะ ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ

การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola )

การป้องกันโรคระบาด จากการติดเชื้อไวรัส ต้องหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื่้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ เช่น สถานที่ท่องเที่ยว โรงพยาบาล หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดนตัวผู้ป่วย รักษาสุขอนามัยให้สะอาด โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีรายละเอียดดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเดินทางหรือไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโรค
  • ลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีความเสี่ยงการติเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • ล้างอาหารให้สะอาด และ ปรุงอาหารที่สุก รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโรค เช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

โรคไวรัสอีโบลา ไข้เลือดออกอีโบลา ( Ebola ) เกิดจากติดเชื้อไวรัสอีโบลา อาการผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง รักษาอย่างไร ป้องกันอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove