ภาวะตับล้มเหลว ตับวาย ( Liver failure ) ตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะอื่นผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุมีหลายปัจจัย การรักษาและป้องกันทำอย่างไรตับวาย ตับหล้มเหลว โรคตับ กินยาพาราเกินขนาด

อวัยวะที่มีความสำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย คือ ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก Liver คำนี้มาจากภาษากรีก คือ Hepar หน้าที่หลักของตับ คือ กำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี ช่วยให้เลือกแข็งตัว ช่วยสร้างฮอร์โมนบางชนิด เป็นแหล่งสะสมน้ำตาลที่สำคัญของร่างกาย ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดของช่องท้อง และสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกาย การเกิดตับวาย นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยอัตราการเกิดโรคเท่าๆกันทั้งในชายและหญิง สำหรับ ภาวะตับวาย สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย ตับวายแบบเฉียบพลัน และ ตับวายแบบเรื้อรัง โดยรายละเอียดมี ดังนี้

  • ตับวายแบบเฉียบพลัน ภาษาอังกฤษ เรียก Acute liver failure หรือ Fulminant hepatic failure มีคำย่อว่า FHF เป็นภาวะตับวายที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ผู้ป่วยมักไม่เคยมีโรคตับมาก่อน และ ตับทำงานอย่างปกติก่อนเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน อาการที่แสดงให้เห็นชัดเจน คือ มีอาการทางสมอง เช่น คลื่นไส้อาเจียน โดย ลักษณะของตับวายเฉียบพลันสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ตับวายเร็วร้าย และ ตับวายกึ่งเร็วร้าย
  • ตับวายเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ เรียก Chronic liver failure คือ มีอาการผิดปรกติทางระบบประสาทและสมอง จากการทำงานผิดปรกติของตับ เช่น การดื่มสุราระยะเวลานาน ป่วยเป็นโรคตับอักเสบบี หรือ กินยาพาราเกินขนาด เป็นต้น ลักษณะอาการที่พบ จะ คลื่นไส้ นานเกิน 6 เดือน ซึ่งการรักษาอาการตับวายแบบเรื้อรัง นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ และ อาการ  ซึ่งระยะเวลาในการรักษาก็จะต่างกันออกไป

สาเหตุของการเกิดภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตับวายได้ ดังนี้

  • เกิดจากการประสบอุบัตติเหตุ ทำให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงที่ตับ ทำให้ตับสูญเสียการทำงานหรือเซลล์ตับบาดเจ็บ
  • เกิดจากเป็นโรคตับแข็ง
  • ภาวะพิษสุราเรื้อรัง
  • การติดเชื้อโรคที่ตับ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ
  • ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น การกินเห็ดพิษ กินสมุนไพรบางชนิด
  • กินอาหารที่มีพิษต่อร่างกาย เช่น อาหารที่ปนเปื้อนโลหะหนุก เช่น ตะกั่ว ทองแดง
  • กินยาเกินขนาด เช่น ยาพาราเซตามอล
  • การเสพยาเสพติดเกินขนาด
  • เกิดจากป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ หรือ มะเร็งแพร่กระจายสู่ตับ

อาการของภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย นี้ จะมีอาการเกิดขึ้นจากความผิดปรกติของการทำงานของตับส่งผลต่อการทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะระบบสมอง อาการที่จะเกิดขึ้น คือ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้องด้านขวาบน ตัวเหลืองตาเหลือง หลังจากนั้นอาการจะรุนแรงมากขึ้น  โดยอาการจะมีลักษณะตามนี้

  • มีน้ำในท้อง เกิดจากความดันเลือกในช่องท้องสูง ทำให้มีน้ำซึมจากหลอดเลือดเข้าสู่ช่องท้อง
  • เลือดออกง่าย หรือ มีลอยจ้ำห้อเลือด มีจุดแดงเล็กๆคล้ายในไข้เลือดออก เนื่องจากการทำงานหลักของตับ อย่างการทำให้เลือดแข็งตัวไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับทำหน้าที่ขับสารพิษ แต่เมื่อการทำงานผิดปรกติ ทำให้พิษเข้าสู่สมองและพิษเข้าไปทำลายเซลล์สมองโดยตรง เกิดภาวะสมองบวมได้ โดยอาการเริ่มต้นจะ นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย ตัด สินใจไม่ได้ กระสับกระส่าย สับสน ต่อจากนั้น จะซึมลง
  • มีอาการของ ไตวายเฉียบพลัน โดยไม่เคยมีโรคไตมาก่อนจากไตขาดเลือด สา เหตุจากความดันในระบบไหลเวียนโลหิตของช่องท้องสูงขึ้น เช่น บวมทั้งตัว โดย เฉพาะขาและเท้า ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ สับสน ซึม ชัก และโคม่า
    หมดสติ โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยภาวะตับวาย

การวินิจฉัยนั้น แพทย์จะทำการซักประวัติ อาการ ประวัติการใช้ยา และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย อาชีพ อาหาร น้ำดื่ม จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกาย การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต ดูภูมิต้านทานโรค ทำการอัลตร้าซาวน์ ดูภาพของตับ และต้องตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาภาวะตับวาย

สำหรับการรักษาภาวะตับวาย นั้นต้องรักษาต้นเกตุของปัญหา คือ ตับไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ โดยจะพยายามกำจัดสารพิษออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด รวมถึงการลดปริมาณสารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกาย เช่น ลดอาหารประเภทโปรตีนเพื่อลดสารไนโตรเจน ซึ่งเป็นพิษต่อตับ เป็นต้น

การรักษาภาวะตับวาย จะต้องควบคุมอาหาร การรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงต้องการป้องกันการเกิดเลือดออก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับวาย ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ในรายที่ตับสูญเสียมาก ต้องรับการปลูกถ่ายตับ จะทำให้มีโอกาสรอดชีวิตได้

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการเกิดภาวะตับวาย

โรคตับวาย เป็นภาวะความผิดปรกติของร่างกานที่มีความรุนแรงสูง สามารถทำให้ตายได้ โดยผลข้างเคียงของการเกิดโรคตับวาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ระบบการแข็งตัวของเลือด ไม่ทำงาน ทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆอย่างรุนแรง
  • ทำให้ตัวเหลืองตาเหลือง
  • ทำให้ร่างกายตืดเชื้อง่าย เนื่องจากภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ
  • ทำให้สมองบวม
  • ทำให้มีน้ำในช่องท้องมากและจะเกิดการติดเชื้อตามมา

การป้องกันโรคตับวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะตับวาย หรือ ภาวะตับล้มเหลวนั้น คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษต่อตับ โดยรายละเอียดดังนี้

  • ไม่กินยาเกินขนาด
  • ระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ไม่ทานอาหารที่มีสารพิษเจือปน
  • ระวังการสัมผัสสารคัดหลั่งของคนที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ
  • ระวังเรื่องการใช้สารเคมีทุกชนิด โดยเฉพาะ ยาฆ่าหญ้า
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด
  • ไม่เสพยาเสพติด
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

ภาวะตับล้มเหลว หรือ ตับวาย ( Liver failure ) ภาวะตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุของโรคมีหลายปัจจัย การรักษาโรค และ การป้องกันต้องทำอย่างไร

ริดสีดวงจมูก ( Nasal poly ) เนื้องอกในจมูก ติ่งเนื้อเมือกในจมูก การเกิดเนื้อเมือก เรียกว่า Polyp ไม่อันตรายแต่ทำให้มีปัญหาการหายใจ หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยนโรคริดสีดวงจมูก โรคทางเดินหายใจ โรคจมูก โรคต่างๆ

โรคริดสีดวงจมูก ภาษาอังกฤษ เรียก Nasal poly หรือเรียก เนื้องอกในจมูก หรือ ติ่งเนื้อเมือกในจมูก เป็นลักษณะ การเกิดเนื้อเมือก ที่เรียกว่า Polyp ที่เยื่อจมูก โดยมากจะมีโอกาสเป็นได้ทั้งสองข้างภายในรูจมูก ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงแต่อย่างไร แต่หากปล่อยให้เกิดก้อนโตมาก อาจทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ แต่เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันว่า สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก อาการของโรค และการรักษา การป้องกันการเกิดโรค ในบทความนี้กัน

ริดสีดวงจมูก เป็นโรคหนึ่ง ของโรคทางจมูกและไซนัส ลักษณะเป็นก้อนเนื้อเมือกในโพรงจมูก ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และส่วนมากผู้ป่วยจะเกิดโรคไซนัสอักเสบร่วมด้วย สำหรับโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และในกลุ่มคนที่เป็นโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง มีการศึกษาสถิติของผู้ป่วยโรคนี้ พบว่าผู้ป่วยชายมีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าเพศหญิง

สาเหตุของการเกิดริดสีดวงจมูก

เกิดจากไซนัสอักเสบ และโพรงจมูกอักเสบ นอกจากนั้นยัมมีสาเหตุอื่นๆอีก ที่ทำให้เกิดริดสีดวงที่โพรงจมูก โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวงจมูก ได้แก่

  • การอักเสบและการติดเชื้อของโพรงจมูก
  • ลักษณะทางกายวิภาคในโพรงจมูก ระบบประสาทและหลอดเลือด
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • ปัจจัยมี่เป็นผลกระทบจากการเกิดโรคที่มีผลต่อโพรงจมูก เช่น ไซนัสอักเสบ, ภาวะภูมิแพ้ , โรคหอบหืด , ภาวะไวต่อยาแอสไพริน , ติดเชื้อรา , โรคซิสติกไฟโบรซิส เป็นต้น
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของขนเล็กที่เยื่อบุจมูก
  • ความผิดปกติของการขับเกลือแร่ของเซลล์ ทำให้มีน้ำเมือกมีความเหนียวข้น
  • ความผิดปกติของกระแสลมที่ผ่านเข้าไปในบริเวณโพรงจมูก เช่น โพรงจมูกส่วนกลางและรูเปิดของไซนัส

อาการของโรคริดสีดวงจมูก

จะเกิดก้อนริดสีดวง หรือ ติ่งเนื้อ ในโพรงจมูก ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้ผู้ป่วย เกิดอาการคัดจมูก แน่นจมูก หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยน  การปล่อยให้อาการนี้เป็นนานโดยไม่รักษา ขนาดของก้อนเนื้อจะใหญ่ขึ้น จนทำให้ความสามารถในการสูดดมกลิ่นลดลง เกิดการจาม มีน้ำมูก หากถ้าเนื้อริดสีดวง ไปอุดกั้นรูเปิดของไซนัส จะทำให้ปวดหัวที่บริเวณหัวคิ้ว ปวดหัวที่บริเวณโหนดแก้ม เหมือนเป็นโรคไซนัส

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูกที่มีโรคไซนัสอักเสบ ร่วม นั้น ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดบริเวณใบหน้า มึนศีรษะ มีน้ำมูก ที่มีลักษณะเป็นหนอง สีเหลืองข้น หรือสีเขียวไหลออกมา หากน้ำหนองไหลลงคอ จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้มีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ปวดหู หายใจมีกลิ่นเหม็น และการรับรู้กลิ่นลดลง รวมทั้งการรับรู้รสชาติลดลง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคริดสีดวงจมูก

  • อาการไซนัสอักเสบแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการแน่นจมูก
  • อาจทำให้มีการผิดรปของจมูก เช่น ลักษณะของสันจมูกจะกว้าง
  • อาจทำลายกระดูกในโพรงจมูกได้
  • อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การวินิจฉัยโรคริดสีดวงจมูก

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการใช้เครื่องมือตรวจภายในโพรงจมูก และหลังโพรงจมูก ซึ่งหากริดสีดวงจมูก มีขนาดใหญ่ก็สามารถมองเห็นได้ สำหรับโรคนี้ วินิจฉัยจากอาการของโรคนั้นลำบาก เนื่องจากอาการของโรคเหมือนโรค หลายๆโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหวัด แต่อาการที่เด่นชัด คือ อาการแน่นที่จมูกตลอดเวลา

การรักษาโรคริดสีดวงจมูก

การรักษาริดสีดวงจมูกนั้น  เป็นการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาต้นเหตุของโรค คือ ก้อนเนื้อที่โพรงจมูก และรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ทำให้หายใจสะดวกขึ้น ลดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม อาการเสมหะไหลลงคอ ปัญหาการดมกลิ่น รักษาไซนัสอักเสบ โดยการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดพ่นจมูก เพื่อช่วยลดขนาดของริดสีดวงจมูก และป้องกันไม่ให้มีขนาดของริดสีดวงโตขึ้น
  • ให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ชนิดกิน หรือฉีด เพื่อช่วยเรื่องการรับกลิ่นให้ดีขึ้น
  • ทำการผ่าตัดเอาริดสีดวงจมูก แบบธรรมดา เรียกวิธีนี้ว่า Simple polypectomy เป็นการผ่าตัดเอาริดสีดวงที่จมูกออก โดยการใช้ลวดคล้องและดึงออกมา
  • ทำการผ่าตัดริดสีดวงจมูกและไซนัส โดยวิธีการส่องกล้อง จะตัดเอาริดสีดวงจมูกออก และผ่าตัดบริเวณรูเปิดไซนัสด้วย ทำให้โล่ง

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงจมูก

  • ควรหลีกเลี่ยงจากปัจจัยที่ทำให้เกิดการคัดจมูก ทำให้คันจมูก หรือทำให้จาม
  • ห้ามสั่งน้ำมูกแรง ๆ เนื่องจากจะทำให้เยื่อเมือกจมุกช้ำ และอักเสบมากขึ้น
  • ห้ามใช้ยาหยอดจมูก ยาพ่นจมูก หรือยานัตถุ์ เนื่องจากจะทำให้เยื่อจมูกอักเสบมากขึ้น
  • ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
  • ให้ทำการรักษาโรคที่มีผลต่อการเกิดโรคริดสีดวงจมูก เช่น โรคติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ เป็นต้น

ริดสีดวงจมูก ( Nasal poly ) เนื้องอกในจมูก ติ่งเนื้อเมือกในจมูก การเกิดเนื้อเมือก เรียกว่า Polyp ที่เยื่อจมูกมีโอกาสเป็นได้ทั้งสองข้างภายในรูจมูก ไม่อันตราย แต่หากปล่อยให้เกิดก้อนโต ทำให้มีปัญหาด้านการหายใจ ทำให้หายใจลำบาก เสียงพูดเปลี่ยน สาเหตุของโรคริดสีดวงจมูก อาการ การรักษา การป้องกัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove