โรคพิษสุนัขบ้า ( hydrophobia ) ติดเชื้อไวรัสเรบีส์จากหมากัด ส่งผลต่อสมอง อาการมีไข้ เป็นเหน็บ การเคลื่อนไหวรุนแรง ควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ขยับร่างกายบางส่วนไม่ได้

โรคพิษสุนัขบ้า โรคกลัวน้ำ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ภาษาทางการแพทย์ เรียก โรคพิษสุนัขบ้า ว่า  hydrophobia เป็นโรคที่คนไทยรู้จักกันในโรคกลัวน้ำ เป็น โรคติตเชื้อที่มาจากสัตว์  ซึ่งอาการรุนแรง กระทบกับระบบประสาทและสมอง ซึ่งเชื้อโรค ที่ทำให้เกิดโรคคือ เชื้อไวรัส ทำให้สมองอักเสบฉับพลัน หากมีอาการ มีไข้ เป็นเหน็บ การเคลื่อนไหวรุนแรง ตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ขยับร่างกายบางส่วนไม่ได้ กลัวน้ำ เป็นอาการเบื้องตนของโรคพิษสุนัขบ้า

โรคติดเชื้อจากสุนัข โรคพิษสุนัขบ้า นี้มีคนเสียชีวิตปีละ 50,000 คน และเสียชีวิตจากการโดนสุนัขที่มีเชื้อโรคถึงร้อยละ 95 พบว่าทวีปเอเชียและแอฟริกา มีอัตราการการเกิดโรคสูงสุด โรคพิษสุนัขบ้า จัดว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์  (Rabies) เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนท โดยไวรัสชนดนี้จะทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เสียชีวิต

สาเหตุของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า

เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ ที่อยู่ในน้ำลายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทำให้เกิดอาการอักเสบ ซึ่งไวรัสนี้จะพบมากในสุนัขค้างคาว และหนู เชื้อไวรัสเรบีส์เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดอาการอักเสบที่ผิวหนัง นอกจากเชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังแล้ว ทางการหายใจก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ เช่น การเข้าไปในถ้ำที่มีค้างคาว จำเป็นต้องมีการป้องกัน หลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรคจะทำลายระบบประสาท และเสียชีวิตในที่สุด

สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค คือ หมา และแมว เรามีวิธีในการสังเกตุสัตว์ที่มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ได้ 2 ลัษณะ คือ สัตว์มีอาการดุร้าย และสัตว์มีอาการซึมเศร้า ซึ่งลักษณะอาการมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลักษณะสัตว์มีอาการดุร้าย สำหรับสัตว์ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า นั้น ในระยะแรก สังเกตุจากสัตว์มีพฤติกรรมผิดปรกติ เช่น สัตว์ไม่มีอาการดุร้ายเข้ากับคนได้ แต่อยู่ดีๆก็แยกตัวออกจากคน และมีอาการหวุดหงิด จากนั้น สุนัขจะหลบตัวอยู่ในที่มืด ไม่ตอบสนองต่อเสียง และสิ่งแวดล้อม สุนัขจะมีอาการกระวนกระวาย ไล่งับแมลง หรือทุกอย่างที่อยู่ข้างหน้า เช่น ดิน ก้อนหิน กิ่งไม้ จากนั้นเริ่มวิ่งพล่าน และดุร้าย ไล่กัดคน และทุกอย่างที่อยู่ข้างหน้า สุนัขจะเริ่มหอนผิดปกติ ลิ้นห้อย น้ำลายไหลยืด จากนั้นสุนัขจะอ่อนแรง ตัวแข็ง และตายในที่สุด สุนัขที่ล้มแล้วลุกขึ้นไม่ได้ จะตายภายใน 3 วัน
  • ลักษณะของสัตว์ที่มีอาการซึมเศร้า สำหรับสัตว์ที่มีเชื้อพิษสุนัขบ้าและอาการซึมเศร้า สังเกตุยาก โดยเริ่มจากเหมือนมีอาการเป็นหวัด มีไข้ ซึม นอนซม ไม่กินอาหาร ชอบหลบตัวในที่มืดๆ  สัตว์จะไม่มีอาการดุร้ายให้เห็นแต่จะกัดหากถูกรบกวน สุนัขจมีอาการเหมือนก้างติดคอ ไอ ใช้ขาตะกุยคอ หลังจากนั้นสุนัขจะเป็นอัมพาต และจะภายใน 10 วัน

สำหรับสุนัขที่มีโอกาสติดเชื้อพิษสุนัขบ้านั้น ส่วนมากจะพบมากในสุนัขอายุน้อย เพศเมีย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความแข้งแรงน้อยจึงทำให้ไม่สามารถทนต่อการติดเชื้อได้

การแพร่เชื้อพิษสุนัขบ้าสู่คน

สำหรับการแพร่เชื้อสู่คนนั้น เราสามารถสรุปได้ 2 ลักษณะ คือ การโดนกับ หรือ สัมผัสเชื้อโรคจากการเลีย ซึ่งทั้ง 2 ลักษณ คือ การสัมผัสน้ำลายของสัตว์ เข้าสู่ร่างกาย เราได้สรุปมาให้ดังนี้

  1. การถูกสุตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด เป็นการสัมผัสเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง
  2. การถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเลีย ซึ่งหากโดยเลียในส่วนของร่างกายที่อ่อนแอ เช่น มีแผลอยู่ ก็สามารถทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้

อาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า นั้นเราสามารถแบ่งลักษณะอาการได้ 3 ระยะ คือ ระยะนำโรค ระยะเริ่มมีอาการทางระบบประสาท และระยะสุดท้าย คือ ระยะไม่รู้สึกตัว รายละเอียดของระยะต่างๆ ของโรคพิษสุนัขบ้ามีดังนี้

  • ระยะแรก คือ ระยะนำของโรค ภาษาอังกฤษ เรียก Prodrome เป็นระยะที่มีอาการหลายอย่างไม่เฉพาะเจาะจงหากไม่ทราบว่าโดนสุนัขกัดจะวินิจฉัยยาก โดยลักษณะผู้ป่วยจะมีอาการต่าง ดังนี้ มีไข้ต่ำแต่ไม่สูง ประมาณ 38 องศาเซลเซียส แต่มีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ และอารมณ์ไม่ปรกติ มีอาการปวด ที่แผล รวมถึง คันและชา ปวดแสบปวดร้อน และลามไปทั่วทั้งแขนและขา
  • ระยะที่สอง คือ เริ่มแสดงอาการทางระบบประสาท ภาษาอังกฤษ เรียก Acute neurologic หลังจากมีอาการในระยะที่หนึ่ง ไม่เกิน 10 วัน ลักษณะอาการทางระบบประสาทจะมี 3 อาการ คือ คุ้มคลั้ง อัมพาต และอาการแบบไม่เหมือนต้นแบบ รายละเอียดของอาการในระยะนี้มีดังนี้
    • ลักษณะอาการคลุ้มคลั่ง (Furious rabies) อาการนี้พบมากร้อยละ 80 ของผุ้ป่วยจะมีอาการคลุ้มคลั่ง ในระยะแรก จะมีไข้ เห็นภาพหลอน ไม่ชอบแสงและเสียง จากนั้นจะเริ่มไม่เป้นตัวของตัวเอง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย จะอาละวาด ผู้ป่วยจะมีอาการกลัวน้ำ กลัวลม ทั้งสองอาการกลัวน้ำและกลัวลมจะพบในผุ้ป่วยทุกราย เมื่อระบบประสาทเริ่มผิดปรกติ จะมีอาการน้ำลายไหล น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก ขนลุก อวัยวะเพศแข็งตัว และหลั่งน้ำอสุจิบ่อย โดยไม่ตั้งใจ หลังจากนั้นจะซึมฌสณ็ษ หมดสติ และเสียชีวิตภายใน 7 วัน
    • ลักษณะอาการอัมพาต(Paralytic rabies) อาการลักษณะนี้พบได้เพียงร้อยละ 20 ของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ป่วยจะมีไข้ และกล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ การกลัวน้ำ และกลัวลม ผู้ป่วยที่มีอาการลักษณะนี้พบว่าจะเสียชีวิตใน 2 สัปดาห์
    • ลักษณะแสดงอาการไม่ตรงต้นแบบ (Non-classic) เป็นลักษณะอาการไม่เหมือนโรคพิษสุนัขบ้า เช่น มีอาการปวดประสาท กล้ามเนื้ออ่อนแรง ต่อมาเป้นอัมพาตครึ่งซีก มีอาการชัก การเคลื่อนไหวผิดปกติ แต่ไม่พบว่ามีอาการกลัวน้ำ และกลัวลม
  • ระยะสุดท้าย (Coma) เป็นระยะผุ้ป่วยไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยทุกรายเมื่อแสดงอาการในระยะสุดท้ายจะไม่รู้สึกตัว มีอาการหมดสติ และเสียชีวิตด้วยระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว

การรักษาผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า

ปัจจุบันไม่มีวิธีรักษาโรคพิษสุนัขให้หายขาด การรักษาสามารภทำด้เพียงการรักษาตามอาการ และควรนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

  • สำรับผู้ป่วยที่โดนสัตว์กัด ให้รีบพบแพทย์ เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสพิษสันัขบ้า โดยต้องฉีด 5 ครั้งในเวลา 30 วัน
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคชัดเจน การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยานอนหลับเพื่อลดการคลุ้มคลั่ง ให้ยาแก้ชัก และให้สารอาหารทางเส้นเลือด เนื่องจากผุ้ป่วยกินอาหารเองไม่ได้ และติดตามดูอาการไปจนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต
  • สำหรับผู้ป่วยที่แสดงอาการแต่ไม่ชัดเจน อาจต้องเจาะหลัง เพื่อตรวจหาเชื้อพิษสุนัขบ้า ถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เป็นต้น

ข้อควรปฏิบัติหากถูกสุนัขกัด

หากเราถูกสุนัขและสัตว์ที่เราสงสัยว่ามีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด มีข้อควรปฏิบัต ดังนี้

  1. ให้ล้างแผลทันที ล้างด้วยฟองสบู่และน้ำสะอาด ล้างด้วยแอลกอฮอล์ และทายาที่แผลด้วยน้ำยาเบตาดีน แล้วรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที
  2. นำสุนัขไปตรวจโรคพิษสุนัขบ้า ในบางรายแนะนำให้ขังสุนัขเพื่อดูอาการผิดปรกติ แต่อาจจะสายเกินไป เอาไปตรวจเลย จะได้รักษาทัน
  3. ให้รีบไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

หากท่านโดนสุนัขกัด หรือพบเห้นว่ามีสุนัขไล่กัดคน สิ่งที่ต้องทำ คือ แจ้งหน่วยงานในพื้นที่ทราบ ประสานกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อควบคุมการเกิดโรคพิษสันัขบ้า นำสัตว์ไปตรวจโดย ส่งห้องปฏิบัติการ ให้กักขังสัตว์ไว้ในที่ปลอดภัย และเฝ้าดูอาการ ไม่ควรฆ่าสัตว์โดยไม่จำเป็น แต่หากเป็นสัตว์ใหญ่ อย่าง วัว ควาย ต้องตัดหัว ใส่ถุงพลาสติกแช่น้ำแข็ง นำส่งห้องปฏิบัติการนำไปตรวจ

ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวัง หากทำม่ดีจะทำให้การตรวจสอบยาก ล้างมือให้สะอาดหลังจากเก็บซาก

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า คือ อย่าให้ถูกสัตว์กัด และการฉีดยาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้า แต่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบล่วงหน้า นั้นต้องฉีด 3 เข็ม ในระยะเวลา 30 วัน โดยบุคคลที่ควรฉีด คือ คนที่ต้องคลุกคลีกกับสัตว์อย่างหมาและแมว ส่วนของการฉีดวัคซีนป้องการเชื้อพิษสุนัขบ้าหลังจากโดนกัดนั้น ใช้วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ชนิดที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง เนื่องจากประสิทธิภาพสูง ฉีดจำนวน 5 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการแพ้ต่อระบบประสาท

สำหรับการฉีดยาวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้านั้น มี 2 แบบ คือ แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบฉีดเข้าชั้นผิวหนัง

โรคพิษสุนัขบ้า ( hydrophobia ) การติดเชื้อไวรัสเรบีส์ จากโดนหมากัด โรคสมอง อาการมีไข้ เป็นเหน็บ การเคลื่อนไหวรุนแรง ตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ขยับร่างกายบางส่วนไม่ได้ อาการเบื้องตนของโรคพิษสุนัขบ้า โรคกลัวน้ำ โรคติดต่อ กระทบต่อระบบประสาทและสมอง

พยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ปอดติดเชื้อเกิดจากการพยาธิใบไม้ใน ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด โรคพยาธิ โรคปอด โรคในทรงอก

อาการของโรคพยาธิใบไม้ในปอด อาการสำคัญคือ ไอเรื้อรัง และไอเป็นเลือด เกิดจากการติดพยาธิจากการกินอาหาร กินปูดิบ กินกุ้งดิบ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย นอกจากไอแล้ว เสมหะจะมีสีเขียวข้น บางครั้งอาจมีพยาธิออกมากับเสมหะ หากไม่รักษาอาจ ทำให้พยาธิขึ้นสมอง มีอาการชัก สายตาผิดปรกติ  มีอาการบวมเหมือนคนเป็นดรคพยาธิตัวจี๊ด ทำความรู้จักกับ โรคพยาธิใบไม้ในปอด ว่า เกิดจากสาเหตุอะไร รักษาอย่างไร และต้องดูแลอย่างไร

โรคพยาธิใบไม้ปอด ชนิดพาราโกนิมัส หรือภาษาอังกฤษ เรียก Paragonimus เกิดจากการพยาธิใบไม้ ชื่อ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่าง หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน จะเข้าสู่ปอด ทำให้มีอาการไอเรื้อรังและไอเป็นเลือดได้ ซึ่งพยาธิใบไม้ชนิดนี้ สามารถแพร่ระบาดสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้โดย การรับประทานอาหารประเภทปูและกุ้งน้ำจืดบางชนิด แบบดิบๆ ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน แถบเอเชีย อเมริกาใต้และแอฟริกา สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่ามีรายงานผู้ป่วยในจังหวัดเพชรบรูณ์ สระบุรี นครนายก เชียงราย น่าน เลย ราชบุรี เป็นพยาธิชนิดพาราโกนิมัส เฮเทอโรทรีมัส (Paragonimus heterotremus)

สาเหตุของการติดพยาธิใบไม้ในปอด

สาเหตุหลักของการติดพยาธิใบไม้ในปอดนั้น เกิดจาก การมีพยาธิใบไม้ที่มีการอาศัยในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เสือ พังพอน ซึ่งโรคพยาธิชนิดนี้ ผู้ป่วยบางรายกลืนเสมหะลงไป ทำให้ไข่พยาธิที่จะขับออกมากับเสมหะ สามารถออกมากับอุจจาระ และลงสู่แหล่งน้ำะรรมชาติ สัตว์น้ำ อย่าง ปู และกุ้ง กินต่อ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ง่าย ภายใน 30 วัน ไข่พยาธิสามารถฟักตัวได้ และเจริญเติบโตต่อในร่างกายของสัตว์เหล่านั้น เมื่อมนุษย์จับสัตว์แหล่านั้นมาทำอาหาร โดยไม่มีการปรุงอาหารให้สุก ก่อน ก็จะรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกาย

สำหรับการรับไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกายและจะเกิดโรคพยาธิใบไม้ในปอดนั้น มีระยะของการเกิดโรค ยาวนานถึง 20 ปี เนื่องจากในชีวิตประจำวันของสัตว์ที่มีไข่ของพยาธืนั้น เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพยาธิใบไม้ในตับได้

ระยะของการติดต่อ

ซึ่งระยะของการติดโรคนั้น มี 2 ระยะคือ ระยะฟักตัวและระยะติดต่อ รายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค ในระยะนี้กินเวลา ประมาณ 45 วัน นับตั้งแต่พยาธิใบไม้เข้าสู่ร่างกาย จากนั้นเจริยเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและสามารถผสมพันธ์และออกไข่ได้
  • ระยะติดต่อของโรค ในระยะนี้สามารถกินเวลาได้มากกว่า 20 ปี เนื่องจากหากมีพยาธิใบไม้เจริญเติบดตในร่างกายแล้ว เกิดการขยายพันธ์ แต่การติดต่อของพยาธิจะไม่ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์โดยตรง แต่การติดต่อนั้นต้องอาศัยตัวกลางเป็นพาหะ เช่น กุ้ง หอยและปู เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะอาการของโรค มีความเหมือนกับโรควัณโรค คือ อาการไอแบบเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวข้น อาจมีโลหิตปนออกมากับเสมหะ รวมถึงไอเป็นเลือด และสามารถพบพยาธิออกมากับเสมหะได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บที่หน้าอก หากไม่เข้ารับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคและรับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้ พยาธิขึ้นสมอง หากพยาธิเข้าสมองแล้ว ผู้ป่วยจะปวดหัว มีอาการเหมือนผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง มีอาการชัก เป็นลมบ้าหมู ระบบสายตาผิดปกติ มีหนอนพยาธิอาศัยอยู่ใต้ผิวหนัง จะรู้สึกเหมือนเป็น โรคพยาธิตัวจี๊ด

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถทำได้โดยการ สังเกตุอาการของผู้ป่วย ตรวจเสมหะและตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่ของพยาธิ เอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูความผิดปรกติของปอด เป็นต้น

การรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด

สามารถทำการรักษาได้โดยการใช้ยา แต่การใช้ยาจะมีอาการแทรกซ้อน บ้าง แต่ไม่เป็นอันตราย เช่น มีอาการท้องเดิน ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยยาที่ใช้ในการรักษาโรคพยาธิใบไม้ในปอด คือ

  1. ยาไบไทโอนอล (Bithionol) ต้องให้ยานี้ในปริมาณ 30 ถึง 40 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัวคน 1 กิโลกรัม โดยให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  2. ยาไบทิน บิส (Bitins bis) ต้องให้ยาในปริมาณ 10 ถึง 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้ยาวันเว้นวัน 10 ถึง 15 ครั้ง
  3. ยาฟาซควอนเตล (Prazlquamtel) ต้องให้ยาในปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน

การควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในปอด

ลักษณะการป้องกันให้ทำเหมือนโรคพยาธิไส้เดือนและพยาธิใบไม้ในตับ โดยข้อควรปฏิบัติสำหรับการควบคุมและป้องกัน มีดังนี้

  1. ให้กำจัดเสมหะและอุจจาระของผู้ป่วยย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการขยายพันธ์ และแพร่เชื้อสู่สัตว์อื่นๆ เช่น ขุดหลุมฝังเสมหะและถ่ายอุจจาระให้ลึกๆ ไม่บ้วนเสมหะลงที่สาะารณะ ที่มีคนจำนวนมาก และแม่น้ำลำคลอง
  2. ทำลายสัตว์ที่เป็นพาหะตัวกลางนำโรค เช่น หอย ปู กุ้ง หนู พังพอน แต่การกำจัดนั้น เป็นไปได้ยาก สิ่งที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี้ยงในการสัมผัสและใกล้ชิดกับสัตว์ที่มีโอกาสเป็นพาหะของพยาธิ
  3. ไม่รับประทานอาหารพวกกุ้งและปูแบบดิบๆ

โรคพยาธิใบไม้ในปอด ( Paragonimus ) ภาวะการติเชื้อที่ปอด เกิดจากการพยาธิใบไม้ Paragonimus westermani ที่อาศัยอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมา แมว เป็นต้น เมื่อพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายคน เข้าสู่ปอด ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เสมหะมีสีเขียวข้น เสมหะมีพยาธิปน เกิดจากการกินอาหารดิบ ปูดิบ กุ้งดิบ โรคติดต่อ สาเหตุ การรักษา ต้องดูแลอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove