ไข้หวัดไหญ่ Influenza ติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซาที่ทางเดินหายใจ อาการปวดหัว ไอ เจ็บคอมีน้ำมูก เบื่ออาหาร ปวดตามตัว อ่อนเพลียมาก ท้องเสีย ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ รักษาไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Influenza เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง เป็นโรคติดต่อที่ระบบทางเดินหายใจโรคนี้สามารถเกิดได้ตลอดทั้งปี แต่พบสูงขึ้นในฤดูหนาว

สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่

เกิดจากติดเชื้อไวรัส ชื่อ อินฟลูเอนซา ภาษาอังกฤษ เรียก Influenza viruses เป็นโรคติดที่ทางเดินหายใจ เหมือนโรคไข้หวัดแต่แตกต่างกันที่ติดเชื้อไวรัสต่างกัน  และรุนแรงของโรคสูงกว่าไข้หวัดธรรมดามากนัก ไวรัสที่ทำให้ติดไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์ ความรุนแรงของแต่ละสายพันธ์ต่างกัน

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

อาการไข้หวัดใหญ่ คือ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงมาก ประมาณ 38 – 41 องสาเซลเซียส ปวดหัวหนักมาก ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เบื่ออาหาร มีน้ำตาไหล ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียมาก หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย อาจจะทำให้หัวใจล้มเหลวได้

การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

สามารถทำได้โดยการใช้ยาต้านไวรัส กินยาลดไข้ และรักษาตามอาการของไข้ แต่แนวทางที่ดีที่สุดคือ การพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆ และร่างกายจะทำการขับเชื้อออกจากร่างกายเอง

การระบาดของไข้หวัดใหญ่

การระบาดของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกนั้นมีอยู่ลายขนิดที่มีการระบาด ซึ่ง ได้สรุป การระลาบของไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2461 ถึงปี พ.ศ. 2552 รายละเอียดดังนี้

  • ในปีพ.ศ. 2461 ถึง 2462 ซึ่งคือ ค.ศ.1918-1919 มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A H1N1 เรียกชื่อว่า ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spainish flu) เป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงมากเนื่องจากสมัยนั้นความก้าวหน้าทางการแพทย์ยังไม่มาก มีคนตายในช่วงนั้นประมาณ 50 ล้านคน โดยในสหรัฐอเมริกา เองช่วงเวลานั้นมีคนตายมากถึง 5 แสนคน
  • ในปี พ.ศ. 2500 ถึง 2501 ซึ่งคือ ค.ศ.1957-1958 มีการแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A H2N2 เรียกไข้หวัดชนิดนี้ว่า ไข้หวัดใหญ่เอเชีย (Asian flu) มีการระบาดเริ่มมาจากทางเอเชีย และระบาดไปทั่วโลก มีการเสียชีวิตในช่วงนั้นมากถึง 7 หมื่นคน โชคดีที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคได้ทันเวลา
  • ในปี พ.ศ. 2511 ถึง 2512 ซึ่งคือ ค.ศ.1968-1969 มีการแพร่ระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A H3N2 เรียกชื่อว่า ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (Hong Kong flu) เนื่องจากว่าพบผู้ป่วยชนิดนี้ครั้งแรกที่เกาะฮ่องกง ในการระบาดครั้งนั้น มีคนเสียชีวิต ประมาณ 34,000 คนเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ฃ
  • ในปี พ.ศ. 2520 ถึง 2521 ซึ่งคือ ค.ศ.1977-1978 มีการระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ A H1N1 อีกครั้ง โดยครั้งนี้เกิดจากการระบาดที่ประเทศรัสเซีย เราเรียกการระบาดครั้งนั้นว่า ไข้หวัดใหญ่รัสเซีย (Russian flu) การระบาดในครั้งนั้นจะเกิดอาการร้ายแรงกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 23 ปี ซึ่งยังไม่มีภูมิต้านทานโรคที่ดีพอ
  • และในปี พ.ศ. 2552 หรือ ค.ศ.2009 มีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A H1N1 อีกครั้ง แต่ในครั้งนี้เกิดการกรายพันธ์ และมีนกเป็นพาหะการนำเชื้อโรคมาแพร่ระบาด

สมุนไพรบำรุงเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากการติดเชื้อในกระแสเลือด เราได้รวบรวมสมุนไพรที่สามารถบำรุงโลิตได้ มีดังนี้

รากสามสิบ ต้นรากสามสิบ สรรพคุณของรากสามสิบ ประโยชน์ของรากสามสิบรากสามสิบ มะตูม ต้นมะตูม สรรพคุณของมะตูม ประโยชน์ของมะตูมมะตูม
ผักสมุนไพร ขึ้นฉ่าย คื่นฉ่าย สมุนไพรคื่นฉ่าย หม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อนหม่อน
อบเชย สมุนไพร สมุนไพรในครัว ต้นอบเชยอบเชย ต้นเข็ม ต้นเข็มแดง ดอกเข็ม สรรพคุณของต้นเข็มเข็มแดง

โรคไข้หวัดไหญ่ ( Influenza ) โรคติดต่อ ติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซาที่ระบบทางเดินหายใจ อาการโรคไข้หวัดใหญ่ ปวดหัวหนักมาก ไอ เจ็บคอมีน้ำมูก เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียมาก หนาวสั่น ท้องเสีย อาจจะทำให้หัวใจล้มเหลวได้

แคนดิไดอะซิส ภาวะการติดเชื้อราแคนดิดาเป็นยีสต์ที่พบทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค

โรคแคนดิไดอะซิส โรคติดเชื้อ ติดเชื้อราที่ช่องปาก โรคติดต่อ

เชื้อชนิดนี้พบได้ตามเยื่อเมือกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร อวัยวะเพศหญิง ยีสต์กลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดโรค แต่ความอับชื้นทำให้ ยีสต์ชนิดนี้มีความรุนแรงจนก่อให้เกิดเป็นโรค โรคแคนดิไดอะซิสพบได้บ่อยเกิดได้ทั่วโลก พบในทุกเพศ ทุกวัย และ พบทารกแรกเกิด และ ผู้สูงอายุ มากที่สุด จากรายงานของโรคพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อมักติดเชื้อที่คอหอย

สาเหตุของการติดเชื้อแคนดิไดอะซิส

โรคแคนดิไดอะซิสเกิดจากติดเชื้อราช่ือแคนดิดา เป็นเชื้อราที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่เชื้อราเกิดการเจริญเติบโตรวดผิดปกติ จนเกิดภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ โดยมักเกิดกับอวัยวะที่มีความชื้นสูง เช่น ช่องคลอด ช่องปาก โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสเชื้อโรค และ เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคแคนดิไดอะซิส ได้แก่ กลุ่มคนต่างๆเหล่านี้

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเอดส์ เด็กทารก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีอวัยวะเพศอับชื้น
  • กลุ่มคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุขอนามัยไม่ดี
  • กลุ่มคนที่ใช้ยาบางประเภทอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาปฏิชีวนะ และ ยากลุ่มCorticosteroid
  • กลุ่มคนใส่ฟันปลอม

อาการของโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับอาการของโรคแคนดิไดอะซิส สามารถแบ่งอาการของโรค 3 ลักษณะ คือ การติดเชื้อเฉพาะที่ การติดเชื้อในกระแสเลือด และ การติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยรายละเอียดของโรคแคนดิไดอะซิส มีดังนี้

  • อาการติดเชื้อเฉพาะที่ จะติดเชื้อบริเวณอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร ช่องคลอด อวัยวะเพศ โดยอาการของโรคจะแสดงอาการ คือ เกิดเนื้อเยื้อสีขาวข้น ผิวเรียบ เป็นมันเหมือนไขนม รอบๆของเนื้อเยื่อ จะมีลักษณะ แดง เจ็บ แสบ และ คัน  ซึ่งอาการอื่นๆที่พบ คือ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาการมักไม่รุนแรง รักษาให้หายได้
  • อาการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลืือด ซึ่งภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีความรุนแรง อันตรายทำให้เสียชีวิตได้ โดยพบว่ามีการติดเชื้อ ที่หัวใจ สมอง ตับ ไต ร่วมด้วย อาการตอดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะแสดงอาการ คือ มีไข้สูง  อ่อนเพลีย อวัยวะต่างๆอักเสบ ปวดตัว อาการเหล่านี้มักพบคนที่มีภูมิคุ้มต้านทานโรคต่ำ
  • อาการติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตผิดปรกติจนเกิดโรค อาการนี้ขึ้นกับภูมิต้านทานโรคของแต่ละบุคคล

การรักษาโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคแคนดิไดอะซิส คือ การรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรค เช่น การใช้ยาต้านเชื้อรา การหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงการประคับประครองอาการของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ อาจเป็นการใช้ยาทาเฉพาะที่ ยากิน หรือ ยาฉีด
  • สำหรับสาเหตุของโรคจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ให้ทำการหยุดการใช้ยาที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การรักษาโรคด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดจากอวัยวะอักเสบ

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับผู้ป่วนโรคแคนดิไดอะซิส ควรมีแนวทางการดูแลตนเอง ดังต่อไปนี้

  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้อยู่ในสภาพที่ดี
  • ไม่ควรอยู่ในสถานที่เสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค

การป้องกันการติดเชื้อโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับการป้องกันโรคแคนดิไดอะซิส มีแนวทางการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • รักษาความสะอาดของอวัยวะที่มีโอกาสติดเชื้อ เช่น อวัยวะเพศ ช่องปาก
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะ หรือ ยาสเตียรอยด์ เพื่อใช้เอง

โรคแคนดิไดอะซิส ( Candidiasis ) ภาวะการติดเชื้อแคนดิดา เป็นยีสต์ที่พบได้ทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove