ผักแพว ผักไผ่ ( Vietnamese Coriander ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นผักสด ต้นผักแพวเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม ชขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร

ผักแพว มินต์เวียดนาม สมุนไพร สรรพคุณของผักแพว

ผักแพว หรือ ผักไผ่ เป็นผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดี ใบมีกลิ่นหอม สรรพคุณ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก แก้อาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิค้านทานของร่างกาย ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาผื่น ลดอาการบวมแดง รักษาแผลอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อโรคของแผล มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิว บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลในช่องปาก ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ป้องกันมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก บำรุงเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจวาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคต้อกระจก

จาก สรรพคุณของผักแพว ข้างต้น ทำให้ผักแพวเป็น ผักสมุนไพร ที่น่าทำความรู้จักกันอย่างละเอียด ผักแพว นิยมรับประทานในกลุ่ม คนภาคเหนือและอีสาน เป็นผักที่ให้รสเผ็ดร้อน ทานคู่กับลาบ ซุปหน่อไม้ หรือน้ำพริก ทำให้รสชาติตัดกัน เข้ากันได้อย่างดี

ผักแพว ภาษาอังกฤษ เรียก Vietnamese Coriander มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Polygonum odoratum Lour. เป็นพืชตระกลูเดียวกันกับไผ่ สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักแพว คือ พริกม้า พริกม่า หอมจันทร์  ผักไผ่ จันทน์โฉม จันทน์แดง ผักไผ่น้ำ  ผักแพ้ว ผักแพรว ผักแจว พริกบ้า หอมจันทร์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการผักแพว

นักโภชนาการได้ศึกษาผักแพว ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 54 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น น้ำ 89.4 กรัม
กากใยอาหาร 1.9 กรัม โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม แคลเซียม 573 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 272 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 79 มิลลิกรัม วิตามิน เอ 8,112 IU วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.59 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.7 มิลลิกรัม และวิตามินซี 77 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของผักแพว

ผักแพว เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของลำต้น ตั้งตรง มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ขนาดลำต้นมีเล็ก ทรงกลม เป็นข้อปล้อง มีสีเขียวอมม่วงแดง ลักษณะรากของผักแพว เป็นรากฝอยแตกออกจากเหง้า ใบของผักแพว เป็นใบเดี่ยว ใบยาวทรงกระบอก ปลายแหลม มีกลิ่นหอม ผิวใบเรียบ เป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ดอกของผักแพว ออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก ดอกตูม สีม่วงแดง ดอกบานเต็มที่จะมีสีขาว เมล็ดของผักแพว เมล็ดมีขนาดเล็ก แก่เร็ว และร่วงง่าย

สรรพคุณทางสมุนไพรของผักแพว

ผักแพว สามารถใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรได้ทุกส่วน ทั้ง ลำต้น ใบ และราก รายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้น และใบของผักแพว ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก แก้อาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิค้านทานของร่างกาย ใช้รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาผื่น ลดอาการบวมแดง รักษาแผลอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อโรคของแผล
    มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของผิว บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยดับกลิ่นปาก รักษาแผลในช่องปาก ระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รักษาโรคเบาหวาน ป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งผิวหนัง ป้องกันมะเร็งเต้านม ป้องกันมะเร็งปากมดลูก บำรุงเลือด ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจวาย ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคต้อกระจก
  • รากของผักแพว ใช้รักษาแผลติดเชื้อ รักษาโรคผิวหนัง

การเลือกซื้อผักแพว

ผักแพว ที่ดี ต้องสด การเลือกซื้อให้สังเกตุความสดของใบ ไม่เหี่ยว ไม่เหลือง ส่วนการเก็บรักษาผักแพว เก็บใส่ในถุงพลาสติกปิดให้สนิท หรือเก็บใส่กล่องพลาสติก แล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องแช่ผัก

ผักแพว ผักไผ่ ( Vietnamese Coriander ) ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ใบมีกลิ่นหอม นิยมรับประทานเป็นผักสด ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักแพว คุณค่าทางโภชนาการของผักแพว ประโยชน์ของผักแพว สรรพคุณของผักแพว ช่วยขับลม ช่วยขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณช่วยดับคาว ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง โทษข่ามีอะไรบ้างข่า สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของข่า

ต้นข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระชาย ขิง กระวาน ขมิ้น เป็นต้น สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ข่า พืชท้องถิ่น ปลูกง่าย นิยมปลูกในทุกครัวเรือนของบ้านในประเทศไทย ข่า เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สามารถหาซื้อได้ตามตลาด สำหรับอาหารไทยและอาหารอินโดนีเซีย นิยมใช้ข่ามาปรุงอาหาร ข่าเป็นหนึ่งในเครื่องเทศยอดนิยม เมนูอาหารอย่าง ต้มข่าไก่ หรือต้มยำกุ้ง น้ำพริกต่างๆ ต้องมีข่าเป็นส่วนผสม

ลักษณะของต้นข่า

ข่า จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ในดิน เหง้าจะมีข้อและปล้องมองเห้นได้ค่อนข้างชัดเจน ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว ใบของข่า เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันที่ยอดของลำต้น ใบมีลักษณะรี ดอกของข่าจะออกที่ยอดลำต้น มีขนาดเล็ก สีขาว และผลของข่าจะเป็นทรงกลม สามารถมองเห็นได้เมื่อดอกแห้ง

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากข่า นิยมนำข่ามาบริโภค เหง้าอ่อนของข่า ซึ่งเป็นส่วนที่มีรสเผ็ด ช่วยขับลมได้ดี มีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

สำหรับการใช้ ประโยชน์ข่า ด้านการรักษาโรค และใช้ทำสมุนไพร นั้น นิยมใช้ หน่อ เหง้า ราก ดอก ผล และใบ เรียกได้ว่าทุกส่วนของข่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด รายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • เหง้าของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้บิด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา เป็นยารักษาแผลสด ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยรักษากลากเกลื้อน ช่วยแก้โรคน้ำกัด ช่วยแก้ฟกช้ำ ช่วยแก้เหน็บชา ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยไล่แมลง
  • ใบของข่า สามารถนำมาช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • รากของข่า สามารถนำมาช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดปรกติ ช่วยขับเสมหะ
  • ดอกของข่า สามารถนำมาช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้ฝีดาษ
  • ผลของข่า สามารถนำมารักษาอาการปวดฟัน ช่วยรักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร
  • หน่อของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงธาตุไฟ ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก

โทษของข่า

ข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชน์จากข่า มีข้อควรระวังในการใช้ข่า ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากเกินไป ทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้มีอาการแสบร้อนผิวหนัง

ข่า ( Galanga ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. สมุนไพร พืชตระกูลกระชาย ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์ของข่า สรรพคุณของข่า ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ต้นข่าเป็นอย่างไร ต้นข่า เป็นพืชพื้นเมือง มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อน สามารถพบได้ตามประเทศ ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และไทย เป็นต้น คนไทยมีความคุ้นเคยกับข่าเป็นอย่างดี ข่าสำหรับคนไทย นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ช่วยดับความอาหารได้เป็นอย่างดี แต่ข่ามีประโยชน์ด้านสมุนไพร มากมาย

การปลูกข่า

ข่าเป็นพืช เศรษฐกิจ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก ศัตรูพืชน้อย สำหรับการปลูกข่า นั้นมีเรื่องที่ต้องรู้ คือ การเตรียมดิน การปลูก การเก็บผลผลิต รายละเอียด ดังนี้

  1. การเตรียมดิน สำหรับปลูกข่า ข่าชอบดินร่วนซุย มีความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขัง สำหรับการเตรียมต้นพันธุ์ สำหรับปลูกข่า ให้ใช้ต้นพันธุ์อายุ 1 ปี ครึ่ง เนื่องจากอายุพันธุ์ข่า ขนาดนี้เหมาะสำหรับการนำมาปลูก เนื่องจากมีแข็งแรง และมีตามาก ทำให้การเจริญเติบโตจะดี
  2. การปลูกข่า ใช้วิธีการปักดำ นำเหง้าพันธ์ุข่ามาปักลงหลุมที่เตรียมดินไว้ สำหรับหลุมละ 3 เหง้า ระยะห่าง ประมาณ 1 เมตร ต่อหลุม ข่าสามารถแตกหน่อได้มากถึง 1500 กอ ให้ผลผลิตที่ดี
  3. การดูแลข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้น้ำขัง รดน้ำเดือนละ 2 ครั้งก็เพียงพอสำหรับข่า หมั่นให้ปุ๋ย สามารถเก็บเกี่ยวข่าได้ตามต้องการ

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นข่า เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณของข่า เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง โทษของข่า มีอะไรบ้าง

บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับข่ากัน ว่า ข่าเป็นอย่างไร ประโยชน์ด้านยาของข่า การปลูกข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า และเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับข่า ต้มข่าไก่

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove