แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) เกิดจากการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง การรักษาโรคทำอย่างไรโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาษาอังกฤษ เรียก Hypocalcemia เป็น โรคต่อมไร้ท่อ ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจาก ความผิดปรกติของร่างกาย หาก กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง อาจสงสัยว่าเป็น โรคแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำ แล้ว โรค นี้มี สาเหตุจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคนี้ ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร และ สมุนไพรที่ช่วยบำรุงแคลเซี่ยม มีอะไรบ้าง เนื้อหามี ดังนี้

แคลเซียมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่ง ค่าแคลเซียมที่ปรกติของมนุษย์ อยู่ที่ 8-10.5 mg/dL หากว่านำ เลือด ไปตรวจและมี ค่าแคลเซี่ยมต่ำกว่า 8 mg/dL แปลว่าท่านได้เข้าสู่ โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรค นี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกศาสนา ทุกวัย

สาเหตุของภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

สาเหตุหลักจากแคลเซียมในเลือดมีต่ำกว่าปรกติ อวัยวะที่มีส่วนใน การช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกาย ประกอบด้วย ต่อมพาราไทรอยด์ ไต ตับอ่อน ลำไส้ เป็นต้น ซึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ มี สาเหตุ แยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ความสามารถในการทำงานของ ต่อมพาราไทรอยด์ น้อยลง อาจจะเกิด จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ส่งผลกระทบกับ ต่อมพาราไทรอยด์
  • การไม่ตอบสอนต่อ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ของร่างกายมนุษย์
  • อาการพิการ ของ ต่อมพาราไทรอยด์ มา แต่กำเนิด
  • รับประทานอาหารประเภท แมกนีเซี่ยม และ แคลเซี่ยม น้อย
  • โรคเกี่ยวกับไต ทำให้ความสามารถของไตทำได้น้อยลง ทำให้มีการ ขับแคลเซี่ยมออกมามาก  ส่งผลให้ร่างกาย ไม่สามารถสร้างวิตามินดี ได้
  • โรคเกี่ยวกับลำไส้ ที่ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซี่ยม ได้ตามปรกติ
  • โรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ได้ตามปรกติ
  • ปัญหาจาก การใช้ยา บางชนิด เช่น ยากันชัก ยาเพิ่มมวลกระดูก เป็นต้น

อาการของโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

อาการของโรค นี้จะทำให้ ความดันเลือดต่ำ มี ภาวะการเกรงของกล้ามเนื้อ  โดยเฉพาะ บริเวณมือ เท้า และ ปาก สามารถแพร่กระจายไปตามผิวหนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ กล้ามเนื้อกล่องเสียงหด และ เกร็ง ทำให้ หายใจลำบาก ซึ่ง อาการของโรคภาวะแคลเซี่ยมต่ำ ต้องระวังเรื่องของ โรคแทรกซ้อน ของ การขาดแคลเซียม เช่น โรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ฟันไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า และสมองไม่เจริญเติบโต เป็น ปัญญาอ่อน ได้

การรักษาโรคภาวะแคลเซียมต่ำ

สามารถทำได้โดยการให้แคลเซี่ยมชดเชยส่วนที่ขาดเข้าสู่ร่างกาย ให้ยาและอาหารเสริม นอกจากนั้นแล้ว การรักษา อาการของโรคที่เป็น สาเหตุของการดูดซึมแคลเซี่ยมผิดปรกติ เช่น รักษาลำไส้อักเสบ รักษาไต รักษาตับอ่อน รักษาต่อมพาราไทรอยด์ และ ปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภค ให้ทาน อาหารที่มีแคลเซียม มากขึ้น

การป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

สำหรับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มีแนวทางการป้องกันการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาทะเล ผักใบเขียวและผลไม้ ไข่ และอาหารที่มีโปรตีน เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • เดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในเลือด

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เกิดจาก แคลเซี่ยมในร่างกายไม่เพียงพอ จากสาเหตุต่างๆ ซึ่งเราจึงขอนำเสนอ สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก ที่ มีประโยชน์ต่อกระดูก มีรายละเอียดดังนี้

ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม  เป็นไม้พุ่ม ขนาดไม่สูง ก้านของชะอมจะมีหนามแหลม ใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น พืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง ขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Garlic สรรพคุณของกระเทียม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดันรักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
มะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย ผัดสวนครัว
มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า SO-LANUM MELONGENA LINN เป็น พืชผัก มีสรรพคุณทางสมุนไพร สามารถช่วย ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย
พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพร
กระเจี๊ยบเขียว  Lady‘s Finger มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus Moench. ชื่ออื่นๆ ของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะการมีสารอาหารแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำกว่าปรกติ สาเหตุเกิดภาวะดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการ กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ  โรคนี้มีสาเหตุจากอะไร อาการโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ การรักษาและป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

อ้วน ( Obesity ) ภาวะน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปรกติ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เกิดจากไขมันสะสมในร่างกายมากกว่าปรกติ อ้วน 3 ชนิด อ้วนทั้งตัว อ้วนลูกแอบเปิล อ้วนลูกแพร์

โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกิน โรคไม่ติดต่อ ภาวะอ้วน

โรคอ้วน หรือ ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ภาษาอังกฤษ เรียก Obesity เป็นโรคชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพนธุกรรมได้ เกิดจากไขมันสะสมในร่างกายมาก โดยปรกติแล้วในเพศชาย จะมีไขมันสะสมที่ไม่เกิน 23 % และในเพศหญิงจะมีไขมันสะสมไม่เกิน 30 % ซึ่งการคำนวนว่าเรามีภาวะน้ำหนักเกิน หรือไม่สามารถทำได้โดย นำน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง และ คูณ 2 จะได้ค่าดัชนีมวลกาย ซึ่ง ค่าปรกติจะอยู่ที่ 18.5 – 23 หากค่าเกินแสดงว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน ถ้าต่ำกว่าค่าปรกติ แสดงว่าน้ำหนักน้อยกว่าปรกติ

ประเภทของโรคอ้วน

สามารถแบ่งลักษณะของการอ้วนได้ 3 ลักษณะ อ้วนแบบลูกแอปเปิ้ล อ้วนแบบลูกแพร์ และอ้วนทั้งตัว รายละเอียดของการอ้วนในลักษณะต่างๆ ดังนี้

  1. อ้วนแบบลูกแอปเปิ้ล ภาษาอังกฤษ เรียก apple-shape obesity เป็นลักษณะอ้วนลงพุง ซึ่งขนาดของรอบเอวจะมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของสะโพก เกิดจากการสะสมของไขมันที่ช่องท้องจำนวนมาก
  2. อ้วนแบบลูกแพร์ ภาษาอังกฤษ เรียก pear-shape obesity ลักษณะการอ้วนแบบนี้พบมากในเพศหญิง เป็นลักษณะอ้วนชนิดสะโพกใหญ่ เกิดจากการสะสมของไขมันที่สะโพกและน่องมาก
  3. อ้วนทั้งตัว ภาษาอังกฤษ เรียก generalized obesity เป็นลักษณะของการที่ไขมันสะสมในทุกส่วนของร่างกาย

ในปัจจับัน โรคอ้วนเป็นปัญหาหลักของปัญหาทางสาธารณสุขของทั่วโลก การที่น้ำหนักตัวเกินทำให้เกิดการสะสมของโรคต่างๆ มีความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย เหมือนกับโรคเบาหวาน ที่อันตรายของโรคคือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความอ้วน โอกาสที่จะเกิดโรคดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคนิ่วในถุงน้ำดี มีปัญหาในการหายใจ มีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรดอ้วน

ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ พฤติกรรมการกิน ซึ่งมีการบริโภค อาหารประเภทแป้ง ไขมัน และอาหารที่มีใยอาหารน้อย รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายไม่เผาผลาญไขมันส่วนเกินออกจากร่างกาย นอกจากปัญหาเรื่องการกิน ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคเกี่ยวกับฮอร์โมน การกินยาบางชนิด ซึ่งเราจะแยกสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนเป็นข้อๆ ได้ 5 ข้อดังนี้

  1. โรคอ้วนจากสาเหตุภายนอก คือ พฤติกรรมการรับระทานอาหาร ที่มีไขมันมากเกินไปทำให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกายมาก เกิดเป็นโรคอ้วน
  2. โรคอ้วนจากสาเหตุภายใน คือ ความผิดปรกติของร่างกายเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ต่างๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง สังเกตุจากจะมีไขมันตามบริเวณต้นแขน ต้นขาและหน้าท้อง มากกว่าปรกติ
  3. โรคอ้วนจากสาเหตุของกรรมพันธุ์ ในพ่อแม่ที่มีภาวะอ้วน พบว่า 80% มีลูกอ้วน
  4. โรคอ้วนจากการกินยาบางชนิด การกินยาประเภทฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานาน หรือการกินยาคุมกำหนิด มีโอกาสเกิดโรคอ้วนได้
  5. โรคอ้วนจากปัจจัยทางเพศ เราพบว่าเพศหญิงมีโอกาสอ้วนมากกว่าเพศชาย
  6. โรคอ้วนจากปัจจัยอายุ เมื่ออายุมากขึ้นการเผาผลาญของร่างกายลดลง พบว่าเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป จะอ้วนง่าย

การรักษาโรคอ้วน

สามารถทำได้ โดยหลักการคือ การควบคุมอาหาร และหากภาวะอ้วนไม่ได้เกิดจากการกินที่ไม่เหมาะสม ก็ให้รักษาตามสาเหตุของโรคอ้วน ซึ่งการรักษาสามารถทำได้โดย การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยาช่วยดูดซึมไขมัน และการผ่าตัด เป็นต้น

โรคอ้วนเกิดจากภาวะการกินเป็นหลัก การรักษาโรคอ้วนด้วยสมุนไพร ก็มีมาช้านาน การใช้ สมุนไพรที่ช่วยลดน้ำหนักมีอะไรบ้าง เราขอเสนอ สมุนไพรช่วยลดน้ำหนัก มีดังนี้

มะตูม ต้นมะตูม สรรพคุณของมะตูม ประโยชน์ของมะตูมมะตูม ย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านางย่านาง
แก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร โทษของแก้วมังกรแก้วมังกร หม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อนหม่อน
กระถิน สรรพคุณของกระถิน ประโยชน์ของกระถิน สมุนไพรกระถิน
พริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริกพริก
เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอมเห็ดหอม
ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้าผักคะน้า

โรคอ้วน ( Obesity) คือ ภาวะการมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์มาตราฐาน จัดเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เกิดจากมีไขมันสะสมในร่างกาย โรคอ้วน แบ่งได้ 3 ชนิด คือ อ้วนทั้งตัว อ้วนลูกแอบเปิล อ้วนลูกแพร์ สาเหตุของการเกิดโรคอ้วนเป็นอย่างไร โรคอ้วนมีกี่ชนิด ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วน โรคแทรกซ้อนของคนอ้วน การรักษาโรคอ้วน สมุนไพรช่วยลดน้ำหนัก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove