โรคฉี่หนู เลปโตสไปโรซิส leptospirosis ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย มีหนูเเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมากับน้ำท่วม ทำให้ตับอักเสบ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง โรคฉี่หนู เล็ปโตสไปโรซิส โรคติดเชื้อ โรคจากหนู

โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส ภาษาอังกฤษ เรียก leptospirosis โรคที่มากับน้ำท่วม เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบททีเรียทำให้เกิดการอักเสบของตับ การอักเสบของไต อาการที่สำคัญของโรคฉี่หนู คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว หากเป็นมากจะมีอาการดีซ่านและปัสสาวะได้น้อย โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคฉี่หนู เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในของโรคติดเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ สัตว์ที่เป็นพาหะของโรค เช่น หนู กระรอก แมว หมา หมู กระบือ วัว กวาง ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ทั่วโลก

สาเหตุของการเกิดโรคฉี่หนู 

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Leptospira ที่มีพาหะนำโรค คือ หนู ซึ่งสัตว์กลุ่มนี้จะมีเชื้อโรคที่ไต เมื่อ ฉี่ออกมาก เชื้อโรคก็ออกมาด้วย เมื่อเชื้อโรคปะปนกับน้ำและโคลน หากคนไปสัมผัส และ รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ก็จะเกิดโรคขึ้น โดยการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย นั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ การเข้าสู่ร่างกายทางตรง และ การเข้าสู่ร่างกายทางอ้อม โดยรายละเอียดดังนี้

  1. การรับเชื้อโรคโดยตรง จากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ หรือ โดนกัด เป็นต้น
  2. การรับเชื้อโรคทางอ้อม เช่น การรับเชื้อจากการสัมผัสน้ำหรือโคลนที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ โดยเชื้อโรคจะเข้าทางผิวหนังผ่านแผล นอกจากแผล เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกาย ผ่านเยื่อบุในปาก ตา จมูก รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน

อาการของผู้ป่วยโรคฉี่หนู

สำหรับอาการของโรคฉี่หนู หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อ 2-14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง หากไม่ได้รับการรักษา จะเกิด ภาวะไตวาย มีอาการทางสมองและระบบประสาท และ เสียชีวิตในที่สุด

  1. ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
  2. กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
  3. มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
  4. ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
  5. อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค

ระยะของการเกิดโรคฉี่หนู นั้นมี 2 ระยะ คือ ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด และ ระยะร่างกายสร้างภูมิ หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ ปวดหัว บริเวณหน้าผาก หรือ หลังตา ซึ่งบางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณ น่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลัง และ มีไข้สูง ร่วมกับเยื่อบุตาแดง
  • ระยะร่างกายสร้างภูมิ  หลังจากมีไข้ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเกิดอาการมีไข้ขึ้นอีกครั้ง และจะมีอาการปวดหัว เบื่ออาหาร เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ตรวจพบเชื้อในเลือดและน้ำไขสันหลังในระยะ1-2 วันของระยะโรคนี้ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ระยะนี้กินเวลา 4-30 วัน

การรักษาโรคฉี่หนู

สำหรับการรักษาโรคฉี่หนู หรือ โรคเล็ปโตสไปโรซิส ในปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ต้องเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งไม่ควรเกิน 4 วันหลังจากมีอาการ การใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ แต่เนื่องจากโรคนี้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การป้องกันการเกิดโรคฉี่หนู

สำหรับการป้องกันโรคฉี่หนู สามารถทำได้โดย หลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งน้ำที่สกปรก หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่เครื่องมือป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ และให้กำจัดหนูและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค โดยการป้องกันการเกิดโรคฉี่หนูครับปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ ลุยโคลน หากมีความจำเป็นต้องสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ
  • หากมีบาดแผลที่ขา หรือส่วนที่สามารถสัมผัสน้ำได้ ต้องหาเครื่องป้องกัน
  • รีบล้างเท้าและร่างกายหลังจากสัมผัสน้ำหรือโคลน โดยให้ทำความสะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง
  • ให้ระมัดระวังการสัมผัสน้ำไม่สะอาด เช่น การกระเด็นเข้าปาก ตา หรือ จมูก
  • รับประทานอาหารที่สะอาด และ ปรุงสุก การเก็บอาหารต้องเก็บให้มิดชิด
  • พยายามลดปริมาณขยะเท่าที่ทำได้ ติดต่อหน่วยงานท้องถิ่น ให้นำขยะไปทำลายให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้

โรคฉี่หนู เลปโตสไปโรซิส ( leptospirosis ) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคติดต่อที่มีหนูเเป็นพาหะนำโรค โรคที่มากับน้ำท่วม ทำให้ตับอักเสบ ไตอักเสบ อาการสำคัญ คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง การรักษาและการป้องกันโรคฉี่หนู

วัณโรค Tuberculosis ติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีทำให้เสียชีวิตได้

วัณโรค ปอดติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

สำหรับ โรควัณโรค นี้ถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนบนโลก 10 อันดับแรก จากสถิติขององค์กรอนามัยโรค เมื่อปี 2558 แแต่สำหรับวัณโรคไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยมาก ไม่ติดอันดับ 10 แรกของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย ปัจจุบันวัณโรคนถือเป็นโรคที่เกิดมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่บกพร่องจะทำให้เชื้อวัณโรคสามารถติดได้ง่าย

สาเหตุของการเกิดวัณโรค

เกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส ( Mycobacterium Tuberculosis ) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่แพร่กระจายได้ทางอากาศ ผ่านการการไอ การจาม และการหายใจ รวมถึงการใกล้ชิดและสัมผัสผู้ติดเชื้อวัณโรค

อาการของวัณโรค

อาการของวัณโรคสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการของผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค และ อาการของวัณโรคปอด โดยอาการที่แสดงออกมีดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยวัณโรค พบว่าผู้ป่วยที่ติดโรควัณโรค จะมีอาการ ไข้สูง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน เม็ดเลือดขาวจะต่ำลงในผู้ป่วยบางรายจะมีภาวะโลหิตจาง
  • อาการของวัณโรคปอด พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่หากไม่รักษา จะมีอาการอักเสบมมากขึ้น และเชื้อโรคจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อทำให้มีเสมหะ ไอเป็นเลือด

อาการของวัณโรค สามารถแบ่งได้ 2 ระยะ คือ ระยะแฝง และ ระยะแสดงอาการ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรค เชื้อโรคนั้นจะพัฒนาตัวเองอย่างช้า ๆ ใช้เวลาหลายวัน โดยอาการในระยะทั้งสองมี ดังนี้

  • ระยะแฝง ( Latent TB ) ในระยะนี้ เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโรค จะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากเชื้อโรคถูกกระตุ้น ก็จะเกิดอาการ ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถตรวจหาเชื้อได้ หากพบว่ามีเชื้อวัณโรคแฝงในร่างกาย แพทย์จะทำการรักษาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่จะเข้าสู่ในระยะแสดงอาการ
  • ระยะแสดงอาการ ( Active TB ) ในระยะนี้จะเกิดอาการต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ อ่อนเพลีย มีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร

อาการของวัณโรคนั้น จะแสดงอาการที่ปอด แต่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น ทำให้เกิด วัณโรคกระดูก วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรควัณโรค ต้องทำอย่างไร

  1. การใช้ยารักษาโรค ซึ่งมียา 3 ชนิดที่สามารถใช้รักษาวัณโรคได้ แต่ผู้ป่วยต้องทานยาติดต่อกัน 1-2 ปี ตัวยานี้ คือ เสตรพโตไมซิน พาราแอมมิโนซาลิคไซเลทแอซิด และไอโซไนอาซิค
  2. การพักผ่อนให้มากและทานอาหารที่มีประโยชน์บำรุงร่างกาย เช่น อาหารประเภท นม ไข่ ผลไม้และผักต่างๆ อาหารสมุนไพร อาหารสุขภาพ
  3. การผ่าตัด ประสาทกระบังลม ให้ปอดได้พักผ่อน การผ่าตัดเป็นสาเหตุให้ปอดที่มีแผลหายเร็วขึ้น กระบังลมก็จะทำงานเป็นปกติอีกครั้ง
  4. การทำนิวโมโทแรกซ์ ( Pneumothorax ) คือ การฉีดอาการเข้าไปในช่องปอดที่อยู่ระหว่างปอดและผนังทรวงอก
  5. การตัดซี่โครงบางส่วนออก เพื่อทำให้ปอดที่ติดเชื้อวัณโรคแฟบลงอย่างถาวร

การป้องกันการติดโรควัณโรค

  1. ต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารสุขภาพ อาหารสมุนไพร
  2. ฉีดวัคซีน BCG เพื่อป้องกันการติดเชื้อสำหรับทารกแรกเกิด
  3. ถ้ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าเป็นวัณโรค เช่น ไอเรื้อรัง 2 สัปดาห์ขึ้นไป มีไข้ต่ำๆโดยเฉพาะตอนบ่ายๆหรือค่ำๆ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรรีบไปรับการตรวจรักษาโดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ
  4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  5. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  6. ประชาชนทั่วไป ควรตรวจร่างกายโดยการเอกซ์เรย์ปอดหรือตรวจเสมหะ ( AFB ) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถ้าพบว่าเป็นวัณโรคจะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  7. ในเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนบีซีจี ( Bacilus Calmette Guerin ) รวมถึงผู้ที่ทำการทดสอบทูเบอร์คูลินเทสท์ ( Tuberculin test ) ให้ผลเป็นลบ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

วัณโรค ( Tuberculosis ) โรคติดต่อร้ายแรงเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีทำให้เสียชีวิตได้ การรักษาวัณโรค และ การป้องกันโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove