วัณโรค Tuberculosis การติดเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 80 ติดเชื้อที่ปอด อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร ต้องรับการรักษาอย่างถูกวิธี การป้องกันโรคทำอย่างไรวัณโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ

วัณโรคเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนบนโลกสูงสุด 10 อันดับแรก ข้อมูลจากสถิติขององค์กรอนามัยโรค เมื่อปี 2558 ซึ่งสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยในลำดับต้นๆ ปัจจุบันวัณโรคเป็นโรคพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่บกพร่องจะทำให้เชื้อวัณโรคสามารถติดได้ง่าย

สาเหตุของการเกิดวัณโรค

วัณโรคเกิดติดเชื้อแบคที่เรียไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส ( Mycobacterium tuberculosis ) เชื้อวัณโรคสามารถเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ส่วนมากร้อยละ 80 ของผู้ป่วยวัณโรคพบจากการติดเชื้อที่ปอด และ การติดเชื้อที่ปอด สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆได้ เช่น เยื้อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค

  • ผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ติดเชื้อ HIV
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้สูบบุหรี่

อาการของวัณโรค

สำหรับลักษณะการแสดงอาการของวัณโรค เราสามารถแบ่งอาการได้ 2 ลักษณะ คือ อาการของผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค และ อาการของวัณโรคปอด โดยรายละเอียดของโรค มีดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยวัณโรค จะมีอาการไข้สูง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน เม็ดเลือดขาวจะต่ำลงในผู้ป่วยบางรายจะมีภาวะโลหิตจาง
  • อาการของวัณโรคปอด ลักษณะอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่หากไม่รักษา จะมีอาการอักเสบมมากขึ้น และเชื้อโรคจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อทำให้มีเสมหะ ไอเป็นเลือด

ระยะของวัณโรค

สำหรับอาการของวัณโรค สามารถแบ่งได้ 2 ระยะ คือ วัณโรคระยะแฝง และ วัณโรคระยะแสดงอาการ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรค เชื้อโรคนั้นจะพัฒนาตัวเองอย่างช้า ๆ ใช้เวลาหลายวัน โดยอาการในระยะทั้งสองมี ดังนี้

  • วัณโรคระยะแฝง ( Latent TB ) ในระยะนี้ เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโรค จะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากเชื้อโรคถูกกระตุ้น ก็จะเกิดอาการ ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถตรวจหาเชื้อได้ หากพบว่ามีเชื้อวัณโรคแฝงในร่างกาย แพทย์จะทำการรักษาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่จะเข้าสู่ในระยะแสดงอาการ
  • วัณโรคระยะแสดงอาการ ( Active TB ) ในระยะนี้จะเกิดอาการต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ อ่อนเพลีย มีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร

อาการของวัณโรคนั้น จะแสดงอาการที่ปอด แต่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น ทำให้เกิด วัณโรคกระดูก วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

การรักษาวัณโรค

สำหรับแนวทางการรักษาวัณโรคในปัจจุบัน มียารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพสูงรักษาให้หายขาดได้ แต่มีโอกาสในการเกิดซ้ำได้ แนวทางการรักษาวัณโรค มีดังนี้

  1. รักษาด้วยการใช้ยารักษาโรค ซึ่งมียา 3 ชนิดที่สามารถใช้รักษาวัณโรคได้ แต่ผู้ป่วยต้องทานยาติดต่อกัน 1-2 ปี ตัวยานี้ คือ เสตรพโตไมซิน พาราแอมมิโนซาลิคไซเลทแอซิด และไอโซไนอาซิค
  2. การผ่าตัด ประสาทกระบังลม ให้ปอดได้พักผ่อน การผ่าตัดเป็นสาเหตุให้ปอดที่มีแผลหายเร็วขึ้น กระบังลมก็จะทำงานเป็นปกติอีกครั้ง
  3. การทำนิวโมโทแรกซ์ ( Pneumothorax ) คือ การฉีดอาการเข้าไปในช่องปอดที่อยู่ระหว่างปอดและผนังทรวงอก
  4. การตัดซี่โครงบางส่วนออก เพื่อทำให้ปอดที่ติดเชื้อวัณโรคแฟบลงอย่างถาวร
  5. การพักผ่อนให้มากและทานอาหารที่มีประโยชน์บำรุงร่างกาย เช่น อาหารประเภท นม ไข่ ผลไม้และผักต่างๆ อาหารสมุนไพร อาหารสุขภาพ

การป้องกันวัณโรค

แนวทางการป้องกันการเกิดวัณโรคที่สำคัญ ต้องป้องกันการรับเชื้อโรคจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งแนวทางการป้องกันวัณโรค มีดังนี้

  1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  2. รับการฉีดวัคซีน BCG เพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นวัคซีนสำหรับทารกแรกเกิด
  3. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  4. หากจำเป็นต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคให้สวมหน้ากากอนามัยป้องกันการติดเชื้อโรค

วัณโรค ( Tuberculosis ) โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยติดเชื้อที่ปอด อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร ต้องรับการรักษาอย่างถูกวิธี แนทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

มือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร Enterovirus พบบ่อยเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว มีตุ่มเล็กๆบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในปาก หายได้เอง

โรคมือเท้าปาก โรคติดต่อ โรคเด็ก โรคติดเชื้อ

โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย หรือ โรคมือเท้าปาก คือ โรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เกิดบ่อยในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ลักษณะอาการของโรคส่วนใหญ่ ไม่มีมีอาการรุนแรง โดยลักษณะอาการ คือ มีไข้ และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และ ในปาก สามารถหายได้เอง แต่ประมาทไม่ได้หากเกิดอาการติดเชื้อขึ้นสมองและมีอาการสมองอักเสบร่วมด้วย จะเป็นอันตรายอาการรุนแรง ทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก หรือ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ค็อกแซคกีเอและบี ( Coxsackie A , B ), ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ( Enterovirus 71 – EV71 ) , ไวรัสเอ็คโคไวรัส ( Echovirus )  แต่ไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุการติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16  (Coxsackievirus A 16 ) อาการมักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากติดเชื้อจาก ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 อาการจะหนัก และหากเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

สำหรับช่องทางการติดเชื้อไวรัสสู่ร่างกายมนุษย์เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจาก จมูก ลำคอ ละอองน้ำมูกน้ำลาย หรือ น้ำเหลือง ของผู้มีเชื้อโรค การดูดเลียนิ้วมือ รวมถึงจากการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยสถานที่ที่มักมีการระบาดของโรค เช่น โรงเรียนอนุบาล และ สถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

ระยะของการเกิดโรคมือเท้าปาก

สำหรับระยะการเกิดโรคมี 2 ระยะ คือ ระยะฟักตัวของโรค และ ระยะเกิดซ้ำ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการ
  • ระยะการเป็นซ้ำ โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ หากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ กับที่เคยเกิด

อาการของโรคปากเท้าเปื่อย

โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัวของโรคภายใน 7 วัน หลังจากเชื้อโรคฟักตัวผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว แต่อาการป่วยสามารถหายได้เองได้ภายใน 14 วัน จะเห็นแผลแดงเล็กๆตามปาก ลักษณะเป็นตุ่มน้ำ โรคมือเท้าปาก ต้องระวังการเกิดแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน ที่ควรสังเกตุ มีดังนี้

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
  • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
  • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
  • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

แนวทางการรักษาโรคมือเท้าปาก

สำหรับโรคมือเท้าปากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเฉพาะทาง ซึ่งการรักษาโรคนั้นสามารถทำได้โดยการประคับประครองรักษาตามอาการของโรค และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้มากๆ และ หากเกิดอาการอ่อนเพลียมากๆเกิดไปให้ไปรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาลหรือทานเกลือแร่เสริม

การป้องกันโรคมือเท้าปาก

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อโรค สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันการเกิดโรค คือ การรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมที่ดี  ลดการเกิดเชื้อโรคในภาวะรอบตัว แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน
  • รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และ ปรุงใหม่ๆ
  • ไม่ใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ และ ขวดนม
  • สำหรับผู้ดูแลเด็ก เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมให้สะอาด

โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) พบบ่อยเด็ก ลักษณะอาการ คือ มีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก สามารถหายได้เอง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove