หัดญี่ปุ่น โรคคาวาซากิ ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคแน่ชัด อาการไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ผื่นขึ้นตามร่างกาย สามารถหายได้เอง

โรคคาวาซากิ โรคหัดญี่ปุ่น โรคเด็ก โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคคาวาซากิ ( Kawasaki disease ) เรียกอีกชื่อว่า หัดญี่ปุ่น คือ โรคที่พบมากในเด็ก ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเมื่อมีการติดเชื้อโรคแล้ว ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันผิดปกติจึงส่งผลต่อลักษณะอาการของโรค เป็นสาเหตุของอาการหัวใจอักเสบ และหลอดเลือดแดงอักเสบในเด็ก โรคนี้พบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2510 ในประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศไทยพบครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2519

สาเหตุของการเกิดโรคคาวาซากิ

โรคคาวาซากิ ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ป่วยจะมีอาการกระทันหัน คือ มีไข้สูง มีผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และตาแดง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเกิดจากเมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคจึงเกิดการสร้างภูมิต้านทานโรคผิดปกติส่งผลต่อร่างกายิดปรกติต่างๆตามมา

กลุ่มผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ

สำหรับผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ จะเป็นเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ขวบ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง เท่ากับคนที่มีอายุมากกว่า โดย ในคนอายุ 2 ถึง 3 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคมากที่สุด และ เพศชายมีอัตรการเกิดโรค มากกว่าเพศหญิง

อาการของผู้ป่วยโรคคาวาซากิ

ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคคาวาซาอก ลักษณะอาการกระทันหัน ซึ่งสามาถสรุปลักษณะของอาการของผู้ป่วยให้เห็นชัดมากขึ้น มีดังนี้

  1. มีไข้สูง และมีไข้นาน 1 – 4 สับดาห์
  2. มีอาการตาแดง อาการตาแดงจะเกิดหลังจากผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณ 1-2 วันและอาการตาแดงจะเป็นประมาณ 1-2 สัปดาห์
  3. ริมฝีปากแดง แห้ง และริมฝีปากแตก หลังจากนั้นบริเวณลิ้นแดง
  4. ฝ่ามือกับฝ่าเท้าจะมีอาการบวม ไม่มีอาการเจ็บ จากนั้นหนังโคนเล็บจะลอก และลามไปถึงฝ่ามือฝ่าเท้า บางรายถึงขั้นเล็บหลุดเลย
  5. เกิดผื่นตามตัว แขนและขา จะเกิดเมื่อมีไข้แล้ว 2-3 วัน รวมถึงมีอาการคันที่ผื่นด้วย
  6. ที่บริเวณคอ จะมีอาการโต เป็นอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

การรักษาอาการของโรคคาวาซากิ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ จึงยังไม่มียารักษาโรคคาวาซากิโดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งที่แพทย์ใช้ในการรักษาโรค คือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดบการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบุลิน ชนิดฉีด ( intravenous immunoglobulin , IVIG ) เพื่อลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือด สำหรับการรักษา สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน และ ระยะต่อเนื่องของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโรคในระยะเฉียบพลันของโรค ใช้การรักษาโดยให้ ้ IVIG ขนาด 2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. ร่วมกับรับประทานยาแอสไพริน (aspirin) ขนาด 80-120 มก./กก./วัน
  • การรักษาในช่วงไม่เฉียบพลันและต่อเนื่อง ให้ aspirin ขนาด 3-5 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน  รับประทานหลังไข้ลดลงนานประมาณ 2 เดือน  ถ้าผู้ป่วยมีเส้นเลือดโป่งพอง จะต้องให้ติดต่อไปนานจนกว่าเส้นเลือดโป่งพองจะกลับเป็นปกติ บางรายต้องได้รับยานานหลายปี

ภาวะแทรกซ้อนของโรคคาวาซากิ

อาการแทรกซ้อนที่อันตรายต่อชีวิค คือ อาการที่ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอาจอักเสบโป่งพอง ( coronary aneurysm )  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวมีความอันตรายต่อสุขภาพทำให้เสียชีวิตได้ การตรวจรักษาจึงต้องรักษาอย่างทันท่วงที

การป้องกันโรคคาวาซากิ

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเนื่องจากโรคนี้ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันโดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายเมื่อเกิดโรค จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค เช่น การสูดดมอากาศ การเกิดแผล การรับประทานอาหาร เป็นต้น
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

หัดญี่ปุ่น หรือ โรคคาวาซากิ โรคที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรค อาการสำคัญ คือ ไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และผื่นตามร่างกาย สามารถหายได้เอง แต่หากไม่ถูกต้องอาจเสียชีวิตได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

คางทูม Mumps อาการต่อมน้ำลายอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส RNA มีไข้ บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร หากรักษาช้าอาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

คางทูม โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ การรักษาโรคคางทูม

โรคคางทูม ภาษาอักกฤษ เรียก Mumps เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส RNA เป็นไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus สามารถติดต่อได้ทางน้ำลายหรือเสมหะ ซึ่งผู้ติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการมีไข้และต่อมน้ำลายอักเสบ อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบ เพศชายอาจมีอาการอัณฑะอักเสบในเพศชาย ส่วนสตรีอาจมีอาการรังไข่อักเสบ และสามารถลามไปถึงอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

โรคนี้มีวัคซีนในการป้องกันโรค ในปี พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณะสุข ประเทศไทย มีการแนะนำให้เปลี่ยนการฉีดวัคซีน MMR ครั้งที่ 2 จากเด็กอายุ 4-6 ปี เลื่อนเข้ามาเป็นอายุ 2 ½ ปี เพื่อเร่งการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กที่ได้รับวัคซีนครั้งแรกในอายุ 9 เดือนแล้วไม่ได้ผล  ส่วนในภาคเอกชน สำหรับเด็กที่รับวัคซีน MMR ครั้งแรกที่อายุ 12 เดือน อาจรับวัคซีนครั้งที่ 2 ที่อายุ 2 ½ ปี หรือ 4-6 ปีตามปกติก็ได้

สาเหตุของโรคคางทูม

โรคคางทูมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิกโซ ( paramyxovirus ) ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมาจากน้ำลาย หรือ การสัมผัสสารคัดหลังของผู้มีเชื้อโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปสู่ยังอวัยวะต่างๆ และ เริ่มแสดงอาการที่ต่อมน้ำลาย โดยทำให้เกิดอาการอักเสบ

อาการของคางทูม

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคคางทูม หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อประมาณไม่เกิน 20 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะเกิดอาการต่อมน้ำลายอักเสบ ซึ่งมีอาการบวมที่ใต้หู้ ผิวหนังเหนือต่อมน้ำลายจะบวม แดง หน้าหน้าส่วนใบหูบวมลงมาคลุมขากรรไกรจะปวดมากเวลาพูดและการกลืนหรือเคี้ยวอาหาร อาการบวมนี้จะแสดงอาการไม่เกิน 7 วัน ในเพศชายจะมีอาการอัณฑะอักเสบ อาจทำให้สมองอักเสบ หากมีอาการปวดหัว มีอาการซึม คอแข็ง หลังแข็ง ให้ส่งตัวหาแพทย์ด่วน

โรคแทรกซ้อนจากโรคคางทูม

สำหรับโรคคางทูมหากไม่รักษาให้หายขาดอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น อัณฑะอักเสบ รังไข่อักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และระบบประสาทหูอักเสบ โดยรายละเอียดดังนี้

  • อัณฑะอักเสบจากโรคคางทูม โดยส่วนมากชายที่เป็นคางทูมร้อยละ 25 จะมีอาการอัณฑะอักเสบ ลูกอัณฑะจะปวดบวม เจ็บและรู้สึกอึดอัด หากไม่รีบรักษา อาจทำให้เป็นหมันได้
  • รังไข่อักเสบจากโรคคางทูม หากเกิดผู้หญิงเป็นโรคคางทูม จะทำให้มีไข้และปวดท้องน้อย หากการตั้งครรภ์มีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้ปวดศีรษะอย่างหนัก คอแข็ง หลังแข็ง หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ระบบประสาทหูอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากโรคคางทูม อยู่ในจุดที่ใกล้กับระบบประสาทหู อาการประสาทหูอักเสบจะเข้าไปทำลายระบบการได้ยิน ทำให้หูชั้นในอักเสบ ซึ่งหากไม่รักษาสามารถทำให้หูหนวกได้
  • สูญเสียการได้ยิน ในผู้ป่วยคางทูม 1 ใน 20 คนอาจสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว และ 1 ใน 20,000 อาจสูญเสียการได้ยินแบบถาวร

การรักษาโรคคางทูม

สำหรับแนวทางการรักษาโรคคางทูมในปัจจุบันไม่มียาที่รักษาโรคคางทุมโดยเฉพาะ แต่มีวัคซีนกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานโรค การรักษาโรคคางทูมร่างกายจะสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคและรักษาตัวเองให้หายขาดได้ ซึ่งการรักษาแพทย์จะให้ยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด รวมถึงการแนะนำให้พักผ่อนร่างกายให้มากที่สุด สำหรับปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรค เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค

การป้องการโรคคางทูม

สำหรับปัจจุบันสามารถป้องกันโรคคางทูมได้ โดยการใช้วัคซีน ซึ่งต้องฉีด2 ครั้ง ในช่วงอายุ อายุ 9 ถึง 12 เดือน และต้องฉีดซ้ำอีกครั้งในช่วง อายุ 4 ถึง 6 ปี นอกจากการมีวัคซีนในการป้องกันโรค การดูแลตนเองให้ร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นแนวทางการป้องกันการเกิดโรคทุกโรคที่ดีที่สุด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove